เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 28, 2016 11:50 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

"เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวต่อเนื่อง นำโดยภาคตะวันออกและภาคใต้ ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวได้ดีเกือบทุกภูมิภาค ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของ นักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีเกือบทุกภูมิภาค ช่วยให้เศรษฐกิจภูมิภาคยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"

1. ภาคเหนือ : เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง จากการบริโภคภาคเอกชน การท่องเที่ยว และการลงทุนภาครัฐ

ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนกันยายน ขยายตัวเร่งขึ้นมา อยู่ที่ร้อยละ 6.6 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน โดยดูจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอด รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 10.0 และ 10.4 ต่อปี ตามลำดับ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัว 3.1 และ 16.3 ต่อปี ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยบวก จากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกร ตามการขยายตัวของผลผลิตเกษตร และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 64.1 ในขณะที่การลงทุนยังทรงตัว ในด้านรายจ่ายลงทุน ของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 23.0 ต่อปี

ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนกันยายน มีจำนวนนักท่องเที่ยว อยู่ที่ 2.54 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี ส่งผล ให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 11.5 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 35,815 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 9.4 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยว ชาวไทยขยายตัวเร่งขึ้นถึงร้อยละ 11.2 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่า ผลผลิตขยายตัว ส่งผลให้รายได้เกษตรกร หดตัวเล็กน้อย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังทรงตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 71.8

ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนกันยายน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2559 อยู่ที่ 63,603 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเหนือ

หน่วย: %yoy                                           ปี 2558                                              ปี 2559
                                     ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2       Q3     ส.ค.     ก.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                12.2      8.3      9.7     13.4     17.8       20.4     14.8      5.4      5.8      6.6     13.5
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่              -13.9      -18    -22.1    -15.1       11       15.8      5.5      3.1      5.3       10      8.9
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่           -2.7     10.5     -8.5    -14.3      2.8       -2.8      2.7     16.3     27.1     10.4      4.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)           65.8     69.2     66.2     63.3     64.5       64.5     62.8     64.1     64.1       65     63.8
รายได้เกษตรกร                        -4.1     11.8      -18    -12.8     -8.5      -21.2     -6.6     -3.1    -27.1     12.4    -14.5
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                -6.1    -12.2    -17.1     -3.9       18       -1.4        0     -4.4      3.2     -5.1     -1.8
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่              -25.3    -36.2    -28.7      -18    -12.4       -4.8     -5.5    -11.9     -6.6    -15.9     -7.4
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม         37.1    -54.8    177.8    260.8      -38        130    -49.6     -1.2    229.1    -31.1     -1.9
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)     81.6     82.7     78.5     78.8     86.5       81.6     74.1     71.8     70.8     74.6     75.8
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                      16.3     20.8     24.6     21.6        6        5.5      6.4     11.5       20        5      7.7
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                 16.3     28.2     24.9     22.1      3.8        9.8      8.4      9.4       19      3.4      9.3
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                      -1.2     -0.6     -1.7     -1.5       -1       -0.4      1.5      1.1      1.1      1.2      0.7
อัตราการว่างงาน                        0.7      0.8      0.7      0.8      0.7        0.9      0.9        -      0.9        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภคภาคเอกชนการท่องเที่ยว และการลงทุนภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนกันยายน กลับมา
ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอดรถจักรยานยนต์
จดทะเบียนใหม่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.4 และ 6.9 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวของจังหวัดหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ และ
จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นต้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกร ตามการขยายตัวของผลผลิตสินค้าเกษตร สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดี
ขึ้นมาอยู่ที่ 64.2 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลายลง ในขณะที่การลงทุนยังทรงตัว โดยเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ 16.4
ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดสุรินทร์ เป็นสำคัญ ส่วนรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยสนับสนุน
เศรษฐกิจ โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวได้ในอัตราเร่งที่ร้อยละ 21.1 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนกันยายน มีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.0 ล้านคนครั้ง กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 6.9
ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ 9.1 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ
20.9 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 17,297 ล้านบาท กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี รายได้จาก
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกลับมาขยายตัวร้อยละ 15.4 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตขยายตัวในอัตราเร่งกว่าราคาที่หดตัว ส่งผลให้รายได้เกษตรกรกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ใน
ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 76.5 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ ผลประกอบการ
ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนกันยายน อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับที่ยังเอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ขณะที่จำนวน
การว่างงานในเดือนสิงหาคม 2559 อยู่ที่ 81,630 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 2 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หน่วย: %yoy                                               ปี 2558                                          ปี 2559
                                        ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2      Q3    ส.ค.    ก.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                    7.2     10.4      6.8        8      3.6        6.4      2.8     0.2    -3.7     5.5      3.2
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 -13.6    -24.1    -20.4    -14.9     18.3       21.6      2.3     2.4    12.5    -0.1      9.3
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่               0.8     11.5     -0.4      -10      3.1      -10.6      4.2     6.9    12.5     3.2     -0.3
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)              66.8     70.6     67.2       64     65.2         65       63    64.2    64.3    64.9     64.1
รายได้เกษตรกร                           -8.5      3.5    -24.3    -23.3     -7.9      -19.7     -8.9       1    -9.9       6    -13.7
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -12.4    -14.9    -20.8    -15.5      8.1       -8.8     -7.8    -3.1     7.5      -4     -6.9
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -16.2    -23.1    -19.8     -7.9    -12.4       -5.6      0.6    -2.5    15.9    -1.9     -2.6
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม           -44.4       42    -53.7    -27.2    -67.2      -60.5    -19.5    16.4    83.5    99.9    -29.4
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)        81.4     84.8     81.5     77.6     81.8       79.9     74.6    76.5    76.5    77.7       77
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                          3.7      3.3      1.8        0      9.2       -6.9     -3.5     9.1     7.5     6.9     -0.5
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                     5.8      3.5      4.3      2.6       12       -6.5     -2.4     6.6     6.9     4.3     -0.8
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                         -0.6     -0.6     -0.9     -0.8     -0.2        0.3      1.3     0.7     0.8     0.7      0.7
อัตราการว่างงาน                           0.6      0.6      0.7      0.6      0.5        0.8      1.1       -     0.8       -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          3. ภาคกลาง : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนกันยายนขยายตัว
ที่ร้อยละ 21.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ 11.1 ต่อปี  สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อยยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี สะท้อนจากยอด
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนกันยายนขยายตัวที่ร้อยละ 8.2 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 7.2 ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตกร
ที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 61.2 ในขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภายในภูมิภาค
โดยขยายตัวอัตราเร่งที่ร้อยละ 28.5 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวยังคงหดตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนกันยายนมีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.9 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี  ส่งผลให้ใน
ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.3 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี ส่วนรายได้จากการ
เยี่ยมเยือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ 8,212 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 14.9 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 8.4 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 38.4 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตขยายตัวในอัตราเร่งจากผลผลิตสำคัญ อาทิ ข้าวโพด มันสำปะหลัง และปศุสัตว์ เป็นต้น แต่ราคาหดตัวเล็กน้อย
ส่งผลให้รายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังทรงตัว จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 88.1  โดยมีอุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอลูมิเนียม และ
อุตสาหกรรมรองเท้า มีค่าดัชนีเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปสหรัฐฯและกลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัวในเกณฑ์ดี
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยเดือนกันยายนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2559
อยู่ที่  18,137 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค สูงกว่าอัตราการว่างงานของประเทศ

ตารางที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคกลาง
หน่วย: %yoy                                            ปี 2558                                            ปี 2559
                                     ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2       Q3     ส.ค.     ก.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                11.5     12.5     12.4      8.7     12.4        5.2      7.6     11.1      0.8       21      7.9
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่              -10.8    -17.3    -22.8    -11.8     29.3       16.2     13.4       11     20.3     -0.1     13.8
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่           -6.1      9.3    -12.2    -13.9     -6.9       -6.8      9.3      7.2     17.2      8.2      2.6
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)           62.4     66.2     62.8     59.5       61       60.8     58.7     60.2     60.2     61.2     59.9
รายได้เกษตรกร                        -8.1     -2.7    -16.9    -16.9     -2.8       -7.2     -1.4      2.1     -0.1      1.7       -3
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่               -19.8    -26.2    -24.8    -10.2    -10.7        1.7      6.8     -0.5      6.9      3.5      2.6
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                -17    -15.4     -3.5    -18.2    -30.3      -12.3    -27.7      -11     21.1    -14.6    -17.9
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม         41.2     87.2    -14.9    -41.5      235        6.4    -60.5    -81.9    -78.2    -46.2    -47.9
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       88     92.4     87.2     84.3       88       89.7     89.7     88.1     87.4     88.9     89.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                      -2.9      4.9    -12.3     -8.2      6.9       16.7     17.2      6.3      7.2      3.6     11.8
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                  3.3      8.7    -18.1     -5.1       25       31.6     35.1     14.9     15.2     14.1     25.5
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                      -0.2     -0.1     -0.5     -0.4      0.3          0      1.1      0.7      0.7      0.8      0.6
อัตราการว่างงาน                        1.1      1.1      1.2        1      1.2        1.3      1.8        -      1.4        -      1.5
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          4. ภาคตะวันออก : การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีมากทั้ง
จำนวนและรายได้ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวตามราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในระดับสูง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่าย ในเดือน
กันยายนขยายตัวร้อยละ 21.4 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี เช่นเดียวกันกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย สะท้อน
จากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 18.3 ต่อปี ตามการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ และดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 64.0 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนที่ยังส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.1 และ 56.6 ต่อปี ตามลำดับ ด้านการลงทุนภาครัฐในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.9 ต่อปี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจในภูมิภาค
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนกันยายน มีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.55 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 43.5 ต่อปี ส่งผลให้ใน
ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 43.6 แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 23.6 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 113.8
ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนในไตรามาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ 60,378 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 72.3 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 31.0 ต่อปี
และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 137.8 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง ส่งผลให้รายได้เกษตรขยายตัว
ที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 98.7 ปัจจัยบวก ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ
ผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนกันยายน อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ ร้อยละ 0.6 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2559
อยู่ที่ 33,578 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออก
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.
หน่วย: %yoy                                             ปี 2558                                            ปี 2559
                                       ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2      Q3    ส.ค.     ก.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                  20.5     19.5     33.5     12.7     17.1        9.3     10.2     7.6      -6     21.4      9.1
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                -15.2    -15.8    -23.1    -15.2     -1.9       20.2      2.5    -4.2     7.3      1.9      7.1
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              1.3     27.5       -1    -13.7     -5.7       -9.9     12.2    18.3    22.6     25.2      5.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)             66.5     70.3     66.7     63.6     65.3       65.1     62.4      64    63.9     65.3     63.8
รายได้เกษตรกร                          -5.6    -21.4    -13.6     19.2     -6.4       -6.9     17.4     7.8     2.4      8.3      9.2
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                 -11.5    -16.6    -26.7     -6.9     -0.1          0    -13.7    -6.8     0.2      0.5     -6.4
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -9.1     -7.2     -8.7     -3.3    -17.5       -8.5     -9.6     2.1    30.6      9.7     -5.3
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม            3.8    154.3     72.8    -55.6      -57        1.1    -46.7    56.6    93.6    -42.2    -21.6
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       90.9       98       90     86.6     89.2       89.2     93.6    98.7      98     98.8     93.8
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                        20.6       20     24.4     26.3     13.4       34.1     33.3    43.6    40.9     43.5     36.8
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                   26.2     27.8     39.1     21.7     19.1       61.8     66.7    72.3    67.2     68.4     66.5
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                        -1.4     -1.3     -1.6     -1.6     -1.3       -0.7      0.4     0.4     0.4      0.6        0
อัตราการว่างงาน                          0.8      0.8      0.8        1      0.8          1      0.9       -     0.9        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)

5. ภาคตะวันตก : การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีมากทั้งจำนวน และรายได้ ส่วนรายได้เกษตรกรขยายตัวเป็นบวก จากการขยายตัวของผลผลิตสินค้าเกษตร

ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่าย ในเดือนกันยายนขยายตัว ร้อยละ 44.6 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 14.3 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนที่ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ จดทะเบียนใหม่ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 10.9 และ 15.7 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตกรที่ปรับตัวที่ขึ้น เนื่องราคาสินค้าเกษตรที่ ขยายตัวในอัตราเร่ง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60.2 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลายลง ในขณะที่การลงทุนยังทรงตัว อย่างไรก็ดี รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 33.8 ต่อปี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค

ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวหดตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนกันยายน มีจำนวนนักท่องเที่ยว 2.6 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ 20,945 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย ขยายตัวร้อยละ 11.0 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตขยายตัวในอัตราเร่ง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวได้ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังทรงตัว จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 88.1

ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเดือนกันยายน อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงาน ในเดือนสิงหาคม 2559 อยู่ที่ 18,137 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงาน

ตารางที่ 5 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันตก
หน่วย: %yoy                                       ปี 2558                                                 ปี 2559
                                    ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4          Q1       Q2       Q3     ส.ค.     ก.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                2.6      3.6      3.9     -4.3      7.2         7.5      6.4     14.3      6.2     44.6      9.3
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่             -16.1    -15.8    -30.1    -20.2     20.5        16.2      8.8     10.9     42.3     -0.2     12.3
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่            -2      7.1      3.9      -17     -0.8         1.1      5.7     15.7     21.9     17.9        7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)          62.4     66.2     62.8     59.5       61        60.8     58.7     60.2     60.2     61.2     59.9
รายได้เกษตรกร                        4.6     15.3     -1.2      4.5    -12.8       -18.8    -17.3      2.3    -19.8     15.1    -16.3
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่               -5.6    -14.1    -19.8     -7.8     38.8        -4.1    -12.9    -15.5       -5    -12.7    -10.5
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่             -15.1    -19.2    -18.8     -5.8    -15.7       -19.8       -7    -19.3     -2.2    -16.8    -15.7
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม       103.8      -81    -52.3    216.1    929.3    1,402.70    147.5    -36.7    141.8    -32.4     78.6
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)      88     92.4     87.2     84.3       88        89.7     89.7     88.1     87.4     88.9     89.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                      0.8      8.8      0.9     -3.4       -1        -5.8     -4.6      4.6      3.3      8.2     -1.6
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                 3.1      0.6      9.4      6.4     -1.4        -3.1      5.7     10.2      4.8     14.4      4.2
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                     -1.6       -1       -2     -1.9     -1.3        -0.3      1.2      1.1      1.1      1.3      0.7
อัตราการว่างงาน                       0.5      0.4      0.4      0.6      0.6         0.6      0.8        -      0.8        -      0.7
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          6. ภาคใต้ : การบริโภคภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวดี ขณะที่ด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ ส่วนรายได้เกษตรกร
ขยายตัวเป็นบวก และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวดี โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 9.7
ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.6 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอดรถจักรยานยนต์
จดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ร้อยละ 1.5 และ 18.2 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับตัวดีขึ้นในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ สงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น โดยได้รับ
ปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 66.1 ในขณะที่การลงทุนเริ่มมีสัญญาณ   ฟื้นตัว สะท้อนได้จากยอดรถปิค
อัพจดทะเบียนใหม่และยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 3.9 และ 41.9 ต่อปี ตามลำดับ ในด้านรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่อง
ที่ร้อยละ 35.7 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนกันยายน มีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.3 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อปี ส่งผลให้ใน
ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 10.7 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 13.2 ต่อปี ส่วนรายได้จากการ
เยี่ยมเยือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ 97,456 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.6 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 9.2 ต่อปี และ
รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 22.3 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรขยายตัว ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวตาม ในขณะที่
ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 84.4 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและอุตสาหกรรมอาหารเป็นสำคัญ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยในเดือนกันยายน อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือน
สิงหาคม 2559 อยู่ที่ 59,129 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงาน

ตารางที่ 6 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคใต้
หน่วย: %yoy                                               ปี 2558                                          ปี 2559
                                        ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2      Q3    ส.ค.    ก.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                    8.3      4.8      8.3     11.2      9.6       10.9     10.5     6.6     7.9     9.7      9.4
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 -21.7    -27.2    -29.8    -16.6     -4.2       14.2        5     1.5    14.8     4.3      7.3
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่               0.5      0.8      0.1     -6.3      8.7       -5.3      8.6    18.2    27.9    21.2      6.6
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)              69.2     73.3       70     66.4     67.2       66.8     64.9    66.1    66.1      67     65.9
รายได้เกษตรกร                          -18.4    -25.5    -14.7    -17.6    -15.5      -13.1     -2.7    19.7    23.8    19.4      2.1
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -12.5    -26.7    -17.2     -0.9     20.6        9.3      0.8    -6.4     0.1      -1      1.1
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -14.2     -9.7    -20.1    -17.6     -6.8        9.2     -1.2     3.9    27.9     9.5      3.9
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม            41.6     64.3     -5.6    -48.4    124.5       27.9    -48.6    41.9    -1.5    18.3    -10.6
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)        83.8     84.7     85.6     83.3     81.5       84.1     84.3    84.4    81.5    87.2     84.3
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                         12.5     19.9     16.3     11.5      2.6        9.7     18.7    10.7    13.4     7.2     12.8
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                    24.1     39.5     29.5     22.6      6.9       12.9     26.7    18.6    19.9    13.6     18.3
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                         -1.2     -0.7     -1.4     -1.4     -1.4         -1      0.2     0.3     0.3     0.7     -0.2
อัตราการว่างงาน                           1.2      1.1      1.1      1.2      1.3        1.3      1.4       -     1.1       -      1.3
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          7. กทม. และปริมณฑล: การบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวได้ดี และการลงทุนภาครัฐขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี สำหรับด้านอุปทานด้านเกษตรขยายตัวดีจากผลผลิตและราคา
สินค้าเกษตร
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคและบริการสินค้ายังคงขยายตัวได้ดี โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ
2.0 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัว  ร้อยละ 1.2 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนที่สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่และยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 17.2 และ 0.1 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกร และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60.3
ในขณะที่การลงทุนมีสัญญาณฟื้นตัว สะท้อนได้จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่และยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 และ 0.3 ต่อปี ตามลำดับ ในด้านรายจ่ายลงทุนของ
รัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 30.7 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรขยายตัว ส่งผลให้รายได้เกษตรขยายตัวเช่นกัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มชะลอลง โดยดูจาก
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 88.1
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในกันยายน อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2559 อยู่ที่
87,312 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 7 เครื่องชี้เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล
หน่วย: %yoy                                            ปี 2558                                            ปี 2559
                                     ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2       Q3     ส.ค.     ก.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                 7.6      9.7      8.7      4.6      7.5       -1.4      4.1      1.2     -0.2        2      1.3
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่              -10.2      -13    -24.1    -11.6     21.5       14.6     14.7      0.1      1.2      0.1       10
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่            0.6     10.1     -3.9     -7.5      4.8        8.4     12.9     17.2     22.6     16.1     12.6
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)           62.6     66.3     62.5     59.5       62       62.1     59.2     60.3       60     61.3     60.5
รายได้เกษตรกร                        -2.1      2.9     -6.5     -4.2     -3.1       -8.3      1.4      2.5      -27      3.2     -2.8
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                -6.3    -13.7    -17.6     -0.5     15.6        3.3      1.7     14.7      2.3      8.5      6.4
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่               -8.7     -5.7    -13.1     -8.5     -7.3      -15.4       -4      0.3     11.9     17.1     -6.4
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม          6.4     -2.2    -62.7     39.7    124.5      -43.4    -25.9    -62.8    -85.4    -23.2    -47.7
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       88     92.4     87.2     84.3       88       89.7     89.7     88.1     87.4     88.9     89.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                      28.4    -10.4     22.5     33.4     71.2       27.5     -3.6    -24.4      -23    -27.9       -4
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                 46.3      6.6     30.7     38.5     76.7       34.2      4.7    -19.8      -17      -25      1.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                        -1     -1.2     -1.3       -1       -1       -0.3      0.4      0.3      0.4      0.4      0.1
อัตราการว่างงาน                          1        1        1        1        1        0.9      0.9        -      0.8        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ