รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 6 ตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 6, 2011 11:06 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 6 ตุลาคม 2554

Summary:

1. นายกฯ ให้ความเชื่อมั่นนักลงทุน

2. SCB มองปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ-ยุโรปกระทบเศรษฐกิจไทยไม่มาก

3. แบงก์ชาติออสซี่คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 4.75%

Highlight:
1. นายกฯ ให้ความเชื่อมั่นนักลงทุน
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ บอกว่า ในวันนี้ได้นานักลงทุนต่างชาติเข้าพบ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอทราบแนวนโยบายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยในเรื่องของการเมืองยืนยันว่าจะสานต่อนโยบายปรองดองแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง ส่วนการดูแลเศรษฐกิจ จะเน้นกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนเมกกะโปรเจกต์ เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยุโรปและปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งทาให้ส่งออกชะลอตัวลง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ส.ค.54 ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศ สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 13.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทน วัดจากปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวร้อยละ26.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 สาหรับการส่งออกขยายตัวในระดับสูง สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มูลค่า 21.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 31.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจไทย ในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.8 — 4.3 (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย.54)
2. SCB มองปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ-ยุโรปกระทบเศรษฐกิจไทยไม่มาก
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่าปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐไม่น่ากระทบเศรษฐกิจไทยโดยรวมมากนัก เนื่องจากไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเสภียรภาพทางการเงินการคลังที่แข็งแกร่ง โดยไทยมีการกู้ยืมจากธนาคารยุโรปไม่มากนัก ระดับหนี้สาธารณะยังอยู่ในเกณฑ์ต่าร้อยละ 42 ของจีดีพี ทาให้ภาครัฐมีงบประมาณเพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจชดเชยการส่งออกที่แนวโน้มแผ่วลงจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยปี 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 (ช่วงคาดการณ์ 3.8-4.3) ชะลอลงจากปีก่อนหน้าตามอุปสงค์ภายในประเทศ จากปัญหาอุทกภัย แรงกดดันเงินเฟ้อและต้นทุนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ตลอดจนความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 55 คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 4.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 4.0-5.0) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดี ประกอบกับนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่ายและแรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นตามลาดับ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลทาให้การส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้ยังคงมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว ทาให้คาดว่าการส่งออกปี 55 จะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 4.5-6.5) การบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 2.3-3.3) ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 4.5-6.5)
3. แบงก์ชาติออสซี่คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 4.75%
  • ธนาคารกลางออสเตรเลีย หรือ อาร์บีเอ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 4.75 ชี้เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนจากวิกฤตหนี้ในยุโรปและปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐ อย่างไรก็ดี ผู้ว่าการธนาคารกลางอาร์บีเอ คาดว่าเศรษฐกิจออสเตรเลีย น่าจะยังขยายตัวได้ในระดับปานกลางทั้งในปี 54 และปี 55 ส่วนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่น่าจะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจของออสเตรเลียยังคงเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 54 ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และหากปรับผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า ทาให้ธนาคารกลางออสเตรเลียจาเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวโดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 4.75 ตั้งแต่เดือน พ.ย.53 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียในปี 54 จะลดลงจากที่คาดไว้เดิมที่ร้อยละ 3.1 (ณ เดือนมิ.ย. 54) เหลือขยายตัวร้อยละ 2.8 (ณ เดือนก.ย. 54) จากความไม่แน่นอนของปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรป

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ