รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 26 เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 26, 2012 14:45 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 26 เมษายน 2555

Summary:

1. กระทรวงคมนาคมเร่งสรุปผลโครงการรถไฟความเร็วสูง

2. กกพ. แถลงผลการพิจารณาค่าเอฟทีรอบ พ.ค.- ส.ค.55 โดยอนุมัติให้ปรับขึ้นในอัตรา 30 สตางค์/หน่วย

3. ที่ปรึกษาพิเศษยูเอ็นเผยพม่ามีศักยภาพที่จะเป็นเสือเศรษฐกิจของทวีปเอเชียได้

Highlight:
1. กระทรวงคมนาคมเร่งสรุปผลโครงการรถไฟความเร็วสูง
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เปิดเผยว่า ภายในปีนี้จะมีความชัดเจนในการผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ในประเทศไทย โดยจะเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกากับการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นกรรมการและเลขานุการ และคาดว่าภายในรัฐบาลชุดนี้ จะมีรถไฟความเร็วสูงให้บริการอย่างน้อย 1 สาย ทั้งนี้ เบื้องต้นคาดว่า จะดำเนินการรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ 4 เส้นทาง จากทั้งหมด 5 เส้นทาง คือ เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กม. มูลค่า 229,000 ลบ. เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย ระยะทาง 615 กม. มูลค่า 201,449 ลบ. เส้นทางกรุงเทพฯ - ระยอง ระยะทาง 221 กม. มูลค่า72,265 ลบ. ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต และเส้นทางกรุงเทพฯ - หัวหิน ระยะทาง 225 กม. วงเงิน 82,166 ลบ.
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว และเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่จะมีการเปิดเสรีด้านการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ (AEC) อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีข้อจำกัดด้านงบประมาณโดยในปี 55 และปี 56 ภาครัฐมีรายจ่ายลงทุนจานวน 423.4 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่องบประมาณร้อยละ 17.8 และ 467.0 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่องบประมาณร้อยละ 19.5 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปัจจุบันภาครัฐได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (PPP) และอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
2. กกพ. แถลงผลการพิจารณาค่าเอฟทีรอบ พ.ค.- ส.ค.55 โดยอนุมัติให้ปรับขึ้นในอัตรา 30 สตางค์/หน่วย
  • ประธานกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม การประมาณการค่าไฟฟ้า ตามสูตรการปรับอัตราค่าเอฟที สาหรับการเรียกเก็บในเดือน พ.ค. — ส.ค. 2555 ว่า กกพ.มีมติให้ปรับในอัตรา 30 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งต่ำกว่าอัตราที่การไฟฟ้าฝ่ายการผลิตแห่งประเทศไทยเสนอมาที่ 57.45 สตางค์ต่อหน่วย ประกอบด้วย ต้นทุนค่าผลิตไฟฟ้า จำนวน 38.40 สตางค์ต่อหน่วย และค่าเชื้อเพลิงและค่ารับซื้อ ไฟฟ้า จำนวน 19.05 สตางค์ต่อหน่วย โดยสาเหตุมาจากการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ช่วงเดือน ม.ค. — เม.ย. เพิ่มขี้นมาจากอากาศร้อน และราคาเชื้อเพลิงปรับสูงขี้น ในขณะที่ภาคการผลิตเพิ่งเริ่มจะฟื้นตัว
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนมี.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.45 เนื่องมาจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและการขนส่ง จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีก ในประเทศที่ปรับราคาสูงขึ้นตามราคาน้ำมันตลาดโลก ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในอัตรา 30 สตางค์ ต่อหน่วย จะมีผลกระทบน้อยต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศ เนื่องจากสัดส่วนน้ำหนักของการใช้จ่ายของหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปาและแสงสว่างอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ซี่งอยู่ในอัตราที่น้อยเมื่อเทียบกับหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หรือหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ดังนั้นผลกระทบจาก การปรับอัตราค่าไฟฟ้าจะมีผลกระทบเพีองเล็กน้อย ต่อสภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้การปรับ ค่าไฟฟ้าในครั้งนี้ อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสในการปรับราคาสิ้นค้าให้สูงขี้น ซึ่งภาครัฐ ควรจะควบคุมอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 3.6 (โดยมี การคาดการณ์ร้อยละ 3.1 — 4.1)
3. ที่ปรึกษาพิเศษยูเอ็นเผยพม่ามีศักยภาพที่จะเป็นเสือเศรษฐกิจของทวีปเอเชียได้
  • นายวิชัย นัมเบียร์ ที่ปรึกษาพิเศษเกี่ยวกับพม่าของเลขาธิการสหประชาชาติ เผย หลังผ่านพ้นช่วงเวลากว่า 20 ปี ที่พม่าโดดเดี่ยวตัวเอง เวลานี้พม่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัดและรวดเร็ว มีรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง และรัฐสภา สิ่งสำคัญในเวลานี้คือ การเร่งรัดพัฒนาพม่า และพม่ามีความจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น โดยผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆเพื่อเอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น สิ่งแรกที่ยูเอ็นจะให้ความช่วยเหลือคือ การจัดลำดับความสำคัญของแผนการพัฒนาประเทศ ซึ่งหากพม่าจัดการกับปัจจัยต่างๆเหล่านี้ได้ เชื่อว่ามีแนวโน้มอย่างมากที่พม่าจะกลายเป็นเสือเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในพม่า สะท้อนถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งขณะนี้การปฏิรูปต่างๆที่กาลังเริ่มดาเนินการในพม่า ได้แก่ การพัฒนาระบบการเงินการธนาคารที่รัฐบาลพม่าได้รับความร่วมมือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารพัฒนาเอเชีย รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย การปฏิรูปด้านกฎหมายเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน เช่น การจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และร่างกฎหมายการลงทุนในเขตทวาย รวมทั้งแก้ไขกฏหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการธนาคาร การประกัน และการบริหารจัดการและการดำเนินธุรกรรมด้านการแลกเปลี่ยนเงินตรา เพื่ออำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ และเตรียมพร้อมเข้าสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยในส่วนของการลงทุนจากต่างประเทศนับจากปี 2531-เดือน ม.ค.55 พม่ามีเม็ดเงินลงทุน 40.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยจีนมีการลงทุนเป็นอันดับ 1 มูลค่า 13.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 34.5 ตามด้วยไทยมูลค่า 9.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ฮ่องกง เกาหลีใต้ อังกฤษ และสิงค์โปร์ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน อุตสาหกรรม ภาคบริการ และอสังหาริมทรัพย์ ตามลำดับ ทั้งนี้ทางการพม่าได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 55/56 อยู่ที่ร้อยะ 6.7 ต่อปี

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ