เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พร้อมผู้บริหารและคณะเจ้าหน้าที่ สศช.ได้ให้การต้อนรับในโอกาสที่เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย H.E. Bernard Girroux เดินทางมาเยือนสำนักงานฯ
ภายหลังจากพิธีการต้อนรับดังกล่าว เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "แนวนโยบายของแคนาดาต่อวิกฤติการณ์ในเอเชีย" แก่เจ้าหน้าที่สศช.ว่า ประเทศแคนาดามีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก มาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ เช่น การร่วมมือกันของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นโดยใช้ชื่อว่า เอเปค (APEC : Asia - Pacific Economic Cooperation) เป็นต้น
เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทยได้กล่าวต่อไปว่า กลุ่มเอเปคนี้ได้จัดการประชุมเพื่อร่วมมือกันเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมาแล้วหลายครั้ง และในครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 รัฐบาลแคนาดารับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมขึ้นที่เมืองแวนคูเวอร์ ซึ่งในที่ประชุมดังกล่าว ทุกประเทศในภาคีได้ตระหนักเป็นอย่างดีถึงการกระชับความสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รวมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ดังนั้น จึงเป็นที่คาดหมายว่ากลุ่มประเทศเอเปคจะเป็นหัวเรือใหญ่สำหรับการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย
ในส่วนของประเทศแคนาดานั้น เอกอัครราชทูต กล่าวว่ารัฐบาลแคนาดาได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศไทยโดยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF : Internationa Monetary Fund) เป็นจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลแคนาดามั่นใจว่ารัฐบาลไทยจะสามารถดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้จนประสบผลเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้รัฐบาลแคนาดายังร่วมมือกับประเทศในกลุ่มเอเปคและกลุ่มประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจ 8 ประเทศ หรือ G8 เพื่อปรับปรุงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้กำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานทางการเงินของทุกฝ่ายมีความโปร่งใสและชัดเจนยิ่งขึ้น ในส่วนภาคเอกชนของแคนาดาที่ได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยนั้น ยังคงมั่นใจในโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยและในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาก็ยังไม่ปรากฎว่ามีบริษัทจากประเทศแคนาดารายใดที่ล้มเลิกและปิดกิจการลงเลย
H.E. Bernard Giroux กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ถึงแม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ขยายตัวเป็นวงกว้างและคาดว่าอาจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นยุคที่ทุกประเทศทั่วโลกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและยังร่วมรับผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น การจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าวจึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายทุกประเทศทั่วโลก ทั้งการเจรจาในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคีเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 6/มิถุนายน 2541--
ภายหลังจากพิธีการต้อนรับดังกล่าว เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "แนวนโยบายของแคนาดาต่อวิกฤติการณ์ในเอเชีย" แก่เจ้าหน้าที่สศช.ว่า ประเทศแคนาดามีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก มาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ เช่น การร่วมมือกันของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นโดยใช้ชื่อว่า เอเปค (APEC : Asia - Pacific Economic Cooperation) เป็นต้น
เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทยได้กล่าวต่อไปว่า กลุ่มเอเปคนี้ได้จัดการประชุมเพื่อร่วมมือกันเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมาแล้วหลายครั้ง และในครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 รัฐบาลแคนาดารับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมขึ้นที่เมืองแวนคูเวอร์ ซึ่งในที่ประชุมดังกล่าว ทุกประเทศในภาคีได้ตระหนักเป็นอย่างดีถึงการกระชับความสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รวมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ดังนั้น จึงเป็นที่คาดหมายว่ากลุ่มประเทศเอเปคจะเป็นหัวเรือใหญ่สำหรับการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย
ในส่วนของประเทศแคนาดานั้น เอกอัครราชทูต กล่าวว่ารัฐบาลแคนาดาได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศไทยโดยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF : Internationa Monetary Fund) เป็นจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลแคนาดามั่นใจว่ารัฐบาลไทยจะสามารถดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้จนประสบผลเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้รัฐบาลแคนาดายังร่วมมือกับประเทศในกลุ่มเอเปคและกลุ่มประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจ 8 ประเทศ หรือ G8 เพื่อปรับปรุงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้กำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานทางการเงินของทุกฝ่ายมีความโปร่งใสและชัดเจนยิ่งขึ้น ในส่วนภาคเอกชนของแคนาดาที่ได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยนั้น ยังคงมั่นใจในโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยและในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาก็ยังไม่ปรากฎว่ามีบริษัทจากประเทศแคนาดารายใดที่ล้มเลิกและปิดกิจการลงเลย
H.E. Bernard Giroux กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ถึงแม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ขยายตัวเป็นวงกว้างและคาดว่าอาจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นยุคที่ทุกประเทศทั่วโลกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและยังร่วมรับผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น การจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าวจึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายทุกประเทศทั่วโลก ทั้งการเจรจาในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคีเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 6/มิถุนายน 2541--