รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 19 เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 19, 2012 12:06 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 19 เมษายน 2555

Summary:

1. ไอเอ็มเอฟคาดปีหน้าจีดีพีไทยพุ่งร้อยละ 7.5 สูงสุดในอาเซียน

2. คณะกรรมการกากับสูตรการปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติอยู่ระหว่างพิจารณาปรับขึ้นค่าเอฟที

3. ไอเอ็มเอฟปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก

Highlight:
1. ไอเอ็มเอฟคาดปีหน้าจีดีพีไทยพุ่งร้อยละ 7.5 สูงสุดในอาเซียน
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ออกรายงานทบทวนปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัว ของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวมากขึ้นและอันตรายจากยุโรปก็ลดน้อยลง แต่ไอเอ็มเอฟเตือนว่ายังคงมีความเสี่ยงอยู่มากและสถานการณ์ก็มีความเปราะบาง ในส่วน ของประเทศไทยนั้น ไอเอ็มเอฟ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 ในปีนี้ ขณะที่ในปีหน้าจะพุ่ง ขึ้นถึงร้อยละ 7.5 ซึ่งมากที่สุดในอาเซียน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวหลังจากเกิดวิกฤตอุทกภัย โดยได้รับ ปัจจัยบวกจากอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่อัตราการว่างงานล่าสุดเดือน ก.พ.55 ขยายตัว อยู่ที่ร้อยละ 0.7 รวมทั้งนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่ม ค่าจ้างขั้นต่ารายวัน เงินเดือนข้าราชการ และโครงการรับจานาข้าวเปลือก และการลงทุนภายใต้ พรก. 3.5 แสนล้าน เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการน้าและสร้างอนาคตประเทศ ประกอบกับ ในปีงบประมาณ 2556 ภาครัฐยังคงเน้นบทบาทนโยบาการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการจัดทางบประมาณขาดดุลจานวน 3.0 แสนล้านบาท จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยกลับมา ขยายตัวในลักษณะ V shaped ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรปโดยเฉพาะสเปนและอิตาลี และเศรษฐกิจจีนที่เริ่มเติบโตชะลอตัว อาจส่งผลต่อการส่งออก ของไทย ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 ช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 5.0-6.0 (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค.55)
2. คณะกรรมการกากับสูตรการปรับค่าฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติอยู่ระหว่างพิจารณาปรับขึ้นค่าเอฟที
  • เลขาธิการสานักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (สกพ.) เปิดเผยว่า วันที่ 23 เม.ย. นี้ คณะอนุกรรมการกากับสูตรการปรับค่าฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) จะพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าภาพรวมทั้งหมด จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการเอฟทีพิจารณาการปรับค่าเอฟทีรอบเดือน พ.ค.—ส.ค.55 ในวันที่ 25 เม.ย. นี้อีกครั้ง ในอัตรา 25 สตางค์/หน่วย เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติปรับเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นคงจะต้องดูผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ขีดความสามารถการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม และความสามารถในการรับภาระของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เนื่องจากราคาเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิตปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เช่น ราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 15.4 ส่งผลให้การไฟฟ้า ต้องมีการปรับค่าเอฟทีให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในไตรมาสที่ 1/55 ขยายตัวร้อยละ 3.39 โดย CPI ในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปา และแสงสว่างคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.1 และขยายตัวร้อยละ 8.52 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามในช่วงเดือน ม.ค.—เม.ย.55 ภาครัฐได้เรียกเก็บค่าเอฟทีในอัตรา 0.00 สตางค์/หน่วย เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน และภาคการผลิตที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูจากผลกระทบของวิกฤตอุทกภัย ทั้งนี้ การปรับค่าเอฟทีเพิ่มขึ้นในครั้งนี้อาจจะส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชน และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดย สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 3.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1 — 4.1)
3. ไอเอ็มเอฟปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก
  • ไอเอ็มเอฟ ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 55 และ 56 โดยระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตรา 3.5% ในปี 55 ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.2% จากการคาดการณ์ในเดือนม.ค. โดยเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ พัฒนาแล้วจะเติบโตที่ 1.4% และกลุ่มประเทศกาลังพัฒนาจะขยายตัวมากถึง 5.7% เศรษฐกิจสหรัฐ จะขยายตัวอยู่ที่ 2.1% ในปี 55 และ 2.4% ในปี 56 ขณะที่ สถานการณ์ในยุโรปเริ่มมีเสถียรภาพนับจาก ต้นเดือนม.ค. จากความเชื่อมั่นในตลาดการเงินปรับตัวดีขึ้น โดยเศรษฐกิจยูโรโซนจะหดตัว 0.3% ในปี 55
  • สศค. วิเคราะห์ว่านับจากต้นปี เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณดีขึ้นหลายปัจจัย กล่าวคือ เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างช้าๆทั้งในตลาดแรงงาน และภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้อัตรา การว่างงานเดือนก.พ.จะยังคงทรงตัวที่ร้อยละ 8.3 แต่การจ้างงานนอกภาคเกษตรยังคงเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 ในส่วนของเศรษฐกิจยูโรโซน แม้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศล่าสุดส่วนใหญ่ยังคงสะท้อนถึงความอ่อนแอโดยเฉพาะในตลาดแรงงานที่อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 10.8 ของกาลังแรงงานจากร้อยละ 10.7 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีชี้เศรษฐกิจ (Composite Purchsing Managers’ Index) เดือนมี.ค.หดตัวลงแตะระดับ 47.7 จากระดับ 49.0 ในเดือนก.พ. ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาส 1/55 มีแนวโน้มหดตัว ต่อเนื่อง หลังจากที่หดตัวร้อยละ -0.3 q/q ในไตรมาสที่ 4/54 อย่างไรก็ตาม ความกังวลจากปัญหนี้ ในยุโรปได้ผ่อนคลายลงหลังจากที่รัฐบาลกรีซได้เสร็จสิ้นการแลกปลี่ยนพันธบัตรมูลค่า 1.772 แสนล้านยูโรกับกลุ่มเจ้าหนี้เอกชนไปเมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่ผ่านมาซึ่งทาให้ความเชื่อมั่น ในตลาดเงินดีขึ้นเป็นลาดับ ทั้งนี้ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรปปี 55 จะขยายตัว อยู่ที่ร้อยละ 2.2 และร้อยละ -0.9 ตามลาดับ (คาดการณ์ ณ มีนาคม 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ