รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 13, 2011 11:22 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2554

Summary:

1. กนง.ระบุ น้ำท่วมมีผลต่อการพิจารณาดอกเบี้ย 19 ต.ค. 54 นี้

2. สทท.คาดน้ำท่วมฉุดท่องเที่ยวไทยสูญ 4.6 พันล้าน

3. การฟื้นตัวของภาคการผลิตอังกฤษไตรมาสที่ 3 ยังคงมีปัญหา

Highlight:
1. กนง.ระบุ น้าท่วมมีผลต่อการพิจารณาดอกเบี้ย 19 ต.ค. 54 นี้
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึง เหตุการณ์น้าท่วมขณะนี้ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกบางอุตสาหกรรมในระยะสั้น แต่สถานการณ์น้ำท่วม ก็เป็นปัจจัยที่มีน้าหนักปัจจัยหนึ่ง ที่จะมีการพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในสัปดาห์หน้า ซึ่งโดยหลักการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะต้องพิจารณาความเสี่ยงจากด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ แต่ยอมรับว่าปัจจัยเรื่องน้ำท่วมก็เป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักเช่นกัน
  • สศค. วิเคราะห์ นับจากต้นปี กนง.มีการประชุมและมีปรับเพิ่มอัตรดอกเบี้ยนโยบายทั้งหมด 6 ครั้ง และครั้งสุดท้ายในเดือนส.ค. 54 เนื่องจากความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมาก โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ส่งผลทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อ (ณ เดือน ส.ค.) อยู่ที่ร้อยละ -1.6 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับเหตุการณ์อุทกภัยที่ขยายวงกว้างที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ภาคค้าส่งค้าปลีก และภาคโรงแรมและภัตราคาร รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจโลกจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งจะทาให้แรงกดดันต่อต่อภาวะเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ในช่วงต่อไปลดลง ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 54 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.25 — 3.75 (คาดการณ์ ณ เดือนก.ย. 54)
2. สทท.คาดน้ำท่วมฉุดท่องเที่ยวไทยสูญ 4.6 พันล้าน
  • สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยถึงผลการประเมินสถานการณ์น้าท่วม ว่าจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการตัดสินใจเดินทางของคนไทยในวงกว้างร้อยละ 20 ให้หยุดการเดินทาง โดยจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ตั้งเป้าหมายคนไทยเที่ยวในประเทศ 93 ล้านคน ในปี 54 (1 คนเที่ยวมากกว่า 1 ครั้ง) เท่ากับแต่ละวันจะมีคนไทยเที่ยวในประเทศเฉลี่ย 250,000 คน และช่วงที่มีปัญหาน้ำท่วม คนไทยเที่ยวไทยคงได้รับผลกระทบ 20 % หรือ 50,000 คน และเหตุการณ์รุนแรงแล้ว 20 วัน เท่ากับว่าคนไทยเที่ยวไทยปีนี้หายไปแล้วราว 1 ล้านครั้ง โดยแต่ละคนใช้จ่ายเฉลี่ย 4,600 - 4,700 บาทต่อวัน เท่ากับรายได้จากคนไทยเที่ยวไทยหายไปแล้ว 4,600 ล้านบาท
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ภาคการท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงต่อเศรษฐกิจไทยผ่านหลายช่องทาง โดยหากการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยลดลงจะทำให้ส่งผลต่อกระทบต่อการผลิตทางด้านบริการโรงแรมและภัตตาคาร การบริการคมนาคมขนส่งและการบริการขายส่ง ขายปลีก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.8 9.4 และ 13.3 ของ GDPในปี 2553 ตามลำดับอีกทั้งอาจกระทบต่อภาวะการจ้างงาน ซึ่งการท่องเที่ยวจะมีผลโดยตรงต่อการจ้างงานในหมวดโรงแรมและภัตตาคาร ตลอดจนการจ้างงานในสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีจานวนแรงงานที่อยู่ในข่ายประมาณ 10 ล้านคน ทั้งนี้ สศค. ประเมินว่าผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมคาดว่าจะส่งผลให้ GDP ลดลงร้อยละ -0.7
3. การฟื้นตัวของภาคการผลิตอังกฤษไตรมาสที่ 3 ปี 54 ยังคงมีปัญหา
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงาน ปริมาณการผลิตเดือน ส.ค.ในสหราชอาณาจักรลดลงต่ากว่าคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ส่งสัญญาณเพิ่มเติมว่าการฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 ยังคงมีปัญหาโดยปริมาณการผลิตของโรงงานลดลงจากเดือน ก.ค. 0.3% และการผลิตปรับตัวลดลง 0.2% นับเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยภาคการผลิตที่มีสถิติลดลงมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์จากไม้และกระดาษ ผลิตภัณฑ์จากโลหะและแร่โลหะ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรยังคงอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ โดยในไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมากสแรกค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวมากถึงร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบรายไตรมาส ขณะที่ภาคบริการขยายตัวในอัตราชะลอลงเหลือ 0.2% เมื่อเทียบรายไตรมาส ส่วนในไตรมาสที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่เฉลี่ย 50.0 จุด จากที่เคยปรับตัวสูงสุดอยู่ที่เฉลี่ย 59.4 จุดในไตรมาสที่ 1 และลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 52.7 จุดในไตรมาสที่ 2 ซึ่งการที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 50 จุดเป็นการสะท้อนถึงการผลิตที่ไม่มีการขยายตัว ซึ่งมีสาเหตุจากยอดคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ชะลอตัวลงตามการใช้จ่ายภายในประเทศที่ลดลง และยอดคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศที่เคยเติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา ได้กลับมาลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ