การประเมินผลกระทบความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านต่อเศรษฐกิจไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 17, 2024 13:18 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 11/2567 วันที่ 17 เมษายน 2567
การประเมินผลกระทบความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านต่อเศรษฐกิจไทย
?สานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่า สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ไทยไม่มาก ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งที่อยู่ในวงจากัดและมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
จะเกิดขึ้นจากความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ สศค. มั่นใจว่านโยบาย
การคลังจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2567 ต่อไป?
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการ สศค. เปิดเผยว่า สศค. ได้ติดตามและประเมินผลกระทบจากสถานการณ์
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านอย่างใกล้ชิดตั้งแต่สถานการณ์ความขัดแย้งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2567
โดย สศค. ประเมินว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่มาก ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งที่อยู่ในวงจากัด
และการหาทางออกของความขัดแย้งของประเทศต่าง ๆ ทาให้สถานการณ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ตลาดเงินและตลาดทุนโลกและไทยที่มีความผันผวน โดยจะเห็นได้ว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทาให้ตลาดเงินและ
ตลาดทุนทั่วโลกมีความผันผวนที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนได้จากดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลักของโลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงวันหยุด
สงกรานต์ของไทย และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นสะท้อนการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนไปสู่สินทรัพย์หลักที่นักลงทุนประเมินว่า
มีความเสี่ยงต่า ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ของไทยปรับตัวลดลงในวันนี้ (17 เมษายน 2567) มาจากปัจจัยความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและ
อิหร่านเช่นเดียวกัน ซึ่งวันนี้เป็นวันแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยเปิดทาการหลังวันหยุดสงกรานต์ ประกอบกับยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น
การกาหนดวันจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ ทาให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยปรับตัวลดลง เป็นต้น
2. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยพบว่า ราคาน้ามันดิบและราคาทองคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหลังเหตุการณ์
ความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ราคาน้ามันดิบได้ปรับตัวลดลงอยู่ในช่วง 85 - 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
เท่ากับช่วงก่อนเหตุการณ์ความขัดแย้ง ทั้งนี้ ประเมินว่าประเทศอิหร่านมีสัดส่วนส่งออกน้ามันดิบเพียงร้อยละ 1.5 ของการส่งออกน้ามันดิบ
ในตลาดโลก จึงประเมินว่า หากสถานการณ์ความขัดแย้งไม่ลุกลามจะไม่เป็นปัจจัยทาให้ราคาน้ามันดิบปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสาคัญ
3. การค้าระหว่างประเทศของไทยได้รับผลกระทบน้อย โดยไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปยังประเทศอิสราเอลและอิหร่าน
เพียงร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.05 ของมูลค่าการส่งออกในปี 2566 (284.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลาดับ ขณะที่การนาเข้าของไทย
จากประเทศอิสราเอลและอิหร่านมีสัดส่วนที่ต่าเพียงร้อยละ 0.15 และร้อยละ 0.003 ของมูลค่าการนาเข้าในปี 2566 (289.8 พันล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ) ตามลาดับ
4. การท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบจากัด โดยไทยมีสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากประเทศอิสราเอลและอิหร่านเพียง
ร้อยละ 1.0 ของจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งหมดในปี 2566 (28.2 ล้านคน) โดยมีการใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละ 1.9 ของรายได้จาก
ภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2566 (1.2 ล้านล้านบาท) ดังนั้น จึงคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยไม่มากนัก
5. การลงทุนของไทยกับประเทศอิสราเอลและอิหร่านยังมีมูลค่าที่น้อยมาก โดยข้อมูลการลงทุนระหว่างประเทศพบว่า
ยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงจากอิหร่านในไทย ในปี 2566 มีมูลค่าอยู่น้อยมากที่ 16.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเพียงสัดส่วน
ร้อยละ 0.01 ของมูลค่ายอดคงค้างเงินลงทุนรวมจากต่างประเทศในไทยทั้งหมด (308.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ในด้านการลงทุน
ระหว่างไทยและประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง ยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางในไทย พบว่า ในปี 2566
มีมูลค่าอยู่เพียง 714.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเพียงสัดส่วนร้อยละ 0.23 ของมูลค่ายอดคงค้างเงินลงทุนรวมจากต่างประเทศ
ในไทยทั้งหมด ทาให้ผลกระทบด้านการลงทุนโดยตรงจากตะวันออกกลางมายังไทยอาจจะได้รับผลกระทบไม่มากเนื่องจากสัดส่วนมูลค่า
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิจากภูมิภาคดังกล่าวมีสัดส่วนที่ต่า
ทั้งนี้ สศค. ได้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านอย่างใกล้ชิดและเชื่อมั่นว่าการดาเนิน
นโยบายการคลังในระยะต่อจากนี้ไป จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง

          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ