รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคม 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 31, 2020 13:52 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -26.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ค. 63 ปรับตัวเพิ่มขึนมาอยู่ที่ระดับ 82.5 จากระดับ 80.0 ในเดือนก่อน
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ในเดือน ก.ค. 63 ไม่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดิน ทางเข้าประเทศไทย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัวที่ ร้อยละ -100 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -14.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ค. 63 หดตัวร้อยละ -16.6 ต่อปี
Economic Indicators: This Week

มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ค. 63 มีมูลค่า 18,820 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อดูรายละเอียดมิติกลุ่มสินค้า พบว่า สินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี อาทิ อุปกรณ์กึ่งตัวนำฯ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ทองคำ อาหารสัตว์เลี้ยงน้ำมันปาล์ม ทูน่ากระป๋อง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นต้น ขณะที่สินค้าส่งออกที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ยางพารา น้ำตาลทราย ข้าว กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป และสินค้าเกี่ยวเนื่องน้ำมัน เป็นต้น ด้านมิติตลาดคู่ค้า พบว่า ตลาดส่งออกส่วนใหญ่ยังคงมีทิศทางหดตัว ขณะที่ตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐฯ ในเดือนดังกล่าวยังคงขยายตัวได้ในระดับดี ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 63 หดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ค. 63 มีมูลค่า 15,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -26.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกลุ่มสินค้านำเข้าที่หดตัว ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 63 ยังคงหดตัวเฉลี่ยร้อยละ -14.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับดุลการค้าในเดือน ก.ค. 63 ยังคงเกินดุลมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 63 ดุลการค้าของไทยเกินดุล 14.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือนก.ค. 63 ปรับตัวเพิ่มขึนมาอยู่ที่ระดับ 82.5 จากระดับ 80.0 ในเดือนก่อน ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากการที่รัฐบาลมีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ทำให้กิจการต่าง ๆ กลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าสำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัว เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 93.0 เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่าภาคการผลิตเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น หากไม่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 2 จะทำให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการต่อไปได้

Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม หดตัวที่ร้อยละ -8.6 หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 63 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวในหมวดหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 6.1 ขณะที่ผลผลิตสินค้าในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -0.8 และ -3.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มไม้ผล ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และไก่ ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง และกุ้งขาวแวนนาไม

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 63 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 63 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญ และหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 2.5 และ 0.5 ขณะที่ราคาในหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -0.2 โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และกลุ่มไม้ผล ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา และไก่

ในเดือน ก.ค. 63 ไม่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัวที่ร้อยละ -100 ต่อปี ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศชาติ หดตัวที่ร้อยละ -100 เช่นกัน โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด-19 และการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 63 เป็นต้นมา โดยกำหนดให้ปิดด่านตรวจคนเข้าทั่วประเทศ และประกาศของสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ที่ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) วันที่ 3 ก.ค. 63 กำหนดให้การเดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรของบุคคลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสามารถกระทำได้ โดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวและต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ในกรณีสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังไม่มีการอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศจึงทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ตั้งแต่เดือน เม.ย. 63 เป็นต้นมา

Economic Indicators: This Week
          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ค. 63 หดตัว ที่ร้อยละ -14.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็น         การหดตัวที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการหดตัวดัชนีฯ ในเดือนดังกล่าว มาจากการหดตัวของหมวดการผลิตยานยนต์ เครื่องหนัง และเครื่องแต่งกายที่หดตัวร้อยละ -53.2 -44.0 และ -29.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การผลิตเครื่องดื่มและเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 8.9 และ 12.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ค. 63 หดตัวร้อยละ -16.6 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า หดตัวร้อยละ -3.5 โดยมีปัจจัยลบมาจากเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมและการก่อสร้างหดตัวได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กเส้นข้ออ้อย ที่หดตัวร้อยละ -8.0 และ -16.3 ต่อปีตามลำดับ ตาม การชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม และภาคการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

Global Economic Indicators: This Week

USA: worsening economic trend

ยอดขายบ้านใหม่เดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 13.9 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.1 เป็นผลมาจากยอดขายในภาคตะวันออกฉียงเหนือชะลอตัวลงมากที่สุด รองลงมาคือภาคตะวันตก

Hong Kong: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.3 จากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ปศุสัตว์เป็นสำคัญ ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ ร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน. หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.1 จากหมวดเครื่องดื่ม พลังงาน และวัสดุอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 29.8 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง

Taiwan: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.2 จากหมวดเหมืองแร่เป็นสำคัญ ด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวที่ร้อยละ -1.3 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากหมวดยารักษาโรคและเครื่องนุ่งห่มที่มียอดขายเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 71.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 69.4 จุด

South Korea: improving economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 88.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 84.2 จุด จากหมวดการใช้จ่ายในอนาคตของครัวเรือนและการคาดการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 63 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบียนโยบายที่ร้อยละ 0.5

Malaysia: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 3 .1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -8 .7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.6 ส่วนดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่ที่ 25.2พันล้านริงกิตมาเลเซีย

Singapore: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.5 จากหมวดสินค้าและบริการเบ็ดเตล็ดเป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -8.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.5 จากราคาสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปเป็นสำคัญ

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึนจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 63 ปิดที่ระดับ 1,326.81 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 24 - 27 ส.ค. 63 ที่ 53,565 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทังนี ระหว่างวันที่ 24 - 27 ส.ค. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ จำนวน -3,484 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสัน (ไม่เกิน 1 ปี) ไม่มีการปรับตัว ระยะกลาง (มากกว่า 1 ปี - 10 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึนในช่วง 1 ถึง 9 bps และระยะยาว (มากกว่า 10 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึนในช่วง 3 ถึง 9 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทังนีระหว่างวันที่ 24 - 27 ส.ค. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ มูลค่า -9,368.36 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึนเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 27 ส.ค. 63 เงินบาทปิดที่ 31.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.41 จากสัปดาห์ก่อนหน้าสอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เยน ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สกุลเงินหลักอื่น ๆ อาทิ ยูโร และวอน อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึนร้อยละ 0.22 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ