รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 23, 2016 15:52 —กระทรวงการคลัง

นางสุณี เอกสมทราเมษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ในฐานะรองโฆษกสำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะ คงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 มีนาคม 2559 มีจำนวน 6,013,649.86 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.03 ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,431,683.97 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,039,910.82 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 525,523.70 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 16,531.37 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 7,862.69 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,431,683.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 16,332.21 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก

  • การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 5,759.52 ล้านบาท มีรายการ ดังนี้

1. การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ จำนวน 5,586.43 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย จำนวน 950.44 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และสายสีม่วง การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 4,635.99 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง

2. การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 172 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)

3. การเบิกจ่ายเงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง จำนวน 1.09 ล้านบาท

  • การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ที่จะครบกำหนดในวันที่ 9 มิถุนายน 2559
  • การชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย จากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 9,564.85 ล้านบาท แบ่งเป็น
  • การชำระคืนหนี้เงินต้นที่รัฐบาลให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 730 ล้านบาท
  • การชำระดอกเบี้ย จำนวน 8,834.85 ล้านบาท
  • การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 12,078.84 ล้านบาท แบ่งเป็นชำระเงินต้น จำนวน 8,300 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 3,778.84 ล้านบาท
  • ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 388.07 ล้านบาท
  • หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,039,910.82 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 4,571.53 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
  • การออกตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 4,000 ล้านบาท
  • การไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 3,000 ล้านบาท
  • การชำระคืนหนี้เงินต้นมากกว่าการเบิกจ่ายทำให้หนี้ลดลง 5,751.90 ล้านบาท โดยรายการ ที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 6,195.77 ล้านบาท
  • ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 390.27 ล้านบาท
  • หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 525,523.70 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 2,999.26 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 2,999.52 ล้านบาท
  • หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 16,531.37 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 898.73 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 866.26 ล้านบาท

ในเดือนมีนาคม 2559 สบน. มีการบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 13,590 ล้านบาท โดยเป็น การกู้เงินในประเทศของการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 590 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการเคหะแห่งชาติ จำนวน 10,000 และ 3,000 ล้านบาท ตามลำดับ

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2559 เท่ากับ 6,013,649.86 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,659,858.61 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.12 และหนี้ต่างประเทศ 353,791.25 ล้านบาท (ประมาณ 10,196.31 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 5.88 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และแบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 5,205,274.86 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 86.56 และหนี้ระยะสั้น 808,375 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.44 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด

คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505 5512 และ 5520

เอกสารแนบ 1

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2559 ดังนี้

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีจำนวน 6,013,649.86 ล้านบาท หรือคิดเป็น

ร้อยละ 44.03 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 7,862.69 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. หนี้ของรัฐบาล 4,431,683.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,332.21 ล้านบาท

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,039,910.82 ล้านบาท ลดลง 4,571.53 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 525,523.70 ล้านบาท ลดลง 2,999.26 ล้านบาท

4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 16,531.37 ล้านบาท ลดลง 898.73 ล้านบาท

ทั้งนี้ สัดส่วนและรายละเอียดของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2559

1. หนี้ของรัฐบาล

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 4,632.21 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 3,567.57 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการเบิกจ่าย

หนี้สกุลเงินเยนและสกุลเงินเหรียญสหรัฐ และการชำระคืนหนี้สกุลเงินเหรียญแคนาดา ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น จำนวน 3,955.64 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในส่วนที่เหลือ หลังจากทำการเบิกจ่ายและชำระคืน ในรูปเงินบาทลดลง 388.07 ล้านบาท

1. CAD=สกุลเงินเหรียญแคนาดา EUR=สกุลเงินยูโร JPY=สกุลเงินเยน และ USD=สกุลเงินเหรียญสหรัฐ

2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราถัวเฉลี่ยขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน

หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้น 1,064.64 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก

  • เงินกู้ให้กู้ต่อ เพิ่มขึ้นสุทธิ 892.64 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 950.44 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 547.65 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 357.06 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 45.73 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีเขียว จำนวน 556.99 ล้านบาท และ 173.01 ล้านบาท ตามลำดับ
  • การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 672.20 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 602.03 และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง จำนวน 70.17 ล้านบาท
  • การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 172 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 8,300 ล้านบาท จากการชำระหนี้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1)

1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 20,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 9 มิถุนายน 2559

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1,312.15 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้เงินเยนของรัฐวิสาหกิจต่างๆ จำนวน 1,168.53 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในส่วนที่เหลือหลังจากทำการชำระคืน ในรูปเงินบาทลดลง 143.62 ล้านบาท

1. EUR=สกุลเงินยูโร JPY=สกุลเงินเยน และ USD=สกุลเงินเหรียญสหรัฐ

2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราถัวเฉลี่ยขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน

3. หนี้คงค้างต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจบางส่วนได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงแล้ว (Partial Hedge)

2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 2,439.70 ล้านบาท เนื่องจาก

  • การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 3,000 ล้านบาท
  • รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 560.30 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 647.38 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 87.08 ล้านบาท

2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1,606.42 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,359.77 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในส่วนที่เหลือหลังจากทำการชำระคืน ในรูปเงินบาทลดลง 246.65 ล้านบาท

1. EUR=สกุลเงินยูโร JPY=สกุลเงินเยน และ USD=สกุลเงินเหรียญสหรัฐ

2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราถัวเฉลี่ยขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน

2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 786.74 ล้านบาท เนื่องจาก

  • บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 4,000 ล้านบาท
  • การประปาส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร จำนวน 590 ล้านบาท
  • องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ออกและไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 15 ล้านบาท และ 34.36 ล้านบาท ตามลำดับ
  • รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 3,783.90 ล้านบาท

โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 2,281.33 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 6,065.23 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงสุทธิ 111.26 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยน จำนวน 111.52 ล้านบาท ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างในส่วนที่เหลือหลังจากทำการชำระคืน ในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 0.26 ล้านบาท

1. EUR=สกุลเงินยูโร JPY=สกุลเงินเยน และ USD=สกุลเงินเหรียญสหรัฐ

2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราถัวเฉลี่ยขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน

3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,888 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการบริหารจัดการความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

4. หนี้หน่วยงานของรัฐ ลดลงสุทธิ 898.73 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากหน่วยงานของรัฐมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ โดยเป็นการเบิกจ่ายและชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 0.12 ล้านบาท และ 866.26 ล้านบาท ตามลำดับ และการเบิกจ่ายและชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานธนานุเคราะห์ จำนวน 5.41 ล้านบาท และ 38 ล้านบาท ตามลำดับ

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีจำนวน 6,013,649.86 ล้านบาท ซึ่งสามารถแบ่งประเภทเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้นได้ ดังนี้

หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 353,791.25 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.88 และหนี้ในประเทศ 5,659,858.61 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.12 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,724,575.06 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.19 และหนี้ระยะสั้น 289,074.80 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.81 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
  • หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,205,274.86 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.56 และหนี้ระยะสั้น 808,375 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.44 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

เอกสารแนบ 2

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือนมีนาคม 2559 วงเงินรวม 129,725.21 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 116,135.21 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ 13,590 ล้านบาท

1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล วงเงินรวม 116,135.21 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.1 การกู้เงินในประเทศ 1,794.64 ล้านบาท

1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ 3,964.88 ล้านบาท

1.3 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ 88,732 ล้านบาท

1.4 การชำระหนี้ 21,643.69 ล้านบาท

1.1 การกู้เงินในประเทศ กระทรวงการคลังกู้เงินและเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 1,794.64 ล้านบาท

โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1.1 การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,622.64 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

(1) การให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 547.65 ล้านบาท สายสีเขียว จำนวน 357.06 ล้านบาท และสายสีม่วง จำนวน 45.73 ล้านบาท

(2) การให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 602.03 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง จำนวน 70.17 ล้านบาท

1.1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 172 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการ เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)

1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศ จำนวน 3,964.88 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.2.1 การเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 12,515.51 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 3,963.79 ล้านบาท เพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

1.2.2 การเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 0.03 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 1.09 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง

1.3 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ จำนวน 88,732 ล้านบาท

1.3.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ จำนวน 68,732 ล้านบาท

ในเดือนมีนาคม 2559 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ ดังนี้

(1) การปรับโครงสร้างหนี้ R-bill ที่ครบกำหนด จำนวน 20,000 ล้านบาท โดยการทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้นทั้งจำนวน

(2) การปรับโครงสร้างหนี้สัญญาเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 33,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรบริหารหนี้ทั้งจำนวน

(3) การปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) ที่ครบกำหนด จำนวน 15,732 ล้านบาท โดยการออก R-bill ทั้งจำนวน

1.3.2 การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ จำนวน 20,000 ล้านบาท ในเดือนมีนาคม 2559 มีการกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) โดยการออก R-bill จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ที่จะครบกำหนดในวันที่ 9 มิถุนายน 2559

1.4 การชำระหนี้ กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้ จำนวน 21,643.69 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

1.4.1 การชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย จากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 9,564.85 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ชำระเงินต้น จำนวน 730 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณทั้งจำนวน ซึ่งเป็นการชำระหนี้เงินกู้ที่รัฐบาลให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  • ชำระดอกเบี้ย จำนวน 8,834.85 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณ 8,528.54 ล้านบาท เงินจากบัญชีเงินกู้เพื่อการบริหารหนี้ 74.44 ล้านบาท และเงินจากดอกผลจากการลงทุนของพันธบัตร Pre-Funding 231.87 ล้านบาท

1.4.2 การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 12,078.84 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แบ่งเป็น

(1) การชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) จำนวน 9,246.53 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินต้น 8,300 ล้านบาท และดอกเบี้ย 946.53 ล้านบาท

(2) การชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) จำนวน 2,832.31 ล้านบาท โดยเป็นการชำระดอกเบี้ยทั้งจำนวน

2. การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงินรวม 13,590 ล้านบาท

2.1 การกู้เงินในประเทศ

รัฐวิสาหกิจมีการกู้เงินในประเทศ จำนวน 590 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินของการประปาส่วนภูมิภาค ในรูปของพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ซึ่งเป็นการกู้เงินเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค

2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ

รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) การกู้ใหม่ มาชำระหนี้เดิม (Refinance) วงเงิน 12,000 ล้านบาท ประกอบด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการเคหะแห่งชาติ Refinance วงเงิน 10,000 ล้านบาท และ 2,000 ล้านบาท ตามลำดับ และ (2) การขยายอายุสัญญาเงินกู้ (Roll Over) วงเงิน 1,000 ล้านบาท ของการเคหะแห่งชาติ

--กระทรวงการคลัง--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ