รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 3 - 7 ตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 10, 2011 11:15 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.9
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตรวม (PPI) ขยายตัวร้อยละ 5.6
  • สินเชื่อเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ที่ร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวร้อยละ 11.4
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค. 54 ขาดดุล -697 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป เดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 48.5 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
  • Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ จากระดับ Aa2 ลงสู่ระดับ A2
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (NBS PMI) ของจีน ในเดือน ก.ย. 54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 51.2
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ใน เดือน ก.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 51.6
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Sep: Motorcycle  Sale (%YoY)          12.0                 15.9
  • ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากน้าท่วมขังในหลายพื้นที่ ทั้งภาคเหนือและบางพื้นที่ภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ปริมาณจาหน่ายจักรยานยนต์ในพื้นที่ดังกล่าว (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 47.0 ของยอดจาหน่ายรวม) ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวตัวในเกณฑ์ดี ตามรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัว จากรายได้จากภาคการส่งออก และอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือน ส.ค. 54 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -0.33 โดยมีปัจจัยหลักมาจากมาตรการการยกเลิกการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ามัน ส่งผลให้มีการปรับลดราคาน้ามันและค่าโดยสารในประเทศ ประกอบกับราคาเนื้อสัตว์ (สุกร) ที่มีการปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาผักและผลไม้ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์น้าท่วม สาหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.9 เทียบเท่ากับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 และ 2.8 ตามลาดับ
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 โดยหมวดสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 10.6 มาจากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดา เหล็กรูปพรรณ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี ดัชนีในหมวดซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 10.0 จากปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบ หมวดวัสดุฉาบผิวขยายตัวร้อยละ 5.6 ได้แก่ สีน้าอะครีลิค สีรองพื้น และสีเคลือบน้ามัน เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยในภาคเหนือ ภาคกลาง ทาให้การก่อสร้างชะลอตัวลง ประกอบกับภาคอสังหาริมทรัพย์รอความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายบ้านหลังแรก
  • ดัชนีราคาผู้ผลิตรวม (PPI) ในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ตามการหดตัวของดัชนีราคาในหมวดเกษตรกรรมที่หดตัวร้อยละ -8.5 โดยเฉพาะดัชนีราคาหมวดผลผลิตการเกษตรที่หดตัวร้อยละ -11.7 เนื่องจากปัจจัยฐานสูงเมื่อปีที่แล้วที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าอุตสาหกรรม ยังขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.5 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและสิ่งทอที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 และ 7.0 ตามลาดับ ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกปี 54 ดัชนีราคาผู้ผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สินเชื่อเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ที่ ร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน ซึ่งหากพิจารณาตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่สูง ตามการขยายตัวของการลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน
เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.0 หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยหากพิจารณาตามผู้ให้เงินฝาก พบว่าเงินฝากของทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค. 54 ขาดดุล -697 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมากจากเดือนก่อนที่เกินดุลที่ 3,438 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเลขปรับปรุง) โดยดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นผลจากการขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอนถึง -1,402 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าบริการจ่าย โดยเฉพาะค่าระวางสินค้าและค่าโดยสารเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้นตามการนาเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน ดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อยที่ 705 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามจากการส่งออกที่อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ ถึงแม้ว่าการนาเข้าจะมีมูลค่าสูงก็ตาม อนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 54 เป็นต้นไป ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับหลักการเก็บและเผยแพร่ข้อมูลสถิติภาคต่างประเทศใหม่ และมีการปรับปรุงตัวเลขย้อนหลังอีกด้วย
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ส.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ12.2 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 4.4 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการใช้กาลังการผลิต (Cap U) ที่เพิ่มขึ้นในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน ส.ค.54 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 49.7 โดยปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน ส.ค.54 ที่ขยายตัวมาจากปริมาณการจาหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย และลวดเหล็กแรงดึงสูง ขยายตัวร้อยละ 20.8 และ 7.4 ตามลาดับ ขณะที่เหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีขยายตัวร้อยละ 33.8 ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาคการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของค่ายผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย. 54 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากน้าท่วมขังในหลายพื้นที่ ทั้งภาคเหนือและบางพื้นที่ภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ปริมาณจาหน่ายจักรยานยนต์ในพื้นที่ดังกล่าว (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 47.0 ของยอดจาหน่ายรวม) ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวตัวในเกณฑ์ดี ตามรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัว จากรายได้จากภาคการส่งออก และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 48.5 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 48.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.1 แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจยุโรปในภาคบริการ ธนาคารกลางยุโรป คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ต.ค. 54 ไว้ที่ร้อยละ 1.5 พร้อมทั้งส่งสัญญาณว่าจะเข้าช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ จากระดับ Aa2 ลงสู่ระดับ A2 หรือคิดเป็นการปรับลดลง 3 ระดับ และให้แนวโน้ม 'เชิงลบ' รัฐบาลกรีซแถลงตัดงบประมาณรายจ่ายในปี 2555 ลง 8.8 พันล้านยูโรเพื่อให้ขาดดุลงบปรมาณลดลงเหลือร้อยละ 6.8 ของ GDP ตามเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือจาก IMF และ EU เงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 54 (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นมาอยุ่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงานเดือนส.ค. 54 คงที่เป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 10 ของกาลังแรงงานรวม
China: Mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (NBS PMI) เดือน ก.ย. 54 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 51.2 จากคาสั่งซื้อเพื่อส่งออกที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตที่ลดลง
USA: Mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 51.6 จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีการผลิตและจ้างงาน และนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ดัชนีคาสั่งซื้อผู้จัดการภาคบริการลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาสู่ระดับ 53.0
Japan: Mixed signal
  • ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการรายใหญ่ (Tankan large manufacturer's Sentiment) ในไตรมาสที่ 3 ปี 54 กลับมาเป็นบวกที่ระดับ 2.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน จากไตรมาสก่อนหน้าที่ติดลบที่ -9.0 ยอดขายรถยนต์เดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมหลังเหตุการณ์สึนามิ
Singapore: Mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเดือน ก.ย. 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 48.3 จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวต่อเนื่อง ผนวกกับภาคการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลง ตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจยุโรปและเอเชีย
Philippines: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากราคาอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ
South Korea: Mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก (เบื้องต้น) เดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากปัจจัยฐานสูง มูลค่าการนาเข้าขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 30.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากราคาอาหารและน้ามันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง บ่งชี้อัตราเงินเฟ้อที่เริ่มกลับมาอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ หลังจากที่ขยายตัวเร่งขึ้นมากในช่วง 8 เดือนแรกของปี 54 ลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางในการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในระยะต่อไป
Hong Kong: Mixed signal
  • ยอดการค้าปลีก เดือน ส.ค. 54 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากยอดขายสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และยานยนต์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
Indonesia: Mixed signal
  • มูลค่าส่งออก เดือน ส.ค. 54 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 37.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการชะลอตัวของธุรกิจภาคเอกชนหลังเดือนรอมฎอน สอดคล้องกับการนาเข้าในเดือน ส.ค. 54 ที่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 23.7 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 54 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือนมาอยู่ที่ ร้อยละ 4.6 อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงการราคาอาหารที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ยังคงผันผวนในช่วงต่ากว่าระดับ 920 จุด ตามภาวะ risk averse จากความกังวลของนักลงทุนในภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป หลังจากที่ Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี ตลอดจนมีความหวาดกลัวว่ากรีซอาจจะพักชาระหนี้ หลังจากที่กรีซประกาศแผนการลดการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งยังเป็นตัวเลขการขาดดุลที่สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก โดยในช่วงต้นสัปดาห์ ดัชนีฯ ปิดที่ระดับต่ากว่า 900 จุด โดยเฉพาะในวันที่ 4 ต.ค. 54 ดัชนีฯปิดที่ระดับต่าที่สุดในรอบ 14 เดือนที่ 855.45 จุด ก่อนจะกลับมาปิดที่ระดับ 913.72 จุด ในวันที่ 6 ต.ค.54 ทั้งนี้ ระหว่าง 3 - 6 ต.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,927 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลงเล็กน้อยในเกือบทุกช่วงอายุ โดยทั้งสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในเกือบทุกช่วงอายุปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะกลางยาว จากแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศโดยเฉพาะในช่วงกลางสัปดาห์ โดยทั้งสัปดาห์ (3 - 6 ต.ค. 54) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -4,230 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 31.12 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 6 ต.ค. 54 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.10 จากสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินเยนหรือยูโร จากการอ่อนค่าลงเล็กน้อยของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.50 สะท้อนว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค
  • ราคาทองคาปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะปรับตัวลดลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ โดยราคาทองคา ณ วันที่ 6 ต.ค. 54 ปิดที่ 1,649 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,660 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ