รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 22 - 26 มีนาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 1, 2021 13:14 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week

มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.6 เมื่อคงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.พ. 64 ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนขยายตัวถึงร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -30.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -99.72 ต่อปี

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.พ. 64 หดตัวร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน Economic Indicators: This Week มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ. 64 มีมูลค่า 20,219 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยกลับมาหดตัวที่ร้อยละ -2.6 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าทองคำที่หดตัวและปัจจัยด้านฐานที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อหักรายการสินค้าทองคำ การส่งออก ในเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับสินค้าที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออก อาทิ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลฯ เคมีภัณฑ์ และแผงวงจรไฟฟ้า ขณะที่ สินค้าน้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะทองคำ หดตัวในเดือนดังกล่าว เป็นสำคัญ ด้านตลาดส่งออก พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกไปยัง ตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน ทวีปออสเตรเลีย EU15 อินเดีย ขณะที่ การส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียน 9 ยังคงหดตัว ส่วนหนึ่งจากการส่งออกสินค้าทองคำไปยังตลาดสิงคโปร์ที่หดตัวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปี 64 หดตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.พ. 64 มีมูลค่า 20,212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาขยายตัวถึงร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวทุกหมวดสินค้านำเข้า ได้แก่ กลุ่มเชื้อเพลิง (ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10.6) สินค้าทุน (ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 21.0) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 41.9) สินค้าอุปโภคบริโภค (ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 20.7) และกลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 26.5) ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าช่วง 2 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี สำหรับดุลการค้า ในเดือน ก.พ. 64 ยังคงเกินดุลเล็กน้อยที่มูลค่า 7.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าสะสมของไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 64 ขาดดุลมูลค่า -195 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 Economic Indicators: This Week ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.พ. 64         มีจำนวน 18,969 คัน หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -30.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 12.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอคำสั่งซื้อ ประกอบกับสถาบันทางการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ อย่างไรก็ดี ต้องติดตามว่าการจัดงาน มอเตอร์โชว์ในวันที่ 24 มี.ค. - 4 เม.ย. 64 จะสามารถกระตุ้นให้ยอดขายรถยนต์กลับมาฟื้นตัวได้หรือไม่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน     ก.พ. 64 มีจำนวน 39,991 คัน หดตัวในอัตราชะลอตัวที่ร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวในอัตราชะลอตัวที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล โดยเป็นการชะลอตัวตามปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่หดตัวในอัตราชะลอตัวที่ร้อยละ -6.6 ถึงแม้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสองยังส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ อย่างไรก็ดี การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจากโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการเราชนะ โครงการเรารักกัน และการเริ่มทยอยฉีดวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ทั้งนี้คาดว่างาน Motor show 2021 ครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 4 เม.ย. 64 จะช่วยสนับสนุนให้ยอดการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนถัดไปได้     มากขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.พ. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ เดินทางเข้าประเทศ จำนวน 5,741 คน ลดลงจากเดือน ม.ค. 64 ที่มีนักท่องเที่ยว 7,649 คน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -99.72 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และจีน  Economic Indicators: This Week ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.พ. 64  หดตัวร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 64 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมหดตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมง ที่ร้อยละ -1.9 และ -12.7 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิต ในหมวดปศุสัตว์ขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 โดยสินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มไม้ผล ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก  ทั้งนี้ ในช่วงสองเดือนแรกของปี 64 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.6 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณา รายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 64 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 11.4 และ 1.3 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -2.6 โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน กลุ่มไม้ผล และสุกร ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม ทั้งนี้ ในช่วงสองเดือนแรกของปี 64 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัว ได้ดีที่ร้อยละ 7.8  Global Economic Indicators: This Week

US ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (เบืองต้น) เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 59.0 จุด ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 58.6 จุด บ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐฯ มีการขยายตัว โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในตลาดที่เพิ่มขึ้น แต่ยังคงเผชิญกับภาวะการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน สอดคล้องกับดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (เบืองต้น) เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 60.0 จุดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 58.8 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ เดือน ก.ค. 57 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ยอดขายสินค้าใหม่สุทธิ คำสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออก การจ้างงาน และความเชื่อมั่นทางธุรกิจเป็นสำคัญ ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบเป็นรายเดือนพบว่า ยอดขายบ้านใหม่หดตัวที่ร้อยละ 18.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ ยอดขายบ้านใหม่หดตัวลงในทุกภูมิภาคเมื่อเทียบเป็นรายเดือน ในส่วนของยอดขายบ้านมือสอง เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 23.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบเป็นรายเดือนพบว่า ยอดขายบ้านมือสอง หดตัวที่ร้อยละ -6.6 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน เป็นผลจากราคาบ้านที่เพิ่งสูงขึ้น สต็อกบ้านอยู่ในระดับต่ำ ราคาวัสดุสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองJapan ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึนมาอยู่ที่ 52.0 จุด จาก 51.4 จุด ในเดือน ก.พ. 64 ซึ่งเป็น การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการขยายตัวมากที่สุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 61 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นเดียวกันกับดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 64 ที่ปรับตัวเพิ่มขึนเล็กน้อยตากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 46.5 จุด จาก 46.3 จุด ทั้งนี้ คำสั่งซื้อใหม่และยอดส่งออกยังคงลงลดในอัตราชะลอตัวลง และความเชื่อมั่นยังคงอ่อนตัวลงเล็กน้อย แต่ยังคงเป็นบวก EU ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (เบืองต้น) เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 62.4 จุด

.เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 57.9 จุด แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซน เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลก ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (เบืองต้น) เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 48.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 45.7 จุด อย่างไรก็ตามภาคบริการของ ยูโรโซนยังคงถูกจำกัดด้วยมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบืองต้น) เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ -10.8 จุด

\ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ -14.8 จุด และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ -14.5 จุด Hong Kong การส่งออก เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 30.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 44.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับการนำเข้า เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 37.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในเดือน ก.พ. 64 ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ -14.7 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ขาดดุลลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และขาดดุลต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 63 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ม.ค. 64 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากดัชนีราคาในหมวดเสื้อผ้าและรองเท้า การเดินทาง และสินค้าคงทนที่ลดลงเป็นสำคัญ Australia ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 57.0 จุด จาก 56.9 จุด ในเดือน ก.พ. 64 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อ และการจ้างงาน ขณะเดียวกัน ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึนมาอยู่ที่ 56.2 จุด จาก 53.4 จุด ในเดือน ก.พ. 64 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มผ่อนคลาย และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดดีขึ้น Singapore อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ทางจันทรคติ โดยราคาอาหารเป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 16.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน Malaysia อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญPhilippines ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบียนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีTaiwan ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.96 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ม.ค. 64 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 19.04 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากผลผลิตที่ลดลงในภาคการผลิต เหมืองแร่ เหมืองหิน ไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำประปา ที่ชะลอตัวลงเป็นสำคัญ อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 64 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 มาอยู่ที่ ร้อยละ 3.73 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่ เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.75 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึนจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ Weekly Financial Indicators ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น STI (สิงคโปร์) และ DAX (เยอรมนี) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ และทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นจนถึงปลายสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 64 ปิดที่ระดับ 1,571.04 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 22 - 25 มี.ค. 64 ที่ 87,327.18 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทังนี ระหว่างวันที่ 22 - 25 มี.ค. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซือ หลักทรัพย์สุทธิ 1,150.47 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -4 ถึง -15 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทังนีระหว่างวันที่ 22 - 25 มี.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,682.95 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 25 มี.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 2,764.70 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 25 มี.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 31.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -1.08 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลเยน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.55 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ