รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 12 - 16 เม.ย. 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 20, 2021 13:55 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
Global Economic Indicators: This Week

US อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 61 เป็นผลจากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน และยานพาหนะที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อาทิ น้ำมันเบนซิน ไฟฟ้า และรถยนต์และรถบรรทุกมือสอง เป็นต้น ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 27.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และทำสถิติสูงที่สุดตั้งแต่มีการเริ่มเก็บข้อมูลมา เป็นผลมาจากการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐ รวมถึงสถานการณ์ด้านสาธารณสุขที่มีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในวงกว้าง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ก.ย. 62 จากการผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้นในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและสินค้าขั้นกลางเป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (4-10 เม.ย. 64) อยู่ที่ 5.76 แสนราย ลดลงเกือบ 2 แสนรายจากสัปดาห์ก่อนหน้า และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาด โดยได้รับแรงหนุนจากความคืบหน้าใน การฉีดวัคซีนโควิด-19 ประกอบกับมาตรการของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น China การส่งออกเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 30.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 60.6 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 38.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า GDP ไตรมาสที่ 1/64 ขยายตัวร้อยละ 18.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 ขยายตัวสูงสดตั้งแต่ปี 2535 โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยฐานต่ำในปี 2563 จากวิกฤติโควิด-19 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค.64 ขยายตัวร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 35.1 โดยภาคยานยนต์ขยายตัวในอัตราสูง มูลค่ายอดค้าปลีก เดือน มี.ค.64 ขยายตัวร้อยละ 34.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (ม.ค.-ก.พ. 64) โดยยอดขายเสื้อผ้าขยายตัวในอัตราสูง อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค.64 อยู่ที่ร้อยละ 5.30 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า Eurozone ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

.โดยหดตัวชะลอลงจากเดือน ม.ค. 64 ที่หดตัวที่ ร้อยละ 5.2 และหดตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัวที่ร้อยละ 5.4 ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกลับมาหดตัวหลังจากที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 ในเดือน ม.ค. 64 และหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัวที่ร้อยละ 0.9

\ Australia อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในรอบปี เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง Singapore GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.4 สำหรับมูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.1 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -4.6 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐSouth Korea อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี Indonesia ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -18.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -16.4 จากสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบเป็นสำคัญ สำหรับมูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 30.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.5 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 14.9 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐUK ผลผลิตภาคการผลิต เดือน ก.พ. 64 หดตัวลดลงร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม รายเดือนยังขยายตัวร้อยละ 1.3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผลิตที่สูงขึ้นของอุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ออปติคอล Weekly Financial Indicators ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน ตรงข้ามกับ ดัชนี MSCI AC Asia Pacific ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,558.83 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายที่ 82,962.59 ล้านบาท โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 479.54 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวอยู่ในช่วง -6 - 4 bps โดยในสัปดาห์นี้ ไม่มีการประมูลพันธบัตร ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 12 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,267.813 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 12 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 8,322.18 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 15 เม.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 31.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.32 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่เงินสกุลอื่นๆ เช่น เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.6 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ