เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมกราคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 26, 2016 14:43 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม 2559 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายรัฐบาลและภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์การใช้จ่ายภาคเอกชนที่มีสัญญาณชะลอลง และการส่งออกสินค้าของไทยที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมกราคม 2559 มีสัญญาณชะลอลง สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ หดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -10.5 ต่อปี ในขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และในเขตภูมิภาคที่ร้อยละ 27.3 และ 8.9 ตามลำดับ เนื่องจากการทำโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายในช่วงปีใหม่ของผู้ประกอบการ กอปรกับเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยอยู่ที่ระดับ 64.4 เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า และได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้การส่งออกของไทยยังคงไม่ฟื้นตัวกอปรกับราคาสินค้าเกษตรที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรส่งออกหลัก อาทิ ยางพารา และข้าวที่ลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบและภาวะเศรษฐกิจโลก จึงทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวร้อยละ -2.9 ต่อปี

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                        2557     2558                            2558                          2559
                                                                  Q1       Q2       Q3       Q4      พ.ย.     ธ.ค.    ม.ค.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)                    0.4      1.0      1.0      1.7     -0.7      2.1      3.5      6.9    -1.2
   %qoq_SA / %mom_SA                                             1.0     -0.5     -1.4      2.8      4.0      2.3    -4.8
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)                1.5      2.2     10.8      2.0      1.5     -4.4      5.3    -11.0    -2.9
   %qoq_SA / %mom_SA                                            -0.6     -4.0      0.1     -1.1      5.5     -5.0    -0.9
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)                 -41.4    -19.1    -12.5    -27.3    -24.9    -11.7    -12.0     -5.2     n.a.
   %qoq_SA / %mom_SA                                            -4.4    -13.6     -5.5     12.2      4.2      7.1     n.a.
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)            -14.3     -0.2      10.9     -2.9    -10.6      2.3      6.9      7.8    12.9
   %qoq_SA / %mom_SA                                             8.5    -11.9     -2.6      8.8      7.1      4.9     4.0
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)                    -8.3    -10.3      -5.8    -15.0    -13.9     -8.7    -31.1     36.5    -3.5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                           65.0     64.7      68.4     64.9     61.8     63.6     63.4     65.1    64.4

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมกราคม 2559 ปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะ การลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -5.6 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างยังคงหดตัวต่อเนื่องแต่หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -6.2 ต่อปี ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ปรับตัวลงตามราคาตลาดโลก นอกจากนี้ การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี และเมื่อหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ และรถไฟ) พบว่า ขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 4.9 ต่อปี

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                         2557    2558                           2558                        2559
                                                                Q1       Q2       Q3      Q4     พ.ย.    ธ.ค.      ม.ค.
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)           -2.2     8.4      7.3      2.9     -0.5    21.2    25.7    37.9     -5.6
   %qoq_SA / %mom_SA                                  -1.5     -4.5      4.8     21.7    21.3    30.7   -33.3
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)                     -3.2    -0.4     -2.5     -0.2     -0.7     2.1     2.6     4.1     -0.3
   %qoq_SA / %mom_SA                                            0.9      1.6     -1.5     1.1     0.9     1.4     -2.6
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง                               0.7    -4.9     -3.7     -4.4     -5.7    -6.6    -6.7    -6.7     -6.2
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)              -26.8    -2.6    -11.3    -17.3     -0.3    17.2    15.7    26.3      n.a.
   %qoq_SA / %mom_SA                                           -5.2     -6.4     15.6    13.3     5.6     8.4      n.a.
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                       -7.6    -2.2     -1.8      1.3     -4.8    -1.4     0.5    -5.5      2.9
   %qoq_SA / %mom_SA                                           -1.1     -0.9    -13.9    -2.3    -6.6     1.1      5.2
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักครื่องบิน เรือ และรถไฟ (%yoy)   -4.8    -1.4      0.1     -3.6     -2.3     0.1     3.7    -0.6      4.9
   %qoq_SA / %mom_SA                                           -0.7     -2.0      0.7     2.1     2.3     1.9     -1.4

3. สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนมกราคม 2559 สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของรัฐบาลจากการลงทุนของภาครัฐที่ขยายตัวได้ในระดับสูง สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 259.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.5 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 241.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.8 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 220.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.0 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 20.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.6 ต่อปี ทั้งนี้ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 ในช่วง 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2559 สามารถเบิกจ่ายได้ 1,048.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 38.6 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 (2,720.0 พันล้านบาท) สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 156.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.6 ต่อปี ทั้งนี้ ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -109.7 พันล้านบาท สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังด้านรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้ภาคการคลัง                     FY2558                   FY2558                                     FY2559
(พันล้านบาท)                                       Q1/       Q2/      Q3/      Q4/        Q1/     พ.ย.     ธ.ค.      ม.ค.        FYTD
                                                FY58      FY58     FY58     FY58       FY59
รายได้สุทธิของรัฐบาล                  2,207.50     507.5     469.9    652.5    577.5      585.7    181.2    238.5     156.4       742.1
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
(%y-o-y)                               6.4       0.8       7.5      7.2      9.9       15.4     12.1     38.6      -2.6        11.1
รายจ่ายรัฐบาลรวม                    2,601.40     844.1     617.6    569.6    570.1      890.9    232.9    283.8     259.9    1,150.80
(%y-o-y)                               5.7       1.6      11.7     10.7      1.6        5.5     13.2      4.8      20.5         8.6
รายจ่ายปีปัจจุบัน                      2,378.10     766.4     557.7    529.4    524.6      807.7      209    239.1       241    1,048.60
(%y-o-y)                               5.9       0.7      15.6     11.1     -0.3        5.4     15.7     -0.8      21.8         8.7
รายจ่ายประจำ                       2,106.60     725.1       481    452.3    448.1      739.6    197.5      206     220.8       960.4
(%y-o-y)                               7.4      12.5       7.3      8.1     -0.7          2     14.9     -7.7        22           6
รายจ่ายลงทุน                           271.6      41.3      76.7     77.1     76.4       68.1     11.5     33.1      20.1        88.1
(%y-o-y)                              -4.4     -64.6     123.2     32.4      2.1         65       31       87      19.6        51.8
ดุลเงินงบประมาณ                       -402.3    -347.3    -138.9     89.4     -5.5     -307.2    -53.3    -36.8    -109.7      -416.8

4. การส่งออกสินค้าในเดือนมกราคม 2559 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -8.9 ต่อปี และหากนำมูลค่าการส่งออกหักสินค้าที่มีความผันผวนสูง ได้แก่ ทองคำ และน้ำมัน พบว่า มูลค่าส่งออกในเดือนมกราคม 2559 หดตัวร้อยละ -6.0 ต่อปี โดยการส่งออกในเดือนมกราคม 2559 เป็นการหดตัวในเกือบทุกกลุ่มสินค้าส่งออก และหดตัวเกือบทุกประเทศ อย่างไรก็ดี การส่งออกในเดือนมกราคม 2559 ที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ ตลาดส่งออกทวีปออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และ CLMV ขยายตัวร้อยละ 13.6 7.9 และ 1.2 ต่อปี ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็กเครื่องปรับอากาศ เครื่องดื่ม อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสำคัญ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -12.4 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่สูงกว่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนมกราคม 2559 เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ                  2557     2558                        2558                      2559
(สัดส่วนการส่งออกปี 57 >> 58 )                                  Q1       Q2       Q3       Q4      ธ.ค.     ม.ค.
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                     -0.4     -5.8     -4.7       -5     -5.3     -8.1     -8.7     -8.9
 1.สหรัฐฯ (10.5% >> 11.2%)                4.1      0.7      5.6      2.6      0.2     -4.9     -7.2     -8.5
 2.จีน (11.0% >> 11.1%)                  -7.9     -5.4    -14.4      1.2       -1     -6.3     -9.5     -6.1
 3.ญี่ปุ่น (9.6% >> 9.4%)                   -1.9     -7.7     -9.2     -3.8     -7.9     -9.6     -9.8    -10.1
 4.สหภาพยุโรป (9.2% >> 9.3%)              4.7     -5.7     -3.9     -8.4     -4.4     -5.9      2.3     -2.4
 5.มาเลเซีย (5.6% >> 4.8%)               -1.9    -20.2    -14.6    -18.3    -18.7    -28.5    -28.3    -18.5
 6.ฮ่องกง (5.6% >> 5.5%)                 -4.4     -6.2    -11.5       -9       -2     -1.9       -1    -13.9
 7.ตะวันออกกลาง (5.1% >> 4.8%)              0      -10     -6.4    -23.7     -6.4       -3     -9.3    -12.1
 8.ออสเตรเลีย (4.8% >> 5.3%)             -8.8      5.3     10.2      7.6      8.4     -3.5     -2.6     13.6
 9.สิงคโปร์ (4.6% >> 4.1%)                  -7    -16.2     -5.4      0.3    -26.1      -31    -26.1    -35.4
 10.อินโดนีเซีย (4.2% >> 3.7%)            -12.5    -17.6    -15.4    -20.6      -21    -12.7      3.8     -1.3
 11.แอฟริกา (3.7% >> 3.2%)                4.7    -20.2    -14.5    -15.9    -22.1    -27.9    -32.3    -10.2
 12.เวียดนาม (3.5% >> 4.2%)               9.8       13     18.1     16.7      8.3     10.9      5.2     -1.8
 13.ฟิลิปปินส์ (2.6% >> 2.8%)               16.6      2.1      7.4     -3.4     -6.4     10.8      5.1      7.9
 14.อินเดีย (2.5% >> 2.5%)                 8.4     -5.7      6.1     -4.8    -11.5    -11.8    -13.4     -5.6
 15.เกาหลีใต้ (2.0% >> 1.9%)              -1.5     -9.2      0.6    -16.4    -10.7     -8.6    -23.4     -9.2
 16.ไต้หวัน (1.8% >> 1.6%)                  19      -12      4.7    -11.5    -15.3    -23.1      -28    -31.4
 PS.อาเซียน-9 (26.1% >> 25.7%)            0.2     -7.2     -2.4     -5.9    -10.6     -9.3     -6.3     -8.8
 PS.อาเซียน-5 (17.0% >> 15.3%)           -3.9    -15.1     -9.4    -11.8    -19.5    -19.1    -15.2    -14.9
 PS.อินโดจีน-4 (9.1% >> 10.4%)               9      7.7     10.6      5.5      7.2      7.9      7.4      1.2

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานยังขยายตัวได้ดีจากภาคการท่องเที่ยว สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมกราคม 2559 มี 3.0 ล้านคน ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 15.0 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 10.6 ต่อเดือน โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจาก จีน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เป็นสำคัญ โดยขยายตัวร้อยละ 45.4 14.3 และ 6.1 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่รัสเซียยังคงหดตัวที่ร้อยละ -4.6 ต่อปี สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมกราคม 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยสินค้าเกษตรที่มีผลผลิตออกมาก ได้แก่ ข้าวเปลือก จากการเลื่อนการทำนาช่วงกลางปี 2558 ทำให้เดือนเก็บเกี่ยวเลื่อนออกไป และผลผลิตในกลุ่มไม้ผลที่ขยายตัวได้ดีในเกือบทุกหมวด รวมถึงดัชนีในหมวดปศุสัตว์ และประมง ที่ยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 86.3 และเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เนื่องจากความกังวลต่อการชะลอตัวของกำลังซื้อภายในประเทศจากการเร่งใช้จ่ายในเดือนก่อนหน้า ปัญหาภัยแล้ง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน                           2557    2558                           2558                         2559
                                                                  Q1       Q2       Q3      Q4      พ.ย.    ธ.ค.     ม.ค.
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)                     0.4    -5.3       1    -10.8    -10.6    -3.2    -26.2    42.9      2.8
%qoq_SA / %mom_SA                                                  1    -11.5      2.1     5.5    -26.1    62.9    -12.5
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)                      -5.2     0.3     0.4     -0.3     -0.9    -0.2      0.3     1.3      n.a.
%qoq_SA / %mom_SA                                               -0.2     -1.9       -1     1.2      0.2     2.8      n.a.
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ)                87.4    85.8    89.6     85.2     82.7      86     85.8    87.5     86.3
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)                          -6.5    20.4    22.8     36.9     24.9     3.7      5.1     4.7       15
%qoq_SA / %mom_SA                                                4.2      7.7     -1.8    -6.3     -1.8     3.4     10.6

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ -0.5 โดยมีสาเหตุหลักจากการหดตัวของราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศ รวมถึงราคาค่าไฟฟ้าที่มีการปรับลดลงตามราคาพลังงาน โดยมีการปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ft) ในรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2559 นอกจากนี้ ราคาสินค้าประเภทอาหารสดจำพวกข้าว เนื้อสัตว์ และผักผลไม้ ได้มีการปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า จึงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.46 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.4 และถือว่ายังอยู่ในระดับกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ระดับ 160.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 3.0 เท่า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ                           2557     2558                            2558                          2559
                                                                    Q1       Q2       Q3       Q4     พ.ย.     ธ.ค.     ม.ค.
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                                1.9     -0.9     -0.5     -1.1     -1.1     -0.9       -1     -0.9     -0.5
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                               1.6      1.1      1.5      1.0      0.9      0.8      0.9      0.7      0.6
อัตราการว่างงาน (yoy%)                             0.8      0.9      1.0      0.9      0.9      0.8      0.9      0.7      0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                                   42.8     44.4     43.3     42.8     43.3     44.4     44.3     44.4      n.a.
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)                          15.4     34.8      8.4      6.1      7.2     13.1      3.0      4.9      n.a.
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)                        157.1    156.5    156.3    160.3    155.5    156.5    155.7    156.5    160.1
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)                      23.1     11.7     19.6     18.4     13.3     11.7     11.7     11.7      9.2
ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า)                2.7      2.8      3.0      2.9      2.9      3.0      2.9      3.0     n.a.

สำหรับมาตรการการเงินการคลังที่กระทรวงการคลังได้ผลักดันตามนโยบายรัฐบาลโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นมานั้น ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาและปี 2559 ต่อไป โดยมีความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ถึง ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 สรุปได้ดังนี้

1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล มีเป้าหมายเพื่อกระจายการลงทุน การจ้างงาน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปในพื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัด และผลักดันให้เกิดการพัฒนาในท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและบรรเทาผลกระทบในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและเร่งรัดการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย

1.1 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน (สินเชื่อผ่านกองทุนหมู่บ้าน ดอกเบี้ยร้อยละ 0 ระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดได้มีการการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 47,721 ล้านบาท ให้กับผู้มีรายได้น้อยแล้วจำนวน 3,015,586 ราย แบ่งเป็นธนาคารออมสิน อนุมัติสินเชื่อแล้ว 25,570 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 25,728 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,631,186 ราย เป็นเงิน 21,280 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อนุมัติสินเชื่อแล้ว 22,151 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 22,519 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,384,400 ราย เป็นเงิน 22,151 ล้านบาท

1.2 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล (ลงทุนตำบลละไม่เกิน 5 ล้านบาท วงเงิน 36,275 ล้านบาท) โดยข้อมูลการเบิกจ่าย ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 มีงบประมาณได้รับการอนุมัติแล้วทั้งสิ้น 35,460 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 97.8 ของกรอบวงเงิน โดยเป็นวงเงินโครงการที่ทำสัญญาแล้วจำนวน 25,092 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายจำนวน 6,888 ล้านบาท

1.3 มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ลงทุนรายการละไม่เกิน 1 ล้านบาท กรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท พบว่า มีโครงการที่ทำสัญญาแล้ว จำนวน 32,741 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 29,375 ล้านบาท แบ่งออกเป็น งบกลางปี 2558 เบิกจ่ายทั้งสิ้น 20,673 ล้านบาท และงบประมาณปี 2559 เบิกจ่ายทั้งสิ้น 8,702 ล้านบาท (ข้อมูลเบิกจ่าย ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559)

2. มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

2.1 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs (Soft Loan SMEs ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ระยะเวลา 7 ปี วงเงินสินเชื่อ 150,000 ล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็น (1) วงเงิน 100,000 ล้านบาท (สิ้นสุดโครงการแล้ว) มีการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า SMEs แล้วจำนวน 11,809 ราย ยอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 98,672 ล้านบาท และ (2) วงเงิน 50,000 ล้านบาท (สิ้นสุดวันรับคำขอวันที่ 30 มิถุนายน 2559 หรือวงเงินหมดก่อน) มีการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า SMEs แล้วจำนวน 9,695 ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน 49,842 ล้านบาท (ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559)

2.2 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 (ปรับปรุงใหม่) (ค้ำประกันไม่เกินร้อยละ 30 ต่อพอร์ต วงเงินค้ำประกัน 100,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน 56,265 ล้านบาท ให้กับ SMEs จำนวน 13,046 ราย

3. มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งในส่วนของมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง นั้น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดรับคำขอตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 มีผู้ยื่นขอสินเชื่อแล้ว 17,907 ราย วงเงินสินเชื่อประมาณ 26,176 ล้านบาท โดย ธอส. ได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 14,155 ราย วงเงินอนุมัติ 19,577 ล้านบาท

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ