รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 24 - 28 พ.ค. 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 31, 2021 14:29 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week

Indicators this week .สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 61 มียอดมูลค่าการส่งออกในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว13.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนขยายตัวที่ร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 100.0 ต่อปี

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรม ขยายตัวที่ร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 92.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 93.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.)           ในเดือน เม.ย. ปีงบประมาณ 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.1 ต่อปี

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 60.8 ต่อปี

          ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน         เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 40.4 ต่อปี  Fiscal Policy Office
           Economic Indicators: This Week มูลค่าการส่งออกในเดือน เม.ย. 64 มีมูลค่า 21,429   ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปรับตัวอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 36 เดือนนับตังแต่เดือน เม.ย. 61 สำหรับสินค้าสำคัญที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในเดือนดังกล่าว อาทิ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ            เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก  เคมีภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผักผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง เครื่องดื่ม อาหารสัตว์เลี้ยง และน้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น ขณะที่ สินค้าส่งออกที่ยังคงหดตัว เช่น ทองคำ เครื่องสำอางฯ แผงสวิทซ์ฯ ข้าว          น้ำตาลทราย และอาหารทะเล แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป เป็นต้นเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า โดยรวมทุกตลาดปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ จีน สหภาพยุโรป และเอเชียใต้ ขยายตัวที่ร้อยละ 9.0
          Source 21.9 52.5 และ 149.9 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี มูลค่าการนำเข้าในเดือน เม.ย. 64 มีมูลค่า 21,247 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 29.8           เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของกลุ่มสินค้านำเข้าสำคัญ เช่น น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลฯ เครื่องจักรไฟฟ้าฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์  แผงวงจรไฟฟ้า สินแร่โลหะอื่น ๆ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าช่วง 4 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 13.9 ต่อปี สำหรับดุลการค้า ในเดือน เม.ย. 64 ยังคงเกินดุลที่มูลค่า 182.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าสะสมของไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 64 เกินดุลมูลค่า 698.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน เม.ย. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ เดินทางเข้าประเทศ จำนวน 8,529 คน เพิ่มขึนจากเดือน มี.ค. 64 ที่มีนักท่องเที่ยว 6,737 คน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 100.0 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และจีน ในขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเดือน เม.ย. 64 มีจำนวน 7.0 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 5,261.5 ต่อปี แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวนผู้เยี่ยนเยือน 10.8 ล้านคน ทั้งนี้สาเหตุการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน  Economic Indicators: This Week ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน เม.ย. 64  ขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. 64 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 0.2 และ 2.7 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตในหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -5.9 โดยสินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก     มันสำปะหลัง และสุกร ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน กลุ่มไม้ผล และกุ้งขาวแวนนาไม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. 64 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ขยายตัวที่ร้อยละ 15.8 5.1 และ 17.4 ตามลำดับ          โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน กลุ่มไม้ผล สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ไข่ไก่ และไก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน เม.ย. 64         มีจำนวน 16,988 คัน ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 92.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ      -14.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำเนื่องจากในปีที่แล้วมีการล็อกดาวน์ภายในประเทศส่งผลให้ภาคการผลิตหยุดการผลิตชั่วคราว ประกอบกับผู้บริโภคยังไม่กล้าตัดสินใจซื้อสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูง อย่างไรก็ดี ตลาดรถยนต์ยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัทรถยนต์อย่างต่อเนื่อง ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน     เม.ย. 64 มีจำนวน 41,144 คัน กลับมาขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 93.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ขยายตัวตามปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ร้อยละ 94.9 โดยยอดรถที่เพิ่มขึ้นสูงเกิดจาก ขยายตัวสูงจากฐานต่ำปีก่อน เนื่องจากการเลื่อนจัดงาน motor show ครั้งที่ 41 และการหยุดสายพานการผลิตของค่ายรถยนต์ในไทย จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบแรก อย่างไรก็ดี การระบาดรอบใหม่ที่พบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ยังเป็นความเสี่ยงที่จะเข้ามากระทบกับการบริโภครถยนต์เชิงพาณิชย์รวมถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทย แต่ความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน และรายได้ภาคเกษตรที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจากสถานการณ์ภัยแล้งที่น้อยกว่าปีก่อน จะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ในระยะถัดไป
 Economic Indicators: This Week รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.)   ในเดือน เม.ย. ปีงบประมาณ 64 ได้ 199,780 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 26.1 ต่อปี โดยขยายตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัวร้อยละ 67.5 ต่อปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขยายตัว 60.7 ต่อปี และภาษีเงินได้ นิติบุคคล ขยายตัวร้อยละ 16.9 ต่อปี จากการขยายเวลายื่นแบบในปีที่แล้วเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องของประชาชนและผู้ประกอบการ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่  ในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากใช้จ่ายภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 93.7 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็น      ผลจากปัจจัยฐานต่ำเนื่องจากในปีที่แล้วมีการขยายเวลาใน    การยื่นแบบชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษี มี.ค. และ เม.ย. 63 ขยายเวลาถึง 23 พ.ค. 63 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้ายังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 23.8 ต่อปี สอดคล้องกับทิศทางการนำเข้าของประเทศที่ขยายตัวได้สูง ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน     เม.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 40.4 ต่อปี ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล โดยการจัดเก็บภาษีขยายตัวในทุกหมวดการจัดเก็บ โดยเฉพาะในหมวดการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 26.4 ต่อปี เนื่องจากผลจากฐานต่ำในปีก่อนหน้า แต่หากพิจารณาเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขยายตัวชะลอลง สะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดรอบ 3 หรือรอบใหม่ แต่ยังมีปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น หลังจากมีการทยอยฉีดวัคซีนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ ประกอบกับการที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีรายการส่งเสริมการขายออกมาต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการทางภาษีของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นความต้องการของผู้ซื้อได้ดี จะช่วยให้ภาคอสังหาฯ รวมถึงการก่อสร้างกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ยังต้องติดตามการแจกจ่ายวัคซีนว่ามีความรวดเร็วและทั่วถึงเพียงใด ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างมาก และจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อสินทรัพย์ราคาสูงอย่างที่อยู่อาศัยให้ระยะถัดไป  Global Economic Indicators: This Week

US ยอดขายบ้านใหม่ เดือน เม.ย. 64 หดตัวลงร้อยละ -5.9 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยยอดขายบ้านใหม่ปรับตัวลดลงแทบทุกภูมิภาคยกเว้นภาคตะวันตก ซึ่งเป็นผลจากราคาบ้านที่พุ่งสูง ขณะที่สต็อกบ้านในตลาดมีจำนวนลดลง ยอดขายบ้านที่รอการปิดการขายเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 51.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และทำสถิติสูงที่สุดเนื่องจากฐานต่ำในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครังแรก รายสัปดาห์ (16-22 พ.ค. 64) อยู่ที่ 4.06 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 อย่างไรก็ดี ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกินการแพร่ระบาดที่ค่าเฉลี่ย 2.30 แสนรายต่อสัปดาห์ Japan อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยมีจำนวนผู้ว่างงานปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึง 140,000 คนจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ การจ้างงานลดลง 260,000 คน Hong Kong การส่งออก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ ร้อยละ 26.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกันการนำเข้า เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน เม.ย. 64 ขาดดุลที่ -31.8 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ -27.0 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง Taiwan อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.71 ของกำลังแรงงานรวม /ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.72 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 กลับสู่ระดับก่อนเกินการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.06 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ไฟฟ้าและแก๊สที่ลดลงเป็นสำคัญ ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.27 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน\ เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 54 Singapore GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1 (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็นผลจากการเร่งผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ภายในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากค่าขนส่งเป็นสำคัญ ทั้งนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.6 จากสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ Indonesia ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบียนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวภายในประเทศ Malaysia มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 63.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 31.0 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 19.2 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 2.2 หมื่นล้านมาเลเซียริงกิต

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ