รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 25-29 พฤษภาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 1, 2009 11:32 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

ดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศในสัปดาห์นี้

1. Cabinet Office แถลงเศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งสัญญาณฟื้นตัว

เมื่อวันที่ 28 พ.ค.52 Cabinet Office แถลงภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นว่า Real GDP ไตรมาสแรกของปี 52 ถึงร้อยละ -15.2 เมื่อเทียบกับ -14-4 ไตรมาส 4 ของปี 51 เป็นการถดถอยรุนแรงที่สุดอย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า Real GDP ลดลงร้อยละ -4

ดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ไตรมาส 1 ยังเป็นลบได้แก่ กำไรของบริษัทขนาดใหญ่ยังคงลดลงและขาดทุนอย่างมาก การบริโภคภาคเอกชนยังคงลดลงต่อเนื่อง การก่อสร้างที่อยู่อาศัยยังคงลดการว่างงานยังอยู่ในภาวะที่แย่อย่างรุนแรง จากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างมาก ธุรกิจขายปลีกในห้างสรรพสินค้ายังคงลดลง แต่ในซุปเปอร์มาเก็ตและ Convenience Store เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคติดลบในอัตราเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ -1

อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นสัญญาณเป็นบวก หลังจากภาวะการส่งออกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดภายหลังลดลง 9 เดือนติดต่อกัน และเริ่มมีสัญญาณกระเตื้องขึ้น โดยการส่งออกสินค้าประเภท Chemical เครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีดีมานด์สินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในจีนเริ่มได้ผล มีการลงทุนใน Fixed Assetsภาคการขนส่งเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ได้คาดการณ์ว่า GDP ตลอดปีงบประมาณ 52 จะติดลบร้อยละ -3.9 เทียบกับติดลบ -3.5 ในปี 51 โดยคาดว่า GDP จะเป็นบวกร้อยละ 1.2 ในปี 53

2. มูลค่าการส่งออกประจำเดือนเมษายน 52 ลดลงร้อยละ 39

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดการส่งออกลดลงร้อยละ 39.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ลดลงติดต่อกันเวลา 7 เดือนแล้วโดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและเอเชีย ลดลงร้อยละ46.3, 45.4 และ 33.4 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการส่งออกยานยนต์และกล้องถ่ายรูป digital ไปยังสหรัฐฯลดลง อย่างมากและการส่งออกเหล็กกล้าไปยังประเทศไทยลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันยอดการนำเข้าก็ ลดลงร้อยละ 35.8 ลดลงติดต่อกันเวลา 6 เดือนแล้ว

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดการส่งออกลดลงร้อยละ 39.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ลดลงติดต่อกันเวลา 7 เดือนแล้วโดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและเอเชีย ลดลงร้อยละ 46.3, 45.4 และ 33.4 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการส่งออกยานยนต์และกล้องถ่ายรูป digital ไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างมากและการส่งออกเหล็กกล้าไปยังประเทศไทยลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันยอดการนำเข้าก็ลดลงร้อยละ 35.8 ลดลงติดต่อกันเวลา 6 เดือนแล้ว

ดุลการค้าประจำเดือนเมษายน 2552

หน่วย: พันล้านเยน

                 ยอดการส่งออก (ร้อยละ)      ยอดการนำเข้า (ร้อยละ)       ดุลการค้า (ร้อยละ)
สหรัฐฯ                653.7 (-46.3)          452.9 (-29.3)            200.8 (-65.1)
สหภาพยุโรป            555.5 (-45.4)          419.4 (-31.2)            136.2 (-66.5)
เอเชีย (รวมจีน)      2,289.7 (-33.4)        1,911.8 (-28.4)           -377.9 (-50.6)
สาธารณรัฐประชาชนจีน    814.5 (-25.8)          992.7 (-21.7)           -178.2 (4.7)
  รวม              4,196.9 (-39.1)        4,128.0 (-35.8)             69.0 (-85.0)
ที่มา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น

ถึงแม้การการส่งออกจะลดลงมาก แต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ และดุลการค้าญี่ปุ่นได้เกินดุลติดต่อกันมา 3 เดือนแล้ว หลังจากที่ขาดดุลการค้าติดต่อกันมาหลายเดือนในปี 51 รวมทั้งในเดือน ม.ค.52 ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งทางการได้ประเมินว่าญี่ปุ่นได้ผ่านพ้นภาวะที่เลวร้ายที่สุดแล้ว

3. Bank Of Japan สนับสนุนการจัดหาเงินสกุลเยนให้กับธนาคารต่างชาติที่มีสาขาในญี่ปุ่น

Bank of Japan (BOJ) ให้เงินกู้กับสถาบันการเงินในญี่ปุ่น โดยปัจจุบัน BOJ อนุญาตให้ใช้พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นหลักประกันในการกู้เงินเท่านั้น แต่จากนี้ไปจะมีการผ่อนผันให้ใช้พันธบัตรรัฐบาลต่างชาติประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ 4 ประเทศได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมัน และฝรั่งเศส เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในภาวะวิกฤตการเงินปัจจุบัน โดยมาตรการนี้จะมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค.52 นี้ และจะยกเลิกเมื่อ BOJ เห็นว่าสภาวะตลาดการเงินกลับเป็นปกติแล้ว ปัจจุบันผู้ว่าการ BOJ ยังเห็นว่าตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศนั้นยังคงไม่มีเสถียรภาพ พันธบัตรรัฐบาลต่างชาติจะมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน แต่ในระยะยาวแล้วพันธบัตรรัฐบาลมีความเสี่ยงต่ำกว่า รวมทั้งให้สถาบันการเงินต่างประเทศที่มีสาขาในญี่ปุ่นสามารถขอกู้เงินจาก BOJ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

4. JBIC ประกาศแผนปล่อยเงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่ SMEs ญี่ปุ่นในต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 26 พ.ค.52 JBIC ประกาศแผนการปล่อยเงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ SMEs ญี่ปุ่นที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศ โดยเน้นประเทศในแถบเอเซียเป็นหลักโดยมีวงเงิน 3 พันล้านเยน เพื่อสนับสนุนการเพิ่มทุนของ SMEs โดยจะให้เงินกู้ผ่านทางสถาบันการเงินที่มีสาขาในประเทศญี่ปุ่นและสถาบันการเงินญี่ปุ่นในประเทสนั้นๆ (เช่นธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นที่มีสาขาในไทย และธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีสาขาในญี่ปุ่น) โดยจะทำให้บริษัท SMEs ที่ไม่เคยทำธุรกรรมกับทาง JBIC มาก่อนสามารถรับเงินกู้ก้อนนี้ได้ SMEs ที่มีสิทธิได้รับเงินกู้นี้จะต้องมีธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนาแถบเอเซีย และต้องเป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยบริษัทญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 การขอใช้เงินกู้ก้อนนี้มีกำหนดถึงสิ้นเดือนมี.ค.53 หรือสิ้นปีงบประมาณ 52

5. Norinchukin Bank ประกาศตัวเลขขาดทุนเพิ่มอีก 572.1 พันล้านเยน

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.52 Norinchukin Bank ธนาคารกลางของสหกรณ์ญี่ปุ่น ประกาศตัวเลขขาดทุนเพิ่มขึ้น ณ สิ้นเดือนมี.ค.52 จำนวน 572.1 พันล้านเยนทำให้ขาดทุนรวมทั้งหมด 2.1 ล้านล้านเยน เป็นการขาดทุนมากที่สุดในรอบ 13 ปีส่งผลให้ต้องเลื่อนการจ่ายเงินปันผลแก่สมาชิกสหกรณ์และนักลงทุนอย่างไม่มีกำหนด โดยเมื่อเดือน มี.ค.52 ธนาคารได้มีการระดมทุนจาก JA Group ซึ่งเป็นสหกรณ์สาขาย่อยของธนาคารทั่วประเทศเพื่อเพิ่มทุนแล้วจำนวน 1.9 ล้านล้านเยน

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ