รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 13-17 มีนาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 21, 2017 15:38 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.พ. 60 กลับมาหดตัวที่ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 60 คิดเป็น 1.74 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 64.3
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีน เดือน ม.ค.-ก.พ. 60 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อของสหภาพยุโรป เดือน ก.พ. 60 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกของสหราชอาณาจักร เดือน ม.ค. 60 ขยายตัว ร้อยละ 27.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 3 ปีกว่า ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20.7 ชะลอลงจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 9.8 พันล้านปอนด์
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของอินเดีย เดือน ม.ค. 60 กลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ เดือน ก.พ. 60 สูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม
Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.พ. 60 กลับมาหดตัวที่ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 2 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 60 คิดเป็น 1.74 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 64.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 63.1 ในเดือนก่อน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และสูงสุดในรอบ 14 เดือน จากการส่งออกในเดือน ม.ค.ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 8.8 ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยส่งผลดีต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.พ. 60 เพิ่มขึ้น 2.35 แสนตำแหน่ง จากภาคบริการที่ขยายตัวดี โดยเฉพาะบริการทางธุรกิจ การศึกษา และการก่อสร้าง ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ของกำลังแรงงานรวม อย่างไรก็ตาม รายได้ภาคเอกชนเฉลี่ยที่อยู่ที่ระดับ 893.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดขายยานยนต์ที่ชะลอตัวลง เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 60 ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติ 9-1 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 0.75-1.00 ต่อปี

China: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค.-ก.พ. 60 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 18 ปี ชะลอลงจากเฉลี่ยร้อยละ 10.6 ในไตรมาส 4 ปี 59 ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ม.ค.-ก.พ. 60 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ในไตรมาส 4 ปี 59 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เดือน ม.ค.-ก.พ. 60 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ในไตรมาส 4 ปี 59

Eurozone: worsening economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยที่การผลิตหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่คงทนหดตัวถึงร้อยละ -2.6 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

UK: mixed signal

การส่งออก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 27.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 3 ปีกว่า ขณะที่การนำเข้าเดือนเดียวกันขยายตัวร้อยละ 20.7 ชะลอลงจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 9.8 พันล้านปอนด์ ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน และเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 60 ธนาคารกลางอังกฤษมีมติ 9-1 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ ร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยคณะกรรมการ 1 คนจาก 9 คนเห็นว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว

Japan: improving economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 3.2 ในเดือนก่อนหน้า เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 60 ธนาคารกลางญี่ปุ่นตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี สำหรับสภาพคล่องส่วนเกินที่สถาบันการเงินฝากไว้กับธนาคารกลาง

India: improving economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 60 กลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากหดตัวร้อยละ -0.1 ในเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 เร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ 5.2 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่กลับมาขยายตัวดุลการค้า เดือน ก.พ. 60 ขาดดุล 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมาก

South Korea: worsening economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 60 สูงสุดในรอบ 7 ปีที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม จากการว่างงานของแรงงานอายุ 15-29 ปีเป็นสำคัญ

Indonesia: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซที่ชะลอลง และการส่งออกน้ำมันดิบที่หดตัว มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 16 มี.ค. 60 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี

Malaysia ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดเหมืองแร่และอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ ร้อยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากหมวดยานยนต์และค้าส่งที่ขยายตัวเร่งขึ้น

Philippines: mixed signal

อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 1 ปี 60 อยู่ที่ร้อยละ 6.6 ต่อกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 58

Singapore: worsening economic trend

อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 4 ปี 59 อยู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ร้อยละ 2.2 ต่อกำลังแรงงานรวม มูลค่าส่งออก เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 22.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหากไม่รวมน้ำมัน จะขยายตัวถึง ร้อยละ 14.6 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.8 ส่งผลให้ดุลการค้า เกินดุล 6.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

Australia: worsening economic trend

ยอดขายยานพาหนะใหม่ เดือน ก.พ. 60 หดตัวร้อยละ -7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายยานพาหนะส่วนบุคคลหดตัวมากที่สุดที่ร้อยละ -12.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และอัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ ร้อยละ 5.9 ของกำลังแรงงานรวม สูงขึ้นจากเดือนก่อน

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงปลายสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 16 มี.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,557.05 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 47,203 ล้านบาท จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจาก FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค. 60 ที่ผ่านมาตามคาด ตลอดจนราคาน้ำมันในตลาดโลกกลับมาแตะระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลอีกครั้ง ทำให้ในช่วงปลายสัป โดยระหว่างวันที่ 13 - 16 มี.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 5,533 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2-15 ปีปรับลดลง 1-6 bps หลังจากปรับขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปีที่มีการประมูลในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้สนใจ 1.38 เท่าของวงเงินประมูล และในระหว่างวันที่ 13 - 16 มี.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 4,989 ล้านบาท ผลจากการครบอายุของพันธบัตรถึง 7,723 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 16 มี.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 35.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.75 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับทิศทางของค่าเงินสกุลหลักและเงินสกุลภูมิภาคแทบทุกสกุล ไม่ว่าจะเป็นเงินเยน ยูโร ริงกิต วอน สิงคโปร์ดอลลาร์ และหยวน เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง จึงส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน โดยแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 0.02 เท่านัน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ