เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เป็นประธานในการต้อนรับคณะผู้สื่อข่าวจำนวน 27 คน จาก 8 ประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส เกาหลี เวียดนาม เยอรมันนี อินเดีย จีน เป็นต้น ซึ่งได้มาเยือนสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในโอกาสที่มาประเทศไทยเพื่อร่วมงานและทำข่าวงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวต้อนรับคณะสื่อมวลชนดังกล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มีโอกาสนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมรวมตลอดถึงการพัฒนาประเทศไทย ในระยะที่ผ่านมา เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มสื่อมวลชนจากหลายประเทศ ที่จะได้นำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ ในประเทศต่าง ๆ ต่อไป ต่อจากนั้นได้กล่าวสรุปถึงการพัฒนาประเทศของไทยในอดีตตั้งแต่เริ่มใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ว่าตลอดระยเวลาที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจมีอัตราการเจิรญเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7.8 ต่อปี และระบบเศรษฐกิจทางด้านการเงินการคลังมีเสถียรภาพโดยเฉพาะมีการจัดทำงบประมาณแบบสมดุล ในขณะเดียวกันมีภาวะเงินเฟ้อและภาระการชำระหนี้ต่ำ จึงส่งผลให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากประเทศ ผู้รับความช่วยเหลือมาเป็น "ประเทศผู้ให้" เพราะระดับรายได้เฉลี่ยของคนในประเทศจัดอยู่ในระดับกลาง ทั้งนี้ในปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆประมาณ 350 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ ในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างการส่งออก ที่เปลี่ยนจากการนำทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานขั้นต่ำมาใช้เป็นฐานการผลิต มาเป็นการใช้แรงงานที่มีฝีมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่และได้เปลี่ยนจากการส่งสินค้าประเภทข้าว ยางพารา ดีบุก ข้าวโพด ปอ มันสำประหลัง และไม้สักเป็นหลัก มาเป็นการส่งออกสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องนุ่งห่ม ยางพารา รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง กุ้งแช่แข็ง เครื่องประดับ ข้าว พลาสติก และน้ำตามในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาที่ผ่านมาว่าในอดีตการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาประเทศได้ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ ยังเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจาย รายได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันรายได้ของประชากรในกรุงเทพและปริมณฑล มีอัตราสูงกว่าประชากรในภูมิภาคประมาณ 10 เท่า ซึ่งปัญหาการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในอนาคต
รองเลขาธิาการฯ ได้ชี้ด้วยว่า ในปัจจุบันค่านิยมของสังคมไทยได้เปลี่ยนไป เนื่องจากเกิดการแข่งขันกันเพื่อสร้างความมั่งคั่งในด้านรายได้ ทำให้คนไทยและสังคมไทยมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้นก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมของคนในสังคม เช่น ความย่อหย่อนใน ศีลธรรม จริยธรรม การขาดระเบียบวินัย นอกจากนี้สภาพบีบคั้นทางจิตใจของคนในสังคมอันเกิดจากความแออัดของชุมชนเมืองสภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง ล้วนได้ส่งผลให้คนไทยป่วยเป็นโรค ที่เกิดจากความเครียดมาดขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า ในการวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งจะประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2539 นี้ ประเทศไทยได้คำนึงถึงประสบการณ์จากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ดังนั้นแทนที่จะยึดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงได้หันมาเน้น "คน" เป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคนเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ 9 ประการ คือ
- ให้คนไทยทุกคนเกิดาความภูมิใจในความเป็นไทย โดยมุ่งรักษาวัฒนธรรมประเพณี และเอกลักษณ์ของชาติที่ดีงามไว้
- เป็นประเทศที่มีความสงบสุข และได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนในประเทศอื่น ๆ
- ทุก ๆ คนในประเทศมีโอกาสได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
- มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถ้วนทั่ว
- ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจสังคม และการเมือง ทุกเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
- เสริมสร้างให้เป็นสังคมที่มีศีลธรรม จริยธรรม อันประกอบด้วยครอบครัวที่มีความอบอุ่นและชุมชนที่เข้มแข็ง
- สร้างระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เข้มแข็ง พร้อมที่จะแข่งขันได้และให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
- ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการผลิต การท่องเที่ยว และสาขาบริการในภูมิภาคแถบนี้
- ส่งเสริมให้มีสถาบันประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ภาครัฐมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพมีการบริหารงานแบบรวมส่วน และมีการร่วมมือกันทุกฝ่ายในทุกระดับของการดำเนินงาน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 8 / สิงหาคม 2539--
รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวต้อนรับคณะสื่อมวลชนดังกล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มีโอกาสนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมรวมตลอดถึงการพัฒนาประเทศไทย ในระยะที่ผ่านมา เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มสื่อมวลชนจากหลายประเทศ ที่จะได้นำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ ในประเทศต่าง ๆ ต่อไป ต่อจากนั้นได้กล่าวสรุปถึงการพัฒนาประเทศของไทยในอดีตตั้งแต่เริ่มใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ว่าตลอดระยเวลาที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจมีอัตราการเจิรญเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7.8 ต่อปี และระบบเศรษฐกิจทางด้านการเงินการคลังมีเสถียรภาพโดยเฉพาะมีการจัดทำงบประมาณแบบสมดุล ในขณะเดียวกันมีภาวะเงินเฟ้อและภาระการชำระหนี้ต่ำ จึงส่งผลให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากประเทศ ผู้รับความช่วยเหลือมาเป็น "ประเทศผู้ให้" เพราะระดับรายได้เฉลี่ยของคนในประเทศจัดอยู่ในระดับกลาง ทั้งนี้ในปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆประมาณ 350 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ ในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างการส่งออก ที่เปลี่ยนจากการนำทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานขั้นต่ำมาใช้เป็นฐานการผลิต มาเป็นการใช้แรงงานที่มีฝีมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่และได้เปลี่ยนจากการส่งสินค้าประเภทข้าว ยางพารา ดีบุก ข้าวโพด ปอ มันสำประหลัง และไม้สักเป็นหลัก มาเป็นการส่งออกสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องนุ่งห่ม ยางพารา รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง กุ้งแช่แข็ง เครื่องประดับ ข้าว พลาสติก และน้ำตามในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาที่ผ่านมาว่าในอดีตการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาประเทศได้ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ ยังเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจาย รายได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันรายได้ของประชากรในกรุงเทพและปริมณฑล มีอัตราสูงกว่าประชากรในภูมิภาคประมาณ 10 เท่า ซึ่งปัญหาการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในอนาคต
รองเลขาธิาการฯ ได้ชี้ด้วยว่า ในปัจจุบันค่านิยมของสังคมไทยได้เปลี่ยนไป เนื่องจากเกิดการแข่งขันกันเพื่อสร้างความมั่งคั่งในด้านรายได้ ทำให้คนไทยและสังคมไทยมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้นก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมของคนในสังคม เช่น ความย่อหย่อนใน ศีลธรรม จริยธรรม การขาดระเบียบวินัย นอกจากนี้สภาพบีบคั้นทางจิตใจของคนในสังคมอันเกิดจากความแออัดของชุมชนเมืองสภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง ล้วนได้ส่งผลให้คนไทยป่วยเป็นโรค ที่เกิดจากความเครียดมาดขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า ในการวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งจะประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2539 นี้ ประเทศไทยได้คำนึงถึงประสบการณ์จากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ดังนั้นแทนที่จะยึดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงได้หันมาเน้น "คน" เป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคนเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ 9 ประการ คือ
- ให้คนไทยทุกคนเกิดาความภูมิใจในความเป็นไทย โดยมุ่งรักษาวัฒนธรรมประเพณี และเอกลักษณ์ของชาติที่ดีงามไว้
- เป็นประเทศที่มีความสงบสุข และได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนในประเทศอื่น ๆ
- ทุก ๆ คนในประเทศมีโอกาสได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
- มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถ้วนทั่ว
- ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจสังคม และการเมือง ทุกเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
- เสริมสร้างให้เป็นสังคมที่มีศีลธรรม จริยธรรม อันประกอบด้วยครอบครัวที่มีความอบอุ่นและชุมชนที่เข้มแข็ง
- สร้างระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เข้มแข็ง พร้อมที่จะแข่งขันได้และให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
- ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการผลิต การท่องเที่ยว และสาขาบริการในภูมิภาคแถบนี้
- ส่งเสริมให้มีสถาบันประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ภาครัฐมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพมีการบริหารงานแบบรวมส่วน และมีการร่วมมือกันทุกฝ่ายในทุกระดับของการดำเนินงาน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 8 / สิงหาคม 2539--