รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 7 กันยายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 7, 2016 11:48 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 7 กันยายน 2559

Summary:

1. พาณิชย์ ทบทวนเป้าส่งออกในเดือน ก.ย.รอลุ้นแนวโน้มช่วงที่เหลือปี 59

2. ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

3. จีนเผยอัตราการขยายตัวด้านการขนส่งสินค้าเดือน ก.ค. ขยายตัวเพียงร้อยละ 4 ต่อปี

1. พาณิชย์ ทบทวนเป้าส่งออกในเดือน ก.ย.รอลุ้นแนวโน้มช่วงที่เหลือปี 59
  • อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่ากระทรวงพาณิชย์จะมีการทบทวนเป้าหมายการส่งออกในปี 59 อีกครั้งในช่วงเดือน ก.ย.59 จากเดิมที่ตั้งเป้าเติบโตไว้ร้อยละ 5.0 (ซึ่งเป็นเป้าหมายการท่างานที่ให้ไว้กับทูตพาณิชย์) หลังจากมูลค่าการส่งออกยังคงติดลบต่อเนื่องจากปีก่อน และในช่วงที่เหลือของปี 59 คาดว่าจะส่งออกได้เพียง 95,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ท่าให้คาดว่าการส่งออกปี 59 ใกล้เคียงกับปี 58 สอดคล้องกับมุมมองทูตพาณิชย์ที่ปรับเป้าส่งออกลง เหตุเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นชัดเจน คาดอาเซียนติดลบร้อยละ 0.8 ที่สหรัฐโตแค่ร้อยละ 1 จากเป้าเดิมร้อยละ 5 ยุโรปยังต้องลุ้น ญี่ปุ่นเท่าตัว เร่งจัดเอ็กซ์ปอร์ตคลินิก ให้ค่าปรึกษาธุรกิจลุยนอก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าในช่วง 7 เดือนแรกปี 59 มูลค่าการส่งออกไทย หดตัวร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการหดตัวของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่และเชื้อเพลิง โดยหดตัวที่ร้อยละ -3.6 -6.3 และ -36.2 ตามลำดับ และเป็นการหดตัวในเกือบทกตลาด โดยเฉพาะตลาดจีนและอาเซียน 9 ประเทศ โดยหดตัวที่ร้อยละ -9.2 และ -3.8 ตามลำดับ ในขณะที่ในช่วงที่เหลือของปี 59 การส่งออกยังมีปัจจัยเสี่ยงจาก 1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก และ 2. ความผันผวนของการตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ สศค. คาดว่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในปี 59 มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ -1.9 ต่อปี จับตา: การส่งออกไทยในช่วงที่เหลือของปี 59
2. ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 59 ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ถือเป็นระดับต่าที่สุดนับประวัติการณ์ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ธนาคารกลางออสเตรเลียตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.50 ต่อปีดังกล่าวนั้น เป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจของออสเตรเลียโดยรวมที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเศรษฐกิจออสเตรเลียไตรมาสที่ 1 ปี 59 ขยายตัวได้ดีร้อยละ 3.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการเร่งตัวจากการบริโภคภาคเอกชนซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55.7 ของเศรษฐกิจออสเตรเลียในปี 58 นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนในช่วง 7 เดือนแรกของปี 59 ยังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี เครื่องชี้เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งให้ธนาคารกลางออสเตรเลียยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมต่อไป นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลียจะมีประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียในไตรมาสที่ 2 ปี 59 ในวันที่ 7 ก.ย. 59 จึงอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งส่งผลให้ ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรอพิจารณษความชัดเจนถึงทิศทางเศรษฐกิจโดยรวมของออสเตรเลียต่อไป จับตา: เศรษฐกิจออสเตรเลียไตรมาส2 ปี 59
3. จีนเผยอัตราการขยายตัวด้านการขนส่งสินค้าเดือน ก.ค.ขยายตัวเพียงร้อยละ 4 ต่อปี
  • กระทรวงคมนาคมของจีน เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวของปริมาณการขนส่งสินค้าของจีน ชะลอตัวลงในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 3.63 พันล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ากว่าสถิติการขยายตัวในเดือน มิ.ย.59 อยู่ประมาณร้อยละ 0.7
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปริมาณการขนส่งสินค้าของจีนขยายตัวในอัตราชะลอลง ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง สะท้อนจากยอดค้าปลีกในเดือน ก.ค.59 ที่ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับการค้าระหว่างประเทศที่ยังคงชะลอตัว จากมูลค่าการส่งออกหดตัวต่อเนื่อง โดยในเดือน ก.ค.59 หดตัวร้อยละ -5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจภาพรวมของจีนในช่วงเดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 59 มีสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยทางการจีนเดือน ก.ค.59 อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด กลับมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน นอกจากนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญอื่นยังคงมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง โดยการลงทุนในสินทรัพย์คงทนขยายตัวชะลอลงต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี อยู่ที่ร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจจีนในปี 59 จะขยายตัวชะลอลงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ร้อยละ 6.6 จับตา : ผลของนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลายต่อเศรษฐกิจจีนช่วงในครึ่งปีหลัง

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ