
ฉบับที่ 15/2565 วันที่ 27 เมษายน 2565
ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2565
?เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค
การท่องเที่ยว
และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นทุกภูมิภาค โดยเฉพาะ
ภาคตะวันออก
อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019
และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงในทุกภูมิภาค?
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษา
ด้าน
เศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงาน
ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2565 ว่า ?เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุน
จากภาค
การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นทุกภูมิภาค โดยเฉพาะ
ภาคตะวันออก อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 และค่าครองชีพ
ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงในทุกภูมิภาค? โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจ
ภาคตะวันออกในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค
การท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลง
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 40.8 และ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับรายได้เกษตรกรแม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว
ร้อยละ 36.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่
ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจ
ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุก
จดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.7 และ 23.3 ตามลำดับ แม้ว่าเงินทุน
ของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงร้อยละ -65.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 60.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้วยเงินทุน 1.5 พันล้านบาท จากโรงงานนำเศษยางเสื่อมสภาพ
มาบดย่อย อัด และรีดเป็นแผ่น เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ในจังหวัดระยอง และจากโรงงานจัดเก็บ แบ่งบรรจุตามขนาดจัดเก็บ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน มีสัญญาณฟื้นตัว
จาก
การท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 167.1 และ 243.6 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 111.6 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 109.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จากเดือนก่อนหน้า
ที่ระดับ 46.2
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค
การท่องเที่ยว
และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน
และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 21.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับรายได้เกษตรกรขยายตัวเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.7 แต่ชะลอลงร้อยละ -39.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 0.6 ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 350.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงร้อยละ -19.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจาก
การท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 55.7 และ 22.9 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.6
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค
การท่องเที่ยว
และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงร้อยละ -10.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัวทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 33.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยเงินทุน 2.1
พันล้านบาท จากโรงงานถอดแยกและบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดสมุทรปราการ
และจากโรงงานการพิมพ์ฟิล์มพลาสติก การพิมพ์กระดาษ และตบแต่งสิ่งพิมพ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นสำคัญ สอดคล้องกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.3 ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 16.5 ต่อปี แต่ชะลอลงร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
หลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจาก
การท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้
จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 35.5 และ 39.4 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 40.3 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 41.7
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค
การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงร้อยละ -27.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอลงร้อยละ -3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว
ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผล
ทางฤดูกาลสำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.2
และ 15.5 ตามลำดับ ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 124.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงร้อยละ -8.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณ
การฟื้นตัวจาก
การท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 60.7 และ 72.4 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 64.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 61.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.9
จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.1
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค
การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัว
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.7 แต่ชะลอลงร้อยละ -19.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผล
ทางฤดูกาล สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่แม้ว่าจะชะลอลงร้อยละ -10.2
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจ
ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงาน
ที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจาก
การท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 64.4 และ 32.8 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 41.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.6
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค
การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัว
ร้อยละ 8.0 และ 29.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลง
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัว
จาก
การท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 18.0 และ 11.7 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 86.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 83.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.4 จากเดือนก่อนหน้า
ที่ระดับ 39.6
เศรษฐกิจ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนมีนาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค
การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน
และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -27.7สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 4.5 ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคา และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงาน
ที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจาก
การท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมดขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมแม้ว่าจะชะลอลงร้อยละ -8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 35.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 83.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 81.6 ขณะที่
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.2 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.4
โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามเอกสารแนบ?
ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2565
ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจ
ภาคตะวันออก
เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2564 Q4/64 Q1/65 ก.พ.65 มี.ค.65 YTD
เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 34.7 48.4 43.1 36.6 40.8 43.1
จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -4.0 -17.5 0.0 3.6 4.0 0.0
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) 9.1 17.9 11.2 23.7 -4.4 11.2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 47.6 47.9 46.2 46.2 44.8 46.2
รายได้เกษตรกร (%yoy) 4.4 -30.9 -22.6 -38.4 -3.6 -22.6
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -6.8 -12.7 3.9 10.3 12.7 3.9
จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 12.5 9.8 8.7 -4.4 23.3 8.7
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 39.8 8.5 4.7 0.8 1.5 4.7
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) 57.6 -10.8 -61.5 -87.9 -65.2 -61.5
เครื่องชี้ภาค
อุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตสินค้า
อุตสาหกรรม (%yoy) 6.2 5.3 -32.5 4.4 - 3.8
ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรม (ระดับ) 104.4 105.7 109.9 109.2 111.6 109.9
เครื่องชี้ด้าน
การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -55.5 -17.0 264.7 248.2 167.1 264.7
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -51.0 -17.0 262.3 246.9 163.9 262.3
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -97.4 -15.2 939.1 559.9 1,274.7 939.1
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -73.8 -39.5 379.1 345.8 243.6 379.1
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -58.4 -38.8 373.3 344.8 232.7 373.3
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -99.0 -64.9 732.2 400.5 1,172.9 732.2
ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) 11.4 31.6 12.5 16.2 -3.6 12.5
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -13.2 -11.4 2.0 -5.2 -8.7 2.0
เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 2.1 2.8 4.5 4.4 5.5 4.5
อัตราการว่างงาน (%ต่อกำลังแรงงาน) 1.2 1.0 - - - -
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 0.6 0.4 0.7 0.6 1.0 0.7
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค.
ตารางที่ 2 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันตก
เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2564 Q4/64 Q1/65 ก.พ.65 มี.ค.65 YTD
เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 3.2 10.5 24.5 25.4 21.5 24.5
จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -5.8 -14.2 -3.2 7.1 -1.6 -3.2
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) 7.4 9.2 -0.9 11.0 -14.5 -0.9
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 43.6 44.1 42.7 42.6 41.4 42.7
รายได้เกษตรกร (%yoy) 0.3 6.2 19.3 25.7 16.7 19.3
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 0.5 -2.5 -4.5 5.1 -12.0 -4.5
จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 13.4 17.5 5.6 -20.3 11.3 5.6
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 3.4 0.6 1.6 0.7 0.8 1.6
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) -63.9 -5.9 166.9 420.3 350.8 166.9
เครื่องชี้ภาค
อุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตสินค้า
อุตสาหกรรม (%yoy) 6.7 2.0 -34.0 2.3 - 2.3
ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรม (ระดับ) 82.7 84.7 87.1 85.0 87.7 87.1
เครื่องชี้ด้าน
การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -33.3 -9.4 97.8 97.8 55.7 97.8
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -32.0 -9.5 97.4 97.4 55.3 97.4
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -97.3 78.1 883.2 588.3 1,040.9 883.2
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -42.4 -29.0 56.1 50.9 22.9 56.1
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -38.9 -29.1 55.2 50.0 22.0 55.2
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -98.0 82.2 900.2 693.0 1,008.8 900.2
ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) 28.0 40.4 -2.5 14.6 -28.2 -2.5
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) 5.3 20.7 12.6 66.7 -9.1 12.6
เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 2.0 2.8 4.7 4.8 5.2 4.7
อัตราการว่างงาน (%ต่อกำลังแรงงาน) 1.4 1.2 - - - -
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 1.0 0.9 1.0 0.7 1.5 1.0
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค.
?
ตารางที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลฯ
เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2564 Q4/64 Q1/65 ก.พ.65 มี.ค.65 YTD
เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 6.6 9.9 4.6 25.5 -12.9 4.6
จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -7.7 -16.5 8.2 11.7 33.6 8.2
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) 2.6 9.4 0.8 10.5 -6.4 0.8
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 43.3 43.5 41.8 41.7 40.3 41.8
รายได้เกษตรกร (%yoy) 2.4 -15.8 1.3 -7.4 14.4 1.3
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -2.8 -1.4 17.6 26.9 16.5 17.6
จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -14.5 -53.3 8.2 2.9 13.3 8.2
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 30.3 7.3 6.2 1.5 2.1 6.2
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) -12.7 -16.7 10.2 -48.1 13.1 10.2
เครื่องชี้ภาค
อุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตสินค้า
อุตสาหกรรม (%yoy) 7.4 6.2 -34.3 2.0 - 1.5
ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรม (ระดับ) 82.7 84.7 87.1 85.0 87.7 87.1
เครื่องชี้ด้าน
การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -48.3 -33.3 41.2 31.5 35.5 41.2
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -39.7 -35.7 35.8 26.7 28.5 35.8
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -87.4 65.7 264.5 252.0 313.1 264.5
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -74.9 -52.7 27.5 14.3 39.4 27.5
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -60.4 -56.4 14.0 3.9 19.1 14.0
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -91.6 -28.2 140.1 106.5 202.0 140.1
ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) 1.2 -1.9 1.6 12.2 -10.8 1.6
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -8.0 1.2 6.8 22.0 11.9 6.8
เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 1.1 2.1 4.8 5.3 5.9 4.8
อัตราการว่างงาน (%ต่อกำลังแรงงาน) 2.2 1.8 - - - -
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 0.4 0.4 0.7 0.5 1.1 0.7
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค.
ตารางที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเหนือ
เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2564 Q4/64 Q1/65 ก.พ.65 มี.ค.65 YTD
เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 0.9 1.0 3.6 19.5 -11.6 3.6
จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -0.8 -20.9 -1.6 -1.9 -3.5 -1.6
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) 3.5 3.1 -3.0 6.5 -11.8 -3.0
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 47.3 47.8 46.2 46.1 44.9 46.2
รายได้เกษตรกร (%yoy) 5.5 0.2 4.7 13.0 8.1 4.7
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 0.4 -17.8 -0.1 -2.4 8.2 -0.1
จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 11.1 7.3 11.4 9.3 15.5 11.4
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 12.3 8.5 2.0 0.4 0.4 2.0
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) 60.0 788.8 149.3 51.4 124.1 149.3
เครื่องชี้ภาค
อุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตสินค้า
อุตสาหกรรม (%yoy) 4.4 4.7 -33.6 4.2 - 2.8
ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรม (ระดับ) 60.9 63.1 63.2 61.2 64.8 63.2
เครื่องชี้ด้าน
การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -38.6 -26.8 104.6 101.8 60.7 104.6
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -35.8 -26.9 102.6 99.9 58.4 102.6
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -92.8 -7.9 533.3 566.3 571.4 533.3
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -50.8 -42.2 110.1 113.4 72.4 110.1
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -45.6 -42.3 107.3 110.6 68.8 107.3
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -96.3 -27.1 480.1 513.4 526.4 480.1
ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) 35.2 27.0 -9.9 -15.9 -23.6 -9.9
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -3.0 0.2 -2.2 -10.9 56.2 -2.2
เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 1.7 3.1 4.4 4.5 4.7 4.4
อัตราการว่างงาน (%ต่อกำลังแรงงาน) 1.8 1.5 - - - -
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 1.3 1.0 1.0 0.6 1.8 1.0
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค.
?
ตารางที่ 5 ครื่องชี้เศรษฐกิจภาคกลาง
เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2564 Q4/64 Q1/65 ก.พ.65 มี.ค.65 YTD
เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 0.4 0.1 1.4 23.9 -11.4 1.4
จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -3.0 -16.6 6.0 13.8 2.3 6.0
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) 2.2 0.3 -0.5 10.7 -10.2 -0.5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 43.6 44.1 42.7 42.6 41.4 42.7
รายได้เกษตรกร (%yoy) -6.7 -8.4 8.6 12.0 5.7 8.6
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -1.9 -10.5 -4.6 -2.3 -9.7 -4.6
จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 10.8 8.5 4.6 12.0 10.0 4.6
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 29.2 1.8 2.4 0.3 2.0 2.4
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) 253.9 -21.5 -62.7 -47.2 -63.0 -62.7
เครื่องชี้ภาค
อุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตสินค้า
อุตสาหกรรม (%yoy) 6.1 3.3 -35.2 1.1 - 1.2
ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรม (ระดับ) 82.7 84.7 87.1 85.0 87.7 87.1
เครื่องชี้ด้าน
การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -35.0 -23.3 112.7 139.5 64.4 112.7
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -32.6 -23.6 111.6 138.1 63.8 111.6
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -94.6 275.1 713.2 3,603.6 239.0 713.2
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -40.2 -38.0 81.1 110.4 32.8 81.1
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -36.9 -38.2 80.1 109.0 32.2 80.1
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -95.8 163.4 561.4 2,780.9 183.7 561.4
ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) 26.2 39.5 -22.2 -20.1 -36.1 -22.2
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -20.6 7.0 17.5 100.0 0.0 17.5
เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 1.9 3.0 5.2 5.5 5.7 5.2
อัตราการว่างงาน (%ต่อกำลังแรงงาน) 2.2 1.7 - - - -
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 0.6 0.5 0.7 0.6 1.1 0.7
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค.
?
ตารางที่ 6 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคใต้
เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2564 Q4/64 Q1/65 ก.พ.65 มี.ค.65 YTD
เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 3.9 14.9 15.5 36.5 -5.7 15.5
จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 0.4 -13.7 1.3 3.8 8.0 1.3
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) 1.5 8.3 8.7 23.7 -6.6 8.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 41.1 41.1 39.7 39.6 38.4 39.7
รายได้เกษตรกร (%yoy) 24.2 13.7 28.4 26.8 29.5 28.4
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 9.2 3.1 11.2 13.2 25.5 11.2
จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 32.3 13.9 2.0 -9.8 -8.3 2.0
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 9.2 2.2 1.0 0.7 0.2 1.0
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) -28.4 -65.8 -33.3 228.7 -28.3 -33.3
เครื่องชี้ภาค
อุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตสินค้า
อุตสาหกรรม (%yoy) 5.3 4.4 -33.7 0.6 - 1.4
ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรม (ระดับ) 81.8 81.8 85.0 83.1 86.8 85.0
เครื่องชี้ด้าน
การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -66.8 -53.5 59.7 67.3 18.0 59.7
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -57.6 -58.8 40.0 47.9 2.1 40.0
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -93.3 829.8 6,675.6 6,488.7 6,403.5 6,675.6
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -77.5 -18.9 104.0 218.2 11.7 104.0
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -64.9 -62.4 53.0 66.3 7.6 53.0
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -85.5 2,571.6 211.7 13,751.9 15.9 211.7
ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) 20.0 30.3 18.5 22.2 5.7 18.5
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -4.2 1.2 -10.5 -13.5 36.6 -10.5
เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 2.0 3.0 4.7 4.7 5.4 4.7
อัตราการว่างงาน (%ต่อกำลังแรงงาน) 3.0 2.7 - - - -
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 1.2 0.9 1.3 0.8 2.2 1.3
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค.
?
ตารางที่ 7 เครื่องชี้เศรษฐกิจ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2564 Q4/64 Q1/65 ก.พ.65 มี.ค.65 YTD
เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 3.5 -5.3 -1.4 15.0 -14.0 -1.4
จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 0.8 -11.2 -4.2 -3.6 -2.7 -4.2
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) 7.8 10.1 4.8 16.0 -10.6 4.8
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 48.6 49.0 47.5 47.4 46.2 47.5
รายได้เกษตรกร (%yoy) 3.8 -1.5 7.5 12.9 7.9 7.5
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -1.8 -18.4 -2.6 -4.2 1.5 -2.6
จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 19.8 11.0 7.8 17.0 -1.9 7.8
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 13.4 5.5 1.7 0.8 0.4 1.7
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) -11.9 79.4 -37.8 5.9 -61.1 -37.8
เครื่องชี้ภาค
อุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตสินค้า
อุตสาหกรรม (%yoy) 3.5 4.1 -33.4 2.7 - 2.3
ดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรม (ระดับ) 74.4 76.6 81.9 81.6 83.5 81.9
เครื่องชี้ด้าน
การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -44.5 -40.0 31.6 28.8 8.5 31.6
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -43.7 -40.2 31.1 28.5 8.2 31.1
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -92.1 140.1 557.1 424.0 343.9 557.1
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -56.2 -54.1 13.0 9.8 -8.8 13.0
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -55.4 -54.2 12.4 9.3 -9.3 12.4
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -94.0 39.9 537.7 448.7 318.7 537.7
ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) 52.1 27.2 -31.1 -32.9 -48.7 -31.1
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -6.3 -1.9 18.0 46.4 28.6 18.0
เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 1.2 2.2 3.7 3.8 4.3 3.7
อัตราการว่างงาน (%ต่อกำลังแรงงาน) 1.5 1.3 - - - -
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 1.7 1.4 1.3 0.9 2.1 1.3
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค.
?
ตารางที่ 8 เครื่องชี้เศรษฐกิจรายภาคในเดือนมีนาคม 2565 โดยปรับผลทางฤดูกาล (MoM_SA)
เครื่องชี้เศรษฐกิจ อีสาน เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก กลาง กทม.ปริฯ
เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่_SA (%mom) -2.5 -1.3 -8.3 8.9 10.2 -8.8 -0.6
จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ _SA (%mom) 4.5 3.2 6.4 7.1 -0.3 2.7 21.4
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ _SA (%mom) -7.5 -10.9 -11.7 -8.9 -10.7 2.0 -5.1
รายได้เกษตรกร _SA (%mom) -27.7 -27.4 14.2 36.1 -39.0 -19.5 -10.8
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ _SA (%mom) 9.0 9.6 4.5 16.1 0.6 -1.2 -1.1
จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ _SA (%mom) -4.8 5.8 -1.5 15.6 22.0 20.8 13.6
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ_SA (ล้านบาท) 0.3 0.5 0.4 1.2 0.7 0.5 2.6
เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ _SA (%mom) -59.0 -8.2 -56.4 60.2 -19.8 -1.8 35.4
เครื่องชี้ด้าน
การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) 31.8 8.5 34.2 9.8 35.0 37.2 42.0
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) 31.2 6.9 15.8 5.9 33.9 34.8 39.1
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) 64.5 50.5 53.7 116.1 57.7 21.2 48.5
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) 35.5 12.6 37.3 16.7 40.6 35.5 55.0
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) 35.1 10.4 2.8 9.7 36.2 38.3 56.6
รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) 57.6 43.5 -45.7 141.6 56.4 42.0 105.8
ข้อมูลนิติบุคคลจดทะเบียน
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง _SA (%mom) -9.6 -5.6 0.4 -4.8 -9.4 10.9 -3.8
จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก _SA (%mom) 38.6 20.6 41.6 13.2 -27.7 -17.8 -5.4
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค.
*_SA หมายถึง ข้อมูลที่ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว
ที่มา: กระทรวงการคลัง