รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 2 เมษายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 5, 2010 11:10 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือนก.พ.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี ในขณะที่เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือนก.พ. 53 ขยายตัวเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันที่ร้อยละ 7.1 ต่อปี และปริมาณจำ หน่ายเหล็กภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันที่ร้อยละ 15.8 ต่อปี
  • ดุลการชำระเงินในเดือน ก.พ. 53 ของไทยเกินดุลเล็กน้อยที่ 119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวเล็กน้อยร้อยละ -0.1 ต่อปี
Indicators next week
   Indicators                      Forecast           Previous
Feb: Unemployment                      1.3               1.4
(% of total labor force)
     Unemployment (th persons)       490.0             529.9
  • เนื่องจากการเริ่มฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวมโดยเฉพาะจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวชัดเจน
Mar: Motorcycle Sales (%yoy)          24.0              26.0
  • เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น ตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งภาครัฐปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาคครัวเรือนยังคงมีรายได้เพิ่มขึ้น
Economic Indicators: This Week

สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ก.พ.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี เร่งขึ้นตามการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ ในขณะที่เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของเงินฝากภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ ด้านเงินฝากธุรกิจยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 52 อัตราการขยายตัวเงินฝากมีการปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งเกิดจากฐานที่ค่อนข้างสูงในช่วงต้นปี 52 และการเริ่มมีการหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น

ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ขยายตัวเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันและปริมาณจำหน่ายเหล็กภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 15.8 ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนการเริ่มฟื้นตัวของการลงทุนภายในประเทศ และสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในหมวดก่อสร้าง และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 และ 60.2 ต่อปี ตามลำดับ รวมถึงพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลรวมขยายตัวร้อยละ 26.1 ต่อปี ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

ดุลการชำระเงินในเดือน ก.พ. 53 ของไทยเกินดุลเล็กน้อยที่ 119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมาจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลที่ 1,521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายได้จากการท่องเที่ยวในภาคบริการเป็นหลัก โดยดุลบริการ รายได้และเงินโอนเกินดุลที่ 1,069 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดุลการค้ายังคงเกินดุลเล็กน้อยที่ 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงตามการฟื้นตัวของภาคการนำเข้า ทั้งนี้ ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุลที่ 181 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และตัวเลขค่าความคาดเคลื่อนทางสถิติในเดือน ก.พ. 53 ขาดดุลประมาณ 1,582 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน สาเหตุสำคัญจาก 1) ดัชนีหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกซึ่งถูกนำเข้ามากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก 2) ราคา ผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลของผลไม้บางชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน ชมพู่ และแอ๊ปเปิ้ลประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลเชงเม้งของคนจีน 3) ดัชนีค่าไฟฟ้าน้ำประปาฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เนื่องจากการปรับลดเกณฑ์ 5 มาตรการ 6 เดือนในส่วนของน้ำประปา ทำให้ประชาชนรับภาระเพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 (%mom) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน มี.ค.53 ขยายตัวติดต่อกันเป็น เดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวเล็กน้อยร้อยละ -0.1 ต่อปี เนื่องจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 6.9 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวซี เหล็กฉากท่อเหล็ก ตะแกรงเหล็ก) หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ร้อยละ 3.2 (สายเคเบิล สายไฟฟ้า ท่อพีวีซี) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ร้อยละ 3.0 (อิฐหนา กระจกใส อลูมิเนียม ยางมะตอย) เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้างมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีสัญญาณการฟ้นื ตัวเป็นลำดับ

Economic Indicators: Next Week

อัตราการว่างงานเดือนก.พ. 53 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 และคาดว่าจะมีผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 4.9 แสนคนโดยคาดว่าจะมีสาเหตุสำ คัญมาจากการเริ่มฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวชัดเจน อันสะท้อนได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ และปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อเนื่องให้การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการปรับตัวดีขึ้นตาม

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มี.ค.53 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 24.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 26.0 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ 2) ภาครัฐปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำทั่วประเทศ โดยมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค.53 เป็นต้นไป ส่งผลให้ภาคครัวเรือนยังคงมีรายได้เพิ่มขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ