รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 1, 2012 11:00 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. พาณิชย์เผยบริษัทตั้งใหม่จดทะเบียนเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 5.0

2. สถาบันอาหารมั่นใจอุตฯอาหารส่งออกปี 55 โตร้อยละ 5.1 ทะลุกว่า 1 ล้านลบ.

3. น้ำมันดิบ WTI ปิดลบ 6 เซนต์ หลังเศรษฐกิจสเปนหดตัว

Highlight:
1. พาณิชย์เผยบริษัทตั้งใหม่จดทะเบียนเดือนมี.ค. 55 ลดลงร้อยละ - 5.0
  • รมช.กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่าในเดือนมี.ค.55 มีผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เป็นนิติบุคคลจานวน 5,431 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. 54 ซึ่งมีจานวน 5,742 ราย ลดลงร้อยละ -5.0 สาหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศในเดือนมี.ค. 55 มีจานวน 923 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. 54 ซึ่งมีจำนวน 451 ราย เพิ่มขึ้น 472 ราย คิดเป็นร้อยละ 104 ทั้งนี้เมื่อรวมทั้งหมดจะมีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจากัดทั่วประเทศจำนวน 504,274 ราย และบริษัทมหาชนคงอยู่ 922 ราย
  • สศค. วิเคราะห์ว่าจำนวนการขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มลดลง เนื่องจากในช่วงเดือนมี.ค.55 ความกังวลจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มสหภาพยุโรปกลับมาอีกครั้ง ทำให้ผู้ประกอบการคาดว่าอุปสงค์จากตลาดโลกจะชะลอตัวลง ประกอบกับเป็นช่วงที่ราคาน้ามันดิบดูไบปรับตัวขึ้นสูงที่สุดในปี 55 ที่ 108.8 ดอลล่าร์สหรัฐ/บาร์เรล อย่างไรก็ดีล่าสุดในเดือน เม.ย.55 สถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น และราคาน้ำมันดิบก็ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด ทาให้คาดว่าความเชื่อมั่นของการลงทุนภาคเอกชนจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ สศค.คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในปี 55 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 11.9
2. สถาบันอาหารมั่นใจอุตฯ อาหารส่งออกปี 55 โตร้อยละ 5.1 ทะลุกว่า 1 ล้านลบ.
  • รองผู้อานวยการสถาบันอาหาร กล่าวถึง ภาพรวมการส่งออกอาหารในปี 55 คาดว่าจะมีมูลค่าราว 1,013,250 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วงร้อยละ 5.1 โดยไก่และสัตว์ปีก เป็นสินค้าที่ขยายตัวดีโดยเฉพาะที่มีตลาดหลักในประเทศญี่ปุ่นและยุโรป
  • สศค.วิเคราะว่า แนวโน้มการส่งออกอาหารในปี 55 มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยบวกจากตลาดอาหารโลกจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในประเทศฝั่งเอเชีย เนื่องจากจานวนประชากรโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความต้องการปริมาณอาหารเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีจากข้อมูลเดือน มี.ค.55 การส่งออกรวมยังคงหดตัวร้อยละ -6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 19,866.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากปัจจัยฐานสูงจากปีที่แล้ว ประกอบปัญหาอุทกภัยที่ยังคงส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตทำให้ส่งออกสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้การส่งออกรวมไตรมาส 1 ปี 55 หดตัวร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่าส่งออก 54,641.8 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในปี 55 จะขยายตัว ร้อยละ 13.5 (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 55)
3. น้ำมันดิบ WTI ปิดลบ 6 เซนต์ หลังเศรษฐกิจสเปนหดตัว
  • สำนักข่าวซินหัวรายงานว่าสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงหลังจากมีรายงานว่า เศรษฐกิจสเปนหดตัวร้อยละ -0.3 ในไตรมาสแรกปี 55 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และเมื่อเทียบรายปี พบว่า จีดีพี หดตัวลงร้อยละ -0.4 หลังจากมีการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก อยู่ที่ระดับ 56.2 ในเดือนเมษายน ลดลงจากระดับ 62.2 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากยอดสั่งซื้อใหม่ร่วงลง
  • สศค.วิเคราะห์ว่าราคาน้ำมันยังคงมีแนวโน้มผันผวนจากหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดลงของราคาน้ามัน นอกเหนือจากปัจจัยความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปดังกล่าวแล้วคือ การที่กลุ่ม OPEC ทั้งซาอุฯ ลิเบีย และอิรัก ได้เพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อชดเชยผลผลิตที่ลดลงของอิหร่าน อย่างไรก็ดี ยังคงมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในระยะต่อไป อาทิ การใช้กำลังทางทหารในอิหร่านหากการเจรจากับชาติตะวันตกไม่สาเร็จ ความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย และปัจจัยภายในประเทศไทยเองจากนโยบายทยอยปรับเพิ่มราคาเชื้อเพลิงในประเทศ ทั้ง น้ำมัน NGV และ LPG เพื่อทยอยลดการอุดหนุนราคา ซึ่งจะส่งผลต่อกระทบต่อภาคเศรษฐกิจการผลิตของไทยเป็นสาคัญ เนื่องจากใช้พลังงานน้ำมันเฉลี่ยกว่าร้อยละ 45 ของพลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด โดยเฉพาะภาคการขนส่งที่ใช้พลังงานน้ำมันกว่าร้อยละ 90

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ