รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 29 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 29, 2012 11:43 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 29 มีนาคม 2555

Summary:

1. "ธนินท์" เชียร์ "บาทอ่อน" กระตุ้นศก. เอกชนค้านไอเดีย หวั่นตปท.เก็งกำไร

2. น้ำมันแพง คนแห่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีเพิ่มร้อยละ 4

3. ต้นทุนนำเข้าน้ำมันทั่วโลกพุ่ง 2 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้

Highlight:
1. "ธนินท์" เชียร์ "บาทอ่อน" กระตุ้นศก. เอกชนค้านไอเดีย หวั่นตปท.เก็งกาไร
  • นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่า หากใช้นโยบายค่าเงินบาทอ่อนจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตามเน้นว่าการทำให้เศรษฐกิจเติบโตมีหลายวิธี โดยเรื่องค่าเงินบาท มีทั้งผู้ได้และเสียผลประโยชน์ หากใช้นโยบายบาทอ่อน คนได้ประโยชน์คือ ผู้ส่งออก เรื่องค่าเงินบาท มีทั้งผู้ได้และเสียผลประโยชน์ หากใช้นโยบายบาทอ่อน คนได้ประโยชน์คือ ผู้ส่งออก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ค่าเงินบาท ณ เดือน มี.ค.55 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 30.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มีแนวโน้มอ่อนค่าลง สะท้อนได้จากการปรับตัวของค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ซึ่งสอดรับกับนโยบายค่าเงินบาทอ่อนค่าที่จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ดี นโยบายดังกล่าว แม้ว่าจะช่วยให้ราคาสินค้าส่งออกมีราคาถูกลง แต่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนาเข้าของผู้ประกอบการที่สูงขึ้น ทั้งยังเป็นการเพิ่มอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น และการที่เงินบาทอ่อนค่าก็ไม่ได้ช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น ดังนั้นควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด โดยที่รัฐบาลต้องเข้าควบคุมไม่ให้ค่าเงินบาทเกิดความผันผวนมากนัก ทั้งนี้ สาหรับสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 (ณ เดือน มี.ค. 55) คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 31.0 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 30.0-32.0) ซึ่งเศรษฐกิจไทยในปี 55 จะสามารถขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.0-6.0) โดยได้รับปัจจัยบวกจากอุปสงค์ภายในประเทศประกอบกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ารายวัน เงินเดือนข้าราชการ และโครงการรับจานาข้าวเปลือก
2. น้ำมันแพง คนแห่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีเพิ่มร้อยละ 4
  • อธิบดีกรมธุกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ภาพรวมปริมาณการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือน ก.พ.55 อยู่ที่ 1.04 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากเดือน ม.ค. 55 คิดเป็นมูลค่า 1.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นนำเข้าน้ามันดิบ 9.74 แสนบาร์เรลต่อวัน มูลค่า 1.03 แสนล้านบาท น้ำมันสำเร็จรูป 7.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน มูลค่า 6,449 ล้านบาท โดยการนำเข้าน้ามันเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการนำเข้าแอลพีจีเดือน ก.พ. ที่ผ่านมามากขึ้น ส่วนการส่งออกน้ามันสาเร็จรูปอยู่ที่ 2.1 แสนบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 มีมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูง ทำให้จูงใจส่งออกเพิ่มขึ้น
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ปริมาณการนาเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากประชาชนอาจเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ก๊าซธรรมชาติสาหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันในปัจจุบันอยู่ในระดับสูง ซึ่งราคาขายก๊าซเอ็นจีวีในปัจจุบันอยู่ที่ 10 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซเอ็นจีวีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ามันที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวยังไม่ส่งผลเป็นแรงกดดันต่อเงินเฟ้อมากนัก โดยข้อมูลล่าสุดเดือน ก.พ. 55 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 ซึ่งจะต้องติดตามทิศทางราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศต่อไป และผลต่อเนื่องถึงราคาอาหารและสินค้าอื่นๆ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.1-4.1 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8-2.8 (คาดการณ์ณ มีนาคม 55)
3. ต้นทุนนาเข้าน้ำมันทั่วโลกพุ่ง 2 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้
  • สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศผู้บริโภคน้ำมันจะใช้จ่ายมากเป็นประวัติการณ์ถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ เพื่อนาเข้าน้ามันถ้าราคาน้ำมันดิบไม่ปรับตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลบั่นทอนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบพุ่งแตะระดับ 128 ดอลลาร์ต่อบาเรล ในเดือนนี้ ซึ่งต่ากว่าระดับสูงสุดในปี 2551 เพียง 20 ดอลลาร์ โดยมีสาเหตุจากมาตรการคว่าบาตรอิหร่าน
  • สศค. วิเคราะห์ว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการคว่าบาตรอิหร่านของชาติตะวันตกได้ส่งผลให้อุปทานน้ามันดิบในตลาดตึงตัวขึ้น ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การหยุดเดินระบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น เศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณการฟื้นตัว และเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ที่ยังคงขยายตัวได้ดีแม้ชะลอตัวลง และจากมาตรการคว่าบาตรของชาติตะวันตกได้ส่งผลให้ในเดือนก.พ.จีนซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ามันรายใหญ่ได้ปรับลดการนาเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านลงมากถึงร้อยละ 50 จากเดือนธ.ค.มาอยู่ที่ 2.9 แสนบาร์เรลต่อวันและหันมานาเข้าจากซาอุดิอาระเบียแทนโดยยอดนาเข้าจากซาอุดิอาระเบียปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้ที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียได้ประกาศเพิ่มกาลังการผลิตน้ำมันดิบถึง 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ทางการอิหร่านเผยว่าปริมาณการส่งออกน้ามันดิบของอิหร่านเดือนมี.ค.ปรับลดลงถึงร้อยละ 14 โดยส่งออกได้ไม่ถึง 3 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันยังไม่มีข้อสรุป ขณะที่ภายในกลางปีนี้มาตรการคว่าบาตรของชาติยุโรปจะเริ่มมีผลบังคับใช้และจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันอย่างน้อย 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะส่งผลทาให้ตลาดน้ำมันตึงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ สศค.คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี 55 จะอยู่ที่ 118 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยขยายตัวประมาณร้อยละ 9.8 (ประมาณการณ์ ณ มีนาคม 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ