รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 25, 2017 14:56 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 60 มีมูลค่า 21,223.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนำเข้าในเดือน ส.ค. 60 มีมูลค่า 19,133.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ส.ค. 60 มีจำนวน 3.13 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน ส.ค. 60 กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 85.0
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค. 60 มีจำนวน 26,868 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 60 มีจำนวน 41,094 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค. หดตัวร้อยละ -16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีกเดือนของสหรัฐ ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกของญี่ปุ่น เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
Economic Indicators: This Week

นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ส.ค. 60 มีจำนวน 3.13 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และขยายตัวตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล ส่งผลทำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวน 1.63 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.7 ต่อปี โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจากจีน มาเลเซีย เกาหลี และอินเดีย เป็นหลัก ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 60 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 23.54 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศแล้ว 1.2 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ส.ค. 60 กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 85.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83.9 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่เป็นหลัก ตามภาวะคำสั่งซื้อ ยอดขาย และปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์จากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น การแข็งค่าของค่าเงินบาทที่กระทบต่อผู้ส่งออกขนาดเล็ก และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 101.9 จาก 101.6 ในเดือน ก.ค. 60 ตามการคาดการณ์การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.3 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก ดัชนีฯหดตัวร้อยละ -3.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรพบว่า ผลผลิตทั้ง 3 หมวดขยายตัวได้ดี ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญ (ร้อยละ 22.9) หมวดปศุสัตว์ (ร้อยละ 4.9) หมวดประมง (ร้อยละ 10.9) โดยในหมวดพืชผลสำคัญ ผลผลิตที่ขยายตัวดี อาทิ มันสำปะหลัง กลุ่มไม้ผล ได้แก่ ลำไย เงาะ และมังคุด ตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมทั้งผลผลิตข้าวเปลือกที่ได้รับอานิสงส์จากการเหลื่อมเดือนเพาะปลูก และเหลื่อมเดือนเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมเฉลี่ย 8 เดือนของปี 60 ขยายตัวร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค. หดตัวร้อยละ -16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.6 และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยเป็นการหดตัวของราคาในทุกหมวดผลผลิต ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญ (ร้อยละ -16.4) หมวดปศุสัตว์ (ร้อยละ-7.0) และหมวดประมง (ร้อยละ -1.7) ซึ่งปัจจัยหลักมาจากราคาข้าวขาวที่หดตัวตามการแข่งขันด้านราคาของประเทศเวียดนาม รวมถึงราคาข้าวโพดที่ราคาลดลงตามการใช้ข้าวสาลีเพื่อทดแทนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และราคาปาล์มน้ำมันที่มีอุปสงค์ต่ำตามปริมาณ สต๊อกที่สูงของประเทศผู้นำเข้าสำคัญ ทั้งนี้ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ย 8 เดือนของปี 60 ดัชนีฯ หดตัวร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค. 60 มีจำนวน 26,868 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.0 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 8 เดือน ตั้งแต่ต้นปี แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล เป็นการหดตัวร้อยละ -2.4 ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 20.7

Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 60 มีจำนวน 41,094 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี และขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามยอดจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี และคิดเป็นขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 60 การจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 ต่อปี

มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 60 มีมูลค่า 21,223.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 จากการขยายตัวในดีเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะหมวดสินค้าเกษตรกรรมที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 25.4 ตามการขยายตัวในระดับสูงของข้าว และยางพาราเป็นสำคัญ รวมถึงหมวดสินค้าอุตสาหกรรมก็ขยายตัวต่อเนื่องเช่นกันที่ร้อยละ 12.2 ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งที่ร้อยละ 7.6 ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป และน้ำตาลเป็นสำคัญ ขณะที่ยานยนต์กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -12.4 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัวร้อยละ 8.9

มูลค่าการนำเข้าในเดือน ส.ค. 60 มีมูลค่า 19,133.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 18.5 จากการขยายตัวดีของทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 58.1 รวมถึงหมวดสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวดีเช่นกันที่ร้อยละ 13.8 ตามการขยายตัวของสินค้าเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และทองคำเป็นสำคัญ นอกจากนี้ หมวดสินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคก็สามารถขยายตัวได้ดีเช่นกันที่ร้อยละ 6.1 และ 7.8 ตามลำดับ ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัวร้อยละ 15.4 ซึ่งจากการที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าสูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน ส.ค. 60 เกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

ยอดค้าปลีกเดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 60 นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงนโยบายการเงินว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวต่ำกว่าระดับเป้าหมายของเฟด ทำให้เฟดมีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.00-1.25 และส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหนึ่งภายในปีนี้

Eurozone: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ -1.2 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -1.5 จุด ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 58.2 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 57.4 จุด ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ก.ย. 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 55.6 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.7 จุด ด้านดัชนี PMI รวม เดือน ก.ย. 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 56.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.7 จุด

Japan: improving economic trend

การส่งออก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 13.4 เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปี และติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 15.2 ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้า 113 พันล้านเยน

UK: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Malaysia: worsening economic trend

อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อกำลังแรงงานรวม อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Philippines: mixed signal

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 60 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี

Singapore: improving economic trend

ด้านการส่งออก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 15.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าขณะที่ การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 15.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า และเกินดุลการค้าใน เดือน ส.ค. 60 ที่ 5.6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Australia: mixed signal

ยอดขายยานยนต์ เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งขยายตัวจากเดือน ก.ค. 60 ที่ระดับร้อยละ 1.6

Taiwan: mixed signal

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ประจำเดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.1 อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.89 ต่อกำลังแรงงานรวม

Hong Kong: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.30 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.20 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.40 ลดลงจากร้อยละ 2.50 ในเดือนก่อนห้า

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สอดคล้องกับตลาดหุ้นในเอเชีย เช่น ฮ่องกง และTWSE (ไต้หวัน) เป็นต้น ที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 31 ส.ค. 60 ปิดที่ระดับ 1,616.16 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 60,972.68 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ ทังนี ระหว่างวันที่ 28-31 ส.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 5,431.57ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสันช่วงอายุ 6 เดือน ปรับเพิ่มสูงขึ้น 2 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะกลาง-ยาวลดลง 2-8 bps สอดคล้องกับกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทังนีระหว่างวันที่ 28 ส.ค. - 31 ส.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 10,615.91 ล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 31 ส.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 33.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลหลักอื่น ๆ โดยมากแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อาทิ ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ซึ่งแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.30

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ