ภาพรวมเศรษฐกิจ (มิถุนายน 2552)
ดัชนีชี้วัดการผผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Prodduction Index: IPI) ในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 88.2 จุด เพิ่มขึ้น 0.2 จุดจากเดือนที่แล้ว โดยหากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของดัชนีช่วง 3 เดือน (กุมภาพันธ์-เมษายน) พบว่าดัชนีลดลงจากค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนก่อนหน้าพฤศจิกายน-มกกราคม) ร้อยละ 3.2 ซึ่งเป็นอัตราการลดที่ชะลอลงแป็นเดือนที่สาม ซึ่งการที่ดัชนีผลผลติภาคอุตสาหกรรมเริ่มกระเตื้องขึ้นบ้างแม้จะเร็วเกินนไปที่จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองอาจจะหดตัวน้อยกว่าไตรมาสแรกได้ แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีที่อาจจะเป็นไปได้ว่าการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีที่หดตัวแรงถึงร้อยละ 4.2 อาจจะเป็นการหดตัวที่ต่ำที่สุดแล้ว และมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะไม่หดตัวลงแรงไปกว่านี้ โดยในเดือนนนี้ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในสาขาสินค้าอุตสาหกรรม Manufacturing)) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 79 ลดลงเพียงร้อยละ 2.8 จากช่ววง 3 เดือนก่อนหน้าเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.6 ในนเดือนที่แล้ว ขณะที่ดัชนีผลผลิตด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำ และ ก๊าซ ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 9 ยังคงลดลงแรงต่อเนื่องร้อยละ 5.5 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ลดลงเพียงร้อยละ 3.7 ส่วนดัชนีผลผลิตภาคเหมืองแร่ ทรัพยากรธรรมชาติ และน้ำมัน ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 12 หดตัวลงร้อยละ 4.0 เทียบกับร้อยละ 4.6 ในเดือนที่แล้ว
ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีการผลิตตามระดับขั้นของผลผลิตพบว่าดัชนีลดลงเกือบทุกหมวด โดยดัชนีผลผลิตสินค้าขั้นกลางและพลังงาน(Intermediate goods and energy) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 48 ลดลงจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้าร้อยละ 5.0 สินค้าทุน (Capital goods) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 21 ลดลงร้อยละ 5.6 และดัชนีสินค้าเพื่อการบริโภคที่คงทน (Consumer durables) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 3.6 ลดลงร้อยละ 4.7 ยกเว้นดัชนีผลผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคที่ไม่คงทน (Consumer non-durables) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 27 ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคมชะลอลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 2.2 เทียบกับร้อยละ 2.3 ในเดือนที่แล้ว โดยการที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ยังคงปรับลดลงจากเดือนที่แล้ว โดยหมวดรายจ่ายที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้วยังคงมาจากหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ที่เร่งตัวขนจากร้อยละ 2.8 เป็นร้อยละ 3.9 ในนเดือนนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ยังเพิ่มค่อนข้างมากแม้จะเป็นอัตราทที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 7.6 ก็ตามเทียบกับร้อยละ 8.6 ในเดือนที่แล้ว หมวดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากร้อยยละ 6.1 ในเดือนที่แล้ว หมวดเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากร้อยละ 3.5 เมื่อเดือนที่แล้ว สำหรับหมวดสินค้าที่มีระดับราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วยังคงได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มแลละรองเท้าที่มีระดับราคาลดลงร้อยละ 8.1 และหมวดขนส่งคมนาคมมีราคาลดลงร้อยละ 1.1
ทางด้านดัชนี ((Retail Pricee Index: RPI) ในเดือนนี้ติดลบร้อยละ 1.1 เทียบกับที่ติดลบร้อยละ 1.2 ในเดือนที่แล้ว นับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ RPI เพิ่มในอัตราที่ติดลบ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนนี้มาจากหมวดอาหารและภัตตาคารที่มมีระดับราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 และหหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสสูบเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่เหลือมีราคาลดลงจากปีที่แล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหมวดที่อยยู่อาศัยและรายจ่ายในครัวเรือนลดลงเหลือร้อยละ 4.9 เนื่องจากรายจ่ายการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยลดลงตามนโยบายลดอัตราดอกเบี้ย หมวดรายจ่ายส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 1.1 และหมวดท่องเที่ยวและการหย่อนใจลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 0.7
ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนเมษายน (กุมภาพันธ์-เมษายน) ทั้งจำนวนผู้มีงานทำและอัตราการมีงานทำต่างก็ลดลง โดยจำนวนผู้มีงานทำ employment level) มีจำนนวน 29.108 ล้านคน ลดลง 271,000 คนจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า (พฤศจิกายน-มกราคม) และลดลง 399,000 คน จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ทำให้อัตราการมีงานทำในเดือนนี้ลดลงเหลือร้อยละ 73.3 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employment rate) เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 74.1
ทางด้านจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนจนถึงเดือนเมษายนยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมียอดผู้ว่างงานเฉลี่ย 2.261 ล้านคน เพิ่มขึ้น 232,000 คนจากไตรมาสก่อนหน้าและเพิ่มขึ้นถึง 605,000 คนจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 ส่งผลให้อัตราการว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในรอบไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกันที่จำนวนผู้ว่างงานอยู่เหนือระดับ 2 ล้านคน โดยครั้งสุดท้ายที่จำนวนผู้ว่างงานอยู่ในระดับ 2.26 ล้านคนคือเดือนตุลาคม 1996
สำหรับดัชนีชี้วัดรายได้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของทั้งประเทศยังมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องหลังจากที่ขึ้นไปสูงสุดในไตรมาสแรกปี 2008 โดยดัชนีที่ไม่รวมเงินโบนัส (GB average earnings index: AEI) ในรอบไตรมาสสิ้นสุดเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากปีที่แล้ว (เทียบกับร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดัชนีที่รวมรายได้จากโบนัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากปีที่แล้ว (เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า) ซึ่งดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ดัชนีขยายตัวติดลบเป็น ครั้งแรก ทั้งนี้ ดัชนี AEI มีการเพิ่มในอัตราที่ลดลงโดยตลอดนับจากสิ้นไตรมาสแรกของปี 2008 เป็นต้นมา
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติเอกฉันท์ 9:0 ให้คงอัตราดอกเบี้ย Bank rate ไว้ตามเดิมที่ระดับร้อยละ 0.50 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดนับจากก่อตั้ง Bank of England ในปี 1694 และนับเป็นเดือนที่ 3 ที่มีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าว โดยคณะกรรมการได้ให้เหตุผลว่าเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจเริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นบ้างไม่ว่าจะเป็นเครื่องชี้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชี้ว่าในไตรมาส 2 การหดตัวของเศรษฐกิจเริ่มช้าลง ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นทางธุรกิจเริ่มดีขึ้น การหดตัวของการบริโภคในไตรมาส 2 มีน้อยกว่าไตรมาสแรก ขณะเดียวกัน ตลาดที่อยู่อาศัยเริ่มส่งสัญญาณขอองความมีเสถถียรภาพมากกขึ้น รวมถึงมีเครื่องบ่งชี้ว่าแนวโน้มการว่างงานน่าจะเริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลง สภาพเหหล่านี้จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับภาคครัวเรือน รวมถึงจะชช่วยลดขนาดคความเสียหายยจากสินเชื่อของสถาบันการเงินลงและจะทำใหห้มีความมั่นใจในการปล่ออยสินเชื่อต่อไป กระนั้นก็ดี ปัจจัยด้านลบก็ยังคงมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อสู่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่ยังคงชะลอตัวลง แม้การระดมททุนในลาดหุ้นจะดีขึ้นแตต่ก็ไม่สามารถแทนที่สินเชื่อของระบบธนาคารได้ รวมถึงความเสี่ยงจากอัตตราเงินเฟ้อยังคงไม่เปลี่ยนแปลง จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมและยืนยันการดำเนินกการตามมาตรการรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน (Asset Purchased Facility) ให้เป็นไปตามเป้าหมายจำนวน 125 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 8.7 ของ GDP ต่อไป โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 20009
ในเดือนพฤษภาคมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ธนาคารกลางอังกฤษคงอัตรา bank rate ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เป็นเดือนที่สอง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดลอยตัว (flexible rate) อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.84 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2 basis points จากเดือนที่แล้ว ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดที่อิงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (base rate tracker mortgage) อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.99 เพิ่มขึ้น 14 basis points ซึ่งการที่สถาบันการเงินปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยทั้งประเภภท flexible rate และ tracker rate เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank rate) เริ่มกว้างขึ้นอีกครั้งโดยมีส่วนต่างอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.34 และ 3.49 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 3.32 แลละ 3.335 ในเดือนที่แล้ว สะท้อนให้เห็นว่าการส่งผ่านผลของนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำไปสู่ลูกค้าของสถาบันการเงินคงจะไม่สามารถทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดต่ำลงไปกว่านี้
สำหรับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (average yield curve) ประจำเดือนมิถุนายนเริ่มมีการปรับตัวโดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นลดต่ำลงเล็กน้อย แต่อัตราผลตอบแทนระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นอายุต่ำกว่า 3 เดือนปรับลดลงง 1 basis point จากเดือนที่แล้ว ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 6 เดือนไม่เปลี่ยนแปลง แต่อัตราผลตอบแทนประเภทอายุ 1 ปี 5 ปี 10 ปี และ 20 ปี ปรับเพิ่มขึ้นระหว่าง 6 - 23 basis points ซึ่งการที่อัตราผลตอบแทนระยะสั้นนปรับตัวลดลงและอยู่ในระดับใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.5 สะท้อนถึงสภาพคล่องในระบบการเงินนที่ยังมีอยู่สูงง และเป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราผลตอบแทนระยะยาวเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นหลังจากลงไปอยู่ระดับต่ำสุดเมื่อเดือนมีนาคม
ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M4) ในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 4.5 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้ยอดคงค้าง M4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 จากเดือนเดียววกันของปีที่แล้ว เทียบกับบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณสินเชื่อตามความหมายกว้าง (M4 lending) ในเดือนนี้เพิ่มขึ้น 25.2 พันล้านปอนด์ ส่งผลลให้ยอดคงค้างของ M4 leending เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เทียบกับร้อยละ 10.2 ในเดือนที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาการเพิ่มขึ้นเนื่องจากธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันเองเป็นสำคัญญ
อย่างไรก็ดี หากวิเคราะห์ลงในรายละเอียดของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันกการเงินไปสู่ภาคเศรษฐกกิจ (sectoral analysis) พบว่ายังคงมีการชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ (M4 lending to private non-financial corporations) มียอดคงค้าง 496,027 ล้านปอนด์ ลดลงจากจากปีที่แล้วร้อยละ 0.1 นับเป็นครั้งแรกที่ยอดคงค้างสินเชื่อภาคธุรกิจมีการหดตัวลง ขณะที่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคครัวเรือน (M4 lending to household sector) มียอดคงค้าง 1,045,358 ล้านปอนด์ หดตัวลงร้อยละ 5.2 จากปีที่แล้ว นับเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันที่ยอดคงค้างสินเชื่อภาคครัวเรือนหดตตัวลง แนวโน้มดังกล่าวบั่นทอนโอกาสที่เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวภายในปีนี้ลง
เงินปอนด์เมื่อแทียบกับเงินดดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นเป็นนเดือนที่สามหลังจากที่อ่อนค่าลง 8 เดือนติดต่อกันก่อนหน้านั้น โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ 1.6428 $/ปอนด์ และขึ้นไปทำสถิตติปิดตลาดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.6563 $/ปอนด์ ในวันที่สองของเดือนซซึ่งเป็นการแข็งค่าต่อเนื่องมาจากเดือนที่แล้วโดยเหตุผลหลักยังคงมาจากความเชื่อมั่นที่ว่าเศรษษฐกิจโลกได้ผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดไปปแล้ว ความจำเป็นในการถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยนในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยในยามที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลงก็เริ่มหมดไป ทำให้นักลงทุนเริ่มไม่กลัวความเสสี่ยง (risk appetite) จึงหันมาถือครองสกุลเงินที่ให้ผลตตอบแทนสูงกว่ามากขึ้น ปประกอบกับการที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของอังกฤษเช่นดัชนีผลผลิตตภาคอุตสาหกรรมและดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มนิ่งและมีทิศทางที่ดีขึ้นบ้าง ทำให้เงินปอนด์สามารถยืนในระดับ 1.60 - 1.65 $/ปอนด์ ได้อย่างมั่นคงในช่วงที่เหลืออของเดือนจนนปิดตลาดวันนสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.6468 $/ปอนด์/ ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเมื่อช่วงเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่าจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ 6.1 อย่างไรก็ดี หากเทียบกับช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เงินปอนด์ยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 16.7
เงินปอนด์เมื่อแทียบกับยูโรแข็งค่าต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามเช่นกันน โดยเงินปอนนด์ปิดตลาดวันแรกที่ระดับ 1.1603 ยูโร/ปอนด์ ก่อนที่จะอ่อนค่าลงเลล็กน้อยมาปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 1.1423 ยูโร/ปอนด์ หลังจากนั้นเงินปอนด์เริ่มมแข็งค่าขึ้นเร็วอีกครั้งจนขึ้นมาทดสอบระดับ 1.180 ยูโร/ปอนด์ ในช่วงกลางเดือนโดยขึ้นไปปิดสูงสุดที่ระดับ 1.1835 ยูโร/ปอนด์ และเริ่มเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ใกล้เคียงระดับ 1.180 ยูโร/ปอนด์ ในช่วงที่เหลือของเดือน และปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.1739 ยูโร/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากถึงร้อยละ 3.4 แต่ก็ยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 7.5 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
เมื่อเทียบกับเงินบาทแล้ว เงินปอนด์ในแดือนนี้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปลายเดือนที่แล้วอย่างมั่นคง โดยหลังจากปิดตลาดวันแรกของเดือนนที่ระดับ 56.0113 Baht/ปอนด์ และขึ้นไปปิดสูงสุดที่ระดับ 56.5212 Baht/ปอนด์ ในวันถัดมาเงินปอนด์ก็ปรับบตัวลงเล็กน้อยลงมาปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 54.8171 Baht/ปอนด์ ในปลายสัปดาห์แรก หลังจากนั้นเงินปอนด์ก็เริ่มกลับขึ้นมาแข็งค่าเคลื่อนไหวในระดับใกล้เคียง 56.0 Baht/ปอนด์ ตลอดช่วงที่เหลือขของเดือนและตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 56.1229 Baht/ปอนด์ ซึ่งเป็นนระดับใกล้เคียงกับเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบบาทร้อยละ 4.6 แต่ก็ยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 14.4 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเดือนที่สองของปีงบประมาณปัจจุบัน (2009/10) รัฐบาลมีดุลงบรายจ่ายประจำ (current budget) ขาดดุลจำนวน 17.5 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่ขาดดุลเพียง 10.6 พันล้านปอนด์ในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว) และเมื่อรวมกับในเดือนนี้รัฐบาลมียอดลงทุนสุทธิจำนวน 2.3 พันล้านปอนด์ จึงทำให้ฐานะดุลงบประมาณโดยรวมในเดือนนี้มียอดขาดดุลสุทธิ 19.9 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่ขาดดุลเพียง 12.2 พันล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว) หรือเท่ากับขาดดุลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 โดยในส่วนของรัฐบาลกลาง (central government account) สามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้จำนวน 32.2 พันล้านปอนดด์ (ลดลงร้อยละ 10.7 จากปีที่แล้ว) ขณะที่งบรายจ่ายประจำและงบลงทุนของรัฐบาลกลางมียอดรวม 52.8 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากปีที่แล้ว) ทำให้รัฐบาลกลางมีฐานะขาดดุล 21.2 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 66.1) ผลของการที่สามมารถจัดเก็บรรายได้ลดลง ขขณะที่รายจ่ายมีเพิ่มขึ้นจึงทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมเพิ่มขึ้นผลักกดันให้ยอดหนี้สาธารณะขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 774.8 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 54.7 ของ GDP (เทียบบกับร้อยละ 43.6 ในเดือนพฤษภาคมปีที่แลล้ว)
ทั้งนี้ ในการแถลงงบประมาณปี 2009/10 กระทวงการคลังประมาณการว่าในปีงบบประมาณปัจจุบัน รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้จำนวน 496 พันล้านปอนด์ แต่มีรายจ่ายประจำและลงทุนรวมจำนวน 671 พันล้านปอนด์ โดยยจะขาดดุลจำนวน 175 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 12.4 ของ GDP และจะทำให้ยอดหนี้สาธารณะสุทธิเพิ่มเป็น 792 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 55.4 ของ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน
เดือนเมษายน อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าและบริการรวม 33.0 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 5.3 จากปีปีที่แล้ว) แต่มมีการนำเข้ารวม 36.0 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 6.1) ทำให้มียอดขาดดุลการค้าและบริการรวมม 3.0 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 13.6) แยกเป็นการขาดดุลการค้าจำนวน 7.0 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 8.9) แต่มีการเกินดุล บริการจำนวน 4.0 พันล้านปออนด์ (เกินดุลลดลงร้อยละ 5.0) โดยการขาดดุลในเดืออนนี้แยกเป็นการขาด ดุลการค้าสินค้ากกับประเทศในกลุ่ม EU (27 ประเทศ) จำนวน 2.9 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงรร้อยละ 18.4 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว) ขณะที่มีการขาดดุลกับประเทศนอกกลุ่ม EU จำนวน 4.1 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลใกล้เคียงกับเดือนแดียวกันของปีที่แล้ว)
สำหรับการค้ากับประเทศไทยในเดือนเมษายน อังกฤษส่งออกสินค้าไปประเทศไทยจำนวน 59 ล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 7.8 จากปีที่แล้ว)) ขณะที่มีการนำเข้าจำนวน 183 ล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 9.4) ทำให้ขาดดุลการค้ากับประเทศไทยจำนวน 124 ล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 10.1) ส่งผลให้ยอดสะสมการค้าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้อังกฤฤษมีการส่งออกสินค้าไปประเทศไทยรวม 210 ล้านปอนด์ (ลดลงจากปีที่แลวร้อยละ 12.1) แต่มีการนำเข้าจากประเทศไทยรวม 767 ล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7) ทำให้มียอดขาดดุลการค้ากับประเทศไทยทั้งสิ้น 557 ล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2)
- ผลสำรวจราคาที่อยู่อาศัยของ Halifax ประจำเดือนพฤษภาคมพบว่าราคาเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.8 ในเดือนที่แล้ว นับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยปรับเพิ่มขึ้นในรอบ 4 เดือน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ดัชนีเคยเพิ่มขึ้นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบดัชนีของเดือนเดียวกันในปีที่แล้วพบว่าราคาที่อยู่อาศัยโดยเฉลี่ยยังคงลดลงร้อยละ 16.3 นับเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกันที่ดัชนีติดลบ (4 มิถุนายน 2009)
- มีรายงานว่าผลการศึกษาการปฏิรูประบบการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (white paper) ของกระทรวงการคลังที่กำลังจะออกมาในสัปดาห์หน้า จะมีการเสนอให้แก้ไขกฎหมาย Banking Act เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับ Financial Services Authority (FSA) ในการทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน (financial stability) ควบคู่ไปกับ Bank of England เช่น การให้อำนาจ FSA สามารถสั่งการให้ธนาคารปรับปรุงวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจบางประการได้หากสงสัยว่าการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวจะนำมาซึ่งความไร้เสถียรภาพของระบบการเงิน โดยคาดว่าจะมีการเสนอแก้กฎหมายในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งประเด็นการปฎิรูประบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินแบบสามฝ่าย (Tripartite System) กลายเป็นประเด็นร้อนและขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลัง กับ Bank of England เนื่องจากก่อนหน้านี้นาย Mervyn King ผู้ว่าการ Bank of England ได้ความเห็นกับคณะกรรมาธิการการธนาคารว่า Bank of England ควรมีอำนาจในการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เหนือ FSA เพื่อให้สามารถดำเนินการตามพันธกิจในการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน และที่ผ่านมาเขาไม่เคยได้รับการปรึกษาหารือเลยในการจัดทำสมุดปกขาว ความเห็นดังกล่าวทำให้ Lord Adair Turner ประธานของ FSA ออกมาตอบโต้นาย King อย่างรุนแรงว่าที่ผ่านมาเวลาเกิดปัญหามักจะเป็น FSA ที่ถูกตำหนิในฐานะที่ทำหน้าที่กำกับสถาบันการเงินแต่ละราย ขณะที่ความผิดพลาดที่เกิดจาก Bank of England ปรากฎว่า Bank of England แม้จะได้รับซึ่งอำนาจไปแต่กลับไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่างจาก FSA ซึ่งต้องรับผิดชอบแต่กลับไม่มีอำนาจ (24 มิถุนายน 2009)
- EU Competition Commission ชี้เป็นนัยให้ธนาคารพาณิชย์ของอังกฤษที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลเตรียมปรับโครงสร้างด้วยการลดการถือครองธุรกิจในเครือลงเพื่อลดความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ EU ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐแก่ธุรกิจเอกชนที่ประสบปัญหาฐานะทางการเงิน (bailed out by government) โดยน่าจะเป็นการส่งสัญญาณไปยังธนาคาร Lloyds Banking Group และ RBS ที่ปัจจุบันมีรัฐบาลถือหุ้นอยู่ร้อยละ 43.5 และ 70 ตามลำดับ โดยก่อนหน้านี้ Competition Commission ได้หารือร่วมกับรัฐบาลเยอรมันในการดำเนินการเพื่อให้ธนาคาร WestLB และ Commerzbank ปรับโครงสร้างด้วยการลดขนาดของสินทรัพย์ลงร้อยละ 50 และ 47 ตามลำดับ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า (26 มิถุนายน 2009)
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ได้ทบทวนข้อมูลบัญชีรายได้ประชาชาติประจำไตรมาสแรกของปี 2009 ใหม่ พบว่า GDP ในไตรมาสแรก หดตัวลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการหดตัวที่ลึกกว่าที่เคยแถลงไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่าหดตัวเพียงร้อยละ 1.9 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า GDP หดตัวร้อยละ 4.9 จากเดิมที่ประกาศว่าหดตัวร้อยละ 4.2 โดยเหตุผลหลักที่ทำให้มีการทบทวนตัวเลข GDP ลดลงกว่าที่เคยแถลงไว้เนื่องจากข้อมูลในภาคการก่อสร้าง (construction) ที่หดตัวลงร้อยละ 6.9 ภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 5.5 และภาคบริการที่หดตัวลงร้อยละ 1.6 การทบทวนการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2009 หดตัวแรงที่สุดนับจากปี 1948 (30 มิถุนายน 2009)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th