ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป มีนาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 17, 2009 16:10 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ ( มีนาคม 2552 )

Q4 เศรษฐกิจขยายตัวติดลบร้อยละ 1.5 ส่งผลให้ GDP ปี 2008 โตเพียงร้อยละ 0.8

การประมาณการเบื้องต้น ((First estimates) ของผลผลิตมวลรวมภายในของสหภาพยุโรป 15 ประเทศ (Euro area GDP) ประจำไตรมาสที่ 4 พบว่า GDP ติดลบร้อยละ 1.5 จากไตรมาสที่ 3 นับเป็นไตรมาสทที่สามติดต่อกันที่ GDP เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (compare to previous quarter) ขยายตัวติดลบซึ่งในทางเทคนิคถือว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย (recession)) อย่างสมบูรณ์เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวติดลบสองไตรมาสติดต่อกันแล้ว และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (commpare to same quarter of previous year) GDP ก็ขยายตัวติดลบร้อยละ 11.3 นับเป็นไตรมาสแรกที่ติดลบหลังจากที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องตลอดสองไตรมาสก่อนหน้า โดยหากพิจารณาเศรษฐกิจทางด้านรายจ่ายแล้วพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีส่วนต่อการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้จากไตรมาสก่อนหน้ามาจากการหดตัวในทุกภาคไม่ว่าจะเป็นการบริโภคเอกชน (household consumption) การลงทุน (investments) การส่งออก (exports) และแม้แต่การใช้จ่ายภาครัฐ (government consumption) ยังคง ดังนี้

  • การบริโภคภาคเอกชน (Household consumptiion) หดตัวลงร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า และหดตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ((มีสัดส่วนร้อยละ 56.6 ของ GDP)
  • การใช้จ่ายภาครัฐ (Government consumption)) หดตัวลงร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 20.1 ของ GDP)
  • การลงทุน (Gross fixed capital forrmation) หดตัวลงร้อยละ 2.7 จากไตรมาสที่แล้ว และหดตัวลงร้อยละ 3.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 21..9 ของ GDP)
  • การส่งออก (Exports) ขยายตัวติดลบร้อยละ 7.3 จากไตรมาสก่อนหน้า และติดลบร้อยละ 5.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ((มีสัดส่วนร้อยละ 42.6 ขออง GDP) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวติดลบร้อยละ 5.5 จากไตรมาสก่อนหน้า และติดลบร้อยละ 3.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 42.2 ของ GDP)

หากพิจารณาการขยายตัวของเศรษฐกิจทางด้านอุปทานหรือการผลิต (Gross value added) แล้ว พบว่ามีการหดตัวลงเกือบทุกภาคการผลิตไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้าการขนส่ง และภาคการเงิน ยกเว้นภาคการเกษตรและบริการสาธารณะ ที่ขยายตัวบางมากจากไตรมาสก่อนหน้า ดังนี้

  • ภาคการเกษตร ไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังขยายตัวร้อยละ 1.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 1.7 ของ GDP)
  • ภาคอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และพลังงาน ขยายตัวติดลบร้อยละ 5.4 จากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ และขยายตัวติดลบร้อยละ 7.1 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 17.8 ของ GDP)
  • ภาคการก่อสร้าง ขยายตัวติดลบร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ และขยายตัวติดลบร้อยละ 2.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว(มีสัดส่วนร้อยละ 5.9 ของ GDP)
  • ภาคการค้า การบริการ ขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวติดลบร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ ขยายตัวติดลบร้อยละ 1.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 18.5 ของ GDP)
  • ภาคบริการทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าสินทรัพย์ เริ่มขยายตัวติดลบเป็นครั้งแรกร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้าหลังจากที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องก่อนหน้านี้ แต่ยังขยายตัวร้อยละ 0.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 25.7 ของ GDP)
  • ภาคการบริการสาธารณะ การศึกษา สุขภาพ และบริการอื่น ในไตรมาสนี้ยังคงขยายตัวได้ดีโดยขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสที่แล้ว และขยายตัวร้อยละ 1.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 20.1 ของ GDP)

ทั้งนี้ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ต่างก็หดตัวลงหมดไม่ว่าจะเป็นประเทศเยอรมันที่เศรษฐกิจติดลบร้อยละ 2.1 อิตาลีติดลบร้อยละ 1.8 ฝรั่งเศสติดลบร้อยละ 1.2 และสเปนติดลบร้อยละ 1.0 โดยเฉพาะเยอรมันและอิตาลีที่ GDP ติดลบ 3 ไตรมาสติดต่อกัน

ในปี 2008 เศรษฐกิจของ Euro area 15 ประเทศขยายตัวในอัตราเพียงร้อยละ 0.8 เทียบกับปี 2007 ที่ขยายตัวดีถึงร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ ในปี 2009 EC ประมาณการว่าเศรษฐกิจของ Euro area จะขยายตัวติดลบร้อยละ 1.9 สอดคล้องกับการประมาณการของ IMF ที่คาดว่าเศรษฐกิจของ Euro area จะติดลบร้อยละ 2.0

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม : เดือนมกราคมทรุดลงเหลือเพียง 93.7 จุด

ดัชนีชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนมกราของกลุ่ม EU16 ทรุดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าโดยลงมาอยู่ที่ระดับ 93.7 หดตัวลงร้อยละ 3.7 จากเดือนก่อนหน้า และหดตัวลงร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ถือเป็นระดับดัชนีที่ต่ำที่สุดนับจากเดือนตุลาคม 1999 ในเดือนนี้ดัชนีการผลิตสินค้าลดลงทุกประเภทจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าบริโภคชนิดคงทน หดตัวลงแรงร้อยละ 6.0 3.6 และ 2.6 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าหมวดพลังงานและสินค้าบริโภคชนิดไม่คงทนหดตัวลงร้อยละ 1.6 และ 1.1 ตามลำดับ สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ยังหดตัวแรงต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว

(รอข้อมูล 30 มีนาคม) ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปสงค์ของกลุ่ม EU16 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ยังคงทรุดตัวลงแรงต่อเนื่องนับจากที่ขึ้นไปสูงสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2007 โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Economic Sentiment Index: ESI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเหลือเพียง 65.4 จุด เทียบกับ 67.2 จุดเมื่อเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นลดลงถึงร้อยละ 34.8 จากปีที่แล้ว ทั้งนี้ ดัชนนี ESI เคยขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 111.6 จุดเมื่อเดือนพฤษษภาคม 2007 ซึ่งการที่ดัชนียังคงทรุดตัวต่อเนื่องสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่ออนาคตของเศรษฐกิจในพื้นที่ยูโรที่ยังคงค่อนข้างย่ำแย่สอดคล้องกับการประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2009 ของพื้นที่ยูโรจะติดลบร้อยละ 1.9

อัตราเงินเฟ้อ : เดือนกุมภาพันธ์กระเตื้องเล็กน้อยขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.2

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmoonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Eurro Area: 16 ประเทศ) ประจำเดือนกุมมภาพันธ์กระเตื้องขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยยละ 1.2 หลังจากที่ชะลอตัวลงแรง 6 เดือนนติดต่อกันก่อนหน้านี้จนลงมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เหลือร้อยละ 1.1 ในเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นนอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดนับจากมีการรวมสกุลเงินยูโรเมื่อปี 1999 โดยหมวดราคาสินค้าที่ส่งผลต่อการเพิ่มของเงินเฟ้อในเดือนนี้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมาจากหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และยาสูบ (+3.2%) หมวดโรงแรมและภัตตาคาร (+22.9%) และหมวดที่อยู่อาศัย (+2.8%) ขณะที่หมวดรายจ่ายที่ส่งผลต่อกการชะลอตัวของเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดคมนาคมขนส่ง (-2.7%) หมวดสื่อสารโทรคมนาคม (-1.4%) และหมวดเครื่องนุ่งห่ม (+0.1%) สำหรับประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรรก ได้แก่ Malta Finland Slovakia Slovenia Belgium และ Netherlands ที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.5, 2.7, 2.4, 2.1, 1.9 และ 1.9 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด ได้แก่ Ireland Portugal Cyprus และ Spain ที่มีเงินเฟ้อร้อยละ 0.1, 0.1, 0.6 และ 0.7 ตามลำดับ

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศยูโร 27 ประเทศ (EU 27) ชะลอตัวลงอีกเล็กน้อยเหลือร้อยละ 1.7 จากร้อยละ 1.8 เมื่อเดือนที่แล้ว โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่ม EU27 ได้แก่ Latvia Lithuania และ Romania ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 9.4 8.5 และ 6.9 ตามลำดับ

อัตราการว่างงาน : เดือนกุมภาพันธ์พุ่งถึงร้อยละ 8.5 ครั้งแรกนับจากเมษายน 2006

ในเดือนกุมภาพันธ์ Euro area 16 ประเทศ มียอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 13.486 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 319,000 คนจากเดือนที่แล้ว) และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 2.13 ล้านคน ส่งผลให้อัตรราการว่างงานในเดือนนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วโดยแตะระดับร้อยละ 8.5 เทียบกับร้ออยละ 8.3 เดือนที่แล้ว ถืออเป็นครั้งแรกกนับจากเดือนนพฤษภาคม 2006 เป็นต้นมา ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของ Euro area เพิ่มขึ้นต่อแนื่องหลังจากที่เคยลงไปออยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับร้อยละ 7.2 ระหว่างเดือนนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2008 การที่ทั้งจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการผู้ว่างงานปรับสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังครอบคลุมเศรษฐกิจของยุโรป

ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ก็เพิ่มขึ้นเป็น 18.412 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 7.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 เมื่อเดือนที่แล้ว

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน

ECB ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 1.50 ต่ำสุดนับจากปี 1999 ขณะที่ปริมาณเงินและสินเชื่อยังชะลอตัวโดยลำดับ

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติลดอัตราดอกเบี้ย Refiinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขออง ECB ลงร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 1.50 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงรวมแล้วเท่ากับร้อยลละ 2.75 นับจากเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดย ECB ได้ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลงค่อนข้างมากและคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ตลอดปี 2009 แลละ 2010 อันแป็นผลมาจากทั้งการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกลดลง รวมทั้งการชะลอตัวลงของระดับราคาสินค้าและต้นทุน (cost pressure) สะท้อนถึงการหดตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก นอกจากนี้ปริมาณเงินและสินเชื่อยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0 ในระยะปานกลาง ซึ่งจะช่วยในการรักษากำลังซื้อของประชาชน โดยคณะกรรมการจะมีการติดตามสถานการณ์เพื่อให้แน่ใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีเสถียรภาพซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและการจ้างงานที่ยั่งยืน รวมถึงช่วยในการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 2 เมษายน 2552

ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Area ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หหรือ M3 อยู่ที่ระดับ 9.427 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้น 43 พันล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 5.9 จากปีที่แล้ว (เดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน (MFI) ให้กู้กับภาคเอกชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ระดับ 10.839 ล้านล้านยูโร ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 225 พันล้านยูโร โดยคิดเป็นอัตราการเพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 4.2 (เดือนมกราคมขยายตัวร้ออยละ 5.0) ซึ่งการที่อัตราการเพิ่มของสินเชื่อชะลอตัวลงโดยต่อเนื่องสะท้อนถึงแนวโน้มที่สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อจากผลของวิกฤตเศรษฐกิจ

สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Money market interest rates) ในเดือนมีนาคมยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปีลดลงระหว่าง 20 - 36 basis points ขณะทที่อัตราผลตอบบแทนระยะยาวอายุ 5 ปีไม่เปลี่ยนแปลงจจากเดือนที่แล้ว แต่อัตราผลตอบแทนอายยุ 10 ปีลดลง 5 basis points และเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนของเดือนเดียวกันปีที่แล้วพบว่าอัตราผลตอบแทนในเดือนนี้อยู่ในระดับต่ำกว่าปีที่แล้วระหว่าง 270-300 basis points โดยโครงสร้างอัตราผลตอบแทนมีลักษณะปกติ (normal yield curve) เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องตึงตัวในตลาดเงินระยะสั้นเมื่อปีที่แล้วมีความรุนแรงจึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสั้นสูงกว่าผลตอบแทนระยะยาว

อัตราแลกเปลี่ยน : เงินยูโรแข็งค่ากับเงินทุก ไม่เว้นแม้เงินเยน

ค่าเงินยูโรเมื่อแทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคมเริ่มแข็งค่าขึ้นหลังจากที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องตลอดสองเดือนก่อนหน้า โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของปีที่ระดับ 1.2596 $/ยูโร จากนั้นก็เคลื่อนไหวใกล้เคียงระดับดังกล่าวซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าต่อเนื่องจากปลายเดือนก่อนหน้า ก่อนที่เงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นนับจากสัปดาห์ที่สองเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม แต่มีแผนที่จะฉีดปริมาณเงินแข้าระดับผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่จะมีวงเงินสูงถึง 300 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ภายใน 6 เดือน ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงและกดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โดยขึ้นไปแข็งค่าสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.3671 $/ยูโร อย่างไรก็ดี ในชช่วงกลางเดือนเงินยูโรกลับอ่อนตัวลงเมมื่อนาย Tim Geithner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ประกาศรายละเอียดของมาตรการซื้อหนี้เสียออกจากสถาบันการเงินที่คาดว่าจะซื้อได้สูงสุดถึง 1,000 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจะส่งผลดีต่อฐานะงบดุลของสถาบันการเงินทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น และแม้ว่าดอลลาร์ สรอ. จะได้รับผลกระทบจากความเห็นของธนาคารกลางสาธารณะประชาชนจีนที่เสนอให้พัฒนา SDR ขออง IMF ขึ้นเป็นสกุลเงินสำหรับเงินสำรองระหว่างประเทศแทนที่เงินดอลลาร์ สรอ. ที่ในอนาคตจะได้รับผลกระทบจากภาระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นมหาศาล แต่ดอลลาร์ สรอ. ก็สามารถฟื้นตัวได้ในเวลาต่อมา รวมถึงการที่นาย Peer Steinbruck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเยอรมันกล่าวเตือนว่าหากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปไม่รับับผิดชอบต่อวินัยทางการคลังแล้วจะส่งผลต่อความเสี่ยงของการรวมสกุลเงินเดียวในท้ายที่สุดได้กดดันให้เงินยูโรอ่อนค่าลงในช่วงท้ายเดือนและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.3308 $/ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยของเดือนที่แล้วร้อยละ 2.1 แต่ก็ยังอ่อนค่ากับเงินดอลลาร์ สรอ. อยู่ร้อยละ 16.0 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในเดือนนี้เริ่มแข็งค่าขึ้นอีกครั้งหลังจากที่อ่อนค่าลงเมื่อเดือนที่แล้ว โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของปีที่ระดับ 0.8933 ปอนด์/ยูโร จากนั้นเงินยูโรก็แข็งค่าขึ้นไปมีระดับปิดที่สูงที่สุดของเดือนที่ระดับ 0.9405 ปอนด์/ยูโร ในช่วงกลางเดือนก่อนที่จะอ่อนตัวลงมาเคลื่อนไหวใกล้เคียงระดับ 0.92 ปอนด์/ยูโร ก่อนที่จจะปิดตลาดวันันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.9308 ปอนด์/ยูโร โดยค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.7 ส่งผลให้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เงินยูโรแข็งค่าอยู่ร้อยละ 18.7

เมื่อเทียบกับเงินเยนแล้ว ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้เริ่มมแข็งค่าขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 7 เดือนก่อนหน้า โดยเงินยูโรมีระดับปิดวันแรกของเดือนที่ระดับ 122.52 เยน/ยูโร จากนั้นเงินยูโรก็ทยอยแข็งค่าขึ้นอย่างอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลออดทั้งเดือนจนขึ้นไปมีระดับปิดที่สูงที่สุดของเดือนที่ระดับ 132.68 เยน/ยูโร ก่อนที่จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 131.17 เยน/ยูโร โดยเหตุผลที่เงินเยนอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากปลายเดือนก่อนยังคงมาจากการนักลงทุนยังคงขายเงินเยนออกเพราะไม่มั่นใจในความเป็น safe haven ของเงินเยนเมื่อปรากฎว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหดตัวลงแรงและได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดี แม้เงินยูโรในเดือนนี้จะแข็งค่าขึ้นมากถึงร้อยละ 7.9 แต่ก็ยังคงอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 18.5 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้เริ่มปรับแข็งค่าขึ้นเมื่ออเทียบกับเงินบาทเป็นเดือนแรกเช่นกันหลังจากที่อ่อนค่าติดต่อกันสองเดือนก่อนหน้า โดยเงินยูโรมีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 45.661 ฿/ยูโร จากนั้นก็ขึ้นไปเคลื่อนไหวในกรอบ 45-46 ฿/ยูโร แต่หลังจากสัปดาห์ที่สองเงินยูโรเริ่มแข็งค่าขึ้นเร็วจนขึ้นมามีระดับปิดตลาดที่สูงที่สุดของเดือนที่ระดับ 48.43 ฿/ยูโร ในช่วงปลายเดือน ก่อนที่จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยและปิดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 47.223 ฿/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.3 แต่ยังอ่อนค่าร้อยละ 4.5 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน

เดือนมกราคม: Euro Area ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น

ณ สิ้นเดือนมกราคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) ขาดดุลจำนวน 12.7 พันล้านยูโร (หรือเท่ากับขาดดุล 18.2 พันล้านยูโร กรณีเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับตามฤดูกาล) โดย Euro area ขาดดุลการค้า (goods trade) ดุลรายได้ (income) และดุลเงินโอน (current transfer) จำนวน 2.3 4.2 และ 10.8 พันล้านยูโรตามลำดับ แต่มีการเกินดุลบริการ (services) จำนวน 4.6 พันล้านยูโร นับเป็นเดือนที่เก้าติดต่อกันที่ Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล

ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ดุลบัญชีเดินสะพัดของ Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรวม 73.9 พันล้านยูโร หรือเท่ากับร้อยละ 0.8 ของ Euro GDP ต่างจากรอบ 12 เดือนก่อนหน้าที่มีฐานะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 17.0 พันล้านยูโร การที่ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสม กลับมาขาดดุลในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา มีสาเหตุหลักมาจากการที่ Euro area กลับสถานะจากที่เกินดุลการค้าเป็นนจำนวนมากกลายเป็นมีฐานะขาดดุลกการค้า รวมทั้งดุลรายได้ก็กลับจากที่เคยเกินดุล มาเป็นขาดดุลด้วยเช่นกัน

ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล (non- seassonal adjustted) ประจำเดือนมกราคม พบว่า Euro area มีฐานนะบัญชีเงินทุทุนไหลเข้าสุททธิสูงถึง 54.2 พันล้านยูโร (เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงเกือบ 7 เท่าตัว) แม้ว่าเงินลงทุนทางตรง (direct investment) และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) จะมียอดไหลออกสุทธิรวม 22.8 พันล้านยูโร แต่เนื่องจากมีการไหลเข้าของเงินทุนในส่วนของอนุพันธ์ทางการเงินและเงินกู้ยืมมากถึง 71.6 พันล้านยูโร ทำให้ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายมีฐานะสุทธิเป็นบวก

สำหรับยอดสะสมในรอบ 12 เดือน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (accumulated financial account) ไหลเข้าสุทธิถึง 258.7 พันล้านยูโร (เทียบกับรอบ 12 เดือนก่อนหน้าที่มีฐานะเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพียง 8.8 พันล้านยูโร) เนื่องจากแม้จะขาดดุลเงินลงทุนทางตรงสุทธิ (net direct investments) แต่ก็มีการเกินดุลเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (net porttfolio investments) และเงินกู้ยืมสะสมเป็นจำนวนมาก จึงทำให้โดยรวมแล้วยอดสะสมเกินดุลสุทธิจากปีก่อนถึงกว่า 28 เท่าตัว

ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • ค่าเงิน Koruna ของประเทศสาธารณะเช็ค ตกรุนแรงเมื่อวันที่ 25 มีนาคม หลังสภาลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี Mirek Topolanek ด้วยเสียง 101 : 96 ส่งผลให้รัฐบาลผสมต้องล้มลงจากเหตุผลที่ว่าเขาไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตติดลบร้อยละ 2.0 ในปีนี้ โดยในรอบ 3 ปีที่อยู่ในตำแหน่งเขาถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจถึง 5 ครั้ง การสิ้นสุดสถานภาพของนาย Topolanek ยังทำให้สถานะภาพในการเป็นประธานสหภาพยุโรป (European Union Presidency) ของสาธารณะเช็คต้องสิ้นสุดลงก่อนกำหนดอีกด้วย (25 มีนาคม 2009)
  • นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีของเยอรมันปฏิเสธที่จะเพิ่มงบประมาณรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ที่ต้องการเห็นประเทศต่างๆ ทั่วโลกร่วมมือกันดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ร้อยละ 2 ของ GDP ในระยะ 2 ปีตามข้อเสนอของ IMF โดยอ้างว่าที่ผ่านมาเยอรมันได้จัดทำงบกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วถึงร้อยละ 4.7 ของ GDP ในระยะ 2 ปี ทำให้คาดว่าเยอรมันจะขาดดุลงบประมาณร้อยละ 2.5 ในปีนี้ หลังจากที่ปีที่แล้วเยอรมันมีงบประมาณสมดุล โดยหนี้สาธารณะต่อ GDP ของเยอรมันสูงกว่าทั้งสหรัฐฯ และอังกฤษ พร้อมเตือนว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากการมีเงินน้อยเกินไปแต่เกิดจากการที่เศรษฐกิจเติบโตเนื่องจากการมีเงินในระบบมากเกินไป ซึ่งไม่ใช่การเติบโตที่ยั่งยืน จึงไม่ควรผิดพลาดซ้ำรอยอดีต (27 มีนาคม 2009)
  • นาย Pedro Solbes รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสเปน กล่าวว่าสเปนไม่อยู่ในฐานะที่จะจัดทำงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเนื่องจากคาดว่าปี 2009 นี้รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณเกินกว่าร้อยละ 3 ซึ่งเป็นเพดานสูงสุดตามข้อกำหนดของ EU Stability and Growth Pact โดยคาดว่าอาจะขาดดุลสูงถึงร้อยละ 7 ของ GDP อย่างไรก็ดี ความเห็นของนาย Solbes ขัอแย้งกับความเห็นก่อนหน้านี้ของนาย Rodriguez Zapatero นายกรัฐมนตรี ที่กล่าวว่ารัฐบาลอาจจะจัดงบกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบหนึ่งแต่วงเงินจะไม่มากนัก หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประกาศไปแล้วไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นได้ภายในฤดูร้อนปีนี้ เนื่องจากหนี้สาธารณะของสเปนยังอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 40 ของ GDP ซึ่งต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของกลุ่ม EU (27 มีนาคม 2009)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ