(ต่อ3)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2550 - 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 7, 2007 14:34 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่ปี 2550
- ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ปัจจัยสนับสนุนมีมากกว่าปัจจัยเสี่ยง โดยที่ปัจจัยสนับสนุนนั้น ประกอบด้วย ความแน่นอนทางการเมืองและการจัดการเลือกตั้ง อัตราดอกเบี้ยต่ำ การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและนักธุรกิจที่ดีขึ้น รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลที่จะได้ตามเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 22.5 (เป้าหมายการเบิกจ่ายจำนวน 373,500 ล้านบาท)
- ในไตรมาสสุดท้ายการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวใน 2 เดือนสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.7 ในเดือนตุลาคม จะทำให้การส่งออกรวมในไตรมาสสุดท้ายยังขยายตัวได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกับในไตรมาสสาม สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นตามภาวะการลงทุน โดยภาพรวมจึงคาดว่าอุปสงค์ภายในที่ปรับตัวดีขึ้นจะชดเชยผลกระทบจากการส่งออกชะลอตัวใน 2 เดือนสุดท้ายได้
3. คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2550: ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5
- สศช. คาดว่าทั้งปี 2550 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 จากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ใน 3 ไตรมาสแรกและแนวโน้มในไตรมาสสุดท้ายที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ภายใต้สมมุติฐานกรณีสูงที่ สศช. ได้ประมาณการไว้แล้วในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 3 กันยายน ที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องปัจจัยเศรษฐกิจโลก การเบิกจ่ายของรัฐบาล และการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน สำหรับราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยนั้นสูงกว่าที่คาดไว้เดิมเล็กน้อย แต่แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อไม่มากนักเนื่องจากโครงสร้างการใช้น้ำมันปรับตัวดีขึ้นและค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้สามารถปรับตัวในช่วงราคาน้ำมันสูงได้ดีขึ้น
- เสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับร้อยละ 2.3 อัตราการว่างานเท่ากับร้อยละ 1.5 และดุลบัญชี
เดินสะพัดเกินดุลสูง 14,500 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 6.0 ของ GDP
4. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2551
4.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2551: มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงจากร้อยละ 4.8 ในปี 2550
เศรษฐกิจโลกในปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงจากร้อยละ 4.8 ในปี 2550 โดยคาดว่าเศรษฐกิจหลักเช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน จะอยู่ในช่วงของการชะลอตัว เศรษฐกิจและการเงินโลกโดยรวมยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหา Sub-prime ที่จะยังยืดเยื้อในปี 2551 การเปลี่ยนแปลงในค่าเงินสกุลหลัก และปัญหาเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นตั้งแต่ช่วง
ครึ่งหลังของปี 2550 ที่ทำให้การตัดสินใจด้านนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจมีความยากลำบากขึ้นรวมทั้งยังมีความเสี่ยงในเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน
เศรษฐกิจอเมริกาคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ค่อนข้างทรงตัวจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปี 2550 แต่ต่ำกว่าศักยภาพการเจริญเติบโตระยะยาวเป็นปีที่ 2 ทำให้ความต้องการนำเข้าของสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มลดลงและในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงช่วยสนับสนุนการส่งออก จึงคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ จะปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สำหรับเศรษฐกิจกลุ่มยุโรปคาดว่าจะชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 2.4 ในปี 2551 เนื่องจากการชะลอตัวของความต้องการสินค้าในตลาดสหรัฐฯ ผลกระทบจากการที่ค่าเงินยูโรที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่า
ขึ้น และผลกระทบจากการปรับตัวของภาคการเงินที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา sub-prime มากกว่าในภูมิภาคอื่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวเช่นกันเนื่องจากมีความเสี่ยงด้านการส่งออกภายใต้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯ และยุโรปในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ
เศรษฐกิจกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวได้ดีจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการค้าภายในภูมิภาคที่จะช่วยชดเชยผลกระทบการชะลอตัวของภาคการส่งออกที่เป็นผลมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจีนและอินเดียคาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย จากร้อยละ 11.5 และ 8.9 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 10.6 และ 8.4
ตามลำดับในปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามในการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 และส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียโดยภาพรวมชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2550
การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาอาหารส่งผลให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อของโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบจากปัญหา sub-prime ที่ยังยืดเยื้อจะทำให้ธนาคารกลางในประเทศพัฒนาแล้วดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวังในปี 2551 และเตรียมพร้อมในด้านสภาพคล่องทางการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจหากผลกระทบของความผันผวนของภาคการเงินต่อภาคเศรษฐกิจจริงเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าสหรัฐอเมริกาจะยังดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ส่วนประเทศพัฒนาแล้วในภูมิภาคยุโรปและญี่ปุ่น คาดว่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินจนกว่าปัญหาด้านเงินเฟ้อจะมีความชัดเจนและความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหา Sub-prime จะผ่อนคลายลง อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ
ประเทศอาจดำเนินนโยบายการเงินในลักษณะตึงตัวมากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2550 และป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว ความแตกต่างทางด้านอัตราดอกเบี้ย และการอ่อนตัวของค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในปี 2551 ซึ่งจะสร้างแรงกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแข็งค่าขึ้น และมีผลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในการลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อสำ หรับประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่นอกจากนั้นค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงที่ผ่านมาคาดว่าจะมีผลกระทบต่อทิศทางการค้าโลกมากขึ้น โดยคาดว่าอุปสงค์ภายในประเทศของเศรษฐกิจอเมริกาจะอยู่ในภาวะอ่อนตัวและการส่งออกสุทธิเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้าในประเทศอื่น ๆ จะเพิ่มขึ้นและมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
(1) เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ในปี 2551 ยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบจากปัญหา sub-prime โดยเฉพาะผลกระทบต่อการลงทุนในภาคการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และผลจากการราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อความมั่งคั่งและการบริโภคภาคเอกชน ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าการปรับตัวของเศรษฐกิจต่อปัญหา sub-prime ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและราคาที่อยู่อาศัยยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ในกรณีที่ไม่มีความ
เสียหายในภาคการเงินเพิ่มเติม แล้วคาดว่าผลกระทบของปัญหา sub-prime ต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะมีความชัดเจนมากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ซึ่งคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจในปี 2551 ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.9 เท่ากับปี 2550 โดยที่การลงทุนและการบริโภคมีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตามค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวจะทำให้การส่งออกสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น และชดเชยผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศได้บางส่วน และคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มปรับตัวดีโดยลำดับจากขาดดุลร้อยละ 6.2 ของ GDP ในปี 2549 เป็น
ประมาณร้อยละ 5.5 ในปี 2551 การปรับตัวของราคาในหมวดที่อยู่อาศัยและแนวโน้มการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อซึ่งคาดว่าจะชะลอตัวลง และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกรณีที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้
(2) กลุ่มประเทศยุโรป (13 ประเทศ) คาดว่าความเสียหายในภาคการเงินอยู่ในขอบเขตจำ กัดในขณะที่ระบบการเงินปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การขยายตัวในเกณฑ์ต่ำของสหรัฐอเมริกาและการแข็งค่าของค่าเงิน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของ
ประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มนี้ นอกจากนั้นความเสียหายในภาคการเงินในปี 2550 คาดว่าจะทำให้ระบบสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภาคการก่อสร้างและการบริโภค และส่งผลให้เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรป มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.0 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 1.7 ในปี 2551 ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางมีความระมัดระวังในการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อลดแรงกดดันด้านภาวะเงินเฟ้อมากขึ้นจนกว่าแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อจะมีความชัดเจนและความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาความเสียหายในภาคการเงินจะผ่อนคลายลง คาดว่า
อัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ใกล้เคียงกับปี 2550 ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.2 ของ GDP ในปี2550 เป็นประมาณร้อยละ 0.4 ในปี 2551
(3) เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวเช่นกันเนื่องจากการส่งออกซึ่งเป็นสาขาที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมานั้นมีความเสี่ยงมากขึ้นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯ และยุโรปในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ โดยที่การลงทุนในด้านการก่อสร้างทั้งประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารประเภทอื่น ๆ ได้ลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากกฎเกณฑ์และมาตรฐานอาคารที่เข้มงวดมากขึ้นนอกจากนี้การฟื้นตัวของภาคธุรกิจเอกชนในช่วงที่ผ่านมายังไม่ได้มีผลในการกระตุ้นการใช้จ่ายและการเพิ่มค่าจ้างแรงงาน จึงทำให้ยังมีปัญหาเรื่องภาวะเงินฝืด
แม้ว่าปัญหานี้จะคลี่คลายลงบ้างแล้วก็ตาม จึงคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในช่วงครึ่งแรกของปี สำหรับในปี 2551 นี้คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากร้อยละ 2.0 ในปี 2550
(4) เศรษฐกิจจีน ในปี 2551 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้สูงต่อเนื่องร้อยละ 10.6 โดยยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากการขยายตัวของการจ้างงานซึ่งส่งผลให้รายได้ปรับสูงขึ้นประกอบกับ
ระบบบริการประกันสังคมที่ดีขึ้น ดุลการค้ามีแนวโน้มเกินดุลลดลง เนื่องจากเลิกการคืนภาษีส่งออก ซึ่งทำให้อัตราภาษีส่งออกที่แท้จริงเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าแรงกดดันด้านภาวะเงินเฟ้อจะเริ่มผ่อนคลายลง ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดในช่วงที่ผ่านมาอย่างไรก็ดีการคาดการณ์เงินเฟ้อยังคงมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสภาพอากาศที่อาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับมีความเป็นไปได้ในการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมทางด้านสาธารณูปโภคนอกจากนี้สภาพคล่องส่วนเกินที่อยู่ในระดับสูงและเป็นปัจจัยผลักดันให้ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวมากในช่วงที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความกังวลว่ากรณีที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจะส่งผลกระทบต่อฐานะการ
ดำเนินงานของธนาคารเนื่องจากปัญหาความไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ได้
(5) เศรษฐกิจกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้นจากปี 2550 ได้แก่ มาเลเซียอินโดนีเซีย และเวียดนาม เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งซึ่งเป็นผลของการดำเนินนโยบาย
การเงินและการคลังที่ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า การส่งออกจะยังคงขยายตัวได้จากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเศรษฐกิจจีนและอินเดียที่ยังคงขยายตัวสูงสามารถรองรับปริมาณการค้าภายในภูมิภาคได้ แต่ส่วนหนึ่งจะได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำ มัน ที่คาดว่าจะเริ่มปรับตัวลดลงเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ในขณะที่การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวสูง และอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้โดยภาพรวมดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลน้อยลง
4.2 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2551: เงื่อนไขเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแต่มีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ประเด็นหลัก
- ในปี 2551 เศรษฐกิจไทยมีโอกาสที่จะขยายตัวได้สูงกว่าในปี 2550 และมีความสมดุลมากขึ้น จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรัฐบาลภายใต้กรอบนโยบายการคลังขาดดุลที่ขาดดุลสูงกว่าในปี 2550 และความคืบหน้าของการลงทุนรัฐวิสาหกิจในระบบรถไฟขนส่งมวลชน ซึ่งรวมแล้วการเร่งตัวขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศจะสามารถชดเชยผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกได้
- ปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นทั้งสถานการณ์ด้านการเมือง ความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยที่จะมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันได้เกือบตลอดปี ฐานรายได้ของประชาชนปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่มทั้งรายได้เกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าเกษตรหลักที่สูงขึ้น การปรับเพิ่มเงินเดือนภาคราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีผลเต็มที่ในปี 2551 และรายได้กลุ่มที่จะได้รับการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 1-7 บาทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นไป แต่สำ หรับผลการดำเนินงานของภาคธุรกิจเอกชนนั้นจะยังอยู่ในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่ผลกระทบจากค่าเงินบาทนั้นจะมีน้อยกว่าในปี 2550 เนื่องจากคาดว่าค่าเงินจะแข็งค่าขึ้นอีกไม่มาก
- ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2551 สำหรับเศรษฐกิจไทย คือปัญหาราคาน้ำมัน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจจะชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้เนื่องจากเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ คือ (i) ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและผันผวนได้ง่ายจากผลกระทบด้านการผลิต เนื่องจากพื้นฐานตลาดมีความตึงตัวอยู่แล้ว (ii) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ(geopolitics) โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน และ (iii)
ปัญหาหนี้อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพในสหรัฐฯ ที่ยังยืดเยื้อไปในปี 2551 รวมทั้งผลกระทบต่อเนื่องถึงตลาดเงินและตลาดสินค้าของประเทศในเอเชียและยุโรป ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้จะกระทบทั้งความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจ และมีผลกระทบแท้จริงผ่านทางต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและความต้องการสินค้าและบริการที่ชะลอลง ในกรณีที่ความเสี่ยงดังกล่าวสูงกว่าที่คาดไว้ การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนจะฟื้นตัวช้า ในขณะที่การส่งออกก็มีโอกาสที่จะชะลอตัวมาก และทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ช้ากว่าในปี 2550
- ในปี 2551 ประสิทธิภาพการใช้พลังงานมีแนวโน้มดีขึ้นและการใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซลก๊าซเอ็นจีวี จะเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวในภาวะที่ราคาพลังงานสูงได้ดีขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้รถยนต์จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้รถยนต์
ประหยัดพลังงานและรถยนต์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะมีแรงกระตุ้นจากมาตรการการลดหย่อนภาษีรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน (ECO Car) และรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น โดยที่ผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่าง ๆ ก็ได้เตรียมกำลังการผลิตและมีความพร้อมในการที่นำรถยนต์ประเภทดังกล่าวออกสู่ตลาด อาทิ บริษัทฮอนด้า ทาทามอร์เตอร์สและฟอร์ดโฟกัส เป็นต้น นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นก็มีส่วนช่วยในการลดผลกระทบจากราคาน้ำมัน
4.2.1 ปัจจัยบวกสำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2551
(1) ความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะจากสถานการณ์ด้านการเมืองที่มีความแน่นอนมากขึ้นการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จะเห็นว่าความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจได้เริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคมและต่อเนื่องในเดือนกันยายน เนื่องจากผู้ประกอบการพิจารณาว่าปัจจัยต่าง ๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น อาทิอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดต่ำ ลง อัตราแลกเปลี่ยนมี
เสถียรภาพมากขึ้น และสถานการณ์ด้านการเมืองที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นสำหรับผู้บริโภคนั้นในภาพรวมความเชื่อมั่นนับว่าค่อนข้างทรงตัวตั้งแต่เดือน
กรกฎาคม แต่มุมมองเกี่ยวกับอนาคตเริ่มปรับดีขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมเช่นกัน
(2) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2551 ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94 และเร่งรัดการดำ เนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ในปีงบประมาณ 2551 กรอบวงเงินงบประมาณรัฐบาลมีจำนวน 1,660,000 ล้านบาท(A) เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ
2550 ร้อยละ 6.0 โดยเป็นรายจ่ายประจำ 1,209,546.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 รายจ่ายลงทุนจำนวน 404,677.3 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 โดยกำหนดกรอบการขาดดุลงบประมาณจำนวน 165,000 ล้านบาทสำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจนั้นคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติกรอบวงเงินเบิกจ่ายการลงทุนจำนวน 289,756 ล้านบาทและรวมกรอบการลงทุนของ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) อีกจำนวน 53,581 ล้านบาท โดยที่ได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 90 ซึ่งการลงทุนสำ คัญที่ต้องเร่งรัด คือ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟรางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรี
ราชา-แหลมฉะบัง การจัดซื้อเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการสายส่งไฟฟ้าซึ่งรวมกันเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท
(3) อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินในปี 2551 จะทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงปัจจุบันและคาดว่าจะยังไม่มีแรงกดดันที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.25 อัตราเงินกู้ลูกค้าชั้นดีแบบมีระยะเวลา(MLR) เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ใหญ่ 5 แห่งเท่ากับร้อยละ 6.99 ลดลงจากร้อยละ 7.63 ณ สิ้นไตรมาสแรก
และร้อยละ 7.13 ณ สิ้นไตรมาสที่สอง สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนได้มีการปรับลดลงตามลำดับเป็นเฉลี่ยร้อยละ 2.31 ในเดือนตุลาคม จากร้อยละ 2.38 ณ สิ้นไตรมาสที่สอง และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนลดลงเป็นเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.125 และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคมทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเริ่มติดลบเล็กน้อย และอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจะทำ
ให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงลดลง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้ดีขึ้นโดยเฉพาะเมื่อความเชื่อมั่นของประชาชนปรับตัวดีขึ้น
หมายเหตุ (A) รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้อีกจำนวน 45,775.9 ล้านบาท
(4) รายได้ที่แท้จริงของประชาชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อจึงทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงยังเพิ่มขึ้น จากการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ(B) และค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับกลุ่มลูกจ้างวันละ 1 — 7 บาท จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2551 รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรสำคัญยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นจึงคาดว่าปัจจัยสำคัญทั้ง ความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น รายได้ที่แท้จริงที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยต่ำ จะกระตุ้นให้การใช้จ่ายครัวเรือนฟื้นตัวได้ดีขึ้นในปี 2551
หมายเหตุ (B) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเรื่องการปรับเพิ่มค่าตอบแทนราชการอีกประมาณร้อยละ 4 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยได้เตรียมงบประมาณในระยะเวลา 1 ปีไว้จำนวน 23,960 ล้านบาทซึ่งรวมทั้งการปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคคลากรภาคราชการ สำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนรัฐวิสาหกิจนั้น คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครส.) มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2550 ให้ขึ้นเงินเดือนรัฐวิสาหกิจไม่เกินร้อยละ 4 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว และประกาศให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม
(5) การจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งจะสนับสนุนรายได้ของประชาชนการจ้างงานเฉลี่ยในช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 โดยที่จำนวนการทำงานต่ำระดับต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2549 และมีอัตราการว่างงาน
เฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.5 และมีอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ยังขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ
(6) โครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้วในปี 2549 และ 2550 ซึ่งคาดว่าจะมีความพร้อมและดำเนินการลงทุนได้ในปี 2551 นั้นมีจำนวนมากโดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน จำนวน 1,126 ราย วงเงินลงทุน 583.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 213.7 โดยมีการกระจายการลงทุนเพิ่มขึ้นในทุกประเภทกิจการ ได้แก่ กลุ่มเคมี กระดาษ และพลาสติกเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.1 กลุ่มบริการและสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 359.5 กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 95.7 กลุ่มเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,431.0 กลุ่มเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 124.7 และอุตสาหกรรมเบาเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.3 ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 72 ของเงินวงลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมเป็นเงินลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 78 โครงการ ได้แก่ การผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานและการขยายการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่เพื่อส่งออก การผลิตเอทานอล การผลิตปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ การผลิตไฟฟ้า กิจการสำหรับขนถ่ายสินค้าหรับเรือเดินทะเล การผลิตหัวอ่านข้อมูล (Hard
disk drive) แผงวงจรไฟฟ้า กิจการโรงแรม และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
(ยังมีต่อ).../4.2.2 ปัจจัยเสี่ยง/..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ