ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร สิงหาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 8, 2008 16:15 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ  ( สิงหาคม  2551 )
GDP ไตรมาสที่ 2 หลังทบทวนใหม่พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.0
ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศศ (GDP) ประจำไตรมาสที่สองของปี 2008 ภายหลังการทบทวนพบว่าขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.0 หรือไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.3) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.4 (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 2.2) ซึ่งการที่เศรษฐกิจในไตรมาสไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากการหดตัวในภาคการเกษตร ภาคการผลิต และภาคการก่อสร้าง ขณะที่ภาคบริการชะลอตัวลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2 และยังคงเป็นภาคที่เกื้อหนุนเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้
- ภาคบริการ (Services Industries) ขยายตัวร้อยละ 0.2 ชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก (ไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 0.3) โดยภาคที่มีอัตตราการขยายตัวแข็งแกร่งมาจากธุรกิจบริการในภาคการคมนาคมขนส่ง สื่อสารและการเก็บรักษาสินค้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 (ไตรมาสก่อนหน้าขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7) ขณะที่ธุรกิจบริการในภาคค้าส่งโรงแรมและภัตตตาคาร ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 เท่ากับการขยายตัวในภาคธุรกิจบริการและการเงิน (ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ) ขณะที่บริการภาครัฐมีการขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 (ภาคบริการมีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยยละ 74)
- ภาคอุตสาหกรรมและการผลิต (Production) หดตัวลงแรงถึงร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อนนหน้า (ไตรมาสที่แล้วหดตัวลงร้อยละ 0.2) เนื่องจากมีการหดตัวลงในทุกสาขาการผลิต โดยการผลิตภาคสาธารณูปโภคไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า แก๊ส และประปา มีการหดตัวลงแรงถึงร้อยละ 1.9 (ไตรมาสที่แล้วหดตัวร้อยละ 1.3) ขณะที่การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้หดตัวลงร้อยละ 0.8 (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยลละ 0.4) ขณะที่การผลิตภาคเหมืองแร่และพลังงานในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 0.6 (ไตรมาสที่แล้วหดตัวร้อยละ 4.7) (ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตมีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 19)
- ภาคการก่อสร้าง (Construction) ในไตรมาสนี้ก็หดตัวลงแรงถึงร้อยละ 1.1 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ภาคการก่อสร้างหดตัวลงนับจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2005 (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 0.4) (ภาคการก่อสร้างมีสัดส่วนต่อ GDP ประมาณร้อยละ 6)
- ภาคการเกษตรในไตรมาสนี้หดตัวร้อยละ 0.2 (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 0.6 (ภาคการเกษตรมีสัดส่วนต่อ GDP ประมาณร้อยละ 1)
อนึ่ง ในคราวแถลงงบประมาณต่อรัฐสภาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงการคลังประมาณการว่าเศรษฐกิจในปี 2008 จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 2.75-3.25 ขณะที่ IMF และ European Commission ประมาณการว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.6 และ 1.7 ตามลำดับ ส่วนสถาบันวิจัยเอกชนประมาณการล่าสุดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 และเหลือร้อยละ 1.4 ในปี 2009
ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนหดตัวลงอีก 0.2 จุด
ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ในเดือนมิถุนายนยังลดลงงอีก 0.2 จุดจากเดือนที่แล้วมาอยู่ที่ระดับ 98.2 และหากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของดัชนีช่วง 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน) พบว่าลดลงจากค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
(มกราคม-มีนาคม) ร้อยละ 0.8 โดยดัชนีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (Manufacturing) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 79 ลดลงร้อยละ 0.8 จากช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีผลผผลิตภาคเหมือองแร่ ทรัพยากร ธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 12 กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หลังจากที่ลดลงมาโดยตลอด ส่วนดัชนีผลผลิตด้านพลังงานไฟฟ้าน้ำ และ ก๊าซ ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 9 ลดลงร้อยละ 1.9
ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีการผลิตตามระดับขั้นของผลผลิตพบว่าค่าเฉลี่ย 3 เดือนของดัชนีผลผลิตสินค้าขั้นกลางแลละพลังงาน (Intermediate goods and energy) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 48 ลดลงจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้าโดยลดลงร้อยละ 0.9 ดัชนีผลผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคที่ไม่คงทน (Consumer non-durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 27 ลดลงแรงร้อยละ 0.9 สินค้าเพื่อการบริโภคที่คงทน (Consumer durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 3.6 ลดลงร้อยละ 2.1 ขณะที่สินค้าทุน (Capital goods) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 21 ก็ลดลงลงร้อยละ 0.2 จากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังชะลอตัวลงอีกในเดือนนี้สอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ที่เศรษฐกิจมีการเติบโตในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 0.2 จากไตรมาสแรก
อัตราเงินเฟ้อ : CPI เดือนกรกฎาคมยังคงทำสถิติต่อเนื่องโดยพุ่งแตะร้อยละ 4.4
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนกรกฎาคมยังเร่งตัวขึ้นแรงต่อแนื่องจากเดือนก่อนโดยพุ่งจากร้อยละ 3.8 ขึ้นมาแตะระดับร้อยละ 4.4 ทำสถิติอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดนับจาก Bank of England ได้รับมอบหมายให้ดำเนินนโยบายการเงินได้อย่างอิสระเมื่อปี 1997 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วยังคงมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ที่เร่งตัวขึ้นจากปีที่แล้วเป็นร้อยละ 12.3 เทียบกับร้อยละ 9.5 ในเดือนที่แล้ว หมวดค่าขนส่งที่เร่งตัวขึ้นเช่นกันเป็นร้อยละ 8.0 เทียบกับร้อยละ 7.3 ในเดือนที่แล้ว และหมวดค่าใช้จ่ายประจำในครัวเรือนค่าสาธารณูปโภคน้ำประปา แก๊สและไฟฟ้า ที่เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 7.8 เทียบกับร้อยละ 7.0 ในเดือนที่แล้ว สำหรับหมวดสินค้าที่มีระดับราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าที่มีระดับราคาลดลงร้อยละ 6.7 จากร้อยละ 7.0 ในเดือนที่แล้ว หมวดสื่อสารลดลงร้อยละ 0.7 และหมวดสันธนาการและวัฒนธรรมลดลงร้อยละ 0.1 จากปีที่แล้ว
ทางด้านดัชนี ((Retail Price Index: RPI) ในเดือนนี้ก็เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกันโดยเพิ่มจากร้อยยละ 4.6 เป็นร้อยละ 5.0 ในเดือนนี้ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนนี้ยังคงมาจากรายจ่ายหมวดอาหารและภัตตาคารที่ยังคงเร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 8.0 เมื่อเดือนที่แล้วเป็นร้อยละ 9.8 ในเดือนนี้ โดยอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์และผักผลไม้เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการยกเว้นหมวดนมสด ไข่ และน้ำมันพืชที่มีราคาชะลอลงเล็กน้อย หมวดการเดินทางและพักผ่อนเร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 4.6 เป็นร้อยละ 5.1 ขณะที่ค่าใช้จ่ายหมวดที่อยู่อาศัยและรายจ่ายในครัวเรือนยังคงเพิ่มในอัตราสูงร้อยละ 4.5 เท่ากับเดือนที่แล้วเนื่องจากค่าใช้จ่ายในครัวเรือนหมวดไฟฟฟ้าและน้ำมันที่เร่งตัวขึ้นแรงถึงร้อยละ 17.2 จากร้อยละ 14.9 ในเดือนก่อน แม้ว่ารายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเช่าและค่าผ่อนชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะชะลอลงก็ตาม
อัตราการว่างงาน : เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4
ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนมิถุนายน (เมษายน-มิถุนายน) จำนวนผู้มีงานทำ (employment level) มีจำนวน 29.558 ล้านคน เพิ่มขึ้น 20,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า(มกราคม-มีนาคม) และเพิ่มขึ้น 384,000 คนจากรอบไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยคิดเป็นอัตรา
การจ้างงานของผู้อยู่ในวัยทำงานเท่ากับร้อยละ 74.8 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employment rate) โดยอัตราผู้มีงานทำลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 0.1 จุด
ทางด้านจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนสิ้นเดือนมิถุนายน มียอดผู้ว่างงานเฉลี่ย 1.672 ล้านคน เพิ่มขึ้น 60,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 15,000 คน จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้อัตราการว่างงานเฉลี่ยในรอบไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.4 เทียบกับร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า
สำหรับดัชนีชี้วัดรายได้เฉลี่ยของแรงงานไม่รวมเงินโบนัส (GB average earnings index: AEI) ในรอบไตรมาสสิ้นสุดเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากปีที่แล้ว (ลดลงร้อยละ 0.1 จากรอบไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดัชนีที่รวมรายได้จากโบนัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากปีที่แล้ว (ลดลงร้อยละ 0.4 จากรอบไตรมาสก่อนหน้า)
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปปลี่ยน
อัตราดดอกเบี้ย : Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 5.0 เป็นเดือนที่ 5
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติ 7:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ย Base rate ไว้ที่ร้อยละ 5.0 โดยกรรมการรายหนึ่งเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง ขณะที่อีกรายเสนอให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเดือนที่ 2 ที่ผลการลงมติเป็นไป
ในลักษณะดังกล่าว และนับเป็นเดือนที่ 5 ที่ MPC มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ อย่างไรก็ดีการตัดสินใจในครั้งนี้ยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับคณะกรรมการเนื่องจากการตัดสินใจขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยไม่ว่าในทางใดทางหนึ่งจะส่งสัญญาณและนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการชะลอตัวลึกขึ้นของเศรษฐกิจหรือความเสี่ยงต่อการคาดดการณ์อัตราแงินเฟ้อในรอบที่สอง ตามลำดับการที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงในเดือนนี้ ขณะที่แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ชัดขึ้นโดยลำดับที่น่าจะส่งผลดีต่อการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไป ทำให้คณะกรรมการเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม โดยการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นวันที่ 4 กันยายน 2008
ในเดือนกรกฎาคมอัตราดออกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดลอยตัว (flexible rate) ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายนโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.92 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดที่อิงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (base rate tracker mortgage) ในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.24 ลดลงจากเดือนที่แล้ว 7 basis points ทั้งนี้ แม้ในเดือนนี้จะลดลงเล็กน้อยแต่ส่วนต่างระหว่าง tracker mortgage rate กับ base rate ยังคงสูงอยู่ที่ระดับ 124 basis points จากปีที่แล้วที่มีส่วนต่างเพียง 60-80 basis points
สำหรับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (average yield curve) ประจำเดือนสิงหาคมพบว่าอัตราผลตอบแทนปรับลดลงจากเดือนที่แล้วทุกอายุ โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นต่ำกว่า 1 ปีปรับบตัวลดลงเล็กกน้อย แต่อัตราผลตอบแทนระยะ 1 ปีขึ้นไปปรับลดลงระหว่าง basis points 19-37 basis points ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างปรับตัวดีขึ้นมากสะท้อนถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องระยะสั้นได้ลดลลงไปมาก
อัตราแลกเปลี่ยน : อ่อนค่าลงแรงกับทุกสกุลในเดือนนี้ โดยเฉพาะกับ $
เงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้อ่อนค่าลงค่อนข้างแรงโดยยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ส่งผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจยุโรปและอังกฤษก็เป็นปัจจัยเร่งให้นักลงทุนหันไปถือเงินดอลลาร์สรอ. แทนเนื่องจากนักลงทุนบางส่วนมองว่าข่าวร้ายเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ น่าจะใกล้สิ้นสุดลงและอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญแม้ว่าภาคการเงินของสหรัฐฯ จะยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตเมื่อมีข่าวว่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่ 3 แห่งอาจมีผลประกอบการขาดทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและจอร์เจียก็ตาม โดยเงินดอลลาร์ สรอ. มีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.9739 $/ปอนด์ ลดลงต่อเนื่องจากปลายเดือนที่แล้ว จากนั้นเงินดอลลาร์ สรอ.ก็ได้รับแรงหนุนจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันที่ลดลงต่ำกว่าระดับ 120 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรลได้เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังจจากที่ทำสถิติสูงสุดที่ 147.27 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเมื่อเดือนกรกฎาคมซึ่งช่วยลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเปิดช่องในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อแก้ปัญหาการชะลอตัวของการบริโภค ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นแตะระดับบต่ำกว่า 1.90 $/ ปอนด์ ได้เป็นครั้งแรก เมื่อดอลลลาร์ สรอ. ทำสถิติแข็งค่าเมื่อเทียบกับปอนด์ติดต่อกันถึง 11 วันนับว่าเป็นการอ่อนค่าติดต่อกันยาวนานที่สุดในรอบ 37 ปี โดยปอนด์อ่อนตัวลงแตะระดับ 1.8561 $/ปอนด์ ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 22
เดือน และในช่วงท้ายเดือนเงินปอนด์ก็ยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่องอีกเมื่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษอาจจะแย่กว่าที่เคยประมาณการไว้เดิม โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนในระดับต่ำสุดที่ 1.8237 $/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยเงินปอนด์ในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วมากถึงร้อยละ
5.0 และอ่อนค่าลง ร้อยละ 6.1 ในรอล 12 เดือนที่ผ่านนมา
เงินปอนด์เมื่อเทียบกับยูโรในเดือนนี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบกว้างระหว่าง 1.238 - 1.278 ยูโร/ ปอนด์ โดยในช่วงสองสัปดาห์แรกเงินปอนด์ได้ขึ้นไปแข็งค่าสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.2784 ยูโร/ ปอนด์ เนื่องจากเงินปอนด์ได้รับผลดีจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สรอ. เมื่อเทียบกับยูโร อย่างไรก็ดี เงินปอนด์เริ่มกลับอ่อนค่าลงแม้จะสลับกับการกระเตื้องขึ้นในช่วงสั้น ๆ เมื่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษค่อนข้างแย่กว่าที่คิดเมื่อผลการทบทวนการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 พบว่าเศรษฐกิจไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในการประมาณการครั้งแรกประเมินว่าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.2 นอกจากนี้ในช่วงท้ายของเดือนเงินปอนด์อ่อนค่าลงหนักเมื่อนักวิเคราะห์เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจน่าจะแย่ลงอีก โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับต่ำสุด 1.2388 ยูโร/ปอนด์ โดยค่าเฉลี่ยเงินปอนด์ในเดือนนี้แม้จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่แล้วเนื่องจากความผันผวนดังกล่าว แต่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เงินปอนด์ยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรร้อยละ 14.5
เมื่อเทียบกับเงินบาทแล้ว เงินปอนด์ในเดือนนี้อ่อนค่าลงค่อนข้างแรง โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 66.1849 Baht/ปอนด์ จากนั้นเงินปอนด์ก็อ่อนค่าลงแรงตลอดทั้งเดือนโดยลงมาแตะระดับปิดต่ำกว่า 63 Baht/ ปอนด์ ในช่วงกลางเดือน ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 63.6748 Baht/ปอนด์ อย่างไรก็ดี ในช่วงท้ายของเดือนเงินปอนด์กลับอ่อนค่าลงอีกครั้งเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับต่ำสุดด 62.3797 Baht/ ปอนด์ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้โดยรวมอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทถึงร้อยละ 4.0 และเมื่อเทียบกับปีที่แล้วเงินปอนด์อ่อนค่าลงร้อยละ 0.1
ดุลงบประมาณ: เดือนกรกฎาคม รัฐบาลเกินดุล 4.8 พันล้านปอนด์
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นเดือนสี่ของปีงบประมาณปัจจุบัน (2008/09) รัฐบาลเกินดุลงบรายจ่ายประจำจำนวน 6.62 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่เกินดุล 8.6 พันล้านปอนด์ในเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว) และเมื่อรวมกับในเดือนนี้รัฐบาลมีการลงทุนสุทธิจำนวน 1.79 พันล้านปอนด์ จึงทำให้ฐานะดุลงบประมาณโดยรวมในเดือนนี้มียอดเกินดุลสุทธิเป็นจำนวน 4.84 พันล้านปอนด์ (เกินดุลลดลงร้อยละ 25.0 จากปีที่แล้ว) โดยในส่วนของรัฐบาลกลาง (central government account) สามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้จำนวน 52.0 พันล้านปอนด์ ขณะที่งบรายจ่ายประจำและงบลงทุนของรัฐบาลกลางมียอดรวม 46.8 พันล้านปอนด์ และเมื่อรวมกับรายจ่ายค่าเสื่อมราคา 0.5 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้รัฐบาลกลางมีฐานะเกินดุลงบประมาณเป็นจำนวน 5.1 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่เกินดุล 6.7 พันล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว)
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ รัฐบาลมียอดขาดดุลงบประมาณสะสมเป็นจำนวน 19.1 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 128.4 ซึ่งการที่ฐานะการคลังขาดดุลเพิ่มขึ้นมากในช่วง 4 เดือนแรก เนื่องจากรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 2.9 ขณะที่รายจ่ายประจำเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 7.0 อนึ่ง ในการแถลงงบบประมาณรายจ่ายประจำปี 2008/09 เมื่อเดือนมีนาคม รัฐบาลประมาณการว่าในปีงบประมาณปัจจุบันจะขาดดุลเป็นจำนวน 43 พันล้านปอนด์
Debt/GDP : เดือนกรกฎาคมชะลอลงเหลือร้อยละ 37.3
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ยอดคงค้างหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับ 542.6 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 37.3 ของ GDP (เทียบกับร้อยละ 38.3 ในเดือนที่แล้ว) เนื่องจากในเดือนนี้รัฐบาลมีการเกินดุลงบประมาณ 4.8 พันล้านปอนด์ ประกอบกับในเดือนนี้รัฐบาลมียอดหนี้ค้างรับและการปรับลดรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรวมกว่า 7.6 พันล้านปอนด์ จึงส่งผลให้ยอดคงค้างหนนี้ลดลงจากเดือนที่แล้ว 12.4 พันล้านปอนด์ โดยในงบประมาณปี 2008/09 กระทรวงการคลังประมาณการว่ายอดหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ระดับ 581 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 38.5 ของ GDP เมื่อสิ้นปีงบประมาณในเดือนมีนาคม 2009
ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน
ดุลการค้าและบริการ: เดือนมิถุนายนอังกฤษขาดดุล 4.4 พันล้านปอนด์
เดือนมิถุนายน อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าและบริการรวม 33.8 พันล้านปอนด์ แต่มีการนำเข้ารวม 38.2 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้มียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 4.4 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.3) โดยเป็นการขาดดุลการค้าสินค้าจำนวน 7.7 พันล้านปอนด์ แต่มีการเกินดุลการค้าบริการจำนวน 3.3 พันล้านปอนด์ สำหรับฐานะดุลการค้าและบริการสะสมในช่วง 6 เดือนแรกของปีพบว่าอังกฤษมียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 26.2 พันล้านปอนนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.8) แยกเป็นการขาดดุลการค้า 45.3 พันล้านปอนด์ แต่เกินดุลบริการ 19.1 พันล้านปอนด์
ทั้งนี้ ในเดือนนี้อังกฤษมียอดขาดดุลการค้าสินค้ากับประเทศในกลุ่ม EU (27 ประเทศ) จำนวน 2.9 พันล้านปอนด์ ขาดดุลลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 16.5 และขาดดุลกับประเทศนอกกลุ่ม EU จำนวน 4.7 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับการค้ากับประเทศไทยในเดือนมิถุนายน อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยจำนวน 74 ล้านปอนด์ แต่มีการนำเข้าจำนวน 200 ล้านปอนด์ ทำให้ขาดดุลการค้ากับประเทศไทยจำนวน 126 ล้านปอนด์ ขาดดุลลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 2.3 และส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้าสะสมกับประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปีมีจำนวนรวม 793 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.6 ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอังกฤษขาดดุลการค้ากับประเทศไทยเฉลี่ยเดือนละ 132 ล้านปอนด์
ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ธนาคาร Northern Rock มีผลประกอบการครึ่งแรกของปีขาดทุน 585.4 พันล้านปอนด์สินทรัพย์รวมลดลงเหลือ 99.0 พันล้านปอนด์ สินเชื่อค้างชำระเกิน 3 เดือนเพิ่มจากร้อยละ 0.45 ของสินเชื่อรวมเมื่อสิ้นปีที่แล้วเป็นร้อยละ 1.18 ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อจาก Bank of
England ลดลงจาก 26.9 พันล้านปอนด์ เหลือ 17.5 พันล้านปอนด์ โดยกระทรวงการคลังผูกพันที่จะแปลงสินเชื่อเป็นเงินกองทุนจำนวนสูงสุดไม่เกิน 3.0 พันล้านปอนด์ รวมถึงแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นทุนอีก 400 ล้านปอนด์ เพื่อเสริมสร้างฐานะเงินกองทุนให้กับธนาคารหลังจากประสบผลขาดทุนและต้องกันสำรองสำหรับหนี้เสียเพิ่ม ทั้งนี้ ธนาคาร Northern Rock ถูกโอนกิจการเข้าเป็นของรัฐเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2008 (5 สิงหาคม 2008)
- ผลสำรวจราคาที่อยู่อาศัยของ Halifax ประจำเดือนกรกฎาคมพบว่าราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.7 และลดลงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (10 สิงหาคม 2008)
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษประกาศผลการทบทวนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 พบว่าเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ประมาณการเบื้องต้นว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 0.2 (22 สิงหาคม 2008)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ