รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 17 - 21 พ.ค. 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 25, 2021 13:45 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week

For 17 - 21 May 2021

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.6 คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวต่อปี ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนGDP ยูโรโซน ไตรมาสที่ 1 ปี 64 (ประมาณการครั้งที่ 2) หดตัวที่ร้อยละ -1.8 ต่อปี

 Fiscal Policy Office      For 17 17 -  Economic Indicators: This Week เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.6 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ -4.2 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 64 ขยายตัวจากไตรมาส 4  ปี 63 ร้อยละ 0.2 โดยเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรก มีแรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของ การส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ       4 ไตรมาส ที่ร้อยละ 3.2 และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ที่ร้อยละ 3.0 รวมทั้ง การขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายรัฐบาลและการขยายตัวเร่งขึ้นของการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงและการส่งออกบริการลดลงต่อเนื่อง ในส่วนของภาคการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสาขาการก่อสร้างกลับมาขยายตัว ในขณะที่สาขาเกษตรกรรม สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และสาขาการเงินขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาไฟฟ้าและก๊าซ และสาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมแซมฯ ลดลงต่อเนื่อง
Global Economic Indicators: This Week

US ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน เม.ย. 64 หดตัวลงร้อยละ -9.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยยอดสร้างบ้านใหม่และใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ปรับตัวลดลงในกลุ่มบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมส์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน (NAHB) เดือน พ.ค. 64 ทรงตัวที่ระดับ 83 จุด โดยดัชนียังคงสูงกว่าระดับ 50 จุดสะท้อนมุมมองโดยทั่วไปที่เป็นบวก โดยดัชนีฯ ยังคงได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง และอัตราเงินกู้จำนองที่ระดับต่ำ แต่ถูกกดดันจากราคาวัสดุก่อสร้างบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น และข้อจำกัดด้านอุปทานอื่น ๆ ทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบาก จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (9-15 พ.ค. 64) อยู่ที่ 4.44 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณฟื้นตัวที่ดี โดยมีหลายรัฐในสหรัฐฯ เตรียมจะถอนตัวออกจากโครงการช่วยเหลือนี้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เนื่องจากกลุ่มธุรกิจเห็นว่า โครงการนี้ให้เงินช่วยเหลือผู้ตกงานเป็นจำนวนที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ จึงส่งผลให้แรงงานมีแรงจูงใจในการหางานลดลง China ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.8 จากช่วงเดี่ยวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 20.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปีที่แล้วได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดอย่างหนัก ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย.ขยายตัวที่ร้อยละ 17.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 34.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การ ฟื้นตัวของการบริโภคยังต้องเผชิญกับแรงกดดันอยู่ อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม และต่ำกว่าเมื่อเดือน เม.ย. 63 ที่ร้อยละ 6.0 ของกำลังแรงงานรวมJapan ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 64 หดตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ -5.1 เมื่อคำนวณแบบ annualized rate และเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงร้อยละ 5.4 ขณะที่ ดุลการค้า เดือน เม.ย. 64 เกินดุลอยู่ที่ 255.3 พันล้านเยน โดยการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกันกับ การนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

.เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 7 อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการขนส่ง การสื่อสาร ค่าน้ำมัน ค่าไฟ ค่าน้ำ และการดูแลทางการทางการแพทย์ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต และภาคบริการเดือน พ.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 52.5 และ 45.7 จุด ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิต คำสั่งซื้อใหม่ และยอดขายลดลงอย่างรวดเร็ว \ Eurozone GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 (ประมาณการครั้งที่ 2) หดตัวร้อยละ -1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.9 และเป็นการหดตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส เนื่องมาจากการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 64 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 โดยอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. 64 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นนั้น ได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานและสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่พลังงานเป็นสำคัญ Hong Kong อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.8 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นการลดลงติดต่อกับเป็นเดือนที่ 2 หลังอัตราการว่างงานเพิ่มสูงถึงร้อยละ 7.2 ของกำลังแรงงานรวมเมื่อเดือน ก.พ. 64 โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยระดับการว่างงานลดลงในหลายภาคเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและการท่องเที่ยว Malaysia อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 เป็นผลมาจากค่าขนส่งเป็นสำคัญ Indonesia มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 51.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 30.5 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่ร้อยละ 25.7 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ Singapore มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 21.6 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่ร้อยละ 17.9 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ Australia อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี ซึ่งนับว่าเป็นการว่างงานที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะเดียวกัน ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 59.9 จุดในเดือน พ.ค. 64 เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ ผลผลิต และการจ้างงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ภาคการบริการ เดือน พ.ค. 64 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 58.2 จุด โดยอุปสงค์ภายในประเทศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง UK อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี ซึ่งนับว่าเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการในการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาขายส่งพลังงาน ค่าสาธารณูปโภค เครื่องแต่งกาย และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) TWSE (ไต้หวัน) JCI (อินโดนีเซีย) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,554.54 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 17 - 20 พ.ค. 64 อยู่ที่ 92,579.41 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 17 - 20 พ.ค. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -6,162.06 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1-17 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 30 ปี และมีนักลงทุนสนใจ 2.63 และ 2.18 เท่าของวงเงินประมูลตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 17 - 20 พ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -14,605.79 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 20 พ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 23,873.01 ล้านบาท เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 20 พ.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 31.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.18 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลริงกิต วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลเยน ยูโร และหยวน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.34 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ