ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป ธันวาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 22, 2009 14:22 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ ( ธันวาคม 2551 )

การขยายตัวทางแศรษฐกิจ : GDP ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6

การประมาณการเบื้องต้น ((First estimates) ของเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป 15 ประเทศ (Euro area) ประจำไตรมาสที่ 3 พบว่าเศรษฐกิจขยายตัวติดลบร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สองนับเป็นไตรมาสทที่ 2 ติดต่อกันที่ GDP เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (compare to previous quarter) ขยายตัวติดลบ ซึ่งในทางเทคนิคถือว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภภาวะถดถอย (recession) อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (compare to same quarter of previous year) เศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.6 โดยปัจจัยสำคคัญที่มีส่วนต่อการหดตัวของเศรษษฐกิจในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามาจากการหดตัวลงของการบริโภภคเอกชน (household consumption) และการลงทุน (investments)เป็นหลัก ขณะที่การส่งออก (exports) และการใช้จ่ายภาคครัฐ (government consumption) ยังคงช่วยเกื้อหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ ดังนี้

  • การบริโภคภาคเอกชนน (Household consumptiion) ไม่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าและก็ไม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 56.6 ของ GDP)
  • การใช้จ่ายภาครัฐ (Government consumption) ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากไตรมาสที่แล้วและขยายตัวร้อยละ 2.3 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้ออยละ 20.1 ขของ GDP)
  • การลงทุน (Gross fixed capital formation) หดตัวลงร้อยละ 0.6 จากไตรมาสที่แล้วแต่ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 21.9 ของ GDP)
  • การส่งออก (Exports) ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสที่แล้ว และขยายตัวร้อยละ 2.4 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 42.6 ของ GDP) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.7 จากไตรมาสที่แล้วและขยายตัวร้อยละ 2.5 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 42.2 ของ GDP)

หากพิจารณาการขยายตัวของเศรษฐกิจทางด้านอุปทานหรือการผลิต (Gross value added) แล้วการหดตัวของเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการหดตัวลงของภาคการเศรษฐกิจเกือบทุกภาคไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้า และภาคการเกษตร ยกเว้นภาคบริการด้านการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และบริการสาธารณะ ที่ยังคงมีการขยายตัวอยู่แม้จะชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว ดังนี้

  • ภาคการเกษตร ขยายตัวติดลบร้อยละ 0.5 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ยังขยายตัวร้อยละ 2.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 1.7 ของ GDP)
  • ภาคอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และพลังงาน ขยายตัวติดลบร้อยละ 1.4 จากไตรมาสที่แล้ว นับเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ ขณะที่เมื่อเทียบกับปีที่แล้วขยายตัวติดลบร้อยละ 1.2 (มีสัดส่วนร้อยละ 17.8 ของ GDP)
  • ภาคการก่อสร้าง ขยายตัวติดลบร้อยละ 1.4 จากไตรมาสที่แล้ว นับเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ แต่ยังคงขยายตัวร้อยละ 0.2 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 5.9 ของ GDP)
  • ภาคการค้า การบริการ ขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวติดลบร้อยละ 0.2 จากไตรมาสที่แล้ว นับเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ แต่ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 18.5 ของ GDP)
  • ภาคบริการทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าสินทรัพย์ ยังคงมี การขยายตัวต่อเนื่องแต่ชะลอลงเหลือเพียง ร้อยละ 0.2 จากไตรมาสที่แล้ว และขยายตัวร้อยละ 2.0 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 25.7 ของ GDP)
  • ภาคการบริการสาธารณะ การศึกษา สุขภาพ และบริการอื่น ก็ยังขยายตัวได้ดีโดยขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสที่แล้ว และขยายตัวร้อยละ 1.4 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 20.1 ของ GDP)

หากจำแนกประเทศแล้ว พบว่า GDP ไตรมาสที่ 3 ของกลุ่มสมาชิก 15 ประเทศ มาจากการหดตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเยอรมัน อิตาลี และสเปน ซึ่งเป็นประเทศหลักของกลุ่ม ที่เศรษฐกิจติดลบร้อยละ 0.5, 0.5 และ 0.2 ตามลำดับ โดยเฉพาะเยอรมันและอิตาลีถือเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันที่ GDP ขยายตัวติดลบ ขณะที่เศรษฐกิจของฝรั่งเศสซึ่งเป็นสมาชิกหลักอีกประเทศหนึ่งขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1 หลังจากที่ติดลบร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่แล้ว

ทั้งนี้ ในปี 2007 เศรษฐกิจของ Euro area 15 ประเทศขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.7 โดยในปี 2008 EC ประมาณการว่าเศรษฐกิจของ Euro area จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.2 สอดคล้องกับการประมาณการของ OECD ที่ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2008 ของ Euro area เหลือเพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้น

ดัชนีผลผลิตภาคออุตสาหกรรม : เดือนตุลาคมทรุดลงอีกครั้งเหลือ 110.3 จุด

ดัชนีชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนตุลาคมของกลุ่ม EU15 ทรุดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าโดยลงมาอยู่ที่ระดับ 108.3 หรือลดลงร้อยละ 1.4 จากเดือนที่แล้ว และลดลงถึงร้อยละ 5.6 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ถือเป็นดัชนีที่ต่ำที่สุดนับจากเดือนเมษายน 2006 โดยในเดือนนี้ดัชนีการผลิตสินค้าลดลงเกือบทุกประเภทโดย สินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนต่างก็ชะลอตัวลงร้อยละ 2.0 จากเดือนที่แล้วสินค้าบริโภคชนิดคงทนและสินค้าหมวดพลังงาน ลดลงร้อยละ 1.4 และ 0.1 ขณะที่สินค้าบริโภคชนิดไม่คงทน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วเล็กน้อยร้อยละ 0.3

ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปปสงค์ของกลุ่มม EU15 ล่าสุดของเดือนพฤศจิกายนยังคงลดลงต่อเนื่องและต่ำกว่าระดับ 90 จุดเป็นเดือนที่ห้า และเป็นเดือนแรกที่ดัชนีลดลงต่ำกว่าระดับ 80 จุด ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่ออนาคตของเศรษฐกิจในพื้นที่ยูโรยังคงย่ำแย่ต่อไป โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมมั่นทางธุรกิจจ (Economicc Sentiment Index: ESI) ประจำเดือนพฤศจิกายนลดลงสู่ระดับบ 74.9 จุด ลดลงถึง 5.1 จุดจากเดือนตุลาคม โดยดัชนีเคยขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดที่ระดับ 111.6 จุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว

อัตราเงินเฟ้อ : เดือนพฤศจิกายนชะลอลงเป็นเดือนที่สี่เหลือร้อยละ 2.1

ดัชนีราคาผู้บรริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Euro Area: 15 ประเทศ) ประจำเดือนพฤศจิกายนชะลอตัวลงแรงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่เหลือร้อยละ 2.1 จากร้อยละ 3.2 ในเดือนที่แล้ว หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อขึ้นไปทำสถิติสูงสุดร้อยละ 4.0 เมื่อเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ลดลงใกล้เคียงระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายร้อยละ 2.0 หลังจากที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายติดต่อกันถึง 15 เดือน นับจากเดือนสิงหาคมปี 2007 เป็นต้นมา โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมาจากหมวดที่อยู่อาศัย (4.5%) หมวดอาหาร (3.7%) หมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ (3.5%) ขณะที่หมวดที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้นต่ำเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดสื่อสาร (-2.1%) หมวมคมนาคมขนส่ง (-0.6%) และหมวดสันธนาการและวัฒนธรรม (0.6%) โดยในเดือนนี้ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ Malta Finland Belgium Cyprus และ Greece ที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 4.9, 3.5, 3.2, 3.1, และ 3.0 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด ได้แก่ German และ Portugal ที่มีเงินเฟ้อร้อยละ 1.4 เท่ากัน ตามด้วย France และ Netherlands ร้อยละ 1.9 เท่ากัน

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศยูโร 27 ประเททศ (EU 27) ก็ชะลอลงเหลือร้อยละ 2.8 ลดลงจากร้อยละ 3.7 เมื่อเดือนที่แล้ว โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่มยูโร ได้แก่ Latvia Lithuania และ Bulgaria ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 11.6 9.2 และ 8.8 ตามลำดับ

อัตราการว่างงาน : เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.7

ในเดือนตุลาคม Euro area 15 ประเทศมียอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 12.003 ล้านคน (เพิ่มขึ้นถึง 225,000 คนจากเดือนที่แล้ว) ส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 7.7 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.6 โดยก่อนหน้านี้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับร้อยละ 7.2 ในช่วงไตรมาสแรกของปี การที่ทั้งจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการผู้ว่างงานปรับสูงขึ้นโดยลำดับสะท้อนถึงผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกที่กำลังส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจและการจ้างงานของยุโรป ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมของปีที่แล้วปรากฎว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 810,000 คน

ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเทศ ณ เดือนตุลาคม ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยมีจำนวนทั้งสิ้น 17.183 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 7.1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราดอกเบี้ย : ECB ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.75 เหลือร้อยละ 2.50

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติลดอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขออง ECB ลงอีกถึงร้อยละ 0.75 เหลือร้อยละ 2.50 หลังจากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีการทยอยลดอัตราดอกเบี้ยลงไปปแล้ว 2 ครั้ง ๆ ละร้อยละ 0.50 ทั้งนี้ ECB ได้ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อนับจากการประเมินเมื่อคราวที่แล้วลดลงอย่างมาก และแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลงเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพในระยะข้างหน้าซึ่งจะช่วยสนับสนุนการรักษาระดับรายได้และการออม โดยเงินเฟ้อที่ลดลงจะมาจากการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการชะลอตัวอย่างมากของเศรษฐกิจโดยเฉพาะวิกฤตการเงินได้ส่งผลต่อการหดตัวลงของอุปสงค์ทั่วโลกและในยูโร ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาในระยะปานกลาง ขณะเดียวกันก็รักษาเสถียรภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงาน รวมถึงเสถียรภาพของระบบการเงิน ECB จึงตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงดังกล่าว โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 15 มกราคม 2552

ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Area ยังคงมีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลงต่อเนื่อง โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หรือ M3 อยู่ที่ระดับ 9.373 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้นเพียง 2 พันล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว และคิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 7.8 จากปีที่แล้ว (เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน (MFI) ให้กู้กับภาคเอกชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายนที่ระดับ 10.884 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียง 0.017 ล้านล้านยูโรโดยคิดเป็นอัตราการเพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 7.1 (เดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 7.8) ซึ่งสะท้อนการชะลอตัวของการปล่อยสินเชื่อที่ชัดเจนขึ้น

สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Money market interest rates) ในเดือนธันวาคมยังคงลดลงจากเดือนก่อนหน้าในทุกอายุ โดยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ลดลงระหว่าง 66 - 97 basis points สอดคล้องกับทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ที่มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 1.75 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 5 และ 10 ปีก็ลดดลง 15 และ 31 basis points ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนของเดือนเดียวกันปีที่แล้วพบว่าอัตราผลตอบแทนในเดือนนี้ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ระหว่าง 50-174 basis points

อัตราแลกเปลี่ยน : เงินยูโรแข็งค่ากับทุกสกุล ยกเว้นเงินเยน

ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธันวาคมแข็งค่าขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากกอ่อนค่าลงต่อเนื่องในช่วง 4 เดือนก่อนหน้า โดยเงินยูโรได้รับปัจจัยบวกจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงปัญหาวิกฤตอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐฯ ซึ่งบั่นทอนความเป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยของดอลลาร์ สรอ. (safe haven) ขณะเดียวกัน ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกลับเป็นผลดีต่อเงินยูโรมากกว่าเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อนักลงทุนหันมาให้ความสำคัญกับเงินยูโรในฐานะที่เป็น safe haven ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ การสงวนท่าทีในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ในการประชุมครั้งต่อไปปก็เป็นปัจจัยบบวกสำหรับเงินยูโร โดยเงินยูโรมีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.2608 $/ยูโร ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าใกล้เคียงกับเดือนที่แล้ว หลังจากนั้นเงินยูโรเริ่มปรับแข็งค่าขึ้นโดยตลอดในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนโดยขึ้นไปมีอัตราปิดตลาดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.4616 $/ยูโร ซึ่งเป็นระดับเดียวกับในช่วงเดือนกันยายน ก่อนที่จะอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.3917 $/ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในเดือนแข็งค่าจากค่าเฉลี่ยของเดือนที่แล้วร้อยละ 5.6 แต่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันปีที่แล้วเงินยูโรยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 7.6

เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นค่อนข้างแรงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วโดยขึ้นไปทำสถิติมีค่าเกือบเท่ากับเงินปอนด์ (parity) เนื่องจากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาสะท้อนถึงปัญหาความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของอังกฤษไม่ว่าจะเป็นยอดค้าปลีก ราคาที่อยู่อาศัย และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ต่างก็หดตัวลงถ้วนหน้าทำให้คาดการว่าธนาคารกลางอังกฤษคงต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ขณะที่ ECB ยังคงสงวนท่าทีที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ขณะเดียวกันเงินยูโรก็ได้รับผลดีจากวิกฤตในตะวันออกกลาง โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 0.84155 ปอนด์/ยูโร จากนั้นก็แข็งค่าขึ้นโดยตลอดทั้งเดือนโดยขึ้นไปทำสถิติระดับปิดที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับจากมีการรวมสกุลเงินในปี 1999 ที่ระดับ 0.97855 ปอนด์/ยูโร ในช่วงท้ายเดือน ก่อนที่จะอ่อนตัวลงมาปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.9525 ปอนด์/ยูโร โดยค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ 8.9 และเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันเมื่อปีที่แล้วเงินยูโรแข็งค่าอยู่ถึงร้อยละ 25.6

แต่เมื่อเทียบกับเงินเยนแล้ว ค่าเงินยูโรในเดือนนี้อ่อนค่าเพียงเล็กน้อยจากเดือนที่แล้วหลังจากที่อ่อนค่างลงแรงในเดือนที่แล้ว โดยเงินยูโรมีระดับปิดวันแรกของเดือนที่ระดับ 118.42 เยน/ยูโร จากนั้นก็อ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์แรกโดยมีระดับปิดตลาดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 116.91 เยน/ยูโร ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า หลังจากนั้นเงินยูโรเริ่มฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของเดือนจนสามารถขึ้นมาเคลื่อนไหวเกือบแตะระดับ 130 เยน/ยูโร และปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 126.14 เยน/ยูโร โดยค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วเล็กน้อยร้อยละ 0.6 แต่หากเปรียบเทียบกับปีที่แล้วเงินยูโรอ่อนค่าลงถึงร้อยละ 25.1

เดือนนี้นับเป็นเดือนแรกที่เงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทหลังจากที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา โดยเงินยูโรมีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 45.036 ฿/ยูโร จากนั้นเงินยูโรมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วโดยขึ้นไปมีระดับปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 50.184 ฿/ยูโร ในช่วงกลางเดือนซึ่งเป็นครั้งแรกนับจากเดือนกันยายนที่ยูโรอยู่เหนือระดับ 50 ฿/ยูโร หลังจากนั้นก็มีการเคลื่อนไหวผันผวนและลงมาปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 48.285 ฿/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขขึ้นร้อยละ 5.4 และแข็งค่าร้อยละ 6.6 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน

เดือนตุลาคม: Euro Area ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 6.4 พันล้านยูโร

ณ สิ้นเดือนตุลาคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) ขาดดุลจำนวน 6.4 พันล้านยูโร (หรือเท่ากับขาดดุล 4.8 พันล้านยูโร กรณีเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับตามฤดูกกาล) โดย Euro area มีการเกินดุลการค้า (goods trade) และดุลบริการ (services) จำนวน 1.0 และ 2.8 พันล้านยูโร ขณะที่ดุลรายได้ (income) และดุลเงินโอน (current transfer) ขาดดุล 0.4 และ 9.7 พันล้านยูโร ตามลำดับ นับเป็นเดือนที่หกติดต่อกันที่ Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล

หากพิจารณาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนตุลาคม พบว่า Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเป็นจำนวนถึง 42.5 พันล้านยูโร ต่างจากเดือนตุลาคมของปีที่แล้วที่มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเกินดุลเป็นจำนวนถึง 48.9 พันล้านยยูโร การที่ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมกลับมาขาดดุลในปีนี้เป็นผลมาจากการเกินดุลการค้าที่ลดลงค่อนข้างมาก ขณะที่ดุลรายได้และดุลเงินโอนมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แม้ดุลบริการจะมีการเกินดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้วก็ตาม

ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล (non-seasonal adjusted) ประจำเดือนตุลาคม พบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนเข้าสุทธิ 75.3 พันล้านยูโร (เทียบกับเดือนที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนไหลออก 5.8 พันล้านยูโร) แยกเป็น 1) เงินลงทุนทางตรง (direct investment) มียอดไหลออกสุทธิ 14.1 พันล้านยูโร 2) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) มียอดไหลเข้าสุทธิ 121.7 พันล้านยูโร 3) อนุพันธ์ทางการเงิน มีฐานะไหลเข้าสุทธิ 24.0 พันล้านยูโร และ 4) เงินลงทุนประเภทอื่น (other investment) มีฐานะไหลออกสุทธิ 47.8 พันล้านยูโร

ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนตุลาคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสม (accumulated financial account) ไหลเข้าสุทธิ 90.5 พันล้านยูโร (เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนสะสมไหลเข้าสุทธิเพียง 19.5 พันล้านยูโร) สาเหตุที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสมมีการเกินดุลเพิ่มขึ้นในปีนี้มีสาเหตุหลักมาจากการเกินดุลเงินลงทุนประเภทอื่น (other investment) เป็นสำคัญ โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่มีฐานะเป็นผู้ให้กู้ยืมเพิ่มขึ้นมากจากปีที่แล้ว

ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • สภาสูงของเยอรมันผ่านร่างงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 32 พันล้านยูโร หรือเท่ากับร้อยละ 1.3 ของ GDP โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะประกอบด้วยการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคการให้ค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับการซื้อรถยนต์คันใหม่ รวมไปถึงการให้เงินอุดหนุนสำหรับโครงการปรับปรุงอาคารบ้านเรือนเพื่อการลดการใช้พลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซ่อมแซมปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้หนึ่งวันฝรั่งเศสก็ได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินเท่ากับร้อยละ 1.3 ของ GDP เช่นกัน ซึ่งการที่รัฐบาลสมาชิกยูโรทยอยประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่นาย Jose Manuel Barroso ประธานคณะกรรมการสหภาพยุโรป (European Commission President) ได้เสนอกรอบความร่วมมือทางการคลังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของยูโรวงเงิน 200 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 1.5 ของ Euro GDP เมื่อปลายเดือนที่แล้ว (5 ธันวาคม 2008)
  • ECB ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดให้มีระบบ clearing house เพื่อทำหน้าที่ค้ำประกันการกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน (interbank lending) ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาสถาบันการเงินขาดความเชื่อมั่นในการให้กู้ยืมซึ่งกันและกัน หลังจากที่ ECB ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วถึงร้อยละ 1.75 นับจากต้นเดือนตุลาคม แต่ปรากฎว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารกลับยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ (16 ธันวาคม 2508)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ