Executive Summary
Indicators this week
- วันที่ 13 มิ.ย.55 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน พ.ค.55 มีจานวนทั้งสิ้น 1.52 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ -10.8
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 55 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ 2.1 ล้านล้านบาท
- มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน พ.ค.55 ขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ เดือน พ.ค.55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป เดือน เม.ย.55 หดตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น เดือน พ.ค.55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 40.7 จุด
- ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มิ.ย.55 ไว้ในระดับตาต่อเนื่องที่ช่วงร้อยละ 0-0.1
Indicators next week
Indicators Forecast Previous
May: TISI (Level) 106.0 104.0
- โดยมีปัจจัยบวกจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมหลักๆ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าจะสามารถกลับมาผลิตได้ในระดับที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 สะท้อนว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับดี แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ยังคงมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากค่าแรง ประกอบกับความกังวลต่อวิกฤตหนี้ยุโรป
- โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1.) ปัจจัยฐานการคานวณที่ตาจากปีที่แล้วที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในประเทศญี่ปุ่น 2.) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวดต่อเนื่อง และ 3.) กาลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทาให้สามารถส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น
Economic Indicators: This Week
- วันที่ 13 มิ.ย. 55 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในขณะนี้มีความเสี่ยงด้านการขยายตัวมากกว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ โดยปัจจัยเสี่ยงหลักคือเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง จากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป กนง. จึงเห็นควรดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนต่อไป เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงและรองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก โดยให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน พ.ค.55 มีจานวนทั้งสิ้น 1.52 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 3.2เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) โดยเป็นการขยายตัวได้ดีมากจาก ประเทศจีน รัสเซียและเยอรมนี ที่ร้อยละ 37.9 52.9 และ 35.7 ตามลำดับ
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวที่ ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.2 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น หลังจากได้รับจากปัญหาน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่แล้ว ในขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากผลผลิตสุกร และไก่เนื้อที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 และร้อยละ 6.1 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ 5 เดือนแรกปี 55 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียยบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 55 หดตัวร้อยละ-10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -13.2 ตามการลดลงของราคาผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา และมันสำปะหลัง โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) ปัจจัยฐานสูงในช่วงต้นปี 54 ที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง จากราคายางพารา และมันสำปะหลัง 2) อุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง ตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อย่างไรก็ตามดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 55 หดตัวในอัตราชะลอลง ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก 15,000 บาทต่อตันของรัฐบาล ส่งผลราคาข้าวเปลือกในท้องตลาดปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือน พ.ค.55 ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15 % ขยายตัวร้อยละ 28.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ค.55 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของภูมิภาค (สัดส่วนร้อยละ 80.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม) ขยายตัวร้อยละ 13.3 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในขณะที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม. (สัดส่วนร้อยละ 20.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม) ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 20.9 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.7 สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวจากช่วงปลายปี 54
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย.55 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ 2.1 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ทั้งยอดคงค้างสินเชื่อและยอดคงค้างเงินฝากปรับตัวดีขึ้น โดยยอดคงค้างสินเชื่อขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า
Economic Indicators: Next Week
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค.55 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 106.0 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 104.0 ซึ่งคาดว่าจะเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ภายหลังจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง โดยมีปัจจัยบวกจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมหลักๆ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าจะสามารถกลับมาผลิตได้ในระดับที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 สะท้อนว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับดี แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ยังคงมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากค่าแรง ประกอบกับความกังวลต่อวิกฤตหนี้ยุโรป
- ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ค.55 คาดว่าจะขยายที่ร้อยละ 50.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตัวเร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ตัวร้อยละ 23.4 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1. ปัจจัยฐานการคำนวณที่ต่ำจากปีที่แล้วที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในประเทศญี่ปุ่น 2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวดต่อเนื่อง และ 3. กำลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้สามารถส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
USA: mixed signal
- ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค.55 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยยอดค้าปลีกหักยอดขายรถยนต์หดตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี บ่งชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค.55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาน้ำมันใน ตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง
China:
- มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชี้ว่าผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 ของจีน ยังคงอยู่ในวงจำกัดและไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกจีนในปัจจุบันมากนัก ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ค.55 ขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกันอยู่ที่ร้อยละ 12.7 ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ค.55 เกินดุลที่ 18.7 พันล้านหยวน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 25 เดือน จากราคาอาหารที่หดตัวร้อยละ -4.7 เป็นสำคัญ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผลิตในหมวดสินค้ารถยนต์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นมากอยู่ที่ร้อยละ 22.6 ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 จากการขยายตัวของยอดขายในหมวดสินค้าอุปกรณ์การสื่อสารเป็นหลัก
Euro Zone: mixed signal
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 55 หดตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ หดตัวร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการหดตัวของสินค้าทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าทุนและสินค้าบริโภคคงทนขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากราคาสินค้าในหมวดเสื้อผ้าและพลังงานที่ปรับตัวลดลง
Japan: mixed signal
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 40.7 จุด จากเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในเดือน มี.ค. 55 ผนวกกับความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่นในส่วนของเงินอุดหนุนด้านสินค้าพลังงานและเครื่องจักรได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 54 ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ทั้งจาก (1) ชะลอลงของเศรษฐกิจจีน และ (2) วิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน ซึ่งส่งผลให้ชะลอลงการผลิตลง ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มิ.ย. 55 ไว้ในระดับตาต่อเนื่องที่ช่วงร้อยละ 0-0.1
Philippines: mixed signal
- มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 55 กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าในหมวดแผงวงจรไฟฟ้าในเครื่องบิน เรือ และยานพาหนะที่ขยายตัวสูงร้อยละ 145.9 ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญหดตัวร้อยละ -23.8 ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
Singapore: mixed signal
- มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลมาจากการส่งออกไปยังจีน เกาหลีใต้ และไทย ที่ขยายตัวร้อยละ 10.2 11.8 และ 18.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศทั้งสามมีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 10.4 3.8 และ 3.4 ตามลำดับ
India: mixed signal
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.2 จากการผลิตในหมวดสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่การผลิตในหมวดสินค้าทุนหดตัวต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.2 จากราคาอาหารและพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น บ่งชี้แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ท่ามกลางการชะลอลงของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
Indonesia: mixed signal
- ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 5.75 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
South Korea: mixed signal
- อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค.55 ลดลงตาสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.55 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกาลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นถึง 47,000 คน สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากการชะลอลงของอุปสงค์จากนอกประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้ โดยมูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค.55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -13.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีนและยูโรโซน ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ค. 55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Malaysia: mixed signal
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวภาคการผลิตและอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 แบะ 3.4 ตามลำดับ
Weekly Financial Indicators
- ดัชนี SET ปรับตัวอยู่ในช่วงแคบๆ ประมาณ 1,160 จุด และมีความผันผวนระหว่างวันสูง จากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป โดยสเปนขอรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป ส่งผลให้นักลงทุนชาวต่างชาติ เทขายหลักทรัพย์จำนวนมากต่อเนื่อง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11 - 14 มิ.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -3,370.42 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะกลาง อายุไม่เกิน 10 ปี จากการที่นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นและระยะกลาง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ผนวกกับ ธปท. ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11-14 มิ.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 11,535.4 ล้านบาท
- ค่าเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์นี้แข็งค่า และ เริ่มทรงตัวในปลายสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 14 มิ.ย. 55 ปิดที่ระดับ 31.57 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -0.32 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่น ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับสัปดาห์ก่อนที่ 101.15 จุด
- ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 14 มิ.ย. 55 ปิดที่ 1,622.92 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,593.84 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th