รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 3 - 7 มิถุนายน 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 10, 2013 13:55 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 56 ขยายตัว ร้อยละ 0.0 ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย. 56 ขาดดุลสูงถึง-3,361.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 72.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า
  • สินเชื่อเดือน เม.ย. 56 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 56 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 18.5

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • อัตราการว่างงานเดือน เม.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม คิดเป็นผู้ว่างงาน 3.5 แสนคน
  • GDP ยูโรโซนไตรมาสที่ 1 ปี 56 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือหดตัวร้อยละ -0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า

  • GDP ออสเตรเลียไตรมาสที่ 1 ปี 56 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือเมื่อหักผลทางฤดูกาลแล้ว หดตัวที่ร้อยละ -2.3 จากไตรมาสก่อน

Indicators next week
 Indicators                                    Forecast           Previous
 May : Motorcycle sale (% YoY)                    3.0                7.2

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่เริ่มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่เริ่มหดตัวเกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ และภาคเหนือ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันลดลง ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ภัยแล้งทำให้เกษตกรลดการเพาะปลูกลง ส่งผลให้ยอดขายรถจักรยานยนต์ลดลงเช่นกัน

Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่มีการปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบโลก อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ผัก และผลไม้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือน พ.ค. เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลให้ผลผลิตทางด้านการเกษตรได้รับผลกระทบเข้าสู่ตลาดน้อยลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เทียบกับเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 56 ขยายตัว ร้อยละ 0.0 ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. 56 ลดลงร้อยละ -0.2 สำหรับดัชนีในหมวดที่ลดลง ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ -2.6 (เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย-ผิวเรียบ) เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลง สำหรับดัชนีในหมวดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดซีเมนต์ ขยายตัวร้อยละ 4.2 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม) จากความต้องการใช้มากขึ้นทั้งจากโครงการภาครัฐและภาคเอกชน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย. 56 ขาดดุลสูงถึง -3,361.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลมากกว่าเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 1,935.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากดุลการค้าที่ขาดดุล -1,619.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมูลค่าส่งออกที่ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้า ผลจากการส่งออกสินค้าหมวดเกษตร ประมง และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัว ขณะที่ดุลบริการ รายได้และเงินโอนขาดดุล -1,741.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งกลับกำไรและเงินปันผล ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 56 ดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลทั้งสิ้น -2,094.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 72.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 73.9 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก 1. ความกังวลค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว จนส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมลดลง 2. ราคาพืชผลเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้รายได้เกษตรกรในภาคชนบทปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และ 3. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง
  • สินเชื่อเดือน เม.ย. 56 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งนี้ หากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อผู้บริโภค ซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) สอดคล้องกับการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรถคันแรก ทั้งนี้ อุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 56 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 1.1 ส่วนหนึ่งจากการที่ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจระดมเงินฝาก เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในอนาคต รวมถึงการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่องปี 56 จะส่งผลให้สถาบันการเงินต่างๆ เตรียมพร้อมเพื่อระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป
  • การจ้างงานเดือน เม.ย. 56 อยู่ที่ 38.0 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 1.2 แสนคน โดยมีสาเหตุมาจากการจ้างงานปรับตัวลดลงในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ภาคบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน เม.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม คิดเป็นผู้ว่างงาน 3.5 แสนคน
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ค. 56 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่เริ่มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่เริ่มหดตัวเกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ และภาคเหนือ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันลดลง ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ภัยแล้งทำให้เกษตกรลดการเพาะปลูกลง ส่งผลให้ยอดขายรถจักรยานยนต์ลดลงเช่นกัน

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน พ.ค. 56 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปี ที่ระดับ 49.0 จุด ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด โดยดัชนีฯ ที่อยู่ระดับต่ำกว่า 50 บ่งชี้ถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ ดัชนีการผลิต และดัชนีสินค้าคงคลังลดลง บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมอาจซบเซาอีกระยะหนึ่ง ส่วนดัชนีฯ ภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 53.7 จุด จากระดับ 53.1 จุดในเดือนก่อนหน้า ผลจากดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ ดัชนีสินค้าใหม่และดัชนีการจ้างงานที่ปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนความแข็งแกร่งของภาคบริการสหรัฐฯ

China: mixed signal

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 โดย NBS อยู่ที่ 50.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย จากดัชนีผลผลิตที่เพิมขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ ที่จัดทำโดย HSBC อยู่ที่ 49.2 จุด บ่งชี้ภาคอุตสาหกรรมหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน จากดัชนีคำสั่งใหม่ทั้งในและต่างประเทศลดลงต่อเนื่อง ดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน พ.ค. 56 โดย NBS และ HSBC ลดลงมาที่ 54.3 และ 50.9 จุด ตามลำดับ ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน จากคำสั่งซื้อใหม่ที่หดตัว

Eurozone: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 56 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) โดยอุปสงค์ภายในทั้งการบริโภคและการลงทุนยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัว อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 56 อยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงลดลง ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 56 หดตัวร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงซบเซา อัตราว่างงาน เดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 12.2 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนภาคการจ้างงานที่ยังไม่ฟื้นตัว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 21 ที่ระดับ 47.7 โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 48.3 ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 47.2 สะท้อนภาคอุปทานที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง

Australia: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 56 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเมื่อหักผลทางฤดูกาลแล้ว หดตัวที่ร้อยละ -2.3 จากไตรมาสก่อน จากการลงทุนของภาครัฐที่หดตัวเป็นสำคัญ เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 56 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางออสเตรเลีย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มิ.ย. 56 ไว้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี ภายหลังจากปรับลดในเดือนก่อนหน้า 25 bps มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 56 กลับมาหดตัวร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง และมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 56 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 629 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

Indonesia: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 56 หดตัวร้อยละ -9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าส่งออกที่ลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 56 หดตัวร้อยละ -3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าในหมวดพลังงานที่ลดลง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกที่หดตัวมากกว่ามูลค่าการนำเข้าส่งผลให้อินโดนีเซียขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย. 56 สูงถึง -1.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 51.6 จุด แม้ว่าจะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ 51.7 จุด แต่ยังคงสะท้อนการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ผลจากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 5.6 จากราคาสินค้าอาหารสดที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย

Philippines: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 56 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดย ราคาบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสรรพสามิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 Singapore ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 50.3 จุด ผลจากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่สินค้าส่งออกเป็นสำคัญเดือนก่อนที่ระดับ 50.3 จุด ผลจากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่สินค้าส่งออกเป็นสำคัญ Hong Kong ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน พ.ค. 56 ลดลงอยู่ที่ระดับ 49.8 จุด ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 จุด 2 เดือนติดต่อกัน บ่งชี้การหดตัวของภาคการผลิต จากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากจีนที่ชะลอลง

India: mixed signal

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 ลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 50.1 จุด สะท้อนภาคการผลิตที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว จากความเสี่ยงด้านอุปสงค์นอกประเทศ อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวยังคงเกินกว่าระดับ 50 จุดขณะที่ ดัชนีฯ ภาคบริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 53.6 จุด สะท้อนกิจกรรมภาคบริการของอินเดียที่ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง

South Korea: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีน ด้านมิติสินค้าพบว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าในหมวดอุปกรณ์สื่อสารและสมาร์ทโฟน มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 56 หดตัวร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงและพลังงานที่ลดลงเป็นสำคัญส่งผลให้ ดุลการค้าเกินดุล 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 56 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่ต.ค. 42 จากราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงเป็นสำคัญ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 ปรับลดอยู่ที่ระดับ 51.1 จุด ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 จุดติดต่อกัน 4 เดือน บ่งชี้ถึง กิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ที่ส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง

Taiwan: mixed signal

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit's PMI Mfg.) เดือน พ.ค. 56 ปรับลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 50 จุดเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 47.1 จุด สะท้อนภาคอุตสาหกรรมไต้หวันที่เริ่มอ่อนแรงลง จากอุปสงค์นอกประเทศโดยเฉพาะจีนที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 56 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.74 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารและบริการที่ลดลงต่อเนื่องเป็นสำคัญ

Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ต่ำกว่าระดับ 1,500 จุด โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 6 มิ.ย. 56 ปิดที่ 1,490.21 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 59,132 ล้านบาท ด้วยแรงขายจากนักลงทุนต่างประเทศ โดยนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจยุติหรือลดขนาดวงเงินของมาตรการ QE เร็วๆนี้ ทำให้นักลงทุนเทขายเพื่อทำกำไรหลังจากดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมามากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 มิ.ย. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -17,331.93 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นในพันธบัตรระยะปานกลาง-ยาว ประมาณ 1-15 bps ในทิศทางเดียวกับ US Treasury จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ จากความกังวลว่า Fed อาจชะลอมาตรการ QE ดังกล่าว โดยระหว่างวันที่ 3 - 6 มิ.ย. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -7,456.1 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 6 มิ.ย. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 30.58 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยอ่อนค่าลงร้อยละ -1.39 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินริงกิตมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ โดยเฉพาะค่าเงินเยน ยูโร วอนเกาหลี และสิงคโปร์ดอลลาร์ ที่ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้น ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ -2.52 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำค่อนข้างคงที่ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 6 มิ.ย. 56 ปิดที่ 1,413.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,411.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ