รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ - กันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 4, 2011 16:28 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อัตราร้อยละ 1.0 ปรับแก้ไขลดลงร้อยละ 0.3 จากที่คาดการณ์ไว้ครั้งก่อน โดยได้รับปัจจัยทางบวกจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย การส่งออก การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล และการใช้จ่ายภาครัฐส่วนกลางที่เพิ่มขึ้น
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยที่อัตราร้อยละ 0.2 เช่นเดียวกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.1 ในเดือนสิงหาคม 2554
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 ในเดือนกรกฎาคม 2554
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 มาอยู่ที่ระดับ 1.8 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม 2554 อย่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 9.1 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 331,000 คน
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศลดลงเล็กน้อยในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่ระดับ 51.6 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในเดือนกันยายน 2554 ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร เงินปอนด์ และเงินบาท โดยเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ร้อยละ 5.0 ในขณะที่มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินเยน และเงินหยวน
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เสนอแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 447 พันล้านเหรียญ สรอ. โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการจ้างงานในสหรัฐฯ
  • ประธานาธิบดีโอบามาเสนอปรับเพิ่มอัตราภาษีของผู้มีรายได้สูงเพื่อปรับลดปริมาณหนี้สาธารณะ
  • มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะใช้มาตรการทางการเงินเพื่อปรับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงินสหรัฐฯ ให้ต่ำลง ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2554
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ปรับลดตัวเลขการคาดการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2554 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.2 — 1.5
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2554

ค่า GDP ของไตรมาสแรกปรับแก้ไขลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0

  • มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ปรับแก้ไขลดลงร้อยละ 0.3 มาอยู่ที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในการคาดการณ์ครั้งที่ 2 ในเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังภาคเอกชนและปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวในอัตราที่ต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น อย่างไรก็ตาม การปรับลดลงดังกล่าวได้รับปัจจัยทางบวกบางส่วนจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย และปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งก่อนในเดือนกรกฎาคม
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนสิงหาคม 2554

  • ในเดือนสิงหาคม 2554 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production) ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันที่ร้อยละ 0.5 ในเดือนสิงหาคมหลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อนหน้า
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 77.4 ของกำลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ากว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กำลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2553 อยู่ร้อยละ 3.0 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2553 คิดเป็นร้อยละ 80.4)
  • การใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวอย่างชัดเจน แม้ว่ารายได้ชะลอตัวลงเล็กน้อย
  • ในเดือนกรกฎาคม 2554 ภาพรวมด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ที่ปรับลดลงในอัตราร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่ภาพรวมด้านการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ในเดือนกรกฎาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ซึ่งนับเป็นการขยายตัวในอัตราที่สูงที่สุดของปี 2554
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ำมัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี

อัตราการว่างงานอยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 9.1

  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม 2554 อยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 9.1โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 153.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.0 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่สหรัฐฯ มีจานวนประชากรได้รับจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 331,000 คน มาอยู่ที่ระดับ 139.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.2 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรว่างงานทั้งหมด 14.0 ล้านคน
  • การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยการจ้างงานของหน่วยงานรัฐบาลที่ยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่องถูกทดแทนการขยายตัวของการจ้างงานด้านสาธารณสุข
  • มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 13.4) รัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 12.1) และรัฐมิชิแกน (ร้อยละ 11.2) ตามลำดับ
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.6 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม

  • ในเดือนกรกฎาคม 2554 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปริมาณการขาดดุลได้ปรับลดลง 6.8 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 13.2 จากเดือนมิถุนายนที่ระดับ 51.6 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 44.8 พันล้านเหรียญสรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการ (Import) ปรับลดลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 6.2 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 178.0 พันล้านเหรียญ สรอ. ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการปรับลดลง 0.5 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 222.8 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม
  • ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก ในเดือนกรกฎาคม 2554 มูลค่าการขาดดุลกับจีนปรับลดลง ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลกับสหภาพยุโรปและเม็กซิโกปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
          US Trade           China            Europe            Mexico
                        ---------------------------------------------------------
                        Jul 11  Jun 11   Jul 11   Jun 11   Jul 11   Jun 11
     Export               8.17    7.73    21.4     22.7     21.4      22.7
     Import               35.1    34.4    30.2     32.6     30.2      32.6
     Trade Balance       -27.0   -26.7   -8.86    -9.84    -8.86     -9.84
     ที่มา: สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (www.bea.gov)

นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง
          ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เสนอแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างงานให้กับประชากรสหรัฐฯ
          - นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เสนอแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ (Stimulus package) เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 447 พันล้านเหรียญ สรอ. โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มเติม และเพื่อสนับสนุนภาวะการจ้างงานให้กับตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวประกอบด้วย
          - งบประมาณจำนวน 105 พันล้านเหรียญ สรอ. เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของสหรัฐฯ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างถนนหนทาง การพัฒนาโรงเรียน และการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะในระหว่างปี 2554 ถึงปี 2556
          - เงินช่วยเหลือรัฐบาลส่วนท้องถิ่นจานวน 35 พันล้านเหรียญ สรอ. เพื่อสนับสนุนการจ้างงานของรัฐบาลท้องถิ่น โดยจะมุ่งเน้นการสนับสนุนการจ้างงานในด้านการศึกษาและการป้องกันเหตุฉุกเฉิน
          - การขยายการปรับลดหย่อนภาษีหักจากค่าจ้าง (Payroll taxes) สำหรับประชากรสหรัฐฯ และธุรกิจขนาดย่อมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.1 จากเดิมที่มีการลดหย่อนภาษีดังกล่าวร้อยละ 2 ตามกฎหมาย Bush Tax Cuts ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2554 ซึ่งการลดหย่อนภาษีดังกล่าวคิดเป็นมูลค่ารวม 245 พันล้านเหรียญ สรอ.
          - งบประมาณ 62 พันล้านเหรียญ สรอ. ขยายการช่วยเหลือของกองทุนสาหรับผู้ว่างงาน (Unemployment benefit) โดยจะลดหย่อนภาษีสาหรับธุรกิจที่มีการจ้างงาน ตลอดจนมีการช่วยเหลือในระหว่างที่แรงงานใหม่อยู่ในระหว่างการฝึกงาน
          ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโอบามาได้เสนอการจัดหารายได้เพื่อนำมาใช้ในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากการปรับเพิ่มภาษีของประชากรที่มีรายได้มากกว่า 200,000 เหรียญ สรอ. ต่อปี โดยการปรับเพิ่มภาษีดังกล่าวจะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เป็นจำนวนกว่า 400 พันล้านเหรียญ สรอ.
          ประธานาธิบดีโอบามาเสนอ Buffet Rule เพื่อปรับลดปริมาณหนี้สาธารณะ
          - ประธานาธิบดีโอบามาของสหรัฐฯ ได้ออกมากล่าวปราศรัยว่าจะให้การสนับสนุนการปรับเพิ่มอัตราภาษีสาหรับประชากรสหรัฐฯ ผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 200,000 เหรียญ สรอ. ต่อปี หรือครอบครัวที่มีรายได้รวมมากกว่า 250,000 เหรียญ สรอ. ต่อปี ซึ่งจะเป็นส่วนสาคัญในมาตรการเพื่อการปรับลดหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ตามกฎหมาย Budget Control Act of 2011 ที่คณะกรรมาธิการ Joint Select Committee on Deficit Reduction ต้องเสนอแผนการปรับลดการใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นจานวน 1.5 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ภายในปลายปี 2554
          - ทั้งนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนเองและพรรคเดโมแครตไม่เห็นด้วยกับความไม่เป็นธรรมในปัจจุบันที่ประชาชนบางส่วนที่มีรายได้ต่า เช่น ครูและอาจารย์ ต้องเสียภาษีรายได้ในอัตราที่สูงกว่า นักลงทุนที่มีรายได้สูง โดยได้มีการตัวอย่าง นาย Warren Buffet นักลงทุนชื่อดังที่เสียภาษีในอัตราเพียงร้อยละ 17 ซึ่งต่ากว่าอัตราภาษีของลูกจ้างบางคนในบริษัทของเขา
          - อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าพรรครีพับริกันจะออกมาคัดค้านแผนการปรับลดหนี้สาธารณะของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยการปรับเพิ่มภาษีดังกล่าวจะเป็นประเด็นทางการเมืองที่สำคัญของสหรัฐฯ ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ ต่อไป

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร เงินปอนด์ และเงินบาท
          - ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในเดือนกันยายน 2554 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าคงที่เมื่อเทียบกับเงินเยน และเงินหยวน ในขณะที่แข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเงินปอนด์ หรือประมาณร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 19 กันยายน 2554 อยู่ที่ 1.3676 USD/EUR, 1.5692 USD/GBP, 0.0131 USD/JPY, และ 0.1566 USD/CNY
          - เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนกันยายน 2554 โดยค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 19 กันยายน 2554 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30.5698 THB/USD เพิ่มขึ้นจาก 29.8054 THB/USD เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2554

ประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สำคัญ
          - คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) มีกาหนดการประชุมหารือเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ครั้งต่อไปในวันที่ 20-21 กันยายน 2554 ซึ่งหลายฝ่ายมีการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะใช้มาตรการเปลี่ยนแปลงประเภทของตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางถืออยู่ (Operational Twist) ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงินสหรัฐฯ ให้ปรับลดต่ำลง หลังจากที่ได้ตรึงดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ระหว่างร้อยละ 0 ถึง 0.25
          - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดตัวเลขการคาดการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2554 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.2 — 1.5 ซึ่งการปรับลดดังกล่าวเป็นผลมาจากภาคธุรกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอการขยายตัวลง ประกอบกับปัญหาหนี้สินสาธารณะของรัฐบาลสหรัฐฯ


          Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau
          Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,
          Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas
          Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 :  www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ