รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 20 - 24 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 27, 2012 10:52 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 54 หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ม.ค.55 หดตัวร้อยละ -36.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ม.ค.55 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -20.0 พันล้านบาท
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ เดือน ธ.ค.54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,297.3พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.3 ของ GDP
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค.55 หดตัวร้อยละ -9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 29.1
  • GDP (ตัวเลขปรับปรุง) ไต้หวัน ในไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือหดตัวร้อยละ -0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงจากระดับ CCC สู่ระดับ C
  • การส่งออกญี่ปุ่น ในเดือน ม.ค. 55 หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 9.8
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Feb: Headline Inflation(% YoY)          3.6                3.4
  • เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากราคาน้ามันขายปลีกภายในประเทศมีการปรับตัวสูงขึ่นจากการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันของน้ำมันเบนซิน และแก้สโซฮอล์ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการปรับเพิ่มราคาก๊าซเอนจีวี และแอลพีจี ในอัตรา 0.5 และ0.75 บาทต่อลิตร ทำให้มีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มสูงขึ้น สำหรับราคาไข่ไก่และผักผลไม้มีการปรับราคาขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาเนื้อสัตว์มีการปรับตัวลดลง ด้วยเหตุนี้ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom)
Economic Indicators: This Week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 54 หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสที่ 3 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 และเมื่อพิจารณาผลของฤดูกาลออก (QoQ_SA) พบว่าหดตัวร้อยละ -10.7 ตามการลดลงของอุปทาน โดยเฉพาะผลผลิตอุตสาหกรรมที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -21.8 จากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญในช่วงปลายปี 54 นอกจากนี้ยังส่งต่ออุปสงค์ทั้งภายในและต่างประเทศหดตัวลง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ -3.0 และร้อยละ -1.3 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการหดตัวลงร้อยละ -6.5 ทำให้ในปี 54 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปี 53
          - ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ม.ค. 55 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 150.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ   -36.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือน ม.ค. 55 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 135.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -38.5 แบ่งออกเป็น        (1) รายจ่ายประจำจำนวน 131.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ   -10.2 (2) รายจ่ายลงทุนจำนวน 4.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -94.3 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหมจำนวน 6.4 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจำนวน 6.4 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 5.7 พันล้านบาท และรายจ่ายอื่นของสำนักงานศาลยุติธรรมจำนวน 2.3 พันล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณปีก่อนเบิกจ่ายได้จำนวน 14.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในเดือนม.ค. 55 มีจานวน 1.5 พันล้านบาท โดยมีการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เดือนก.ย. 52 - ม.ค. 55 จำนวน 303.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 86.9 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ม.ค.55 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -20.0 พันล้าน บาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -3.7 พันล้านบาท จากการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ (งวดที่ 12)ที่เหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณก่อนหน้าจำนวน 6.1 พันล้านบาทและการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้จากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 1.5 พันล้านบาท และการแปลงตั๋วเงินคลังจำนวน 5.2 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสด(ก่อนกู้)ขาดดุลจำนวน -23.7 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ 241.0 พันล้านบาท
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,297.3 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.3 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงสุทธิ 6.2 พันล้านบาท เนื่องจากมีการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำหรับสถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคงมาก สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 99.0 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 92.0 ของยอดหนี้สาธารณะ)
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -0.2 หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 ทั้งนี้ ภาวะการลงทุนยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวชะลอลงถือเป็นแรงสนับสนุนที่ดีต่อการลงทุน โดยดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.7
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค. 55 มีจานวน 2.80 หมื่นคัน หรือหดตัวชะลอลงร้อยละ -9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -28.1 โดยได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ทำให้ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่สามารถกลับมาผลิตได้มากขึ้น ประกอบกับมีการเร่งนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากต่างประเทศในเดือนมกราคมมากขึ้น เพื่อทดแทนโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ตามปกติ
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 55 มีจานวน 4.83 หมื่นคัน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 29.1 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -49.6 ตามการเพิ่มขึ้นของรถปิคอัพที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 35.3 จากเดือน ธ.ค.54 ที่หดตัวร้อยละ -54.5 เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ทำให้ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่เร่งดำเนินการผลิต เพื่อเร่งส่งมอบรถที่ค้างจองได้มากขึ้น
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 55 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้นจากการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันของน้ำมันเบนซิน และแก้สโซฮอล์ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการปรับเพิ่มราคาก๊าซเอนจีวี และแอลพีจี ในอัตรา 0.5 และ0.75 บาทต่อลิตร ทำให้มีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มสูงขึ้น สำหรับราคาไข่ไก่และผักผลไม้มีการปรับราคาขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาเนื้อสัตว์มีการปรับตัวลดลง ด้วยเหตุนี้ ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom)

Global Economic Indicators: This Week

USA: improving economic trend
  • ยอดขายบ้านมือสอง (Existing home sales) เดือน ม.ค.55 อยู่ที่ 4.57 ล้านหลัง (annual rate) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 20 เดือน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ราคากลางบ้าน (Median Home Price) ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 154,700 ดอลลาร์สหรัฐทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
China: worsening economic trend
  • ราคาบ้าน เดือน ม.ค.55 หดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สาเหตุจากผู้ซื้อบ้านชะลอการซื้อ จากการความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนโดยราคาบ้าน 47 ใน 70 เมืองลดลงการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สาเหตุจากผู้ซื้อบ้านชะลอการซื้อ จากการความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนโดยราคาบ้าน 47 ใน 70 เมืองลดลงการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สาเหตุจากผู้ซื้อบ้านชะลอการซื้อ จากการความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนโดยราคาบ้าน 47 ใน 70 เมืองลดลง
Japan: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออกเดือน ม.ค.55 หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงประกอบกับเงินเยนแข็งค่าขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนาเข้าเดือน ม.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 9.8 จากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการขาดแคลนพลังงานนิวเคลียร์จากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องเร่งนำเข้าสินค้าพลังงาน ส่งผลทำให้ดุลการค้าเดือน ม.ค. 55 ขาดดุล 1.475 ล้านล้านเยน (18.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 1,269.9 พันล้านเยน
EU: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมเบื้องต้น (Flash Composite PMI) เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 49.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.4 ผลจากดัชนีของทั้งภาคบริการและอุตสาหกรรมอยู่ในระดับต่ำกว่า 50.0 ซึ่งบ่งชี้การหดตัวของเศรษฐกิจฝั่งอุปทานอย่างชัดเจน คาสั่งซื้อใหม่สินค้าอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 54 ซึ่งหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากคำสั่งซื้อในแทบทุกหมวดหดตัวลง โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน และสินค้าทุน สะท้อนเศรษฐกิจยูโรโซนในด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคและลงทุนที่ส่งสัญญาณชะลอลงชัดเจน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 55 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ -20.2 โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -20.7 (ตัวเลขปรับปรุง) ส่วนหนึ่งจากมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน (bailout package) แก่กรีซที่ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตามสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงจากระดับ CCC สู่ระดับ C ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์กรีซ
Hong Kong: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 55 หดตัวร้อยละ -8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยมูลค่าส่งออกไปยังแทบทุกตลาดหดตัวลง โดยเฉพาะจีนและยูโรโซน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 55 หดตัวร้อยละ -10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ในส่วนของเสถียรภาพในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ม.ค. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐาน เนื่องจากเทศกาลตรุษจีนในปีก่อนหน้าอยู่ในเดือน ก.พ. ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 55 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 55 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากค่าขนส่งชะลอตัวลงจากร้อยละ 10.0 ในเดือน ธ.ค. 54 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เป็นสำคัญ
Taiwan: worsening economic trend
  • GDP (ตัวเลขปรับปรุง) ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือหดตัวร้อยละ -0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากการหดตัวของการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ในไตรมาสที่ 4 อย่างไรก็ตามภาคการส่งออกเริ่มส่งสัญญาณชะลอลงชัดเจนในไตรมาสที่ 1 ปี 55 สะท้อนจากคาสั่งซื้อสินค้าส่งออก เดือน ม.ค.55 ที่หดตัวร้อยละ -8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการหดตัวของคำสั่งซื้อจากจีน ซึ่งหดตัวกว่าร้อยละ -20.8 โดยเฉพาะในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสหภาพยุโรปซึ่งหดตัวร้อยละ -1.2 สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 55 ที่หดตัวกว่าร้อยละ -16.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.2 ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค.55 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.2 ของกาลังแรงงานรวม
Malaysia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากราคาอาหารและค่าขนส่งที่ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 และ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวในช่วงระดับ 1,130 -1,140 จุด โดยมีความผันผวนระหว่างวันสูง โดยดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวลงเล็กน้อยช่วงกลางสัปดาห์ จากตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนและยูโรโซนที่ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ ทำให้นักลงทุนบางส่วนเทขายหลักทรัพย์เพื่อทำกำไรเนื่องจากราคาปรับตัวสูงขึ้นมามากแล้ว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20 - 23 ก.พ.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 8,077 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยค่อนข้างคงที่ โดยมีแรงซื้อขายจากนักลงทุนในพันธบัตรทุกช่วงอายุ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20 - 23 ก.พ. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 6,718 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 23 ก.พ.55 แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐร้อยละ 1.69 ผลจากเงินทุนที่ไหลเข้าตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินของคู่ค้าอื่นๆ โดยเฉพาะค่าเงินเยน ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.74
  • ราคาทองคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 23 ก.พ. 55 ปิดที่ 1,780 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,734 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ