รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 4, 2011 15:32 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2554

Summary:

1. อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.03

2. นักเศรษฐศาสตร์คาดอีก 6 เดือนศก.ไทยทรุด

3. วิกฤตหนี้ยูโรโซนส่งผลนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้น มาร์เก็ตแคปหาย 4 แสน ลบ.

Highlight:
1. อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.03
  • นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(หรืออัตราเงินเฟ้อ) เดือน ก.ย.54 อยู่ที่ 4.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3 โดยมีสาเหตุหลักมาจากหมวดอาหาร และเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 8.84 และหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.07 ส่งผลให้เงินเฟ้อ 9 เดือนแรกของปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.75
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 54 ชะลอลงจากเดือนก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.33 เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าหลังจากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (%MoM_SA) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก 1) การปรับลดลงของราคาน้ามันในประเทศ เนื่องจากมาตรการยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ามัน และ 2) ดัชนีราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ขยายตัวในอัตราชะลอลง หลังจากที่เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์น้าท่วม ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ส่งผลให้ผักและผลไม้มีราคาสูงขึ้นร้อยละ 8.12 ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกปี 54 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.75 บ่งชี้ถึงเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยด้านระดับราคาสินค้ายังอยู่ในเกณฑ์ดี และสศค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ ปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.6 - 4.1 คาคการณ์ ณ เดือน ก.ย. 54 )
2. นักเศรษฐศาสตร์คาดอีก 6 เดือนศก.ไทยทรุด
  • ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพล) เปิดเผยผลสารวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทย 3 และ 6 เดือนข้างหน้า โดยพบว่า ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 47.46 ซึ่งเป็นระดับที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสารวจในครั้งก่อนหน้าที่ค่าดัชนีอยู่ที่ 62.11 ในขณะที่ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับ 45.14
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2554 เผชิญปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาน้าท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชนโดยรวมลดลง ประกอบกับความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้สศค.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 54 จากร้อยละ 4.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.8 — 4.3 ประมาณการ ณ เดือน ก.ย. 54) ในขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่า มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 — 5.0) โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากต่างประเทศที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ ตามการจ้างงานที่คาดว่าจะยังคงอยู และนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการ ขณะที่แรงสนับสนุนจากประเทศคู่ค้าสาคัญ โดยเฉพาะจีน อินเดีย ที่มีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูง รวมถึงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นภายหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ
3. วิกฤตหนี้ยูโรโซนส่งผลนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้น มาร์เก็ตแคปหาย 4 แสน ลบ.
  • 3 ต.ค.54 ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 869.31 จุด ลดลงร้อยละ 5.12 ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) หดหายไปร่วม 400,000 ล้านบาท ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขาย 2.66 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงทุกตลาด อาทิ ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ลดลงร้อยละ 5.64 4.40 3.35 2.01 1.41 และ 1.28 ตามลาดับ โดยปัจจัยหลักของการปรับตัวลงเป็นไปตามตลาดหุ้นภูมิภาคและหุ้นสหรัฐ เนื่องจากการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปยังไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้นักลงทุนโยกย้ายเม็ดเงินลงทุนในตลาดโลกไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปในระยะต่อไปยังคงขาดความชัดเจน เนื่องจากยังไม่มีข้อตกลงถึงขนาดที่เหมาะสมของกองทุนเพื่อเสถียรภาพทางการเงิน (EFSF) ตลอดจนการพิจารณาช่วยเหลือกรีซผ่าน 2 nd Package ที่กาลังถูกต่อจากธนาคารพาณิชย์ทั่วยุโรปที่ไม่ต้องการลดมูลค่าทรัพย์สินลง เพราะเกรงกระทบเสถียรภาพของธนาคาร (หลังจาก 1st Package ออกมาเมื่อ พ.ค.53 จานวน 1.1 แสนล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือกรีซผ่านการสมทบทุนของ IMF และสมาชิกยูโรโซน) ส่งผลให้นักลงทุนยังคงมีแนวโน้มเทขายหุ้นไทยรวมทั้งตลาดภูมิภาคเพื่อนาเงินไปถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ากว่า อาทิ เงินดอลลาร์ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและทองคา ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจกลุ่มสหภาพยุโรปจะลดลงจากที่คาดไว้เดิมร้อยละ 2.3 ต่อปี (คาดการณ์เมื่อ มิ.ย.54) เหลือร้อยละ 1.7 ต่อปี ซึ่งนอกเหนือจะกระทบต่อตลาดหุ้นดังกล่าวแล้ว จะยังส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย เนื่องจากสหภาพยุโรปเป็นกลุ่มคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 4 รองจาก ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ตามลาดับ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ