Global Economic Monitor (25 — 29 January) 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 2, 2010 12:13 —กระทรวงการคลัง

“ภาคการส่งออกของเอเชียยังขยายตัวได้ดี ขณะที่จีนส่งสัญญาณเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ

เกาหลีใต้: GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า

GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 52 ของเกาหลีใต้ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า(%qoq) ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 52 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 (%qoq) โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 50 และ 30 ต่อปี GDP ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปีและ 6.4 ต่อปี ตามลำดับ ในส่วนของภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยภาคการส่งออกสินค้าและบริการที่มีสัดส่วนร้อยละ 46 ต่อGDP ขยายตัวร้อยละ 9.3 ต่อปีและการนำเข้าสินค้าและบริการที่มีสัดส่วนร้อยละ 40 ต่อGDP ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี

สหรัฐฯ: ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ มีสัญญาณชะลอลงเล็กน้อยในเดือน ธ.ค. 52 แต่แนวโน้มยังดี

ยอดจำหน่ายบ้านของสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. 52 หดตัวมากที่สุดในรอบกว่า 42 ปีทีร้อยละ 16.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) มาอยู่ที่ระดับ 5.42 ล้านหลังต่อปี อย่างไรก็ตาม เมือพิจาณาทั้งปี พบว่ายอดจำหน่ายบ้านใหม่ของสหรัฐฯในปี 2552 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ4 ปีที่ร้อยละ 4.9 ต่อปี เนื่องจากผลของมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านที่ลดลงจากปีก่อนหน้าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 1.0 สำหรับราคาบ้านในสหรัฐฯ ประจำเดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ระดับ 178,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มของภาคอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสแรกของปีตามยอดขออนุมัติก่อสร้างบ้าน (Building Permits) เดือน ธ.ค. 52 ซึ่งขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ 10.9 จากเดือนก่อนหน้า(%mom) อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงมีปัจจัยเสี่ยงใน 2 ประการ คือ (1) ราคาบ้านที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นและ (2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านที่ขยับขึ้นเล็กน้อยในเดือน ธ.ค. 52

จีน: ส่งสัญญาณเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ

ธนาคารกลางของจีนส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดต่อการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และสินเชื่ออื่นๆ เพื่อควบคุมการขยายตัวของสินเชื่อในระดับสูง โดยในปี 52 ธนาคารจีนได้ปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้นกว่า 9.59 ล้านล้านหยวน (1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) อันเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ล่าสุดราคาอสังหาริมทรัพย์ของจีนในเดือน ธ.ค. 52 เร่งตัวขึ้นสูงที่สุดในรอบ 18 เดือน โดยราคาบ้านและอาคารพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี

ญี่ปุ่น: ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังคงไม่ฟื้นตัว

การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 12.1 ต่อปี จากการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 31.2 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าดีที่สุดในรอบ 13 เดือนโดยหดตัวที่ร้อยละ -5.5 ต่อปี

การบริโภคภายในประเทศมีสัญญาณชะลอตัว โดยยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 52 หดตัวมากที่สุดในรอบ 16 เดือนที่ร้อยละ -0.3 ต่อปีหรือหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.2 (%mom) เนื่องจากการลดลงของยอดจำหน่ายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่ภาคการจ้างงานดีขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 5.2 ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยังคงเป็นไปอย่างเปราะบาง ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 53) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศต่อไป

Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          01-Feb-10  EZ Jan Markit Mfg PMI                                      51.6
                     US Jan ISM Mfg PMI                          55.5           55.9
          02-Feb-10  US Jan Domestic Vehicle Sales (Mil. SAAR)   11.2           11.1
          03-Feb-10  EZ Dec Retail sales (%mom)                                 -1.2
                     US Jan ISM Non-Mfg PMI                      51.0           50.1
                     AU Dec Export (%yoy)                                       -2.0
                     AU Dec Import (%yoy)                                       -3.0
          05-Feb-10  US Jan Non-farm payroll (in thousand)      -10.0          -85.0
                     US Jan Unemployment rate (%)                10.1           10.0
                     MY Dec Export (%yoy)                                       -3.3
                     MY Dec Import (%yoy)                                        2.3
                     TW Jan Consumer Price Index (%yoy)                        -0.21

Note: *forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: improving economic trend

ยอดจำหน่ายบ้านเดือน ธ.ค. 52 หดตัวมากที่สุดในรอบกว่า 42 ปีที่ร้อยละ 16.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) มาอยู่ที่ระดับ 5.42 ล้านหลังต่อปี อย่างไรก็ตาม เมือพิจาณาทั้งปี พบว่ายอดจำหน่ายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ ในปี 2552 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่ร้อยละ 4.9 ต่อปีเนื่องจากผลของมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯในช่วงปีที่ผ่านมา ที่ให้เครดิตภาษีมูลค่า 8,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านที่ลดลง จากปีก่อนหน้าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 1.0 สำหรับราคาบ้านเดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ระดับ 178,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี

          Next week  -  Jan ISM Mfg PMI          Jan Domestic Vehicle Sales

Jan Non-farm payroll Jan Unemployment rate (%)

China: mixed signal

ธนาคารกลางของจีนส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดต่อการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และสินเชื่ออื่นๆ เพื่อควบคุมการขยายตัวของสินเชื่อในระดับสูง โดยในปี 52 ธนาคารจีนได้ปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้นกว่า 9.59 ล้านล้านหยวน (1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) อันเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ล่าสุดราคาอสังหาริมทรัพย์ของจีนในเดือน ธ.ค. 52 เร่งตัวขึ้นสูงที่สุดในรอบ 18 เดือน โดยราคาบ้านและอาคารพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี

Next Week -

Eurozone: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับร้อยละ 0.5 ต่อปีเนื่องจากฐานของราคาน้ำมันที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ความเสี่ยงด้านหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศสเปนประกาศลดรายจ่ายรัฐบาลลง 50 พันล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 5 ของ GDP ภายในปี 2013 เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตหนี้สาธารณะดังเชน่ ประเทศกรีซ

Next Week - Jan Markit Mfg PMI

Dec Retail sales

Japan: mixed signal

การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 12.1 ต่อปี จากการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 31.2 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าดีที่สุดในรอบ 13 เดือนโดยหดตัวที่ร้อยละ -5.5 ต่อปีส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่มูลค่าเท่ากับ 545.3 พันล้านเยน หรือ 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำ หรับการบริโภคภายในประเทศกลับมีสัญญาณชะลอลง โดยยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 52 หดตัวมากที่สุดในรอบ 16 เดือนที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี หรือหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.2 (%mom) เนื่องจากการลดลงของยอดจำหน่ายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่ภาคการจ้างงานดีขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 5.2

Next week -

South Korea: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 52 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 (%qoq) โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปีและ 6.4 ต่อปี ตามลำดับ ในส่วนของภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นโดยการส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 9.3 ต่อปี และร้อยละ 5.9 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค. 53 อยู่เหนือระดับ 100 ติดต่อกัน เป็นเดือนที่ 8 ที่ระดับ 113 สะท้อนการบริโภคภายในประเทศ

Next Week - Jan Consumer Price Index

Jan Export and Import

Hong Kong: improving economic trend

การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 9.2 ต่อปี จากการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะจีนไต้หวัน อินเดียและเกาหลี เป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 18.7 ต่อปี

Next week - Dec Retail sales

Singapore: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค.52 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.4 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 18.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) เนื่องจากการผลิตสินค้าอิเล็คโทนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 57.3 ต่อปี ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค.52 ทรงตัวที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี หรือหดตัวที่ร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า(%mom) จากราคาในหมวดที่อยู่อาศัย หมวดการสื่อสารและขนส่งและหมวดยานยนต์ที่ปรับตัวลดลง

Next Week -

Taiwan: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค. 52 ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 47.3 ต่อปี สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 31.4 ต่อปี สอดคล้องกับคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเดือน ธ.ค. 52 ที่ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกันที่ร้อยละ 52.6 ต่อปี สะท้อนให้เห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไต้หวันจากภาคการส่งออกที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 70 ของ GDP

Next Week - Jan Consumer Price Index

Philippines: improving economic trend

ภาคการส่งออกในเดือนพ.ย. 52 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี จากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าแร่และเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ

Next Week - Jan consumer price index

Australia: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปีเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี จากราคาอาหารและบ้านที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ สะท้อนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะอันใกล้

Next Week - Feb Policy rate

Dec Retail sales Dec Export and Import

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ