ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 8, 2011 14:17 —กระทรวงการคลัง

ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • วันที่ 1 พ.ย.54 สานักงานสถิติ U.K ประกาศข้อมูลเบื้องต้นของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ U.K. ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสสองของปี 2554 ที่ 0.5%QoQ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่าในไตรมาส 2 ที่ขยายตัวแค่ 0.1%QoQ
  • ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ U.K.ในไตรมาส 3 มาจากภาคบริการ (ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 76.3 ของ GDP) ที่ขยายตัวได้ที่ 0.7%QoQ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการด้านการเงินและบริการธุรกิจที่เติบโตได้ดีต่อเนื่อง ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม (ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 15.4 ของ GDP) ได้กลับมาขยายตัวดีขึ้นจากฐานที่ต่าในไตรมาส 2 ที่การผลิตอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวญี่ปุนค่อนข้างมาก ขณะที่ภาคการก่อสร้างในไตรมาส 3 ได้กลับมาหดตัวที่ -0.6%QoQ อีกครั้ง ตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มชะลอตัว
  • เมื่อพิจารณาการขยายตัวเศรษฐกิจเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าเศรษฐกิจ U.K. ในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวในอัตราชะลอลงต่อเนื่องจากที่ขยายตัวได้ 1.6%YoY ในไตรมาส 1 มาอยู่ที่ 0.6%YoY ในไตรมาส 2 และ 0.5%YoY ในไตรมาส 3 ตามลาดับ ส่งผลให้อัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.9%YoY ซึ่งต่ากว่าการคาดการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2554 ของรัฐบาลที่1.7%
  • สำนักงานที่ปรึกษาฯ คาดว่าเศรษฐกิจ U.K. ในปี 2554 จะขยายตัวได้เพียงประมาณ 1% ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2553 ที่ขยายตัวได้ที่ 1.8% ค่อนข้างมาก
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศของ UK ล่าสุดปรับตัวแย่ลง ทั้งจากอัตราเงินเฟอและอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอัตราเงินเฟอที่คานวณจาก CPI ในเดือนก.ย. สูงขึ้นมาอยู่ที่ 5.2% (สูงสุดในรอบ 3 ปี) ขณะที่อัตราการว่างงานในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ส.ค.สูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.1 ของกาลังแรงงานโดยมีผู้ว่างงานทั้งสิ้น 2.57 ล้านคน (สูงสุดในรอบ 3 ปีเช่นกัน)
  • แต่เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศของ U.K เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น โดยดุลบัญชีเดินสะพัด ได้ขาดดุลเพียง -0.5% ของ GDP ในไตรมาส 2 ลดลงจากที่ขาดดุล -1.1% ของ GDP ในไตรมาสแรก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเกินดุลรายได้ผลตอบแทนสุทธิจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการขาดดุลของดุลเงินบริจาคให้ต่างประเทศของรัฐบาลที่ลดลง
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจ UK ไตรมาส 3 ขยายตัว 0.5% เพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่าในไตรมาส 2 ที่ 0.1%

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักรได้ประกาศข้อมูลเบื้องต้นของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร (U.K) ไตรมาส 3 ปี 2554 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ 0.5%QoQ เพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่าของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ของปี 2554 ที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยพิเศษที่มีวันหยุดมากกว่าปกติจากงาน Royal Wedding และปจจัยพิเศษของแผ่นดินไหวในญี่ปุนทีส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมใน U.K. เมื่อพิจารณารายละเอียดของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของ U.K. ในไตรมาส 3 ของปี 2554 (ดังตารางข้างต้น) จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจ U.K.ในไตรมาส 3 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการ (ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 76.3 ของ GDP) ที่ขยายตัวได้ที่ 0.7%QoQ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการด้านการเงินและบริการธุรกิจที่ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม (ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 15.4 ของ GDP) ได้กลับมาขยายตัวดีขึ้นจากฐานที่ต่าที่การผลิตอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวญี่ปุนในไตรมาส 2 ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดีภาคการก่อสร้างในไตรมาส 3 ได้กลับมาหดตัวที่ -0.6%QoQ อีกครั้งเนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวลดลง

อนึ่ง หากพิจารณาอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจ U.K. ในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวในอัตราชะลอลงต่อเนื่อง จากที่ขยายตัวได้ 1.6%YoY ในไตรมาส 1 มาอยู่ที่ 0.6%YoY ในไตรมาส 2 และ 0.5%YoY ในไตรมาส 3 ตามลาดับ ส่งผลให้อัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.9%YoY ซึ่งต่ากว่าการคาดการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2554 ของรัฐบาลที่1.7%

สำนักงานที่ปรึกษาฯ คาดว่าเศรษฐกิจ U.K. ในปี 2554 จะขยายตัวได้เพียงประมาณ 1% ซึ่งต่ากว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2553 ที่ 1.8% ค่อนข้างมาก

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ
  • เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศล่าสุดปรับตัวแย่ลง โดยอัตราเงินเฟอและอัตราว่างงานได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี

เสถียรภาพเศรษฐกิจที่วัดจากอัตราเงินเฟอล่าสุดปรับตัวแย่ลง โดยอัตราเงินเฟอของ สหราชอาณาจักรได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากอัตราเงินเฟอที่คานวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) เร่งตัวสูงขึ้นจากเดือนสิงหาคมที่อยู่ที่ 4.5% ต่อปี มาอยู่ที่ 5.2% ต่อปี ในเดือนกันยายน 2554 (ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟอที่สูงที่สุดในรอบ 3 ปี) และอัตราเงินเฟอที่คานวณจากดัชนีราคาสินค้าขายปลีก (retail Price Index: RPI) ในเดือนกันยายนที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมที่อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี

สาเหตุหลักที่อัตราเงินเฟอในเดือนกันยายนปรับตัวสูงขึ้นมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงานและราคาสินค้าในหมวดบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาไฟฟ้าในเดือนกันยายนที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึง 7.4% และราคาแก๊ซที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึง 13% เนื่องจากผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้ผลิตแก๊ซได้มีการปรับราคาสินค้าสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ราคาสินค้าในภาคบริการของสหราชอาณาจักรเดือนกันยายนได้เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 4.6% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมาอยู่ที่ร้อยละ 20 จากร้อยละ 17.5 ในปีก่อนหน้า

ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศที่วัดจากอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2554 (มิถุนายน - สิงหาคม 2554) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.1 ของกาลังแรงงาน เพิ่มขึ้นจากอัตราการว่างงานในไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.7 ของกาลังแรงงาน โดยมีจานวนผู้ว่างงานในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนสิงหาคมทั้งสิ้น 2.57 ล้านคน (ซึ่งเป็นระดับจานวนผู้ว่างงานที่สูงกว่าระดับการว่างงานที่สูงที่สุดในช่วงเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ที่มีจานวนผู้ว่างงานอยู่ที่ 2.511 ล้านคน) และเมื่อพิจารณาจานวนผู้ว่างงานส่วนใหญ่ พบว่าเป็นผู้ว่างงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่มีอายุน้อยในช่วง 16-24 ปี ซึ่งคิดเป็นอัตราการว่างงานถึงร้อยละ 21.3 ของกาลังแรงงาน

อัตราการว่างงานที่สูงขึ้นดังกล่าว ได้สอดคล้องกับอัตราการจ้างงาน(Employment Rate) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2554 (มิถุนายน - สิงหาคม 2554) ที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 70.4 ของกาลังแรงงาน ลดลงจากร้อยละ 70.7 ของกาลังแรงงานในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า โดยมีจานวนผู้มีงานทา(Employment Level) รวม 29.1 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 178,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดต่อไตรมาสตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เสถียรภาพต่างประเทศล่าสุดปรับตัวดีขึ้น โดยดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ขาดดุลเหลือ-0.5% ในไตรมาส2 จาก-1.1% ในไตรมาส1

ดุลบัญชีเดินสะพัดของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 2 ของปี 2554 ปรับตัวดีขึ้น โดยดุลบัญชีเดินสะพัดรวม (Total Current Account) ขาดดุลรวม 2 พันล้านปอนด์ หรือ ประมาณร้อยละ -0.5 ของ GDP ลดลงจากไตรมาสแรกที่ขาดดุล 4.1 พันล้านปอนด์ หรือ ประมาณร้อยละ -1.1 ของ GDP

สำหรับสาเหตุที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลลดลงมาจาก (1) การเกินดุลของรายได้ผลตอบแทนจากต่างประเทศสุทธิ (Income) ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่เกินดุลร้อยละ 2 ของ GDP มาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ของ GDP ในไตรมาส 2 ของปี 2554 โดยได้รับปจจัยสนับสนุนจากผลตอบแทนของการลงทุนโดยตรงของบริษัทอังกฤษในต่างประเทศสุทธิ (Income from Foreign Direct Investment) ที่เพิ่มขึ้น และ (2) การขาดดุลที่ลดลงของดุลเงินโอน (Transfers) จากร้อยละ -1.5 ของ GDP ในไตรมาสแรก เหลือร้อยละ -1.3 ของ GDP ในไตรมาส 2 เนื่องจากรัฐบาลได้โอนเงินบริจาคให้ต่างชาติที่ลดลง อย่างไรก็ดี ดุลการค้าของสินค้าและบริการ (Trade) ในไตรมาส 2 ได้กลับมาขาดดุลมากขึ้นที่ร้อยละ -1.8 ของ GDP ในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่ขาดดุลร้อยละ -1.6 ของ GDP ในไตรมาสแรก อันเป็นผลมาจากการขาดดุลการค้ากับประเทศยุโรปที่กาลังประสบปญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่มากขึ้น ขณะที่การเกินดุลการค้ากับประเทศนอกยุโรปเริ่มลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้านอกยุโรปเริ่มขยายตัวลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ