รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 16, 2011 12:32 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2554

Summary:

1. มหาวิทยาลังหอการค้าไทยคาดจีดีพีไตรมาส 4 ติดลบ 3.7% พร้อมประเมินทั้งปีโต1.4%

2. การส่งออกสิงคโปร์เดือน พ.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิตรายใหญ่ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นประจำไตรมาสที่ 4 ลดลงมาที่ -4.0

Highlight:
1. มหาวิทยาลังหอการค้าไทยคาดจีดีพีไตรมาส 4 ติดลบ 3.7% พร้อมประเมินทั้งปีโต1.4%
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) ของไทย ไตรมาส 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ปีนี้จะขยายตัวติดลบร้อยละ 3.7 และจีดีพีทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.4 พร้อมยังได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2555 เติบโตที่ร้อยละ 4.7 ภายใต้สมมุติฐานภาวะเศรษฐกิจโลกมีอัตราขยายตัวที่ร้อยละ 4 ภาคส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 จากปี 2554 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยปี 55 อยู่ที่ 29-30 บาทต่อดอลลาร์ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.5-4 อัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์พีเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.75-4 ขณะที่อัตราว่างงานลดเหลือร้อยละ 0.7
  • สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤตมหาอุทกภัยที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตมวลรมภายในประเทศ ณ ราคาปัจจุบัน (Nominal GDP) ที่ 2.9 แสนล้านบาท ส่งผลให้คาดว่าในปี 2554 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 สาหรับปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5) จากปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศผ่านนโยบายฟื้นฟูและกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคของภาครัฐ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะมีแนวโน้มดีขึ้นจากปีนี้
2. การส่งออกสิงคโปร์เดือน พ.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
  • การส่งออกสิงคโปร์ในเดือน พ.ย. 54 ขยายตัวสูงกว่าคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า (ตัวเลขปรับปรุง) ส่วนหนึ่งจากการส่งออกสินค้าเวชภัณฑ์ซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นกว่าร้อยละ 21.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า นอกจากนี้การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หลังจากที่หดตัวถึงร้อยละ -31.2 ในเดือนก่อนหน้าขณะที่การส่งออกสินค้าในหมวดปิโตรเคมีหดตัวร้อยละ -12.6 จากช่วงเกียวกันปีก่อน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้า จากสินค้าในหมวดเวชภัณฑ์ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกในหมวดสินค้าดังกล่าวมีความผันผวนสูง จากการที่อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเวชภัณฑ์มีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตที่ซับซ้อน ขณะที่หากวิเคราะห์การส่งออกสินค้าในหมวดอื่นๆพบว่า ยังคงขยายตัวได้ในระดับต่ำ หรือหดตัว สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลงต่อเนื่อง โดยคาดว่าการส่งออกของสิงคโปร์รวมทั้งประเทศอื่นๆในภูมิภาคน่าจะชะลอลงอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป ส่วนหนึ่งจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณชะลอลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ซึ่งยังคงประสบปัญหาหนี้สาธารณะเรื้อรัง ขณะที่สหรัฐฯยังคงประสบปัญหาอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ผนวกกับเศรษฐกิจจีนซึ่งเปรียบเสมือนหัวรถจักรของภูมิภาคเริ่มส่งสัญญาณชะลอลงเช่นกัน ส่งผลให้ สศค. คาดว่าในเดือน ธ.ค. 54 อาจมีการปรับประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 54 และ 55 จากคาดการณ์เดิมในเดือน ก.ย. 54 ที่ร้อยละ 5.0 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ4.5 — 5.5) และร้อยละ 4.7 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.2 — 5.2) ตามลำดับ
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิตรายใหญ่ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นประจาไตรมาสที่ 4 ลดลงมาที่ -4.0
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่นแถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิตรายใหญ่ภาคอุตสาหกรรม (Tankan Large Manufacturer Index) ประจาไตรมาสที่ 4 ปี 54 ที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ -4.0 โดยผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทมีมุมมองที่แย่ลงต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการรายใหญ่ในภาคการผลิตของญี่ปุ่น สะท้อนมุมมองของผู้ประกอบการต่ออุปสงค์ของสินค้าอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มลดลง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จากปัจจัยปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป การฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจาเดือน พ.ย. 54 ที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 38.1 สะท้อนมุมมองที่แย่ลงของผู้บริโภคต่อสภาพความเป็นอยู่ รายได้ และการจ้างงาน ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2554 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัวที่ร้อยละ -0.7 จากปัจจัยภัยพิบัติสึนามิในไตรมาสแรกของปี และผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานจากมหาอุทกภัยในประเทศไทยในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ที่ร้อยละ 2.5

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ