รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 9 - 13 กันยายน 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 18, 2019 15:59 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือนก.ค. 62 คิดเป็น 1.77 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรง ตามกฎหมาย
  • GDP ของสหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ของญี่ปุ่น ไตรมาส 2 ปี 62 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 62 คิดเป็น 1.77 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.9 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ส.ค. 62 เพิ่มขึ้น 1.30 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า จากการจ้างงานในหมวดบริการทางธุรกิจและวิชาการ และการศึกษาและสุขภาพ ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ด้านอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 63.2 ของประชากรวัยแรงงาน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม ระดับก่อนหน้า ขณะที่รายได้เฉลี่ยภาคเอกชน เดือน ส.ค. 62 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 962.21 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ และอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าในหมวดการคมนาคม ที่อยู่อาศัย และอาหารและเครื่องดื่ม ที่ปรับลดลงเป็นสำคัญ

UK: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากภาคการลงทุนและการ ส่งออกที่ชะลอลง ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ -6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ -1.8 หมื่นล้านปอนด์ และด้าน62 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

Japan: mixed signal

GDP ไตรมาส 2 ปี 62 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า โดยที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนขยายตัวชะลอลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดีบวกันปีก่อนหน้า ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากผลผลิตเครื่องมือขนส่งและโลหะประดิษฐ์

Eurozone: mixed signal

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 62 ธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB (Deposit facility rate) ลง 10 bps มาอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายประเภทอื่นไว้ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มการเข้าซื้อสินทรัพย์เดือนละ 2.0 หมื่นล้านยูโร โดยจะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 พ.ย. 62 และยังไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว

China: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

South Korea: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า

Taiwan: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.5 โดยการส่งออกไปยังจีนขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -2.7 หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 5,976.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Hong Kong

ผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยดัชนีหมวดย่อยเกือบทุกกลุ่มชะลอตัวหรือหดตัวลง

Philippines: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากการส่งออกทอง กล้วยและเครื่องจักรที่เร่งขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -4.2 จากการนำเข้าเหล็กที่หดตัวส่งผลให้ขาดดุลการค้า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Indonesia: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยยอดขายหมวดอะไหล่และส่วนประกอบ อาหารและเครื่องดื่มขยายตัวเร่งขึ้น

Malaysia: worsening economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลผลิตอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่หดตัว ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวชะลอลงทีร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าเกือบทุกหมวดที่ชะลอลง อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า และเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 62 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี ติดต่อกัน 4 เดือน

India: improving economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าทุน และเหมืองแร่ที่ขยายตัวเร่งขึ้น

Singapore: worsening economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายห้างสรรพสินค้าที่หดตัว อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 2 ปี 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น HSI (ฮ่องกง) และ JCI (อินโดนีเซีย) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 12 ก.ย. 62 ปิดที่ระดับ 1,660.68 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 9-12 ก.ย. 62 ที่ 61,584 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้า ยังคงต้องติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 17-18 ก.ย. 62 ว่าจะเป็นไปตามที่ตลาดคาดหรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9-12 ก.ย. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -1,357 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสั้นช่วงอายุ 1-3 เดือนปรับลดลง 1-2 bps ขณะที่อัตราฯ ระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 0-17 bps โดยในสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี มีนักลงทุนสนใจถึง 4.33 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 9-12 ก.ย. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,330 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 12 ก.ย. 62 เงินบาทปิดที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.23 จากสัปดาห์ก่อนหน้า แข็งค่าเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ เช่น ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินเยนและยูโรอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.26

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ