รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 27, 2012 14:34 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2555

Summary:

1. จีน-อาเซียนสนับสนุนส่งออกไทยขยายตัวในครึ่งปีหลัง

2. แบงก์ชาติยืนยันการเติบโตของสินเชื่อไม่ร้อนแรงจนน่าห่วง

3. มูดีส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งใหม่แก่ธนาคารสเปนจำนวน 28 แห่ง

Highlight:
1. จีน-อาเซียนสนับสนุนส่งออกไทยขยายตัวในครึ่งปี หลัง
  • บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองแนวโน้มภาคการส่งออกของประเทศไทยว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 10 ในปี 55 โดยได้แรงหนุนสำคัญมาจากการส่งออกไปยังจีนและอาเซียน ที่จะยังคงรักษาทิศทางการขยายตัวไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ภาคการส่งออกของไทยในเดือน พ.ค. 55 ได้แสดงภาพของการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว โดยกลับมาขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 55 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ทั้งนี้ แม้อัตราการเติบโตของภาคส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก (YTD) จะติดลบที่ร้อยละ 1.5 โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตามสศค. ประเมินว่าการพื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิตหลังจากเหตุอุทกภัย กอปรกับแรงหนุนจากการส่งออกไปยังจีนและอาเซียนซึ่งยังขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 8.4 และ 9.6 ตามลำดับ (YTD) จะส่งผลให้การเติบโตของภาคการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 55 สามารถชดเชยการหดตัวในช่วงครึ่งปีแรก และทำให้มูลค่าการส่งออกทั้งปีสามารถกลับมาเป็นบวกได้ นอกจากนี้การเติบโตดังกล่าวจะได้รับอานิสงส์ของฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อนอีกด้วย
2. แบงก์ชาติยืนยันการเติบโตของสินเชื่อไม่ร้อนแรงจนน่าห่วง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ชี้แจงประเด็นธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ที่ได้เตือนว่าการเติบโตของสินเชื่อของไทยเร็วเกินไปนั้นที่ผ่านมา ธปท. ไม่ได้ละเลยในเรื่องนี้และได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดการเติบโตของสินเชื่อก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากสินเชื่อเติบโต จากฐานสินเชื่อที่ต่ำมาตลอดตั้งแต่สมัยเกิดวิกฤติเลห์แมน บราเธอร์สในปี 51-52 ทั้งนี้ ธปท.ได้ติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤติยุโรป 7 ด้าน เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัด หนี้ครัวเรือน หนี้ต่างประเทศ การขยายตัวของสินเชื่อ เป็นต้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นโดยเป็นผลจากความต้องการสินเชื่อของภาคครัวเรือนเพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัยในช่วงปลายปี 54 รวมถึงความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชนเพื่อลงทุนใหม่ภายหลังจากที่เครื่องจักรเสียหายจากปัญหาอุทกภัยเป็นสำคัญ โดยล่าสุดสินเชื่อในเดือน เม.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน สำหรับการเติบโตของเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ของไทยก็สามารถรองรับความต้องการเงินทุนในอนาคตได้เป็นอย่างดี สะท้อนจากอัตราการขยายตัวของเงินฝากในเดือน เม.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน และสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน เม.ย.55 ยังอยู่ในระดับสูงที่ 2.1 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ของไทยยังมีความมั่นคงและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง สะท้อนจากสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net NPLs) ในเดือน มี.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของยอดคงค้างสินเชื่อรวม และการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio : CAR) อยู่ที่ร้อยละ 15.2 ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.5
3. มูดีส์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งใหม่แก่ธนาคารสเปนจำนวน 28 แห่ง
  • มูดีส์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครัง้ ใหม่แก่ธนาคารสเปนจำนวน 28 แห่ง ซึ่งการปรับลดครั้งนี้มีตั้งแต่ 1 ข้นไปจนถึง 4 ขึ้น อาทิ ธนาคารบังโค ซานแทนเดอร์ ถูกปรับอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวลดลงจาก A3 ไปเป็น Baa3 โดยมูดีส์ ให้เหตุผลว่าธนาคารเหล่านี้เผชิญความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการปล่อยกู้เพื่อโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการที่รัฐบาลสเปนถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ก็มีส่วนต่อการที่มูดีส์ตัดสินใจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้ง ใหม่แก่ธนาคารทั้ง 28 แห่ง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือในธนาคารของสเปน 28 แห่ง เป็นการตอกย้ำวิกฤติสถาบันการเงินที่มีผลกระทบมาจากหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ทุกสายตาจับจ้องที่การประชุมอียูซัมมิทในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้โดยมีหัวข้อหลักคือ การร่วมมือด้าน Fiscal Pacts และ Banking Union รวมถึงการออก Euro Common Bonds เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบวิกฤติหนี้ที่กำลังลุกลามในวงกว้างมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลสเปนมีแผนขอความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินสกุลยูโร เป็ นวงเงินสูงถึง 100,000 ล้านยูโร เพื่อเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม การขอเงินสนับสนุนดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้การติดตาม และตรวจสอบอย่างใกล้ชิดจาก IMF และ EU ท้ายนี้ หากสหภาพยุโรปไม่สามารถออกมาตรการปฏิรูปโครงสร้างธนาคารที่มีประสิทธิภาพได้ อาจส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวลุกลาม และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ