รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 30 กันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 30, 2011 11:00 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 30 กันยายน 2554

Summary:

1. อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร ประจำสหภาพยุโรปวิกฤติยุโรปไม่กระทบส่งออก

2. ผู้ผลิตสิ่งทออาเซียนรวมตัวตั้งกลุ่ม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

3. ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นเดือน ส.ค.54 หดตัวที่ร้อยละ -2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Highlight:
1. อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร ประจำสหภาพยุโรป วิกฤติยุโรปไม่กระทบส่งออก
  • อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร ประจำสหภาพยุโรป ประเทศเบลเยี่ยม เปิดเผยว่า ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของสหภาพยุโรประลอกใหม่ อาจกระทบการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเมื่อพิจารณาจากวิกฤติในปี 52 พบว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทยปรับตัวลดลงไม่มาก แม้ภาพรวมการส่งออกไทยในยุโรปจะลดลงในส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เช่นเครื่องจักรกล และอะไหล่รถยนต์ ก็ตาม เนื่องจากเมื่อเกิดภัยพิบัติตลอดจนวิกฤติขาดแคลนอาหารในระดับโลก มูลค่าสินค้าอาหารน่าจะเพิ่มมาก ส่งผลต่อทัง้ ราคา และปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรไทย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป มีทั้งส่วนที่เป็ นผลต่อเนื่องจากวิกฤติการเงินโลกปี 51 ซึ่งส่งผลให้ภาครัฐจาเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศผ่านนโยบายทางการเงินและการคลัง การใช้นโยบายการคลังอย่างหละหลวมในบางประเทศ เช่น กรีซ ทาให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึน้ ในระดับที่ควบคุมไม่ได้ และส่งผลต่อเนื่องให้ความเสี่ยงของการผิดชำระหนี้สูงขึ้น นามาซึ่งความไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหภาพยุโรปโดยรวม อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าเกษตรและอุสาหกรรมเกษตรของไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นมีความยืดหยุ่นทางรายได้ต่า (Low income elasticity) อีกทั้งราคาสินค้าเกษตรของไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งยังจัดว่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ จากอัตราเงินเฟ้ อที่ยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน โดยการส่งออกยางพาราและไก่แปรรูปในเดือน ส.ค.54 ยังคงขยายตัวดีที่ร้อยละ 34.9 และ 20.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนตามลาดับ
2. ผู้ผลิตสิ่งทออาเซียนรวมตัวตั้งกลุ่ม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผู้ผลิตสิ่งทออาเซียนได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่ม Source ASEAN Full Service Alliance (SAFSA) เพื่อเจรจากับผู้ซือ้ ซึ่งเป็นแบรนด์เสื้อผ้าช้ำนำระดับโลก เช่น โปโล บาย ราล์ฟ ลอเรน เบเนตอง มูจิ เพื่อให้สั่งซื้อสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอาเซียน โดยผู้ผลิตในอาเซียนจะจับคู่ระหว่างผู้ผลิตสิ่งทอกับเครื่องนุ่งห่มในการรับคำสั่งซื้อและเชื่อว่าแนวทางนี้จะส่งผลให้แบรนด์ต่างๆสนใจสงั่ ซือ้ สินค้าจากอาเซียนเพิ่มมากขึน้ เพราะช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการรวมกลุ่ม SAFSA จะช่วยให้ผู้ผลิตสิ่งทอในอาเซียนแข่งขันกับผู้ผลิตนอกอาเซียนได้
  • สศค. วิเคราะห์ว่าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มถือเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญของไทย โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 ไทยส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มคิดเป็ นมูลค่ากว่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อนหน้า ทั้งนี้จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจจากปัญหาวิกฤติในสหรัฐฯ และยุโรปทำให้คาดว่าการส่งออกในหมวดสิ่งทอจะชะลอลงในช่วงที่เหลือของปี 54 ดังนั้น การรวมกลุ่มของผู้ผลิตสิ่งทอในอาเซียน จึงถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ผลิตนอกภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทยในระยะต่อไป
3. ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นเดือน ส.ค. 54 หดตัวที่ร้อยละ -2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -1.7 จากเดือนก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลดลงของยอดขายรถยนต์ ส่งผลให้หลายฝ่ายกลับมากังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจากภัยพิบัติสึนามิ หลังจากที่เริ่มมีสัญญาณฟื นตัวในช่วงก่อนหน้า
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวในภาคการผลิต โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตในหมวดยานยนต์ อย่างไรก็ตาม แผนการเพิ่มรายได้ของรัฐบาลญี่ปุ่นจานวน 9.2 ล้านล้านเยน ผ่านการเพิ่มภาษีเพื่อชดเชยรายจ่ายจากการฟื้นฟูพื้นที่เสียหายจากสึนามิในเดือนมี.ค. 54 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 54 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 47.3 สะท้อนอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนที่อาจชะลอลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ความเสี่ยงจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ จากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสาคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะต่อไป

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ