เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิถุนายน และในไตรมาสที่ 2 ปี 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 28, 2016 14:15 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 สะท้อนสัญญาณดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากมาตรการภาครัฐ และการใช้จ่ายรัฐบาลที่เร่งขึ้น แม้ว่าอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าหดตัวลง สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นเช่นกันจากภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวเป็นบวก และภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง”

1. การบริโภคภาคเอกชนยังมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนมิถุนายน 2559 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี และเมื่อปรับผล

ทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อเดือน จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 ต่อปี และการจัดเก็บภาษี

มูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA)

พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อไตรมาส สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2559 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA)

พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวได้ดีทั้งในเขตกรุงเทพมหานครที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี และในเขตภูมิภาคที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาส

ที่ 2 ปี 2559 ปริมาณรถจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาส สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภค

ส่วนใหญ่ที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือนมิถุนายน 2559 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงกลับมาขยายตัว

ร้อยละ 2.2 ต่อปี สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมิถุนายน 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ

1.4 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมใน

เดือนมิถุนายน 2559 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 60.6 สะท้อนถึงความกังวลจากสถานการณ์การลงประชามติออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ที่อาจส่งผล

กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดโลก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการ

สถานการณ์การส่งออกของไทย

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                2558                  2558                                        2559
                                                Q1       Q2       Q3       Q4       Q1       Q2     เม.ย.    พ.ค.     มิ.ย.     YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)              1       1      1.7     -0.7      2.1      0.1      3.7      2.9     1.6      6.5      1.9
%qoq_SA / %mom_SA                              1.1     -0.6     -1.1      2.6     -0.7      3.1      1.4    -2.2      6.8
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)        2.2    10.8        2      1.5     -4.4      3.6      3.4     -1.4     8.4      3.4      3.5
%qoq_SA / %mom_SA                             -1.4     -2.9     -0.3     -0.3      7.4     -3.1      -17     4.7      1.4
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)         -19.1   -12.5    -27.3    -24.9    -11.7    -26.6     -1.9*   -11.9     8.3     n.a.    -17.4
%qoq_SA / %mom_SA                             -2.2    -14.6     -4.8     10.1    -17.5        -      6.3    13.6        -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)      -0.2    10.9     -2.9    -10.6      2.3     -3.3      7.9      2.9    14.8      5.2        2
%qoq_SA / %mom_SA                              9.7    -12.2     -2.3      8.7      3.1      0.6    -18.2    26.9        3
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)             -9.3    -4.3    -15.5    -14.9     -5.9      -11      2.2      2.1     4.5     -0.2     -5.5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                    64.7    68.4     64.9     61.8     63.6       64     61.1     61.5    61.1    60. 6     62.3
*ข้อมูล 2M/Q2

          2. การลงทุนภาคเอกชนในภาพรวมยังทรงตัว โดยการลงทุนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากสะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมิถุนายน 2559 หดตัวร้อยละ
-11.5 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 32.6 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 11.5 ต่อปี
และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อไตรมาส สำหรับปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนมิถุนายน 2559 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ
-3.5 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -1.6 ต่อปี และทางด้านดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2559 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -2.6
ต่อปี โดยมีปัจจัยหลักจากการลดลงของดัชนีในหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (อาทิเช่น เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง) ที่ปรับตัวลดลงตามราคาซีเมนต์และเหล็ก
เป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -15.4 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหดตัว
ร้อยละ -11.6 ต่อปี ขณะที่เมื่อหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ และรถไฟ) พบว่า หดตัวร้อยละ -5.4 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน
เรือ และรถไฟ) หดตัวร้อยละ -5.1 ต่อปี
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                        2558                 2558                                 2559
                                                       Q1      Q2      Q3     Q4     Q1      Q2   เม.ย.     พ.ค.     มิ.ย.    YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)           8.7     7.3     2.9    -0.5   22.2    6.6    11.5   70.8    -22.2    -11.5     9.1
%qoq_SA / %mom_SA                                    -1.8    -2.9     2.2     24  -13.2     2.2   54.4    -60.5     32.6
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)                    -0.4    -2.5    -0.2    -0.7    2.1    3.1    -1.6    0.1     -1.1     -3.5     0.8
%qoq_SA / %mom_SA                                     0.3     1.8    -1.4    1.3    1.4      -3   -4.2      0.2     -1.1
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง                             -4.9    -3.7    -4.4    -5.7   -6.6   -5.1    -2.2   -2.6     -1.5     -2.6    -3.7
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)              -2.6   -11.3   -17.3    -0.3   17.2      4    19.5*  12.1     26.5     n.a.     9.4
%qoq_SA / %mom_SA                                    -5.2    -6.4    15.6   13.3  -10.7       -   -8.1     13.8        -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                      -2.2     0.9       2   -10.8    0.2     -1   -11.6  -13.4     -5.4    -15.4    -6.4
%qoq_SA / %mom_SA                                     0.3     1.2    -6.1      5   -0.6    -9.6   -8.5      0.9     -1.9
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักครื่องบิน เรือ และรถไฟ (%yoy)  -1.4     0.1    -3.6    -2.3    0.1      0    -5.1   -7.2     -2.5     -5.4    -2.5
%qoq_SA / %mom_SA                                      -1     0.1     0.8      2   -1.1    -5.9   -7.6      0.6        2
*ข้อมูล 2M/Q2

          3. การใช้จ่ายของรัฐบาลโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องสะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนมิถุนายน 2559 สามารถเบิกจ่ายได้จำนวน
264.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 31.5 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 250.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 34.4 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนมา
จากรายจ่ายลงทุนที่เบิกจ่ายได้ 39.4 พันล้านบาท ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.9 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 (ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2559) รายจ่ายงบประมาณรวมเบิก
จ่ายได้ 677.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี ขณะที่การเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 638.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.7 ต่อปี โดยมีปัจจัย
สนับสนุนมาจากรายจ่ายลงทุนที่เบิกจ่ายได้ 101.5 พันล้านบาท ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.7 ต่อปี สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหัก
จัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 236.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -8.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 (ไตรมาสที่ 3 ปี งบประมาณ 2559) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ
(หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 715.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี ขณะที่ดุลเงินงบประมาณในเดือนมิถุนายน 2559 เกินดุลจำนวน 74.2 พันล้านบาท และทำให้ใน
ไตรมาสที่ 2 ปี 2559 (ไตรมาสที่ 3 ปี งบประมาณ 2559) ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 69.3 พันล้านบาท

เครื่องชี้ภาคการคลัง          FY2558                FY2558                                        FY 2559
(พันล้านบาท)                          Q1/     Q2/      Q3/      Q4/       Q1/       Q2/      Q3/    เม.ย.    พ.ค.     มิ.ย.       FYTD
                                   FY58    FY58     FY58     FY58     FY59      FY59     FY59
รายได้สุทธิของรัฐบาล       2,207.50   507.5   469.9    652.5    577.5    586.1     492.6    715.1    170.4   308.6    236.1    1,793.60
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
(%y-o-y)                    6.4     0.8     7.5      7.2      9.9     15.5       4.8      9.6     -0.4    37.5     -8.1          10
รายจ่ายรัฐบาลรวม         2,601.40   844.1   617.6    569.6    570.1    890.9       680    677.8    223.6   189.4    264.8    2,248.70
(%y-o-y)                    5.7     1.6    11.7     10.7      1.6      5.5      10.1       19     16.8     7.1     31.5        10.7
รายจ่ายปีปัจจุบัน           2,378.10   766.4   557.7    529.4    524.6    807.7     604.2    638.8    211.5   176.5    250.8    2,050.60
(%y-o-y)                    5.9     0.7    15.6     11.1     -0.3      5.4       8.3     20.7     18.2     7.6     34.4        10.6
รายจ่ายประจำ            2,106.60   725.1     481    452.3    448.1    739.6       509    537.2    186.3   139.6    211.4    1,785.90
(%y-o-y)                    7.4    12.5     7.3      8.1     -0.7        2       5.8     18.8     19.3       0     34.9         7.7
รายจ่ายลงทุน                271.6    41.3    76.7     77.1     76.4     68.1      95.1    101.5     25.2    36.9     39.4       264.7
(%y-o-y)                   -4.4   -64.6   123.2     32.4      2.1     64.9        24     31.7     10.6      51     31.9        51.9
รายจ่ายปีก่อน                223.3    77.7    59.9     40.1     45.5     83.2      75.8       39     12.1    12.9       14         198
ดุลเงินงบประมาณ            -394.4  -347.3  -138.9     89.4      2.3   -306.9    -203.9     69.3    -56.1    51.1     74.2      -441.5

4. ด้านอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2559 มีมูลค่า 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -0.1 ต่อปี โดยสินค้าส่งออกที่หดตัวลดลงในเดือนมิถุนายน 2559 มาจากสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เม็ด พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และอัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ เป็นสำคัญ เนื่องจากภาวการณ์ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเป็นไปอย่างเปราะบาง ประกอบกับ ราคาสินค้าเกษตรและราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ และส่วนประกอบที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน จากการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และจีน เป็นหลัก ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 มูลค่าการส่งออก สินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 51.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.1 ต่อปี สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐเดือนมิถุนายน 2559 มีมูลค่า 16.2 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -10.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 47.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -8.4 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่าการนำเข้าสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนมิถุนายน 2559 เกินดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ในไตรมาสที่ 2 ดุลการค้า ระหว่างประเทศเกินดุล 12.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ                   2558                   2558                                       2559
(สัดส่วนการส่งออกปี 57 >> 58 )                         Q1       Q2       Q3       Q4       Q1       Q2     พ.ค.     มิ.ย.      YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                     -5.8     -4.7       -5     -5.3     -8.1      0.9     -4.1     -4.4     -0.1     -1.6
1.สหรัฐฯ (10.5% >> 11.2%)                 0.7      5.6      2.6      0.2     -4.9     -3.2      0.6      3.4      4.7     -1.3
2.จีน (11.0% >> 11.1%)                   -5.4    -14.4      1.2       -1     -6.3     -6.4    -10.3    -12.7    -11.9     -8.4
3.ญี่ปุ่น (9.6% >> 9.4%)                    -7.7     -9.2     -3.9     -8.2     -9.6      5.7     -7.5     -8.6     -3.8     -0.9
4.สหภาพยุโรป (9.2% >> 9.3%)              -5.7     -3.9     -8.4     -4.4     -5.9     -0.5       -1     -2.7      0.9     -0.8
5.มาเลเซีย (5.6% >> 4.8%)               -20.2    -14.7    -18.3    -18.7    -28.5     -4.1    -12.9    -16.1    -12.8     -8.5
6.ฮ่องกง (5.6% >> 5.5%)                  -6.2    -11.5       -9       -2     -1.9      0.6     -8.2    -14.9      2.2     -3.7
7.ตะวันออกกลาง (5.1% >> 4.8%)             -10     -6.4    -23.7     -6.4       -3     -9.5     -2.5      4.2     -0.9     -6.4
8.ทวีปออสเตรเลีย (4.8% >> 5.3%)            5.3     10.1      7.6      8.4     -3.5      5.5     12.4        7       56      8.9
9.สิงคโปร์ (4.6% >> 4.1%)                -16.2     -5.4      0.3    -26.1      -31     22.5    -35.7    -26.3    -49.7    -10.9
10.อินโดนีเซีย (4.2% >> 3.7%)             -17.6    -15.4    -20.6      -21    -12.7      8.9     -7.3    -10.6    -16.6      0.8
11.แอฟริกา (3.7% >> 3.2%)               -20.2    -14.5    -15.9    -22.1    -27.9    -11.7     -9.8     -6.1      1.4    -10.8
12.เวียดนาม (3.5% >> 4.2%)                 13     17.7     16.7      8.3     10.9      3.1     -0.1      5.1     -6.8      1.4
13.ฟิลิปปินส์ (2.6% >> 2.8%)                 2.1      7.4     -3.4     -6.4     10.8     15.4     13.5      2.6     21.5     14.5
14.อินเดีย (2.5% >> 2.5%)                 -5.7      6.1     -4.8    -11.5    -11.8     -9.1     -2.4        0     -0.1     -5.8
15.เกาหลีใต้ (2.0% >> 1.9%)               -9.2      0.6    -16.4    -10.7     -8.6     -9.7     -8.3     -7.1     -4.3       -9
16.ไต้หวัน (1.8% >> 1.6%)                  -12      4.7    -11.5    -15.3    -23.1    -18.1     -1.1     -1.8      1.2     -9.9
PS.อาเซียน-9 (26.1% >> 25.7%)            -7.2     -2.5     -5.9    -10.6     -9.3      3.9    -10.4     -8.8    -16.9     -3.5
PS.อาเซียน-5 (17.0% >> 15.3%)           -15.1     -9.5    -11.8    -19.5    -19.1      9.1      -38    -14.7      -23     -3.3
PS.อินโดจีน-4 (9.1% >> 10.4%)              7.7     10.5      5.5      7.2      7.9       -4     -3.5        1     -6.8     -3.8

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค จะพบว่าประเทศต่าง ๆ มีการหดตัวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบในช่วง 6 เดือน แรกของปี 2559 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยที่มีการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -1.6 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวน้อยกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกและภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ระดับ 108.9 หรือขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี โดยการขยายตัวมาจากการผลิตในหมวดเครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อไตรมาส โดยการขยายตัวมาจากการผลิตในหมวดยานยนต์ที่มีการผลิตเพื่อตอบสนองการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น และหมวดเครื่อง ปรับอากาศ และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2559 มีจำนวน 2.43 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อปี และเมื่อ ปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -1.8 ต่อเดือน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานจากเดือนรอมฏอลที่เหลื่อมเดือนเร็วขึ้นจากปีก่อน ส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มมุสลิมชะลอ การเดินทาง อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดีจาก จีน กลุ่มประเทศ CLMV เกาหลี อินเดีย ฮ่องกง รัสเซีย และสหรัฐเมริกา เป็นหลัก ส่งผลให้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2559 มี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 7.55 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อไตรมาส สำหรับดัชนี ผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมิถุนายน 2559 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี โดยเป็นหดตัวในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือก ยางพารา ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน และกลุ่มไม้ผล เป็นสำคัญ ขณะที่ในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีสถานการณ์โรคระบาด ประกอบกับมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีผลผลิตสินค้า เกษตรหดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวจากผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญเป็นหลักโดยเฉพาะผลผลิตข้าวเปลือกและปาล์มน้ำมัน ตามปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนปรับ เปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยชนิดอื่นแทน นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนมิถุนายน 2559 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 85.3 โดยได้รับปัจจัยจากความกังวล ของผู้ประกอบการ ได้แก่ เศรษฐกิจในประเทศที่ยังมีความเปราะบาง ตลอดจนสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนภายหลังผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรที่สนับสนุนการ ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) เป็นสำคัญ

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน                      2558                           2558                            2559
                                                     Q1       Q2      Q3      Q4      Q1       Q2    เม.ย.    พ.ค.     มิ.ย.     YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)               -4.3     2.3    -11.6    -11.6    -0.2    -5.7    -1.2     -1.8     0.1       -2    -3.8
%qoq_SA / %mom_SA                                   3.2    -10.9        1     6.8    -2.2    -5.5      2.2     1.7     -1.1
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ)           85.8    89.2     85.2     82.7      86      86    85.6       85    86.4     85.3    85.8
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม                           0.3     0.4     -0.3      0.9     0.3    -0.9     1.5      0.9     2.7      0.8     0.2
%qoq_SA / %mom_SA                                   0.5     -1.9      0.9     0.7       0     0.5     -0.5     0.1     -1.1
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)                     20.4    22.8     36.9     24.9     3.7    15.5     8.2      9.8     7.6      7.2      12
%qoq_SA / %mom_SA                                     3      8.2     -1.7    -5.7    15.4     1.2     -0.5       0     -1.8

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.38 กลับมาเป็นบวกเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยได้รับปัจจัยจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารสด และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ ไข่ ผลิตภัณฑ์นม น้ำอัดลม เป็นต้น ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมายังคงเป็นปัจจัยผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวสูงขึ้นขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ทรงตัวจาก เดือนก่อนหน้า ทำให้ใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2559 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.3 และ 0.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน มิถุนายน 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.9 แสนคน ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 4.1 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.4 ถือว่ายังอยู่ภายใต้กรอบ ความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่ เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ 178.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 3.4 เท่าเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้น

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ                   2558                 2558                                        2559
                                                 Q1       Q2       Q3       Q4       Q1       Q2    เม.ย.     พ.ค.     มิ.ย.      YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                     -0.9     -0.5     -1.1     -1.1     -0.9     -0.5      0.3      0.1      0.5      0.4    -0.09
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                     1.1      1.5        1      0.9      0.8      0.7      0.8      0.8      0.8      0.8      0.7
อัตราการว่างงาน (yoy%)                   0.9        1      0.9      0.9      0.8      0.9      1.1        1      1.2        1        1
หนี้สาธารณะ/GDP                         44.4     43.3     42.7     43.1     44.4     44.1    43.4*     44.1     43.4        -     43.4
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)                31.6      8.4      6.1      6.9     10.2     16.6     5.4*      3.2      2.2        -       22
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)              156.5    156.3    160.3    155.5    156.5    175.1    175.5    178.6    175.5    178.7    178.7
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)            11.7     19.6     18.4     13.3     11.7     13.9     15.6     14.6     15.6     15.7     15.7
ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า)        3        3      2.9      2.9      3.1      3.2      3.4*     3.4      3.4     n.a.      3.4
*ข้อมูล 2 M/Q2

          สำหรับมาตรการการเงินการคลังที่กระทรวงการคลังได้ผลักดันตามนโยบายรัฐบาลโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นมานั้น ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการ
ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาและปี 2559 ต่อไป โดยมีความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ถึง ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2559 สรุปได้ดังนี้

          1.  โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โดยการสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 79,556 กองทุน ผ่าน
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท ภายในวงเงิน 35,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น
ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน การจัดหาแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น และเพื่อการดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการ
ประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น เป็นสำคัญ โดยสถานะปัจจุบันคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้ออกหลักเกณฑ์ในการดำเนินโครงการแล้ว และได้
อนุมัติโครงการและงบประมาณแล้วจำนวน 61,328 กองทุน เป็นเงินงบประมาณจำนวน 30,592 ล้านบาท และมีการโอนเงินแล้ว 22,944 ล้านบาท
          2.  โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่หมู่บ้าน หมู่บ้านละไม่เกิน 200,000 บาท
กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 15,000 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการโครงการเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 และให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ
          3. มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง และมาตรการเพิ่มขีดความสามารถภาคเกษตร ได้แก่
          3.1 โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง วงเงินสินเชื่อ 6,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 1 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 0 ในช่วง 6
เดือนแรก และเดือนที่ 7 – 12 ดอกเบี้ยร้อยละ 4 และ  จากข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 พบว่า เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 1,922 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรจำนวน 162,565 ราย
          3.2 โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย วงเงินสินเชื่อ 72,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 10 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ใน 7
ปีแรก และปีที่ 8 - 10 คิดอัตราดอกเบี้ยปกติ และจากข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 พบว่า เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 10,046 ล้านบาท ให้กับ SMEs ภาคการเกษตรจำนวน 7,868 ราย
          3.3 โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้  1 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 และจากข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2559
พบว่า มีการสนับสนุนสินเชื่อไปแล้ว 219 ราย จำนวนเงิน 12.8 ล้านบาท
          4. มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้
          4.1 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 (ปรับปรุงใหม่) (ค้ำประกันไม่เกินร้อยละ 30 ต่อพอร์ต วงเงินค้ำประกัน 100,000 ล้านบาท) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม
ขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน  82,251 ล้านบาท ให้กับ SMEs จำนวน 20,901 ราย
          4.2 มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านการร่วมลงทุน (Venture Capital วงเงินร่วมทุน 6,000 ล้านบาท) โดยธนาคารออมสิน ได้อนุมัติร่วมลงทุนกับ
SMEs ไปแล้วจำนวน 3 ราย วงเงิน 70 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) อนุมัติหลักการเพื่อร่วมลงทุนแล้ว 7 ราย วงเงิน
92 ล้านบาท
          4.3 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)
ได้อนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 11,842 ล้านบาท ให้กับ SMEs แล้วจำนวน 3,861 ราย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน
10,759 ล้านบาท ให้กับ SMEs แล้ว 3,769 ราย
          4.4 โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 2 (วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 13,500 ล้านบาท รายละไม่เกิน 200,000 บาท
ค้ำประกันความเสียหายร้อยละ 30 – 50 โดยมีระยะเวลารับคำขอถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2560) โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้ว
จำนวน 597 ล้านบาท ให้กับ SMEs แล้ว 5,312 ราย
          5. มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย
เข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
          5.1  มาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้เปิดรับคำขอตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 และจากข้อมูลล่าสุด
ได้มีการอนุมัติสินเชื่อแล้ว 16,035 ราย วงเงินอนุมัติ 22,211 ล้านบาท
          5.2 โครงการบ้านประชารัฐ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากร
ทางการศึกษา และผู้มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน ให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการกู้ซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมที่อยู่
อาศัยผ่านการสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยเงื่อนไขผ่อนปรนจากสถาบันการเงินของรัฐ และจากข้อมูลล่าสุดธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้อนุมัติสินเชื่อ Post Finance แล้ว
จำนวน 4,776 ราย วงเงิน 4,195 ล้านบาท และธนาคารออมสิน อนุมัติสินเชื่อ Pre Finance แล้ว 2 ราย วงเงิน 65 ล้านบาท และอนุมัติสินเชื่อ Post Finance
แล้ว 2,653 ราย วงเงิน 3,163 ล้านบาท

          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ