รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 9, 2011 11:41 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2554

Summary:

1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย.54 ปรับตัวดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 61.0

2. โรเบิร์ต มันเดล ทำนาย 5 ปีเงินหยวนผงาด

3. ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 3.25

Highlight:
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย. 54 ปรับตัวดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 61.0
  • ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสารวจดัชนีความเชื่อมี่นผู้บริโภค เดือน พ.ย.54 ว่าดัชนีดังกล่าวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 61.0 โดยมีปัจจัยสาคัญมาจากปัญหาน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเชื่อว่าการปรับลดลงของดัชนีดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณความเชื่อมั่นที่ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และคาดว่าจะปรับดีขึ้นโดยการใช้จ่ายจะกลับมาเป็นปกติได้ในไตรมาส 2 ปีหน้า ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจปี 55 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.0-5.0 ภายใต้เงื่อนไขแผนฟื้นฟูของรัฐบาลเป็นรูปธรรมและไม่มีปัญหาการเมือง ขณะที่เศรษฐกิจปี 54 คาดว่าจะขยายตัวในกรอบร้อยละ 1.5-2.0
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การปรับลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 54 สะท้อนความกังวลของภาคเอกชนจากภาวะน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย.54 ทั้งนี้ ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายลงแล้ว ทำให้คาดว่าจากนี้ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของรัฐบาล ที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ อุปสงค์ภายในประเทศเติบโตได้ในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญของเศรฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้า จะยังคงเป็นความเสี่ยงจากการชะลอตัวของอุปสงค์ภายนอก เนื่องจาก (1) ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ที่มีแนวโน้มลุกลามและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซน และ (2) การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเอเชีน โดยจีนและสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 และ 4 ของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.0 และร้อยละ 9.8 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทยในปี 53 ตามลำดับ ทั้งนี้สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 5.0 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-5.5 คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 54)
2. โรเบิร์ต มันเดล ทำนาย 5 ปีเงินหยวนผงาด
  • โรเบิร์ต มันเดล นักวิชาการรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 42 กล่าวในหัวข้อเรื่อง "สู่ความเป็นสกุลเงินเดียวของโลก จากทองคำ ไปสู่ดอลลาร์ ยูโร หยวน" ว่า การรวมกลุ่มของประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN Economic Community) ในปี 58 นั้น อาจยังไม่เห็นการรวมเงินสกุลเดียวของอาเซียน แต่ก้าวแรกที่เอเชียสามารถทาได้เกี่ยวกับเงินสกุลเดียวในภูมิภาค คือ การทำให้เอเชียมีสกุลเงินสำคัญที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ และหยวนเป็นสกุลเงินสำคัญของภูมิภาค โดยในอีก 4-5 ปีข้างหน้าคาดว่าประเทศจีนจะสามารถเดินหน้าผลักดันแนวคิดในการทำให้ค่าเงินหยวนเป็นสกุลเงินสำคัญที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัจจุบันธุรกรรมทางการเงินของโลกอยู่ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐถึงร้อยละ 42.4 (ณ ปี 53) และเงินยูโรร้อยละ 19.5 ในขณะที่ค่าเงินสกุลเอเชียที่มีธุรกรรมสูงสุดคือเงินเยนญี่ปุ่น (ร้อยละ 9.5) รองลงมาคือเงินดอลลาร์ฮ่องกง (ร้อยละ 1.2) อย่างไรก็ตาม เงินหยวนของจีนมีความสาคัญมากขึ้นตามลำดับจากเดิม ณ ปี 41 มีธุรกรรมที่ใช้เงินหยวนเพียงร้อยละ 0.007 ของธุรกรรมรวมทั้งโลก แต่ในปี 53 ธุรกรรมในรูปของเงินหยวนเพิ่มขึน้ สูงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.4 หรือเพ่มิ ขนึ้ กว่า 62 เท่า อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้อานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินหยวน โดยจัดตั้งศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนและชาระหนี้เงินสกุลหยวนในต่างประเทศ (Offshore Yuan settlement) ที่ฮ่องกง อีกทั้งเปิด swap line ระหว่างธนาคารกลางจีนและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในอาเซียน เพื่อให้ประเทศในอาเซียนสามารถซื้อขายเงินหยวนกับธนาคารกลางจีนได้โดยตรง ดังนั้น หากเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและสามารถผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจระลอกต่อไปได้ก็มีความเป็ นไปได้ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนอาจใช้เงินหยวนเป็ นเงินสกุลหลักในการแลกเปลี่ยนในระดับภูมิภาคได้
3. ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 3.25
  • เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 54 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบยี นโยบาย (7-day Repurchase Rate) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 3.25 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปที่เรื้อรังเป็นเวลายาวนาน ขณะที่เศรษฐกิจคู่ค้าสาคัญอย่างจีนเริ่มส่งสัญญาณชะลอลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของเกาหลีใต้ในระยะต่อไป ผนวกกับแรงกดดันจากเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 54
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย โดยส่วนหนึ่งเป็ นผลมาจากความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปโดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม PIIGS (Portugal, Ireland, Italy, Greece และ Spain) ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซน สะท้อนจากการปรับตัวลดลงของดัชนีผู้จัดการฝ่ ยจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือน พ.ย.54 ที่อยู่ที่ระดับ 46.4 ซึ่งบ่งชี้สัญญาณการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี 55 นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนที่เป็นกลไกสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคเอเชียในช่วงที่ผ่านมาเริ่มส่งสัญญาณชะลอลงเช่นกัน ส่งผลให้คาดว่าเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกไปยังคู่ค้าดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบ จึงเป็นความท้าทายสาคัญของทางการในการดำเนินนโยบายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ