รายงานสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ การคลัง และการเงินของสหราชอาณาจักรและยุโรป มกราคม 2552 ฉบับที่ 1/ม.ค.2552

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 16, 2009 15:16 —กระทรวงการคลัง

Gordon Brown ประกาศมาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานเกิน 6 เดือน วงเงิน 500 ล้านปอนด์

นายกรัฐมนตรี Gordon Brown กล่าวในการประชุม Employment Summit เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2009 ว่าจะจัดสรรวงเงินงบประมาณ 500 ล้านปอนด์ ในการบรรเทาปญั หาการว่างงานที่กำลังแย่ลงหลังจากที่บรรดาธุรกิจต่าง ๆ ทยอยปลดคนงานเนื่อจากธุรกิจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเขาได้กำหนดแผนงานเพื่อกระตุ้นการเติบโตในภาคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมชัน้ สูง สาธารณะสุข และการศึกษา โดยในเบื้องต้นจะจัดสรรวงเงินเพื่อบรรเทาปญั หาการว่างงานจำนวน 500 ล้านปอนด์ผ่านกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ Department for Work and Pensions) เพื่อใช้จ่ายในปี 2009 และ 2010 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ว่างงานเกิน 6 เดือนให้สามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครัง้ โดยสาระของมาตรการประกอบด้วย

  • การให้แรงจูงใจแก่นายจ้างที่รับผู้ที่ว่างงานเกินกว่า 6 เดือนเข้าทำงานและฝึกอบรมในอัตราสูงสุดไม่เกิน 2,500 ปอนด์ต่อหนึ่งคนงาน หรือที่เรียกว่า “Employers’ Golden Hellos”
  • การจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับ Jobcentre Plus ในการให้การสนับสนุนอย่างเข้มข้นและตรงตามความต้องการ (intensive and personalised support) ของผู้ที่ว่างงานเกินกว่า 6 เดือนและอยู่ระหว่างหางานทำ
  • จัดสรรวงเงินเพื่อการขยายเพิ่มสถานที่ฝึกฝนทักษะแรงงานให้แก่ผู้ว่างงานที่มีกว่า500,000 คนในขณะนี้ เพื่อสร้างโอกาสในการหางาน
  • การเปิดโอกาสให้ผู้ว่างงานสามารถทำงานประเภทอาสาสมัคร (volunteer) เพื่อเป็นการสร้างนิสัยรักการทำงาน (work habits)
  • ให้ความช่วยเหลือผู้ว่างงานที่ต้องการประกอบธุรกิจส่วนตัว ด้วยการให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนการเริ่มต้นธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนทางการเงินสำหรับการทำการค้าในเดือนแรกๆ
ความเห็น

มาตรการดังกล่าวเน้นให้ความช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่ว่างงานมานาน มากกว่าที่จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่เพิ่งตกงานเป็นหลัก เนื่องจากก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ว่างงานเป็นการทัว่ไปอยู่แล้วเป็นวงเงิน 1.3 พันล้านปอนด์ในคราวแถลง Pre-budget Report 2008 เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ภายใต้สภาวะปจั จุบันที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวลงอย่างมากและจะทำให้มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากโดยล่าสุด ณ สิ้นเดือนตุลาคมมีผู้ว่างงานทัง้สิ้น1.86 ล้านคนหรือคิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 6.0 โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมามีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 800,000 คนและมีแนวโน้มว่าผู้ว่างงานจะเกิน 2 ล้านคนในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้า ดังนั้นวงเงินช่วยเหลือดังกล่าวน่าจะไม่เพียงพอ คาดว่ารัฐบาลอาจต้องดำเนินมาตรการด้านการคลังเพิ่มเติมโดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนมีนาคมซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลต้องเสนองบประมาณประจำปี 2010 ต่อรัฐสภาและเป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลก่อนที่จะมีการเลือกตัง้ใหม่ในปี 2010 จึงมีความเป็นไปได้สูงว่ารัฐบาลอาจต้องเพิ่มการขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น

รัฐบาลเยอรมันจัดทำมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 วงเงิน 50 พันล้านยูโรรัฐบาลผสม 3 พรรคของเยอรมันเห็นพ้องร่วมกันเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2009 ในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครัง้ที่ 2 วงเงิน 50,000 ล้านยูโรระหว่างปี 2009 และ 2010 เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เศรษฐกิจถดถอยมากเกินไป โดยในเบื้องต้นมาตรการหลัก ๆ ที่เห็นพ้องร่วมกันแล้วประกอบด้วย

  • การจัดสรรวงเงินค้ำประกันสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาการขอสินเชื่อโดยมีวงเงิน 100,000 ล้านยูโรและจะดำเนินผ่านการจัดตัง้กองทุน German Fund รวมถึงการเข้าถือหุ้นในธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร (recapitalisation) ที่ประสบปญั หาด้วย
  • การเพิ่มการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานและการศึกษาวงเงิน 18,000 ล้านยูโรในช่วง 2 ปี ซึ่งรวมถึงการเร่งโครงการขยายโครงข่าย broadband technology
  • การปรับเพิ่มเงินได้พึงประเมินขัน้ ต่ำที่ต้องเสียภาษีเพิ่มอีก 340 ปอนด์ ทำให้เงินได้พึงประเมินขัน้ ต่ำขยับเป็น 8,004 ยูโร
  • การปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลมูลค่า 9 พันล้านปอนด์ โดยที่ชัดเจนแล้วคือจะมีการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขัน้ ต่ำลงจากร้อยละ 15 เหลือร้อยละ 14
  • การให้ความช่วยเหลือกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยการจ้างงานถึงร้อยละ 20 โดยจะให้ความช่วยเหลือทัง้ทางตรงและทางอ้อม รวมทัง้จะมีการนำมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการซื้อรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นภาษีที่จูงใจให้มี
การรถยนต์ประหยัดน้ำมัน (fuel efficient cars) และการให้สิทธิประโยชน์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนนำรถยนต์คันเก่ามาแลกซื้อรถยนต์คันใหม่ในอัตรา 2,500 ยูโรต่อคัน เป็นต้น
  • รัฐบาลจะช่วยจ่ายเงินสมทบโครงการประกันสังคม (social contributions) แทนผู้ใช้แรงงานจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นการชัว่คราว การปรับลดวงเงินสมทบโครงการประกันสุขภาพ (health insurance contributions) มูลค่า 9 พันล้านยูโร และการให้เงินอุดหนุนบุตรจำนวน 100 ยูโรต่อบุตรหนึ่งคนโดยให้ครัง้เดียว (one-off child bonus)

สำหรับประเด็นที่ยังไม่เป็นที่ตกลงร่วมกันระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservatives)ของประธานาธิบดี Angela Merkel และพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democrats) ที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่นาย Peer Steinbrueck เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และพรรค Christian Social Union (CSU) โดยประเด็นที่ยังเป็นปญั หา เช่น พรรคอนุรักษ์นิยมต้องการลดปญั หาฐานเงินได้ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า (progressivetax system) ของเยอรมันที่ยังไม่มีการปรับให้สอดคล้องตามภาวะเงินเฟ้อ (non index-linked bracket) จึงส่งผลให้ผู้เสียภาษีเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นอาจทำให้ต้องขยับขึ้นไปเสียภาษีในขัน้ ที่สูงขึ้นแม้รายได้ที่เพิ่มอาจจะเท่ากับอัตราเงินเฟ้อก็ตาม ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วรายได้ที่แท้จริง (real income) ไม่ได้เพิ่มขึ้นก็ตาม หรือที่เรียกว่า “Cold Progression” หรือ “Clandestine tax increases” ซึ่งในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ที่จัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าได้มีการนำ index-linked bracket มาใช้กันหมดแล้ว แต่พรรคสังคมประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้รายได้จากภาษีหายไปเป็นจำนวนมากโดยมีการประมาณว่าระบบ cold progression สามารถทำให้รัฐบาลมีรายได้ประมาณ 76 พันล้านยูโร ระหว่างปี 2005-2010 โดยเฉพาะในปี 2010 ปีเดียวจะมีมูลค่าสูงถึง 22 พันล้านยูโร รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขัน้ สูงขึ้นจากร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 47.5 เป็นต้น

ที่ผ่านมาเยอรมันได้ประกาศมาตรการเพื่อฟื้นฟูภาคการเงินและมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้ว 2 ครัง้ ได้แก่ 1) มาตรการฟื้นฟูภาคการเงินวงเงิน 500,000 ล้านยูโรเมื่อเดือนตุลาคม 2008 โดยวงเงินดังกล่าวแยกเป็นวงเงินเพื่อการค้ำประกันเงินกู้ให้กับสถาบันการเงิน 400,000 ล้านยูโรซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในตลาดการเงิน ที่เหลืออีก 100,000 ล้านยูโรเป็นวงเงินเพื่อการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินและ/หรือการซื้อหนี้เสียออกจากสถาบันการเงิน และ 2) การประกาศงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 32,000 ล้านยูโร หรือเท่ากับร้อยละ 1.3 ของ GDP เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2008 ทัง้นี้ การดำเนินมาตรการทัง้สองเป็นไปตามกรอบข้อเสนอแนะของที่ประชุมผู้นำสหภาพยุโรป (EU Summit) ที่ได้อนุมัติกรอบการดำเนินการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นและกลไกการทำงานของระบบการเงิน (financial system bail-out) เมื่อเดือนตุลาคม 2008 และกรอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (fiscal stimulus package) วงเงิน 200,000 ล้านยูโรเมื่อเดือนธันวาคม2008 ตามลำดับ

ความเห็น

การปรับเพิ่มวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในครัง้นี้มีสาเหตุหลักมาจาก

1) แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของเยอรมันในปี 2009 ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะติดลบมากถึงร้อยละ 1.0 — 2.0 เมื่อเทียบกับที่ขยายตัวได้ดีร้อยละ 1.7 ในปี 2008 นอกจากนี้ ล่าสุดตัวเลขผู้ว่างงานของเยอรมันในเดือนธันวาคม 2008 มียอดผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 114,000 คนทำให้ยอดผู้ว่างงานกลับขึ้นมาสู่ระดับ 3.1 ล้านคน หรือเท่ากับร้อยละ 7.4 ซึ่งเป็นครัง้แรกในรอบเกือบ 3 ปีที่มีผู้ว่างงานสูงขึ้นหลังจากที่จำนวนผู้ว่างงานลดลงไปต่ำกว่า 3 ล้านคนเมื่อเดือนตุลาคมก่อนหน้าซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

2) แรงกดดันของประเทศสมาชิก EU ที่เห็นว่าเยอรมันในฐานะที่เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของ EU ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจและฐานะทางการคลังที่เข้มแข็งของประเทศโดยในปี 2007 เยอรมันมีฐานะงบประมาณ (budget balance) ค่อนข้างสมดุลนับจากปี 2005 เป็นต้นมา ขณะที่หนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับร้อยละ 63 ของGDP นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมันยังออกมาค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอื่น เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรัง่เศส ที่ได้ ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปก่อนหน้าแล้ว ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้วนาย Peer Steinbrueck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเยอรมันเพิ่งกล่าววิพากษ์วิจารณ์นโยบายลดภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกระตุ้นการบริโภคของอังกฤษว่าไม่เป็นการไม่สมควรและจะส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังในอนาคต

อย่างไรก็ดี แม้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรวมแล้วจะมีมูลค่ามหาศาลแต่อาจจะไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศกระเตื้องมากนักเนื่องจากเยอรมันเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก (export oriented economy) โดยเฉพาะรถยนต์และเครื่องจักรเศรษฐกิจโลกที่หดตัวได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงว่าการจัดทำงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจะละเมิดเกณฑ์กำกับความยัง่ยืนทางการคลังของสหภาพยุโรป(EU’s Stability and Growth Pack) ที่กำหนดให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณประจำปีได้ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ GDP หรือไม่ เนื่องจากมีการประมาณการว่าการขาดดุลอาจจะสูงถึงร้อยละ 3.5 และ 4.5 ของ GDP ในปี 2009 และ 2010 ตามลำดับ

ฉบับที่ 1/01/ 2552

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ