รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 17, 2017 15:52 —กระทรวงการคลัง

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 มีจำนวน 6,347,824.38 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.90 ของ GDP โดยแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 4,912,277.61 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 971,707.95 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 446,277.21 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานของรัฐ 17,561.61 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 79,903.50 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • หนี้รัฐบาล จำนวน 4,912,277.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 88,281.79 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นที่สำคัญเกิดจากการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 65,000 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ที่จะครบกำหนดในเดือนมิถุนายน 2560 ทั้งนี้รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของหนี้รัฐบาล ดังนี้
  • การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 65,000 ล้านบาท จากการออก R-bill จำนวน 45,000 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยแปลงเป็นตราสารหนี้ระยะยาวต่อไป และพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 วงเงิน 162,000 ล้านบาท
  • กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินตามแผนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2560 รวมถึงการกู้เงินเพื่อการบริหารหนี้สาธารณะ จำนวน 30,270 ล้านบาท แบ่งเป็น
  • เงินกู้ระยะสั้น เพิ่มขึ้น 34,000 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินระยะสั้นเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล
  • เงินกู้ระยะยาว ลดลง 3,730 ล้านบาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลไปเป็นเงินกู้ระยะสั้น 34,000 ล้านบาท การชำระคืนหนี้เดิม 13,830 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพื่อนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง และส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมศักยภาพจำนวน 44,100 ล้านบาท
  • การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ จำนวน 1,935.61 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,020.70 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 588.89 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 351.95 ล้านบาท โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 47.85 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 32.01 ล้านบาท และ (2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 914.91 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 428.71 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน 379.29 ล้านบาท และสายสีเขียว จำนวน 106.91 ล้านบาท

การกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 2,293 ล้านบาท เนื่องจากเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการ DPL จำนวน 293 ล้านบาท และเงินกู้การพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน จำนวน 2,000 ล้านบาท

การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 10,361.38 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

หนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 338.77 ล้านบาท เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน และการเบิกจ่ายหนี้เงินเยนเป็นสำคัญ

  • หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 971,707.95 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 1,042.66 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก

หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงสุทธิ 1,592.10 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจาก การชำระคืนต้นเงินกู้ของการยางแห่งประเทศไทย 1,318 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้ 1,000 ล้านบาท

หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 549 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกพันธบัตรสุทธิ 3,210 ล้านบาท และ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ชำระคืนต้นเงินกู้ 1,843.87 ล้านบาท

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 446,277.21 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 6,463.58 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 17,561.61 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 872.05 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายได้มีการชำระคืนต้นเงินกู้สุทธิ 926.74 ล้านบาท และ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านได้มีการเบิกจ่ายสุทธิ 54.87 ล้านบาท

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นพฤษภาคม 2560 จำนวน 6,347,824.38 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ในประเทศ 6,031,071.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.01 และหนี้ต่างประเทศ 316,753.18 ล้านบาท (ประมาณ 9,339.12 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 4.99 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,436,751.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.65 และหนี้ระยะสั้น 911,073.27 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.35 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด

คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 02 265 8050 ต่อ 5520

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560 ดังนี้

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 มีจำนวน 6,347,824.38 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.90 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 79,903.50 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. หนี้รัฐบาล 4,912,277.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 88,281.79 ล้านบาท

2. หนี้รัฐวิสาหกิจ 971,707.95 ล้านบาท ลดลง 1,042.66 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 446,277.21 ล้านบาท ลดลง 6,463.58 ล้านบาท

4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 17,561.61 ล้านบาท ลดลง 872.05 ล้านบาท

ทั้งนี้ สัดส่วนและรายละเอียดของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560 ปรากฏตามแผนภาพที่ 1 และตารางที่ 1 ตามลำดับ

1. หนี้รัฐบาล

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 33,643.17 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงสุทธิ 338.77 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการเบิกจ่ายหนี้เงินเยน และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ได้บริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว

1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 33,981.94 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก

  • การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 30,270 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
  • เงินกู้ระยะสั้น เพิ่มขึ้น 34,000 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินระยะสั้นเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล
  • เงินกู้ระยะยาว ลดลง 3,730 ล้านบาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลไปเป็นเงินกู้ระยะสั้น 34,000 ล้านบาท การชำระคืนหนี้เดิม 13,830 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 44,100 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 26,100 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 18,000 ล้านบาท
  • เงินกู้ให้กู้ต่อเพิ่มขึ้น 1,935.61 ล้านบาท เนื่องจาก
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 914.91 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 428.71 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน 379.29 ล้านบาท และสายสีเขียว จำนวน 106.91 ล้านบาท
  • การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,020.70 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 588.89 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 351.95 ล้านบาท โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 47.85 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 32.01 ล้านบาท
  • เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ลดลง 516.67 ล้านบาท จากการชำระคืนต้นเงินกู้
  • เงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 2,293 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
  • เงินกู้เพื่อใช้ในโครงการ DPL เพิ่มขึ้น 293 ล้านบาท
  • เงินกู้การพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน เพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาท

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 10,361.38 ล้านบาท จากการชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) จำนวน 946.04 ล้านบาท และหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) จำนวน 9,415.34 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 65,000 ล้านบาท จากการออก R-bill จำนวน 45,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ วงเงิน 162,000 ล้านบาท ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2560

2. หนี้รัฐวิสาหกิจ

2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลง 897.26 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้เงินเยน และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 694.84 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจาก การยางแห่งประเทศไทยชำระคืนต้นเงินกู้ 1,318.68 ล้านบาท รวมถึงการรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้ 1,000 ล้านบาท

2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงสุทธิ 1,454.34 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 2,003.78 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกพันธบัตรสุทธิ 3,210 ล้านบาท และ บริษัท การบิน จำกัด (มหาชน) ได้ชำระคืนต้นเงินกู้ 1,843.87 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.42 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 6,464 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตร 3,500 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระคืนต้นเงินกู้ 2,964 ล้านบาท หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังจากได้บริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว มีรายละเอียดปรากฏตาม

4. หนี้หน่วยงานของรัฐ ลดลง 872.05 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายได้มีการชำระคืนต้นเงินกู้สุทธิ 926.74 ล้านบาท และ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านได้มีการเบิกจ่ายสุทธิ 54.87 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พฤภาคม 2560 จำนวน 6,347,824.38 ล้านบาท สามารถ แบ่งประเภทเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้นได้ ดังนี้

หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 316,753.18 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.99และหนี้ในประเทศ 6,031,071.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.01 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 6,079,249.82 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.77 และหนี้ระยะสั้น 268,574.56 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.23 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 7
  • หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,436,751.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.65 และหนี้ระยะสั้น 911,073.27 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.35 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

--กระทรวงการคลัง--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ