ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 6, 2012 16:50 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อัตราร้อยละ 1.9 โดยได้รับปัจจัยทางบวกที่สาคัญจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล การส่งออกสินค้าและบริการการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 7.2 0.21 และ 19.4 ตามลาดับ
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีการผลิตปรับลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กาลังการผลิตปรับลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนพฤษภาคม 2555
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนเมษายน 2555
  • ในเดือนพฤษภาคม 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2555 อยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 8.2 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 69,000 คน
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศลดลงในเดือนเมษายนมาอยู่ที่ระดับ 50.1 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในเดือนมิถุนายน 2555 ค่าเงินดอลลาร์มีความผันผวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร เงินปอนด์ เงินเยน และเงินหยวน ในขณะที่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินบาท
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงดาเนินมาตรการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมจากเงินต้นทุนที่ได้รับคืนจากตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถืออยู่ โดยเปลี่ยนแปลงประเภทของตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางถือครองอยู่ เพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยระยะยาว พร้อมทั้งได้ประมาณการว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 0.00-0.25 ไปจนถึงปลายปี 2557
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.9

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อน โดยได้รับปัจจัยบวกที่สนับสนุนจาก (1) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่แท้จริง (Real PCE) ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยปริมาณการใช้จ่ายด้านสินค้าคงทนปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ส่วนปริมาณการใช้จ่ายด้านสินค้าไม่คงทนปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายด้านบริการขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.0 (2) ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 (3) ปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชนที่ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.21 และ (4) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบที่กดดันการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้แก่ (1) ปริมาณการใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับลดลงร้อยละ 3.9 และ (2) ปริมาณการนาเข้าสินค้าและบริการที่ขยายตัวร้อยละ 6.1

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ
  • ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ปรับลดลงในเดือนพฤษภาคม 2555

ในเดือนพฤษภาคม 2555 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนเมษายน ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production) ปรับลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือนพฤษภาคม 2555 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือนก่อนหน้า

อัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ปรับลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 79.0 ของกาลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ากว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กาลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2554 อยู่ร้อยละ 1.3 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2554 คิดเป็นร้อยละ 80.3)

  • รายได้ประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายขยายตัวเล็กน้อย

ภาพรวมด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ในเดือนเมษายน 2555 ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.2 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 ในเดือนมีนาคม ในขณะที่ด้านการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนเมษายน 2555 หลังจากที่ขยายตัวในอัตราต่ากว่าร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อนหน้า

ในเดือนพฤษภาคม 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน ซึ่งส่งผลให้อยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี

  • อัตราการว่างงานอยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 8.2

อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน 2555 อยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 8.2 โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 155.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 63.8 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่มีจานวนประชากรได้รับจ้างงานจานวน 142.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.6 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรว่างงานทั้งหมด 12.7 ล้านคน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 69,000 คน โดยการปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาจากการขยายตัวของการจ้างงานด้านสาธารณสุข การขนส่งเกี่ยวกับโกดังสินค้า และธุรกิจการขายส่ง ในขณะที่การจ้างงานด้านการก่อสร้างปรับตัวลดลง

มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 11.6) รัฐโรดไอแลนด์ (ร้อยละ 11.0) และรัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 10.8) ตามลาดับ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.1 พันล้านเหรียญ สรอ.

ในเดือนเมษายน 2555 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปริมาณการขาดดุลได้ปรับลดลง 2.5 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 4.8 จากเดือนมีนาคม ที่ระดับ 52.6 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 50.1 พันล้านเหรียญ สรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการ (Import) ที่ชะลอตัวในอัตราที่สูงกว่าการชะลอตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปรับลดลง 1.5 พันล้านเหรียญ สรอ. จากเดือนมีนาคม ที่ระดับ 184.4 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 182.9 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนเมษายน ส่วนมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับลดลง 4.1 พันล้านเหรียญ สรอ. จากเดือนมีนาคม ที่ระดับ 237.1 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 233.0พันล้านเหรียญ สรอ.

ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2555 มูลค่าการขาดดุลการค้ากับจีนปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลกับสหภาพยุโรป และเม็กซิโกปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า

นโยบายทางการเงิน
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ขยายเวลาการใช้มาตรการ Operation Twist

คณะกรรมการ FOMC มีมติให้ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ระหว่างร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 0.25 เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและสร้างเสถียรภาพทางราคา ซึ่งจากผลสารวจของการลงมติของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ พบว่า คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ในระดับดังกล่าวไปจนถึงปลายปี 2557

นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขยายเวลามาตรการเปลี่ยนแปลงประเภทของตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางถือครองอยู่ไปจนถึงปลายปี 2555 จากพันธบัตรที่มีระยะเวลาการถือครองต่ากว่า 3 ปีเป็นพันธบัตรที่มีระยะเวลาการถือครองระหว่าง 6 ถึง 30 ปี เพื่อที่จะดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงินสหรัฐฯ ให้ปรับลดต่าลง โดยจะยังคงมาตรการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมจากเงินต้นทุนที่ได้รับคืนจากตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถืออยู่ ตามนโยบายที่ได้ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2554 ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะติดตามดูแลผลการดาเนินงานของนโยบายดังกล่าวเพื่อให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวดีขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ

ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจ ภายหลังจากการประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลาง โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงสาคัญ ได้แก่ (1) ปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2555 จากเดิมที่อัตราร้อยละ 2.4-2.9 เป็นอัตรา ร้อยละ 1.9-2.4 (2) ปรับเพิ่มอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในปี 2555 จากที่ระดับร้อยละ 7.8-8.0 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.0-8.2 (3) ปรับลดระดับเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในปี 2555 จากที่ระดับร้อยละ 1.9-2.0 มาอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 1.2-1.7 และ (4) ปรับลดระดับเงินเฟ้อไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามันของสหรัฐฯ ในปี 2555 จากที่ระดับร้อยละ 1.8-20 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7-2.0

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
  • อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก

ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในเดือนมิถุนายน 2555 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีความ ผันผวนเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ทั้งเงินยูโร เงินปอนด์ เงินเยน และเงินหยวน แม้ว่าโดยรวมแล้วจะมีค่าคงที่เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2555 อยู่ที่ 1.2502 USD/EUR, 1.5573 USD/GBP, 0.0126 USD/JPY, และ 0.1571 USD/CNY

เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีความผันผวนเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนมิถุนายน 2555 ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2555 อยู่ที่ 31.8228 THB/USD เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 31.6596 THB/USD เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665: www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ