ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 - 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 20, 2023 10:22 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่สองของปี 2566 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาสที่สองของ ปี 2566 ร้อยละ 0.8 (%QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของ ปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9

ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้า การอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์สูง สาขาเกษตรกรรม สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขา การก่อสร้างขยายตัว ส่วนสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก การขยายตัว ในเกณฑ์ดีของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัว อย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 2.8 ตามลาดับ มูลค่า การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.8 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 - 2.7 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2566 และในปี 2567 ควรให้ความสาคัญกับ (1) การดาเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของประเทศ (2) การเตรียมมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบและใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (3) การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้าให้กลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดย (i) การเร่งรัดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังขยายตัวดี และการสร้างตลาดใหม่ (ii) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก (iii) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (iv) การอานวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก (v) การป้องกันและแก้ไขปัญหากีดกันทางการค้าโดยเฉพาะมาตรการที่ไม่ใช่ทางภาษี (vi) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการ ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (vii) การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของการผลิตสินค้า และ (viii) การเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางของประเทศ (4) การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกให้กลับมาขยายตัว (ii) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ให้เกิดการลงทุนจริง และเร่งอนุมัติโครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุน (iii) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้เริ่มประกอบกิจการได้เร็วขึ้น (iv) การแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่สาคัญต่อการลงทุน (v) การดาเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกผ่านยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน (vi) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และ (vii) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามแผนที่กาหนด (5) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย (i) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ LTR (ii) การติดตามประเมินผลมาตรการการยกเว้นการตรวจลงตรานักท่องเที่ยว (iii) การกระจายตลาดนักท่องเที่ยวให้สมดุล (iv) การส่งเสริมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น (v) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง และ (vi) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง (6) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดย (i) การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง (ii) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านระบบประกันภัยพืชผล (iii) การเพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้าย (iv) การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มและผลิตภาพการผลิต และ (v) การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ย วัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ และ (7) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจาก การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดย (i) การเร่งรัดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้ (ii) การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2567 ไม่ให้ล่าช้ากว่า ที่คาด (iii) การเตรียมโครงการให้มีความพร้อมสาหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายได้โดยเร็ว และ (iv) การติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 - 2567

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่สองของปี 2566 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้า การอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์สูง สาขาเกษตรกรรม สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และสาขาการก่อสร้างขยายตัว ส่วนสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาสที่สองของ ปี 2566 ร้อยละ 0.8 (%QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566

1) การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ไตรมาส ตามการขยายตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายในเกือบทุกหมวด สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของการจ้างงานและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 15.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 13.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ไตรมาส ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มบริการทางการเงินร้อยละ 36.9 และร้อยละ 10.6 ตามลาดับ การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.2 เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนทรงตัว เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และการลดลงของยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ สาหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 51.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับความเชื่อมั่นที่สูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ตามการลดลงของรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสาหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดร้อยละ 38.6 ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) และค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.5 ตามลาดับ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.3 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภครัฐบาลลดลงร้อยละ 5.2

2) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 1.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 3.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 2.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น และการลงทุนรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 1.4 ตามลาดับ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.2 ขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.5 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

3) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 70,405 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 2.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 3.1 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น น้าตาล (ลดลงร้อยละ 3.7) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 2.7) ผลิตภัณฑ์โลหะ (ลดลงร้อยละ 3.9) อาหาร (ลดลงร้อยละ 6.2) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 33.8) เคมีภัณฑ์และ ปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 12.7) และชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 32.7) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 40.6) ทุเรียน (ร้อยละ 87.8) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 16.4) รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 20.9) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สาหรับยานยนต์ (ร้อยละ 6.3) และรถกระบะและรถบรรทุก (ร้อยละ 14.0) เป็นต้น เมื่อหักการส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 1.8 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 5.3

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 210,473 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 5.1 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1

4) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ขยายตัวร้อยละ 0.9 ชะลอลงจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตหมวดพืชผลสาคัญ โดยเฉพาะปาล์มน้ามัน มันสาปะหลัง ข้าวเปลือก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขณะเดียวกันผลผลิตหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 5.6) สุกร (ร้อยละ 10.3) และกุ้งขาวแวนนาไม (ร้อยละ 4.6) เป็นต้น ส่วนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรสาคัญที่ลดลง เช่น ปาล์มน้ามัน (ลดลงร้อยละ 16.8) มันสาปะหลัง (ลดลงร้อยละ 22.9) และข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 3.2) เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 1.8 ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสาคัญ ๆ เช่น สุกร (ลดลงร้อยละ 32.4) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 14.6) ปาล์มน้ามัน (ลดลง ร้อยละ 13.2) และไก่เนื้อ (ลดลงร้อยละ 8.3) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรสาคัญ ๆ หลายรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ราคาข้าวเปลือก (ร้อยละ 21.6) และราคากลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 4.4) เป็นต้น การลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.9

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

5) สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 4.0 ต่อเนื่องจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของทุกกลุ่มการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญ สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 6.2 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 14.7 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 6.5 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 1.0 สาหรับอัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 58.01 สูงกว่าร้อยละ 57.64 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ากว่าร้อยละ 62.76 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 29.0) ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ลดลงร้อยละ 14.9) และยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 5.1) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น น้าตาล (ร้อยละ 36.6) สายไฟฟ้าและเคเบิลสาหรับงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ (ร้อยละ 22.3) และพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 3.2) เป็นต้น

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 สาขาการผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 3.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และอัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.83 เทียบกับร้อยละ 63.57 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

6) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ยังคงขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 14.9 ต่อเนื่องจากร้อยละ 15.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 7.1 ล้านคน ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยว ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 2.48 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 ร้อยละ 76.8 ส่วนการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย จานวน 59.44 ล้านคน-ครั้ง ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 18.2 สร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย ทั้งสิ้น 1.89 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 19.9 ส่งผลให้รายรับรวมจากการท่องเที่ยว อยู่ที่ 4.38 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.7 สาหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 66.16 ต่ากว่าร้อยละ 66.93 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 49.96 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 21.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจานวน 20.0 ล้านคน และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 67.78

7) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 10 ร้อยละ 3.3 ต่อเนื่องจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาคบริการท่องเที่ยว สอดคล้องกับดัชนีการขายส่ง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในขณะที่ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.4 และดัชนีการขายปลีกลดลงร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของหมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ อาทิ การขายปลีกในร้านค้าทั่วไป และการขายปลีกอาหาร ส่วนหมวดการขายปลีกในร้านค้าทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขายปลีกในร้านดิสเคาท์สโตร์/ซุปเปอร์เซ็นเตอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต และการขายปลีกในร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การผลิตสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

8) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ร้อยละ 6.8 แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของบริการขนส่งทางอากาศ (ร้อยละ 27.2) บริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียง (ร้อยละ 6.9) และบริการขนส่งทางน้า (ร้อยละ 0.9) สาหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 6.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวร้อยละ 8.9 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 - 2567

เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP

เศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสาคัญจาก (1) การกลับมาขยายตัวของการส่งออก (2) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และ (3) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 2.8 ตามลาดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.8 สาหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 - 2.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566

ด้านการใช้จ่าย

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน: ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า

และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ไตรมาส ตามการขยายตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายในเกือบทุกหมวด สอดคล้องกับ

การปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของการจ้างงานและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยการใช้จ่าย หมวดบริการ

ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 15.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 13.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัว

สูงสุดในรอบ 4 ไตรมาส ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และ

กลุ่มบริการทางการเงินร้อยละ 36.9 และร้อยละ 10.6 ตามลาดับ การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ

4.2 เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่าย

กลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 3.0 ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนทรงตัว เทียบกับ

การขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขยายตัวร้อยละ

10.1 ชะลอลงจากร้อยละ 20.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงร้อยละ 35.7

เทียบกับการลดลงร้อยละ 26.1 ในไตรมาสก่อนหน้า การขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภค

ภาคเอกชนในไตรมาสนี้ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม

ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับความเชื่อมั่นที่สูงสุด

ในรอบ 15 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 6.5

ในช่วงเดียวกันของปี 2565

การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 3.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุน

ในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า

สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของการนาเข้าสินค้าทุนเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 3.1 ส่วน การลงทุน

ในหมวดการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผล

มาจากการก่อสร้างอาคารประเภทไม่ใช่ที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า

ตามการก่อสร้างโรงงานโดยเฉพาะในเขตนิคมอุตสาหกรรมและการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ส่วนการก่อสร้าง

อาคารประเภทที่อยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อเนื่องจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้น

ของการก่อสร้างที่พักอาศัยโดยเฉพาะในเขตเทศบาล สอดคล้องกับการกลับมาขยายตัวของพื้นที่ได้รับอนุญาต

ก่อสร้างทั่วประเทศและดัชนีการจาหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศร้อยละ 8.7 และร้อยละ 1.1 เทียบกับ

การลดลงร้อยละ 5.7 และร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ สาหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ

ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 49.5 ลดลงจากระดับ 50.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรก

ในรอบ 3 ไตรมาส

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.3

ในช่วงเดียวกันของปี 2565

การส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า

ตามการกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงของการส่งออกสินค้าเกษตร และการลดลงในอัตราที่ชะลอลงของ

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สามของปี 2566 มีมูลค่า 70,405 ล้านดอลลาร์ สรอ.

ลดลงร้อยละ 2.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 3.1

เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงในอัตราที่ชะลอลงของปริมาณการส่งออก

สินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัว ส่วนราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ

1.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเร่งขึ้นของราคาส่งออกสินค้าเกษตร เมื่อหัก

การส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.8 ส่วนการส่งออกในรูปของเงินบาท

มีมูลค่า 2,478 พันล้านบาท ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 5.3

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 210,473 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.1 เทียบกับ

การขยายตัวร้อยละ 10.0 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 5.1 ขณะที่ราคา

ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ด้านการส่งออกในรูปเงินบาทมีมูลค่า 7,273 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับ

การขยายตัวร้อยละ 20.8 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 10.6 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณและราคา

การส่งออกร้อยละ 3.8 และร้อยละ 6.6 ตามลาดับ โดยมูลค่าการส่งออกทุเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.8 จากการส่งออก

ไปยังตลาดจีนเป็นสาคัญ และข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 จากการส่งออกไปยังแอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และมาเลเซีย

เป็นสาคัญ ขณะที่มูลค่าการส่งออกยางพาราลดลงร้อยละ 33.8 จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ เป็นสาคัญ

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 1.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

โดยเป็นการลดลงของปริมาณส่งออกร้อยละ 1.5 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 มูลค่าการส่งออกสินค้า

อุตสาหกรรมสาคัญที่ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 2.7) ผลิตภัณฑ์โลหะ (ลดลงร้อยละ 3.9)

และอาหาร (ลดลงร้อยละ 6.2) ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสาคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ชิ้นส่วน

เครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 40.6) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 16.4) และรถยนต์นั่ง (ร้อยละ 20.9) มูลค่า

การส่งออกสินค้าประมง ลดลงร้อยละ 16.4 ตามการลดลงของปริมาณการส่งออกร้อยละ 17.2 ขณะที่ราคา

ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ กุ้ง, ปู, กั้ง, และล็อบสเตอร์ (ลดลงร้อยละ

19.6) และมูลค่าการส่งออกสินค้าส่งออกอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 8.7 เป็นผลจากการลดลงของมูลค่าการส่งออก

ทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปร้อยละ 9.9 เป็นสาคัญ

ตลาดส่งออก: การส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่กลับมาขยายตัว โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และฮ่องกง เป็นสาคัญ ในขณะที่การส่งออกสินค้าไปยังตลาดอาเซียน (9) สหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง และเกาหลีใต้ ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ร้อยละ 3.4 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องโทรศัพท์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์กึ่งตัวนา ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นสาคัญ การส่งออกไปยังตลาดจีนกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ร้อยละ 4.3 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นสาคัญ การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 2.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นสาคัญ การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 9.0 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นสาคัญ การส่งออกไปยังตลาดฮ่องกงกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ร้อยละ 34.7 ตามการเพิ่มขึ้นของการอัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องโทรศัพท์และส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สันดาปและส่วนประกอบ เป็นสาคัญ การส่งออกไปยังตลาดแอฟริกาใต้ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 48.8 เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องยนต์สันดาปและส่วนประกอบ เป็นสาคัญ เช่นเดียวกับการส่งออก ไปยังตลาดซาอุดีอาระเบียขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ร้อยละ 35.1 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นสาคัญ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (5) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 5.5 (ตามการลดลงของการส่งออกไปยังตลาดมาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นสาคัญ) การส่งออกไปกลุ่มประเทศ CLMV ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 22.0 (ตามการลดลงของการส่งออกไปยังตลาดกัมพูชาและเวียดนาม เป็นสาคัญ) การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป (27) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 9.2 ตามการลดลงของ การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นสาคัญ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหราชอาณาจักรลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 0.4 ตามการลดลงของการส่งออกไก่แปรรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และอากาศยานและส่วนประกอบ เป็นสาคัญ

การนาเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 65,012 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 10.7 ต่อเนื่องจาก

การลดลงร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการผลิตสาขาอุตสาหกรรมและ

การส่งออก โดยปริมาณการนาเข้ารวมลดลงร้อยละ 10.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า

ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 ตามการลดลงของปริมาณการนาเข้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบและสินค้า

ขั้นกลางร้อยละ 10.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนราคานาเข้ารวมลดลงร้อยละ

0.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ หากไม่รวมการนาเข้าทองคา มูลค่าการนาเข้า

ลดลงร้อยละ 7.6 ในรูปของเงินบาท การนาเข้าสินค้ามีมูลค่ารวม 2,286 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.7

เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การนาเข้าสินค้าคิดเป็นมูลค่า 199,982 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.8

โดยปริมาณนาเข้ารวมลดลงร้อยละ 5.7 ขณะที่ราคานาเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ส่วนการนาเข้าในรูปของเงินบาท

มีมูลค่า 6,901 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.3

ในรายหมวด มูลค่าการนาเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางลดลงร้อยละ 14.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ

12.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของปริมาณและราคานาเข้าร้อยละ 10.7 และร้อยละ 3.7 ตามลาดับ

สินค้าสาคัญที่มีมูลค่าการนาเข้าลดลง เช่น น้ามันดิบ เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และวัสดุที่ทาด้วยโลหะ

เป็นต้น มูลค่าการนาเข้าหมวดสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ในไตรมาส

ก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรของภาคเอกชน โดยปริมาณ

การนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ส่วนราคานาเข้าทรงตัวร้อยละ 0.0 สินค้าสาคัญที่มีมูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้น เช่น

ยานยนต์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และมูลค่าการนาเข้าหมวดอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เท่ากับ

ไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน โดยปริมาณและ

ราคานาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และร้อยละ 2.1 ตามลาดับ สินค้าสาคัญที่มีมูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้น เช่น อาหาร

เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์นม และยานพาหนะ เป็นต้น ขณะที่มูลค่าการนาเข้าหมวดสินค้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ

47.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการนาเข้าสินค้ากลุ่มทองคา

(ไม่รวมทองรูปพรรณ) ร้อยละ 55.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

อัตราการค้า (Term of Trade) เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 โดยเป็นผลจากราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ขณะที่ราคานาเข้าลดลงร้อยละ 0.3 ส่งผลให้อัตราการค้าอยู่ที่ระดับ 97.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และระดับ 97.3 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังเป็นอัตราการค้าที่ต่ากว่าระดับ 100 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 อัตราการค้าอยู่ที่ระดับ 96.8 เท่ากับในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากราคาส่งออกและราคานาเข้าซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่ากันร้อยละ 1.1

ดุลการค้า เกินดุล 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าการเกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า และเทียบกับการขาดดุล 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เมื่อคิดในรูปเงินบาทในไตรมาสที่สามของปี 2566 ดุลการค้าเกินดุล 191.8 พันล้านบาท สูงกว่าการเกินดุล 75.1 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า และการขาดดุล 31.5 พันล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 ดุลการค้าเกินดุล 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าการเกินดุล 9.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อคิดในรูปเงินบาท ดุลการค้าเกินดุล 371.3 พันล้านบาท สูงกว่าการเกินดุล 312.3 พันล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง: ขยายตัวร้อยละ 0.9 ชะลอลงจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

ตามการลดลงของผลผลิตหมวดพืชผลสาคัญ โดยเฉพาะปาล์มน้ามัน มันสาปะหลัง ข้าวเปลือก และ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนผลผลิตหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับ

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยผลผลิตสินค้า

เกษตรสาคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ (1) กลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 โดยเฉพาะมังคุด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 310.9)

เนื่องจากต้นมังคุดมีการพักต้นสะสมอาหารในปีก่อน ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออานวย และ ทุเรียน

(เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7) เป็นผลมาจากแรงจูงใจด้านราคาทาให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับสภาพ

อากาศที่เอื้ออานวย (2) สุกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เนื่องจากภาครัฐมีการเฝ้าระวังการระบาดของโรคอหิวาต์

แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) อย่างเข้มงวด ประกอบกับการส่งเสริมและฟื้นฟูการเลี้ยงสุกร

ของเกษตรกรรายย่อย (3) กุ้งขาวแวนนาไม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เนื่องจากเกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี

อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสินค้าเกษตรสาคัญ ๆ บางรายการปรับตัวลดลง เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออานวยต่อ

การเพาะปลูก ได้แก่ ปาล์มน้ามัน (ลดลงร้อยละ 16.8) และข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 3.2) ประกอบกับ

เกษตรกรมีการปรับลดพื้นที่เพาะปลูกจากผลกระทบของสภาพอากาศและต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่

มันสาปะหลัง (ลดลงร้อยละ 22.9) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ลดลงร้อยละ 3.1) ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลง

ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 1.8 ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสาคัญ ๆ เช่น (1) สุกร ลดลง

ร้อยละ 32.4 (2) ยางพารา ลดลงร้อยละ 14.6 (3) ปาล์มน้ามัน ลดลงร้อยละ 13.2 และ (4) ไก่เนื้อ ลดลงร้อยละ

8.3 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสาคัญ ๆ หลายรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ราคาข้าวเปลือก (เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 21.6) ราคากลุ่มไม้ผล (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4) และราคาอ้อย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3) ตามลาดับ การลดลง

ของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.9

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบกับ

การเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ดัชนีราคา

สินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 2.9 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงร้อยละ 1.0

สาขาเกษตรกรรม

การป่าไม้ และการประมง

ขยายตัว ร้อยละ 0.9

ชะลอตัวลง ตามการลดลง

ของผลผลิตหมวดพืชผล

สาคัญ โดยเฉพาะปาล์ม

น้ามัน มันสาปะหลัง

ข้าวเปลือก และข้าวโพด

เลี้ยงสัตว์

ส่วนราคาสินค้าเกษตร

ลดลงส่งผลให้ดัชนีรายได้

เกษตรกรโดยรวมลดลง

ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2

-20

-10

0

10

20

Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3

62 63 64 65 66

(%YoY)

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ดัชนีรายได้เกษตรกร

ที่มา: สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร

รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 0.9

ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตร

ด้านการผลิต

สาขาที่พักแรมและบริการ

ด้านอาหาร และสาขา

การขนส่งและสถานที่เก็บ

สินค้าขยายตัวในเกณฑ์สูง

สาขาเกษตรกรรม

สาขาการขายส่งและ

การขายปลีก การซ่อม

ยานยนต์และจักรยานยนต์

และสาขาการก่อสร้าง

ขยายตัว ส่วนสาขา

การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

ลดลงต่อเนื่อง

สาขาอุตสาหกรรม: ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 4.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในไตรมาส

ก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของทุกกลุ่มการผลิต

โดยเฉพาะกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญ

สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 6.2 โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิต

เพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 14.7 ต่อเนื่องจาก

การลดลงร้อยละ 12.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสินค้าสาคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิต

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงลดลงร้อยละ 29.0 ตามการลดลงของการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk

Drive: HDD) และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 14.9 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 6.5 ต่อเนื่องจาก

การลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสินค้าสาคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตยานยนต์

ลดลงครั้งแรกในรอบ 12 ไตรมาส ร้อยละ 5.1 ตามฐานการผลิตที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะ

การผลิตเพื่อจาหน่ายภายในประเทศของรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ลดลงร้อยละ 29.8

และลดลงร้อยละ 0.2 ตามลาดับ และการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกลดลงร้อยละ 12.1 อย่างไรก็ตาม การผลิต

น้าตาลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 11 ร้อยละ 36.6 ตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากต่างประเทศ และ ดัชนี

ผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลง

ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสินค้า

สาคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้าแร่และน้าดื่ม บรรจุขวดประเภทอื่น ๆ

ลดลงร้อยละ 5.5 และการผลิตน้ามันปาล์มลดลงร้อยละ 7.7 ขณะที่การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 3.2 สาหรับอัตราการใช้กาลังการผลิตในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 58.01

สูงกว่าร้อยละ 57.64 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ากว่าร้อยละ 62.76 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยใน

อุตสาหกรรมสาคัญ 30 รายการ มีการผลิตอุตสาหกรรมที่มีการใช้กาลังการผลิตสูงกว่าร้อยละ 80.00 จานวน 3

รายการ คือ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 87.22) การฆ่าสัตว์ปีกและการผลิตเนื้อสัตว์

ปีกสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง (ร้อยละ 85.28) และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 81.22)

ตามลาดับ ขณะที่การผลิตอุตสาหกรรมที่มีการใช้กาลังการผลิตต่ากว่าร้อยละ 50.00 จานวน 14 รายการ ได้แก่

การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกกึ่งสาเร็จรูปและสาเร็จรูป (ร้อยละ 48.62) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป

(ร้อยละ 48.58) และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 44.98) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า

ขั้นมูลฐาน (ร้อยละ 43.01) และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ (ร้อยละ 42.46) เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ

29.0) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ลดลงร้อยละ 14.9) การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 5.1)

การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 15.3) และการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ยกเว้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า)

(ลดลงร้อยละ 28.7) เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตน้าตาล (ร้อยละ 36.6) การผลิตสายไฟฟ้าและ

เคเบิลสาหรับงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ (ร้อยละ 22.3) การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น

(ร้อยละ 3.2) การผลิตมอลต์และสุราที่ทาจากข้าวมอลต์ (ร้อยละ 8.5) และการผลิตเส้นใยประดิษฐ์ (ร้อยละ

18.7) เป็นต้น

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 3.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ

2.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และอัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.83 เทียบกับร้อยละ 63.57

ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

สาขาที่พักแรมและบริการ

ด้านอาหารขยายตัว

ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 10

ร้อยละ 14.9 โดยมีปัจจัย

สนับสนุนจาก

การขยายตัวในเกณฑ์สูง

ของจานวนนักท่องเที่ยว

ต่างประเทศ

และการขยายตัวต่อเนื่อง

ของการท่องเที่ยว

ในประเทศ

รายรับรวมจาก

การท่องเที่ยวในไตรมาสนี้

อยู่ที่ 4.38 แสนล้านบาท

เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.7

อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่

ร้อยละ 66.16 ต่ากว่า

ร้อยละ 66.93 ในไตรมาส

ก่อนหน้า แต่สูงกว่า

ร้อยละ 49.96 ในไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน

1 มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยว จากตารางดุลการชาระเงิน ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 6.2

อัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 58.01

ที่มา: สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

-60.0

-40.0

-20.0

0.0

20.0

40.0

60.0

0.0

10.0

20.0

30.0

40.0

50.0

60.0

70.0

80.0

90.0

100.0

Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3

62 63 64 65 66

%Cap U (แกนซ้าย) MPI

Export<30% Export 30-60%

Export>60%

ร้อยละ %YoY

สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 14.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ

15.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและการท่องเที่ยว

ของคนไทยภายในประเทศ ในไตรมาสนี้ มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ

ไทยจานวน 7.089 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 76.96 ของจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงก่อนเกิด

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.9 โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางมาไทยสูงสุด 3

อันดับแรก คือ มาเลเซีย จีน และเกาหลีใต้ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของจานวนเที่ยวบินและเส้นทางการบิน

ของสายการบินระหว่างประเทศ สาหรับมูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยว1 ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 2.48 แสนล้านบาท

(คิดเป็นร้อยละ 54.79 ของมูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19)

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 ร้อยละ 76.8 โดยนักท่องเที่ยวสาคัญที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร

ในไตรมาสนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 5.491 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 77.45) เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 105.7 ภูมิภาคยุโรป 1.073 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 15.14) เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.9 และภูมิภาค

ตะวันออกกลาง 0.249 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 3.52) เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.2 ตามลาดับ ส่วน การท่องเที่ยว

ภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย (ไทยเที่ยวไทย) ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องร้อยละ 18.2 โดยมี

ปัจจัยสนับสนุนจากช่วงหยุดยาวหลายช่วง รวมทั้งการดาเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านงานเทศกาลและงานประจาปีในแต่ละจังหวัด สร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย2 1.89 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.9 สาหรับจังหวัดที่มีผู้เยี่ยมเยือนคนไทยมากที่สุด 3 อันดับแรก (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ กาญจนบุรี 3.400 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 5.72) ชลบุรี 3.307 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 5.56) และเพชรบุรี 2.512 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 4.23) การเพิ่มขึ้นของทั้งมูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวและมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว3 4.38 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.7 สาหรับอัตราการเข้าพักในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 66.16 ต่ากว่าร้อยละ 66.93 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 49.96 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 21.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจานวน 20.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 255.0 รายรับรวมจากการท่องเที่ยวมีมูลค่า 1.329 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.2 สาหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 67.78

สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์: เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อเนื่องจาก การขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาคบริการด้านการท่องเที่ยว สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีรวมการขายส่งและการขายปลีก การซ่อม ยานยนต์และจักรยานยนต์ โดย (1) ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดการขายส่งโดยได้รับค่าตอบแทนหรือตามสัญญาจ้าง อาทิ การขายส่งวัตถุดิบทาง การเกษตร การขายส่งอาหาร ในขณะที่หมวดการขายส่งของใช้ในครัวเรือนปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขายส่งเฟอร์นิเจอร์ และการขายส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (2) ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 12.4 ตามการลดลงในทุกหมวด อาทิ หมวดการขายยานยนต์ และหมวดการขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์ และ (3) ดัชนีการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ลดลงร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของหมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ อาทิ การขายปลีกในร้านค้าทั่วไป การขายปลีกอาหาร อย่างไรก็ตาม หมวดการขายปลีกในร้านค้าทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขายปลีกในร้านดิสเคาท์สโตร์/ซุปเปอร์เซ็นเตอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต และการขายปลีกในร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในขณะที่ดัชนีการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ลดลงร้อยละ 1.1 และดัชนีการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 12.2

สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า: ขยายตัวร้อยละ 6.8 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของดัชนีบริการขนส่ง ประกอบด้วย (1) บริการขนส่งทางอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 43.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของปริมาณการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ ในขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส (2) บริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้น้ามันเบนซินและปริมาณการใช้กาซปิโตรเลียมเหลว และ (3) บริการขนส่งทางน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณการนาเข้าสินค้าทางเรือ สาหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 6.6

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยบริการขนส่งขยายตัวร้อยละ 9.0 ประกอบด้วย บริการขนส่งทางอากาศขยายตัวร้อยละ 47.5 บริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียงขยายตัวร้อยละ 8.1 และบริการขนส่งทางน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ตามลาดับ ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งขยายตัวร้อยละ 5.1 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 8.1

สาขาการก่อสร้าง: เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเนื่องจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน ขณะที่การก่อสร้างภาครัฐปรับตัวลดลง ในไตรมาสนี้ การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 3.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของทั้งการก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะอาคารโรงงานและอาคารพาณิชย์ และการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (เช่น ห้องชุด และบ้านเดี่ยว) ในขณะที่ การก่อสร้างภาครัฐลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการก่อสร้างของรัฐบาลร้อยละ 3.1 สอดคล้องกับการลดลงของการเบิกจ่ายของกระทรวงคมนาคม ส่วนการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ร้อยละ 2.2 สอดคล้องกับความคืบหน้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สาคัญ ๆ เช่น โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) (รฟท.) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฏร์บูรณะ (รฟม.) สาหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของราคาหมวดเหล็ก (ลดลงร้อยละ 2.8) และราคาหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ อาทิ ยางมะตอย และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (ลดลงร้อยละ 2.3) ขณะที่ ราคาหมวดคอนกรีตและหมวดซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และร้อยละ 1.1 ตามลาดับ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การผลิตสาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่การก่อสร้างภาครัฐเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3

ผู้มีงานทา: จานวนผู้มีงานทาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 13 ตามการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทาทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร สอดคล้องกับอัตราการว่างงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่าสุดในรอบ 15 ไตรมาส ทั้งนี้ ผู้มีงานทาในไตรมาสที่สามของปี 2566 มีจานวนทั้งสิ้น 40.09 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า จาแนกเป็น ผู้มีงานทาชาวไทยจานวน 37.50 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 93.53) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และผู้มีงานทาชาวต่างด้าวจานวน 2.59 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 6.47) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 โดยผู้มีงานทานอกภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 68.46) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ร้อยละ 1.0 ตามการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทาในสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาก่อสร้าง และสาขา การผลิต เป็นสาคัญ ในขณะที่ผู้มีงานทาภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 31.54) ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส ร้อยละ 2.0 สาหรับอัตราการว่างงานในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 0.99 ต่าสุดในรอบ 15 ไตรมาส รวมทั้งต่ากว่าร้อยละ 1.06 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 1.23 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยจานวน 4.01 แสนคน ต่ากว่าผู้ว่างงานจานวน 4.29 แสนคน ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่าผู้ว่างงานจานวน 4.91 แสนคน ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี 2566 ผู้มีงานทาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และอัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.03

ภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสาคัญของเศรษฐกิจไทย โดยในปี 2565 การผลิตภาคบริการ

มีมูลค่า 10.20 ล้านล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 58.7 ของ GDP) และมีการจ้างงานในภาคบริการ

20.80 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 53.0 ของการจ้างงานรวม) เมื่อพิจารณาเป็นรายสาขา พบว่า

สาขาที่มีความสาคัญและมีสัดส่วนการจ้างงานสูง ได้แก่ (1) สาขาที่พักแรมและบริการด้านร้านอาหาร

มีการจ้างงานจานวน 2.91 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 13.98 ของการจ้างงานภาคบริการ) แบ่งเป็น

การจ้างงานภายใต้ระบบประกันสังคมจานวน 1.51 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 51.9) และการจ้างงาน

นอกระบบประกันสังคมจานวน 1.40 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 48.1) และ (2) สาขาการก่อสร้าง

มีการจ้างงานจานวน 2.20 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 10.60 ของการจ้างงานภาคบริการ) แบ่งเป็น

การจ้างงานภายใต้ระบบประกันสังคมจานวน 1.16 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 52.7) และการจ้างงาน

นอกระบบประกันสังคมจานวน 1.04 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ47.3) ตามลาดับ

ข้อมูลจากผลการสารวจข้อมูลสถานการณ์ด้านความต้องการแรงงาน (Demand for

Labor) ในสถานประกอบการ จัดเก็บโดยกระทรวงแรงงาน พบว่า ในปี 2565 การผลิต

ภาคบริการมีความต้องการแรงงานจานวน 12.24 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 78.6 ของ

ความต้องการแรงงานรวม) เมื่อพิจารณาจาแนกรายสาขา พบว่า สาขาที่พักแรมและบริการ

ร้านอาหาร มีความต้องการแรงงานจานวน 1.69 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 13.8 ของความต้องการ

แรงงานภาคบริการ) โดยจังหวัดที่มีความต้องการแรงงานสูงสุด 5 ลาดับแรกซึ่งเป็นเมืองหลักของ

การท่องเที่ยว ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (สัดส่วนร้อยละ 28.91) ชลบุรี (สัดส่วนร้อยละ 4.9) ภูเก็ต

(สัดส่วนร้อยละ 4.6) เชียงใหม่ (สัดส่วนร้อยละ 4.0) และสุราษฎร์ธานี (สัดส่วนร้อยละ 4.0) ตามลาดับ

ขณะที่ สาขาการก่อสร้าง มีความต้องการแรงงานจานวน 1.32 ล้านคน (สัดส่วนร้อยละ 10.76 ของ

ความต้องการแรงงานภาคบริการ) โดยจังหวัดที่มีความต้องการแรงงานสูงสุด 5 ลาดับแรก ได้แก่

กรุงเทพมหานคร (สัดส่วนร้อยละ 29.76) ชลบุรี (สัดส่วนร้อยละ 4.44) เชียงใหม่ (สัดส่วนร้อยละ 2.38)

นครราชสีมา (สัดส่วนร้อยละ 1.79) และสงขลา (สัดส่วนร้อยละ 1.73) ตามลาดับ จึงยังสะท้อนให้เห็น

ภาพรวมที่แม้ว่าภาคบริการโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

แต่ตลาดแรงงานยังไม่สามารถผลิตแรงงานได้ทันกับความต้องการ ส่งผลให้ยังคงมีความต้องการ

แรงงานจานวนมากอยู่ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรให้ความสาคัญในการดูแลแก้ไขเพื่อให้มีแรงงาน

ที่เพียงพอและสามารถรองรับความต้องการตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการ

ทเ กยี่ วเนอื่ ง รวมทงั้ ในภาคการกอ่ สรา ง

สถานการณ์ด้านแรงงานในระบบประกันสังคม: จานวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เป็นไตรมาสที่ 10 ขณะที่สัดส่วนผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์กรณีว่างงานตามมาตรา 33 ต่ากว่าไตรมาส

ก่อนหน้าและต่ากว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ผู้ประกันตนในระบบ

ประกันสังคมรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 10 ร้อยละ 1.7 ประกอบด้วย ผู้ประกันตนภาคบังคับตามมาตรา 33

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ร้อยละ 3.3 ตามการเพิ่มขึ้นของผู้ประกันตนในภาคอุตสาหกรรมและ

ภาคบริการ (อาทิ สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาก่อสร้าง และสาขาการผลิต เป็นต้น) และ

ผู้ประกันตนตามความสมัครใจ (มาตรา 40) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในขณะที่ ผู้ประกันตนตามความสมัครใจ

(มาตรา 39) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 3.9 สาหรับ สัดส่วนผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์

กรณีว่างงานตามมาตรา 33 ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.93 ต่ากว่าร้อยละ 2.13 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่า

ร้อยละ 1.99 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีจานวนผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์กรณีว่างงาน

ตามมาตรา 33 เฉลี่ยจานวน 2.29 แสนคน

ด้านการคลัง

การจัดเก็บรายได้รัฐบาล ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2566 (กรกฎาคม - กันยายน 2566) รัฐบาลจัดเก็บ

รายได้สุทธิ 709,030.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5 โดยเป็นผลมาจาก

(1) ภาษีสรรพสามิตน้ามันและผลิตภัณฑ์น้ามันเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.7 เนื่องจากการสิ้นสุดมาตรการลดอัตราภาษี

สรรพสามิตน้ามันดีเซลลิตรละไม่เกิน 5 บาท และมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ามันสาหรับเครื่องบิน

ไอพ่น (2) การนาส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.1 เนื่องจากการนาส่งเงินกู้เหลือจ่ายของ

พระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับ

ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และการนาส่งรายได้สัมปทาน

ในกิจการปิโตรเลียมระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (ระบบ Production Sharing Contract หรือ PSC) ของ

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ตามการขยายตัวของกิจกรรม

ทางเศรษฐกิจ และ (4) ภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 สอดคล้องกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตรา

ดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมลดลงจากไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อนร้อยละ 7.1 และร้อยละ 43.4 เนื่องจากการลดลงของมูลค่าการนาเข้า และการเปลี่ยนระบบ

สัมปทานกิจการปิโตรเลียมเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งทาให้อัตราภาษีเงินได้ปิโตรเลียมลดลงจากร้อยละ 50

เป็นร้อยละ 20 ของกาไรสุทธิ

รวมทั้งปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จานวน 2,664,720.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก

ปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 5.3 และสูงกว่าประมาณการรายได้ในเอกสารงบประมาณร้อยละ 7.0

โดยหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการที่สาคัญ ได้แก่ (1) กรมสรรพากร เนื่องจากการจัดเก็บภาษี

เงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (2) ส่วนราชการอื่น เป็นผลจากการนาส่งทุนหรือ

ผลกาไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนเป็นรายได้แผ่นดิน เงินส่วนเกินจากการจาหน่ายพันธบัตรจากการกู้เงินเพื่อ

ชดเชยการขาดดุล การนาส่งเงินเหลือจ่ายจากเงินกู้ของพระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อ

แก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และรายได้จากสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ (3) กรมศุลกากร เนื่องจากค่าเงินบาท

ที่อ่อนค่าลงส่งผลให้มูลค่าการนาเข้าสูงกว่าการคาดการณ์ และการชาระอากรขาเข้าย้อนหลังตามคาพิพากษา

คดีภาษีรถยนต์ อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตต่ากว่าประมาณการเนื่องจากการปรับลด

อัตราภาษีสรรพสามิตน้ามันดีเซลเป็นระยะเวลา 10 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน

เป็นการชั่วคราวจากราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง

การใช้จ่ายของรัฐบาล ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลมีการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 751,371.9 ล้านบาท4

ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.6 โดย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2566

จานวน 654,191.5 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.4 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ

20.5 ต่ากว่าร้อยละ 21.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จาแนกเป็น (i) รายจ่ายประจา 525,510.3 ล้านบาท

ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 จากการเบิกจ่ายในหมวดงบรายจ่ายอื่น ค่าใช้สอย และค่าตอบแทน

โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 20.5 ต่ากว่าร้อยละ 21.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และ (ii) รายจ่ายลงทุน

128,681.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.7 จากการเบิกจ่ายในหมวดที่ดินและ

สิ่งก่อสร้าง และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 20.9 ต่ากว่าร้อยละ 21.2 ในไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน

(2) การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี 42,527.7 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ

12.7 โดยอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 22.3 สูงกว่าร้อยละ 20.5 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (3) การเบิกจ่าย

งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน)) จานวน 67,734.0 ล้านบาท5 ลดลงจากไตรมาส

เดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 9.6 โดยเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายที่ลดลงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

แห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นสาคัญ

รวมทั้งปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลมีการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 3,499,753.7 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ

ก่อนหน้าร้อยละ 6.8 ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2566 จานวน

3,088,425.2 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 97.0 สูงกว่าร้อยละ 94.6 ในปีก่อน) แบ่งเป็นการเบิกจ่าย

รายจ่ายประจา 2,610,236.5 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 101.6 สูงกว่าร้อยละ 99.2 ในช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน) และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 478,188.7 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 77.7 สูงกว่าร้อยละ

73.7 ในปีก่อน) (2) การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จานวน 173,901.3 ล้านบาท (อัตรา

การเบิกจ่ายร้อยละ 91.3 สูงกว่าร้อยละ 90.1 ในปีก่อน) (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท

ปตท. จากัด (มหาชน)) จานวน 228,612.2 ล้านบาท6 โดยรัฐวิสาหกิจที่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนสูงสุด 5 อันดับ

แรก ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้า

นครหลวง และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19

พ.ศ. 2563 - 2564 (วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท) จานวน 47,759.6 ล้านบาท

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 หนี้สาธารณคงค้างทั้งสิ้น 11,131,634.20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ

62.1 ของ GDP ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 10,973,453.2 ล้านบาท (ร้อยละ 98.6 ของหนี้สาธารณะ

คงค้าง) และเงินกู้จากต่างประเทศ 158,181.1 ล้านบาท (ร้อยละ 1.4 ของหนี้สาธารณะคงค้าง)

ฐานะการคลัง ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลเกินดุลงบประมาณ 9,226 ล้านบาท เมื่อรวมกับ

การขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 12,384 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 189,400 ล้านบาท

รัฐบาลเกินดุลเงินสดสุทธิ 186,242 ล้านบาท โดยเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ

2566 จานวน 352,814 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 มีจานวนทั้งสิ้น

539,056 ล้านบาท

รวมทั้งปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 599,121 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอก

งบประมาณ 110,485 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 624,643 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุล

เงินสดหลังกู้สุทธิ 84,963 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการดาเนินนโยบายสวัสดิการทางสังคม

ที่สาคัญ เพื่อดูแลกลุ่มคนตามช่วงอายุ กลุ่มรายได้ และกลุ่มเปราะบาง พบว่า

ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2566 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยปีละ 170,087.5 ล้านบาท1

(คิดเป็นร้อยละ 1.0 ของ GDP) ซึ่งเป็นการใช้จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 84,364.4

ล้านบาท บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 49,700.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.4

และร้อยละ 29.1 ของการใช้จ่ายด้านสวัสดิการทางสังคมที่สาคัญ ในขณะที่เบี้ยยังชีพ

ผู้พิการ 19,412.4 ล้านบาท และเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 16,609.8

ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.4 และร้อยละ 9.7 ตามลาดับ และมีแนวโน้ม

เพิ่มขึ้นของรายจ่ายในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง

หากพิจารณาแนวโน้มภาระค่าใช้จ่ายในระยะต่อไป โดยอาศัยข้อมูลโครงสร้างประชากรของไทยตามคาดประมาณการประชากรของ สศช. 2

พบว่า ในระยะปานกลาง (ปี 2567 - 2570) ภาครัฐจะมีค่าใช้จ่ายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 32,063.9 ล้านบาท หรือ

เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปีฐาน (ปี 2563 - 2566) ร้อยละ 38 ขณะที่ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดปรับตัวลดลง โดยเฉลี่ยปีละ 1,227.9

ล้านบาท หรือลดลงเมื่อเทียบกับช่วงปีฐานร้อยละ 7.4 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากรของไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

โดยสมบูรณ์ ส่งผลให้การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะสร้างแรงกดดันทางการคลังจากภาระการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคด้านการคลังในระยะต่อไปจึงควรมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal consolidation) โดยเฉพาะ

การเร่งรัดเพิ่มความสามารถในการหารายได้ของรัฐบาล เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการดาเนินนโยบายสวัสดิการสังคมสูงวัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการดูแลสวัสดิการด้านอื่น ๆ และความคุ้มครองทางสังคมแก่ประชากรกลุ่มต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและทั่วถึง

ภาวะการเงิน

ในไตรมาสที่สามของปี 2566 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.00 เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี ในไตรมาสที่สามของปี 2566 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 วันที่ 2 สิงหาคม 2566 และการประชุมครั้งที่ 5/2566 วันที่ 27 กันยายน 2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี และร้อยละ 0.25 ต่อปีตามลาดับ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.00 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี เนื่องจาก กนง.เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังเหมาะสมกับทิศทางเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อในประเทศ โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ในภาพรวมยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้การฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศจะช้ากว่าที่คาด ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป มีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย แต่ยังคงมีความเสี่ยงด้านสูงจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในระยะต่อไปและต้นทุนราคาอาหารที่อาจเพิ่มขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทั้งนี้ การดาเนินนโยบายการเงินของไทยสอดคล้องกับธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจหลัก อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอังกฤษ ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 5.25 - 5.50 ต่อปี ร้อยละ 4.50 ต่อปี และร้อยละ 5.25 ต่อปี ตามลาดับ เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่แม้จะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบเป้าหมาย รวมทั้งแคนาดาที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 5.00 เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศยังคงขยายตัวในระดับสูง และรัสเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ร้อยละ 13.00 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เวียดนาม และมาเลเซีย คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ (-0.10) ร้อยละ 6.75 ร้อยละ 5.75 ร้อยละ 3.50 ร้อยละ 6.50 ร้อยละ 4.10 ร้อยละ 5.50 ร้อยละ 3.00 และ ร้อยละ 3.00 ต่อปี ตามลาดับ เนื่องจากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าเริ่มส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ด้านธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 3.45 เพื่อกระตุ้นความต้องการสินเชื่อภายในประเทศ และธนาคารกลางบราซิลปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 12.75 เนื่องจากสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับกรอบเป้าหมายได้แล้ว

ในเดือนตุลาคม 2566 ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่สองในรอบปี เป็นร้อยละ 6.00 เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินรูเปียห์ และธนาคารกลางฟิลิปปินส์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 7.00 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และล่าสุด ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 - 5.50 แต่ยังคงส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อในอนาคต ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ คงดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี เนื่องจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเริ่มส่งผลต่อการขยายตัวของอุปสงค์และตลาดแรงงาน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง

ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตรา

ดอกเบี้ยเงินกู้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยธนาคารพาณิชย์

ขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจา 12 เดือน เป็นร้อยละ 1.49 และ

ร้อยละ 1.55 เทียบกับร้อยละ 1.40 และร้อยละ 1.45 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ สอดคล้องกับอัตรา

ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.04 และร้อยละ 6.84 เทียบกับร้อยละ

7.00 และร้อยละ 6.76 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ ด้านธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางปรับขึ้นอัตรา

ดอกเบี้ยเงินฝากประจา 12 เดือน เป็นร้อยละ 1.18 เทียบกับร้อยละ 1.00 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า

แต่คงอัตราดอกเบี้ย MLR ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 8.05

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเฉลี่ยทุกธนาคารเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.13 จากร้อยละ 1.09 ในไตรมาสก่อนหน้า

ตามอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลงเล็กน้อย

จากร้อยละ 6.89 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 6.87 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางคงอัตรา

ดอกเบี้ยเงินกู้ในไตรมาสนี้ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเล็กน้อย

ในเดือนตุลาคม 2566 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตรา

ดอกเบี้ยเงินกู้จากไตรมาสสามของปี 2566 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาด

ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.65 และร้อยละ 7.25 ต่อปี ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.58 และ

ร้อยละ 8.30 ด้านสถาบันการเงินเฉพาะกิจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นร้อยละ 1.68 และคงอัตรา

ดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ร้อยละ 6.46

สินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นระดับเดียวกันกับในไตรมาสที่แล้ว

โดยสินเชื่อคงค้างภาคเอกชนในระบบธนาคารพาณิชย์ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ณ สิ้นไตรมาส

ที่สามของปี 2566 ยอดสินเชื่อคงค้างภาคเอกชนในระบบธนาคารพาณิชย์ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบกับการลดลง

ร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อภาคธุรกิจลดลงร้อยละ 1.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.8

ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ชะลอตัว ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3

นับตั้งแต่ปี 2566 เนื่องจาก (1) ผู้ประกอบการบางส่วนโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่จัดหาเงินทุนด้วยการออก

ตราสารหนี้และนามาชาระคืนสินเชื่อเพื่อลดต้นทุนทางการเงิน (2) ความต้องการสินเชื่อชะลอตัวตาม

การส่งออกที่ปรับลดลงต่อเนื่อง (3) ธนาคารเพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจขนาด

กลางและขนาดย่อม (SMEs) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อความสามารถในการชาระคืนสินเชื่อ

ของผู้ประกอบการรายย่อย และ (4) การชาระคืนสินเชื่อของผู้ประกอบการที่ได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่าในช่วง

โควิด-19 และเมื่อพิจารณาในรายสาขาพบว่าธุรกิจสาขาสาคัญ ๆ ที่สินเชื่อปรับตัวลดลง ประกอบด้วย

(1) สาขาการผลิต โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร สินเชื่อเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก

และสินเชื่อเพื่อการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง (2) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และ

จกั รยานยนต โดยเฉพาะสนิ เชอื่ เพอื่ การขายสง่ (ยกเวน้ ยานยนตแ ละจกั รยานยนต) และสนิ เชอื่ เพอื่ การขายปลกี (ยกเวน้

ยานยนต์และจักรยานยนต์) สาหรับสินเชื่อภาคครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 0.2 ชะลอลงจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาส

กอ่ นหนา ตามการชะลอตวั ลงของสนิ เชอื่ สาขาสาคญั ๆ ทกุ สาขา ประกอบดว้ ย (1) สนิ เชอื่ เพอื่ ทอี่ ยอู่ ศยั (2) สนิ เชอื่ เพอื่

ซอื้ หรอื เช่าซอื้ รถยนตแ ละรถจกั รยานยนต และ (3) สนิ เชอื่ เพอื่ การบรโ ภคสว่ นบุคคล

ขณะที่สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เร่งขึ้น

จากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนร้อยละ 3.9 เร่งตัวขึ้นจาก

การขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสที่แล้วเป็นสาคัญ ขณะเดียวกัน สินเชื่อภาคธุรกิจยังขยายตัวในเกณฑ์สูง

ร้อยละ 12.1 ใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ากว่าธนาคารพาณิชย์

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 35.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 1.97 จากค่าเฉลี่ย 34.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการแข็งค่าขึ้นของดัชนีดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) จากค่าเฉลี่ยในไตรมาสสองที่ระดับ 102.57 มาเป็น 103.26 ในไตรมาสนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะทรงตัว อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน และกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินบาทมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากการอ่อนค่าของเงินหยวนเนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ยังเผชิญกับปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์

สาหรับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้าในทิศทางเดียวกับค่าเงินบาท อาทิ ค่าเงินของประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 5.1) ไต้หวัน (ร้อยละ 3.2) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 2.3) จีน (ร้อยละ 2.3) มาเลเซีย (ร้อยละ 2.2) เวียดนาม (ร้อยละ 0.9) สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.8) อินเดีย (ร้อยละ 0.5) และ ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 0.5) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการไหลออกของเงินลงทุนทั้งในตลาดตราสารหนี้และ ตราสารทุน หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ สูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในประเทศ ในภูมิภาค อย่างไรก็ดี ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้น ได้แก่ ค่าเงินเกาหลีใต้ (ร้อยละ 0.3) และฮ่องกง (ร้อยละ 0.2) ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยอยู่ที่ 119.85 ลดลงร้อยละ 0.03 จากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่น ๆ

ในเดือนตุลาคม 2566 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 36.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 1.93 จากค่าเฉลี่ย 35.83 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการถือสินทรัพย์เสี่ยง (Risk-off Sentiment) ประกอบกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับสูง

ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2566 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 1,471.4 จุด ลดลงร้อยละ 2.1 จากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ของประเทศส่วนใหญ่ทั้งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่และประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยมีปัจจัยสาคัญมาจาก (1) การคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะทรงตัวในระดับสูงเป็นระยะเวลานานกว่าที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ อย่างแข็งแกร่ง (2) การขายสินทรัพย์สกุลเงินในภูมิภาคไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนที่สูงกว่า อาทิ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดการไหลออกของเงินทุนทั่วทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าตลาดตราสารหนี้ และ (3) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 50.0 พันล้านบาท ต่อเนื่องจากการขายสุทธิที่ 50.3 พันล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงที่สาคัญ ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (ลดลงร้อยละ 8.0) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (ลดลงร้อยละ 5.2) กลุ่มบริการ (ลดลงร้อยละ 2.7) กลุ่มทรัพยากร (ลดลงร้อยละ 1.1) กลุ่มเทคโนโลยี (ลดลงร้อยละ 0.7) และกลุ่มธุรกิจการเงิน (ลดลงร้อยละ 0.5)

ด้านดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ได้แก่ ฮ่องกง (ลดลงร้อยละ 5.9) ญี่ปุ่น (ลดลงร้อยละ 4.0) จีน (ลดลงร้อยละ 4.0) เกาหลีใต้ (ลดลงร้อยละ 3.9) ไต้หวัน (ลดลงร้อยละ 3.3) และฟิลิปปินส์ (ลดลงร้อยละ 2.3) ขณะที่ดัชนีหลักทรัพย์ของประเทศ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2) มาเลเซีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4) อินเดีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7) และสิงคโปร์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4)

ในเดือนตุลาคม 2566 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 1,381.8 จุด ลดลงจาก ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 ร้อยละ 6.1 โดยมีปัจจัยหลักมาจากความกังวลต่อสถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ที่มีโอกาสยกระดับความรุนแรงและยืดเยื้อออกไป ประกอบกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาสสามของปี 2566 อัตราผลตอบแทน

พันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ สอดคล้องกับดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตัวลดลง และการขาย

สุทธิของนักลงทุนต่างชาติ โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ

ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

ระยะยาวของสหรัฐฯ และแนวโน้มอุปทานพันธบัตรรัฐบาลไทยในปีงบประมาณ 2567 ที่เพิ่มขึ้นจาก

ปีงบประมาณก่อนหน้า โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 66.9 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากอัตราผลตอบแทน

พันธบัตรรัฐบาลไทยที่ต่ากว่าเมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนของประเทศเศรษฐกิจหลัก กดดันให้ดัชนีราคา

พันธบัตรรัฐบาลลดลง ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาสสามของปี 2566 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 2 ปี

และอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.54 ต่อปี และร้อยละ 3.18 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.15 ต่อปี และร้อยละ 2.58 ต่อปี

ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ ทั้งนี้ ภาคเอกชนมีการระดมทุนใหม่ผ่านตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น

429.3 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มพลังงาน

ในเดือนตุลาคม 2566 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทน

พันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ

เงินทุนเคลื่อนย้าย ในไตรมาสสองของปี 2566 เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

เทียบกับการไหลออกสุทธิ 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการนาเงินออกไป

ลงทุนโดยตรงของนักลงทุนไทยและการขายสุทธิในหลักทรัพย์และตราสารหนี้ของไทยโดยนักลงทุนต่างชาติ

อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่สองของปี 2566 การลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติลดลงมาอยู่ที่ 0.2 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. จาก 2.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่แล้ว

สถานการณ์หนี้สินของภาคธุรกิจทั่วโลกและของไทย

จากข้อมูล Global Debt Monitor ของ Institute of International Finance พบว่า ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 หนี้สินของประเทศต่าง ๆ

ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 307.1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 335.9 ต่อ GDP นับเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลในปี 2542

โดยการก่อหนี้ของประเทศต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นมากช่วงวิกฤตโควิด-19 ในปี 2563 และเมื่อพิจารณาโครงสร้างหนี้สินในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ

หลักพบว่าส่วนใหญ่เป็นหนี้สินของภาครัฐ (ร้อยละ 29.5) และหนี้สินสถาบันการเงิน (ร้อยละ 27.9) ในขณะที่กลุ่มประเทศกาลังพัฒนา

ในเอเชียพบว่า หนี้สินส่วนใหญ่มาจากภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (ร้อยละ 42.8) หนี้ภาครัฐบาล (ร้อยละ 24.2) หนี้ครัวเรือน (ร้อยละ 18.9)

และหนี้สถาบันการเงิน (ร้อยละ 14.2)

สาหรับประเทศไทย จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าหนี้สินของภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงก่อนโควิด-19 ที่ร้อยละ 70.3 ต่อ GDP

มาอยู่ที่ร้อยละ 79.6 ต่อ GDP ณ สิ้นไตรมาสที่สองของปี 25661 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวของทั้งสินเชื่อและตราสารหนี้ ณ สิ้นไตรมาส

ที่สามของปี 2566 เทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่าภาคเอกชนยังคงระดมทุนต่อเนื่อง โดยมีการจัดหาเงินทุนด้วยตราสารหนี้

เพิ่มมากขึ้น ขณะที่มีการกู้ยืมเงินผ่านสินเชื่อลดลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องจากการจัดหาเงินทุนในตลาดตราสารหนี้มีต้นทุนที่ต่ากว่า อย่างไรก็ดี

ภาวะการผิดนัดชาระของผู้ออกตราสารหนี้ในหลายบริษัททั้งจากปัญหาด้านธรรมาภิบาลหรือปัญหาด้านสภาพคล่องของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้

จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ดังนั้น ภาคธุรกิจที่จัดหาเงินทุนจากตลาดตราสารหนี้จึงมีแนวโน้มที่จะเผชิญ

กับความเสี่ยงในการจัดหาเงินทุนในระยะต่อไป นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาสินเชื่อตามขนาดของธุรกิจพบว่า สินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงขยายตัว

ต่อเนื่อง ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs พบว่าลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เนื่องจากเผชิญกับข้อจากัดในการระดมทุนทั้งผ่านสินเชื่อ

และตราสารหนี้ ประกอบกับหนี้ NPL ของ SMEs ยังทรงตัวในระดับสูงและยังมีความเสี่ยงจากปัญหาในการชาระหนี้โดยเฉพาะธุรกิจที่ยังได้รับ

แรงกดดันจากต้นทุนที่สูงขึ้นและยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่

การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ กดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลง และสร้างความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุน

ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวดีกว่าที่คาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ

มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่นักลงทุนทั่วโลกได้เคยประเมินไว้ กดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร

รัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นไปสู่ร้อยละ 4.61 ในวันที่ 27 กันยายน 2566 สูงที่สุดในรอบ 16 ปี ซึ่งส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเ งินลงทุน

ในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก และสร้างความผันผวนในตลาดการเงินโลก โดยเฉพาะค่าเงินของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งค่าเงินบาท

ที่มีทิศทางอ่อนค่าลง

ขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น

(Search for Yield) ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่า เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และทาให้ตลาดการเงินทั่วโลกมีความผันผวน สะท้อนจากดัชนี

ความผันผวน (Volatility Index)1 ของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเศรษฐกิจหลักที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศ

ในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2566 (ยกเว้นตลาดหลักทรัพย์ Sensex ของอินเดียและ Kuala Lumpur

Stock Exchange (KLSE) ของมาเลเซีย ที่ปิดสูงกว่าครึ่งปีแรก) สาหรับประเทศไทย นอกจากจะต้องเผชิญปัจจัยกดดันจากภายนอกดังกล่าวแล้ว

ยังมีปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะสถานการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ที่ส่งผลต่อความกังวลด้านธรรมาภิบาล การผิดนัดชาระหนี้ของบริษัท

ผู้ออกหุ้นกู้ในตลาดตราสารหนี้ รวมไปถึงแนวโน้มอุปทานพันธบัตรที่อาจจะเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ความต้องการใช้เงินของรัฐบาล

เป็นอีกปัจจัยที่กดดันให้เงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารหนี้ของประเทศไทย ณ ไตรมาสที่สามของปี 2566 ไหลออกสุทธิ 2,136.20

ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 โดยเฉพาะหลังการโจมตีอิสราเอลของกลุ่มฮามาส พบว่า มีเงินทุนไหลออกจาก

ตลาดหลักทรัพย์ในอัตราที่ชะลอลง แต่มีเงินทุนไหลกลับเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากตลาดตราสารหนี้และค่าเงินบาทของไทย

มีปัจจัยพื้นฐานที่อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับมีการรายงานภาวะการส่งออกไทยเดือนกันยายน 2566 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ ณ วันที่ 31

ตุลาคม 2566 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจาก 36.78 ดอลลาร์ สรอ. ในวันที่ 29 กันยายน 2566 ท่ามกลาง

การเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงของค่าเงินประเทศในภูมิภาค

ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล กลับมาเกินดุล 3.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (118.5 พันล้านบาท) เทียบกับการขาดดุล

7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (264.0 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการขาดดุล 2.5 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. (86.2 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 5.4 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. (191.8 พันล้านบาท) (เทียบกับการขาดดุล 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของ

ปีก่อน และสูงกว่าการเกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ

และรายได้ทุติยภูมิขาดดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ต่ากว่าการขาดดุล 6.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน และการขาดดุล 4.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า)

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (105.2 พันล้านบาท)

เทียบกับการขาดดุล 16.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (577.6 พันล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

เงินสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 อยู่ที่ 211.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 199.4

พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 เมื่อคิดในรูปเงินบาท เงินสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน

กันยายน 2566 อยู่ที่ 7,736.5 พันล้านบาท สูงกว่า 7,561.9 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สามของปี 2566 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ชะลอตัวต่อเนื่อง

เป็นไตรมาสที่ 4 โดยดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ชะลอลงจาก

ร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของดัชนีราคาผักและผลไม้ และอาหารสาเร็จรูปที่ร้อยละ

5.0 และร้อยละ 1.7 ตามลาดับ และการลดลงของราคาเนื้อสัตว์ร้อยละ 15.4 เป็นสาคัญ ส่วนดัชนีราคาหมวด

ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มกลับมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากการลดลงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อน สอดคล้องกับ

การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคากลุ่มพลังงานร้อยละ 0.2 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ชะลอตัวลง

จากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า7

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.8 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ

1.5 เทียบกับร้อยละ 6.2 และร้อยละ 2.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลาดับ

ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 3.3 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2

จากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อน ตามการลดลงของดัชนีราคาในทุกหมวดสินค้า โดย ดัชนีราคาหมวด

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2.2 สอดคล้องกับการลดลงของราคาในกลุ่มสินค้าสาคัญที่เคลื่อนไหว

ตามราคาในตลาดโลก โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีลดลงร้อยละ

14.4 และร้อยละ 9.3 ตามลาดับ ส่วนราคาผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และโลหะขั้นมูลฐานลดลงร้อยละ 4.0

และร้อยละ 3.2 ตามลาดับ ตามการลดลงของราคาวัตถุดิบ หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรและการประมง ลดลงร้อยละ

0.7 และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 27.4 ตามการลดลงของดัชนีราคากลุ่มปิโตรเลียมดิบและ

กาซธรรมชาติร้อยละ 31.58

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 ดัชนีราคาผู้ผลิตเฉลี่ยปรับตัวลดลงร้อยละ 2.6 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4

ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ามันไตรมาสที่สามของปี 2566

ราคาน้ามันดิบลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 85.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 11.6 จากราคาเฉลี่ย 96.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ย 76.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสก่อนหน้า

การลดลงของราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีสาเหตุมาจาก (1) ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นผู้นาเข้าน้ามันรายใหญ่ของโลก จะส่งผลต่อความต้องการใช้น้ามันในตลาดโลก (2) การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงของธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจหลัก ที่จะส่งผลต่อการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความต้องการใช้น้ามันในตลาดโลก และ (3) ปริมาณน้ามันดิบสารองทางการค้าของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสที่สามของปี 2566 อยู่ที่ 434 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับ 426 ล้านบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ราคาน้ามันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกันยายน ที่ราคาน้ามันดิบอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจาก (1) การขยายระยะเวลาปรับลดกาลังการผลิตน้ามันดิบของซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย รวม 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566 และ (2) รัสเซียระงับการส่งออกน้ามันเบนซินและดีเซลชั่วคราวเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดเชื้อเพลิงในประเทศ

รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด อยู่ที่ 80.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 19.8 จากค่าเฉลี่ย 100.2 ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สามของปี 2566

เศรษฐกิจโลกในภาพรวมขยายตัวระดับต่าอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวลงของภาคการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศเศรษฐกิจหลักยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager?s Index) ภาคอุตสาหกรรมของหลายประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ากว่า 509 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งโดยอัตราการว่างงานในหลายประเทศลดลงต่าสุดเป็นประวัติการณ์10 ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว โดยมูลค่าการค้าปลีกในหลายประเทศปรับตัวดีขึ้น11 ขณะที่ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศก่าลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการค้าโลกส่งผลให้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวในระดับต่า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของหลายประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงแต่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการลดลงของราคาพลังงาน ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มชะลอการปรับขึ้นหรือคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย12

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.9 (Advance Estimate) เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุด ในรอบ 6 ไตรมาส และเมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ saar.) และเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดสินค้าคงทนและหมวดบริการที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 และร้อยละ 2.4 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.2 และร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามล่าดับ สอดคล้องกับการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน13 เช่นเดียวกับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 108.6 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส ขณะที่ การลงทุนภาคเอกชนในสินทรัพย์ที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ (Non-residential investment) ที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.7 จากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนในอสังหาริมทรัพย์ (Residential investment) ลดลงร้อยละ 7.8 ต่อเนื่องจากร้อยละ 15.4 ในไตรมาสก่อนและเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 7 โดยเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมถึงราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (PCE inflation) อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ชะลอลงจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของตามการปรับลดของราคาสินค้าคงทน แต่ยังสูงกว่าเป้าระยะยาวของนโยบายการเงินที่ร้อยละ 2.0 ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงด่าเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างต่อเนื่อง14 ขณะที่ปัญหาสภาพคล่องของธนาคารท้องถิ่นภายหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ จนท่าให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P และ Moody's ได้มีการปรับลดความน่าเชื่อถือของธนาคารท้องถิ่นของสหรัฐฯ ลงในเดือนสิงหาคม 256615 เช่นเดียวกับ ความกังวลจากปัญหาหนี้สาธารณะของรัฐบาลสหรัฐฯ อันเนื่องมาจากการขาดดุลงบประมาณในภาพรวม ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ได้มีการปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (US Long-Term Foreign Currency Issuer Default Rating) ลงจาก AAA เป็น AA+ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566

เศรษฐกิจยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 0.1 ชะลอลงจากร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และนับเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่าที่สุด ในรอบ 10 ไตรมาส โดยเศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศสมาชิกทั้งหมดลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้าและเป็นการลดลงต่าสุดในรอบ 10 ไตรมาสเช่นกัน ขณะที่ประเทศสมาชิกหลักอื่น ๆ ขยายตัวชะลอลง16 เนื่องจากผลกระทบของ การด่าเนินนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ซึ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่ระดับ 43.2 ซึ่งเป็นระดับต่ากว่า 50.0 ติดต่อกันเป็น ไตรมาสที่ 5 เช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการที่ระดับ 49.2 ลดลงต่ากว่า 50.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ในขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ระดับ 93.9 ลดลงต่าสุดในรอบ 11 ไตรมาส ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ระดับ (-16.3) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจาก (-17.0) ในไตรมาสที่ผ่านมา ส่าหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 เทียบกับร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 5.1 เทียบกับร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันเงินเฟ้อด้านค่าจ้างแรงงานจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 6.5 เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ต่าที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปรับลดขนาดของการสนับสนุนสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง17 ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปยังคงด่าเนินโครงการทางการคลังขนาดใหญ่ (NextGenerationEU) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อลดการพึ่งพิงพลังงานน่าเข้า18

เศรษฐกิจญี่ปุ่น ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของภาคการผลิต การลงทุนเอกชนและการส่งออกสินค้า สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ที่ระดับ 49.2 ลดลงจากระดับ 50.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับยอดค่าสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชน (ยกเว้นหมวดเรือและไฟฟ้า) ที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10.4 ในช่วงเดือนแรกของไตรมาสที่ 3 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 6.7 ในไตรมาสที่สองและการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่หนึ่ง ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงลดลงต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 6 ที่ร้อยละ 3.1 เทียบกับร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อน นอกจากนี้ อุปสงค์ภายในประเทศเริ่มชะลอตัวลง โดยเฉพาะการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ที่ลดลงร้อยละ 0.2 จากการขยายตัวร้อยละ 0.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการบริโภคสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าไม่คงทน และผลกระทบจากต้นทุนการน่าเข้าที่สูงขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินเยน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของภาคบริการ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูงที่ระดับ 54.0 สูงกว่าระดับ 50.0 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 โดยเฉพาะการส่งออก ภาคบริการที่ขยายตัวร้อยละ 24.2 ต่อเนื่องจากร้อยละ 29.1 ในไตรมาสที่สอง ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่าหรับสถานการณ์ ในตลาดแรงงาน ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานในไตรมาสที่สามอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่สามอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของราคาสินค้า ในหมวดพลังงาน19 ตามมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงด่าเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในระดับที่ร้อยละ 2.020

เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากฐานที่สูงขึ้นในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังเผชิญกับปัญหาการขาด สภาพคล่องและภาระหนี้สินในระดับสูง21 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกสินค้ายังคงเผชิญกับข้อจ่ากัดจากการชะลอตัวของประเทศ คู่ค้าและมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้การฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศยังเป็นไปอย่างจ่ากัด โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าลดลง ร้อยละ 10.8 ต่อเนื่องจากร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้าและเป็นระดับต่าสุดในรอบ 14 ไตรมาส ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 50.3 เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับการอุปโภคบริโภคภายในประเทศชะลอตัวลง โดยมูลค่าการค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอลงจากร้อยละ 10.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาสที่สามที่ลดลงสู่ระดับต่าสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 86.7 จากระดับ 87.2 ในไตรมาสก่อนหน้า การชะลอตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สามลดลงร้อยละ (-0.1) จากการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับต่าสุดในรอบ 56 ไตรมาส ส่งผลให้ ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China: PBOC) ยังคงด่าเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจ22 ควบคู่ไปกับ การด่าเนินมาตรการทางการคลังเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

17 ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม และ 14 กันยายน 2566 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เท่ากันทั้งสองครั้ง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations Rate อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility และดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ของแต่ละประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 4.50 ร้อยละ 4.75 และ ร้อยละ 4.00 ตามล่าดับ ขณะเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ECB ยังคงด่าเนินการเสริมสภาพคล่องอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ไปจนถึงปี 2567 ในขณะที่ มีการเร่งผลักดันให้จ่ายคืนเงินกู้ที่ได้รับผ่านมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่าให้แก่ธนาคารพาณิชย์รอบที่ 3 (TLTROs III) ให้เร็วกว่าที่ก่าหนด อย่างไรก็ตาม ECB ยังคงใช้กลไกเพื่อลดผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Transmission Protection Instrument: TPI) โดยการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่เผชิญความผันผวนในตลาดการเงินเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

18 โครงการ NextGenerationEU ได้ตั้งกรอบงบประมาณให้ประเทศสมาชิกตั้งโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขึ้นมาเพื่อของบประมาณผ่านมาตรการ Recovery and Resilience Facility (RRF) โดยมีกรอบวงเงินรวมอยู่ที่ 7.238 แสนล้านยูโร แบ่งเป็นเงินให้กู้ยืม 3.858 แสนล้านยูโร และเงินอุดหนุน 3.380 แสนล้านยูโร โดยมีระยะเวลาการใช้จ่ายในช่วงปี 2564 - 2569 ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดิจิทัล (Green and Digital Transitions) โครงการที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณจะต้องมีสัดส่วนงบประมาณอย่างน้อยร้อยละ 37 ส่าหรับด้านสิ่งแวดล้อมและร้อยละ 20 ส่าหรับดิจิทัล ตามล่าดับ โดย ณ วันที่ 19 กันยายน 2566 คณะกรรมาธิการยุโรป (Commission Implementing Decision) ได้รับค่าขอเบิกจ่ายจ่านวน 34 รายการ จากประเทศสมาชิก 21 ประเทศ และมีการอนุมัติการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการอุดหนุนและกู้ยืมรวมกันทั้งสิ้น 1.53 แสนล้านยูโร

19 อัตราเงินเฟ้อสินค้าหมวดเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้าและค่าน่าประปา อยู่ที่ร้อยละ (-12.1) ในไตรมาสที่สาม ลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ (-6.2) ในไตรมาสก่อนหน้า

20 ในการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 27 - 28 กรกฎาคม 2566 และเมื่อวันที่ 21 - 22 กันยายน 2566 ธนาคารกลางของญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นและ ระยะยาวไว้ที่ร้อยละ -0.1 และร้อยละ 0.0 ตามล่าดับ รวมถึงการด่าเนินมาตรการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 10 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 ในช่วงร้อยละ ?0.5 (Yield Curve Control: YCC) และมาตรการซื้อสินทรัพย์ซื้อกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ETFs) และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น (J-REITs) มูลค่ารวม 12 ล้านล้านเยนและ 1.8 แสนล้านเยน ตามล่าดับ (Quantitative and Qualitative easing: QQE)

21 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ลดลงร้อยละ 11.0 ต่อเนื่องจากร้อยละ 10.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่าสุดในรอบ 14 ไตรมาส ส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ลดลงร้อยละ 15.7 ต่อเนื่องจากร้อยละ 14.3 นับเป็นการลดลงต่อเนื่องกัน 6 ไตรมาส

22 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระยะกลางอายุ 1 ปีส่าหรับสถาบันการเงิน (Medium-Term Lending Facility: MLF) ลงจากร้อยละ 2.65 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่าสุดเป็นประวัติการณ์ ต่อเนื่องจากเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ซึ่งได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (Reverse Repurchase Rate) ระยะเวลา 7 วันลงจากร้อยละ 1.90 เป็นร้อยละ 1.80 และเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (Loan Prime Rate: LPR) ระยะ 1 ปี ลงจากร้อยละ 3.55 มาเป็นร้อยละ 3.45 และยังได้ลดสัดส่วนการด่ารงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Required Reserve Ratio: RRR) ลงจากร้อยละ 7.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.4 แต่ยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะ 5 ปีไว้ที่ร้อยละ 4.2

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ในภาพรวมขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่า โดยเป็นผลจาก การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ภาคส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องตามการชะลอตัวของการค้าระหว่างประเทศ23 โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 0.7 เทียบกับร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่าหรับเศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อน และเศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 4.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สามภายหลังการลดลงในปีก่อน ขณะที่เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบกับร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ดี แรงกดดันเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวลดลง24 ส่งผลให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

เศรษฐกิจประเทศกลุ่มอาเซียน ขยายตัวต่อเนื่องตามการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน โดยเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนามในไตรมาส ที่สามขยายตัวร้อยละ 4.9 ร้อยละ 5.9 ร้อยละ 3.3 และร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.2 ร้อยละ 4.3 ร้อยละ 2.9 และร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามล่าดับ อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าส่งผลให้การส่งออกสินค้าปรับตัวลดลง25 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศ เริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ประกอบกับด้านเสถียรภาพด้านการเงินในตลาดโลกส่งผลให้ธนาคารกลางของทุกประเทศในภูมิภาคคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตลอดไตรมาสที่ 326

23 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ของเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ลดลงร้อยละ 9.7 ร้อยละ 5.1 ร้อยละ 5.7 และร้อยละ 12.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 12.0 ร้อยละ 17.0 ร้อยละ 13.3 และร้อยละ 14.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามล่าดับ นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ในทุกเศรษฐกิจ ยกเว้นฮ่องกงที่ลดลงติดต่อกันหกไตรมาส

24 อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่สามของปี 2566 ของเกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.1 ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 4.1 ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามล่าดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไต้หวันอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร ที่อยู่อาศัย และการขนส่งและสื่อสาร เป็นส่าคัญ

25 มูลค่าการส่งออกสินค้าของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนามลดลงในไตรมาสที่สาม ที่ร้อยละ 18.6 ร้อยละ 1.2 ร้อยละ 17.8 และร้อยละ 2.4 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 17.8 ร้อยละ 5.4 ร้อยละ 14.6 และร้อยละ 11.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามล่าดับ

26 ส่าหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่สามของอินโดนีเซียอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 - 4.0 ส่งผลให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.75 ส่วนอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่ากรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 2.5 - 3.5 ท่าให้ธนาคารกลางมาเลเซียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ ร้อยละ 3.0 ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์อยู่ที่ร้อยละ 5.4 แม้ว่าจะลดลงจากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 - 4.0 ทั้งนี้ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 ยังคงมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ ร้อยละ 6.25 ตามล่าดับ อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 2.9 แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงต่ากว่าระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 4.5 ส่งผลให้ธนาคารกลางเวียดนามยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่สอง

4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2567

เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราชะลอลงจากปี 2566 และมีทิศทางการขยายตัวที่แตกต่างกันมากขึ้นในแต่ละ กลุ่มประเทศ (Growth divergence) โดยกลุ่มเศรษฐกิจหลักน่าโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามอุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะ การลงทุนในหมวดที่อยู่อาศัย และมีแนวโน้มที่จะเผชิญข้อจ่ากัดจากการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่เศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนและสหราชอาณาจักร มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากการขยายตัวในเกณฑ์ต่าในปีก่อน ส่าหรับกลุ่มเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศก่าลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย คาดว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องท่ามกลางปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่กลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากฐานการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่าในปีก่อนหน้า เช่นเดียวกับเศรษฐกิจอาเซียนที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการกลับมาขยายตัวของการส่งออก สอดคล้องกับแนวโน้มปริมาณการค้าโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นจาก ปี 2566 ที่มีอัตราขยายตัวต่าสุดในรอบ 14 ปี หากไม่นับปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของปริมาณการค้าโลกสะท้อนจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อด้านค่าสั่งซื้อล่วงหน้าภาคอุตสาหกรรมในหลายประเทศ และสัญญาณขาขึ้นของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มปรากฎชัดเจนมากขึ้นนับตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

ส่าหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปี 2567 มีทิศทางปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากระดับสูงสุดในช่วงปลายปี 2565 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการด่าเนินนโยบายการเงินโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องและยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบางและมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2567 ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลง คาดว่าจะท่าให้ประเทศส่าคัญ ๆ เริ่มด่าเนินการเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ทั้งนี้ เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงด้านต่า (Downside risks) ที่อาจท่าให้ขยายตัวได้ต่ากว่า ที่คาดการณ์ รวมทั้งท่าให้ระบบการเงินโลกมีความผันผวนมากขึ้น ประกอบด้วย (1) ความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ประกอบกับความยืดเยื้อของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งอาจยกระดับความรุนแรงจนส่งผลให้การแบ่งแยกเชิงภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจ (Geo-economic fragmentation) มากขึ้นและส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมทั้งความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนมากขึ้น (2) แนวโน้มการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจจีนจากปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์และการชะลอตัวลงของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศจนมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืด (3) ความผันผวนของระดับราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ท่ามกลางความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์และสงครามในอิสราเอล ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นกว่าที่คาดและส่งผลต่อการด่าเนินนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางให้กลับมาเข้มงวดอีกครั้ง และ (4) การลดลงของพื้นที่ทางการคลังในหลายประเทศที่เผชิญกับภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงภายใต้ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ดี ในกรณีฐานคาดว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางจะอยู่ในวงจ่ากัดระหว่างคู่ขัดแย้งและไม่ยกระดับความรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและระบบการเงินอย่างมีนัยส่าคัญ27 ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2566 ส่วนปริมาณการค้าโลกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ฟื้นตัวจากร้อยละ 2.1 ในปี 2566 โดยมีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศส่าคัญ ๆ ดังนี้

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2567 ชะลอลงจากร้อยละ 1.7 ในปี 2566 ตามการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในหมวดที่อยู่อาศัยที่ยังเผชิญข้อจ่ากัดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูงและราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกัน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามแรงกดดันเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับสูง28 รวมถึงการสิ้นสุดมาตรการพักช่าระหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษา (Student Loan Repayment)29 ในเดือนตุลาคม 2566 นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจคาดว่าจะส่งผลให้การจ้างงานปรับตัวลดลงในระยะต่อไป30 ซึ่งจะเป็นข้อจ่ากัดการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะเดียวกัน แรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มที่จะลดลง สะท้อนจากการลดลงของการขาดดุลการคลัง โดยส่านักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ (Congress Budget Office) คาดว่าปี 2567 รัฐบาลสหรัฐฯ จะขาดดุลการคลังคิดเป็นร้อยละ 5.6 ของ GDP

27 กรณีฐาน สถานการณ์ความขัดแย้งจะจ่ากัดอยู่พื้นที่อิสราเอลเป็นหลัก แต่คาดว่าจะมีการปะทะทางการทหารกระจายไปยังพื้นที่เลบานอนและซีเรีย แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ส่งผลต่อการขนส่งน่ามันและสินค้าผ่านช่องแคบฮอร์มุซ

28 คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ในการประชุมเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2566 มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal funds rate) ไว้ที่ร้อยละ 5.25-5.50 ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งก่อนสิ้นปี 2023 รวมถึงการด่าเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดทั้งต่อสถาบันการเงินและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยจะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจและความเสี่ยงในระยะต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานเต็มที่และอัตราเงินเฟ้อปรับตัวเข้าสู่เป้าหมายในระยะยาวที่ร้อยละ 2.0

29 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ศาลสูงสุดสหรัฐฯ (Supreme Court of the United States: SCOTUS) ตัดสินปฏิเสธแผนช่าระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่ยกเลิกหรือลดเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษามูลค่ารวม 4.3 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ผู้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฯ ต้องชดใช้คืนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 หลังจากการพักช่าระหนี้เป็นระยะเวลา 3 ปี เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

30 อัตราการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.9 ในเดือนตุลาคม เทียบกับร้อยละ 3.8 ในเดือนก่อนหน้าและเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 20 เดือน ขณะที่การจ้างงานนอก ภาคเกษตร (Non-Farm Payrolls) เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นรวม 1.50 แสนต่าแหน่งเมื่อเทียบกับ 2.97 ต่าแหน่งในเดือนก่อนหน้า

Economic Outlook

เป็นการขาดดุลลดลงจากร้อยละ 6.3 ในปี 2566 ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงปลายปี 2567 ที่อาจท่าให้เกิดความเสี่ยงในการหยุดท่าการชั่วคราวของรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ (Government Shutdown)31 ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2567 เป็นต้นไป ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายเป็นล่าดับ

เศรษฐกิจยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 ในปี 2567 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.6 ในปี 2566 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของการค้าโลกซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวภายหลังจากที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อปรับตัวลดลง โดยส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากความสามารถในการลดปริมาณการน่าเข้าพลังงานจากรัสเซียและเพิ่มปริมาณพลังงานส่ารองได้มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา32 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ของสหภาพยุโรป33 ขณะที่คาดว่าธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มที่จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายหลังจากอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังมีแนวโน้มที่จะอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูงต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดระดับสู่เป้าหมายในระยะปานกลาง34

เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากร้อยละ 1.5 ในปี 2566 โดยเป็นผลมาจากแนวโน้มการชะลอตัวลงของ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนภายหลังจากขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงก่อนหน้า (Pent-up Demand) สอดคล้องกับแนวโน้มค่าจ้างแรงงานที่แท้จริงที่ยังลดลง ประกอบกับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องโดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของภาครัฐ เนื่องจากรัฐบาลได้มีการประกาศมาตรการเศรษฐกิจรอบใหม่ ประกอบกับ การก่าหนดกรอบวงเงินงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากปี 256635 รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคบริการโดยเฉพาะการฟื้นตัวของ ภาคการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน การด่าเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น โดยในการประชุมเมื่อวันที่ 30 - 31 ตุลาคม 2566 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการด่าเนินมาตรการ Yield Curve Control เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับการด่าเนินนโยบายมากขึ้น36 ทั้งนี้ ภายใต้แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะต่ากว่าเป้าหมายในปี 2567 ส่งผลให้คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้ม ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่าต่อเนื่องจนกว่าจะสามารถบรรลุอัตราเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 2.0 ในระยะยาว

เศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 ในปี 2567 ชะลอลงจากร้อยละ 4.9 ในปี 2566 ตามการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังเผชิญกับข้อจ่ากัดจากปัญหาขาดสภาพคล่องและภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง สะท้อนจากยอดการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลง ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกยังมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่ยังคงมีเพิ่มเติม37 ส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Caixin PMI) ภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2566 ลดลงไปอยู่ที่ 49.5 ต่าสุดในรอบ 3 เดือน เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม 2566 ลดลงร้อยละ 7.9 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่หก และปริมาณสินค้าคงคลัง

31 ทั้งนี้แม้ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน (Joe Biden) ได้ลงนามในกฎหมายงบประมาณรายจ่ายชั่วคราว เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2566 ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงการปิดด่าเนินการ (Government Shutdown) จนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 และต่อมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 สภาคองเกรสสหรัฐฯ ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายชั่วคราวของรัฐบาล ส่งผลให้สหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงการปิดด่าเนินการ (Government Shutdown) จากวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ได้ไปอย่างน้อยจนถึงวันที่ 19 มกราคม 2567 ส่าหรับหน่วยงานรัฐบาลกลาง และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ส่าหรับหน่วยงานอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐในระยะต่อไปยังมีแรงสนับสนุนจากโครงการลงทุนภายใต้ Inflation Reduction Act ในการสนับสนุนความมั่นคงพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง CHIPS and Science Act มูลค่า 2.48 แสนล้านดอลลาร์สรอ. ที่มุ่งเน้นการสนับสนนุการวิจัยพัฒนาและการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐฯ และ Bipartisan Infrastructure Law มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สรอ. ที่มุ่งเน้นการลงทุนด้านการขนส่ง พลังงาน และสาธารณูปโภคในประเทศ แล้วก็ตาม

32 ในไตรมาสที่สามของปี 2566 สหภาพยุโรปน่าเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเฉลี่ย 604 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ลดลงร้อยละ 18.6 และร้อยละ 78.0 จากช่วงเดียวกันในปี 2565 และ 2564 ตามล่าดับ ในขณะที่ปริมาณก๊าซธรรมชาติส่ารองในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 88.5 ของปริมาณความจุกักเก็บทั้งหมด เทียบกับร้อยละ 74.7 และร้อยละ 61.9 ในปี 2565 และ 2564 ตามล่าดับ

33 ตามกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะยาว (Multiannual Financial Frameworks: MFF) ของสหภาพยุโรปในช่วงปี 2564 - 2570 วงเงิน 1.216 ล้านล้านยูโร รวมถึงงบประมาณเพิ่มเติมจากแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU วงเงิน 8.069 แสนล้านยูโร โดย ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2566 ได้มีการอนุมัติวงเงินภายใต้ RRF ไปแล้วทั้งสิ้น 2.75 แสนล้านยูโร จากวงเงินทั้งสิ้น 7.238 แสนล้านยูโร โดยแบ่งเป็นเงินอุดหนุน 1.18 แสนล้านยูโร และเงินกู้ 0.57 แสนล้านยูโร นอกจากนี้ เมื่อรวมกับงบประมาณส่าหรับมาตรการชั่วคราวเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอื่น ๆ วงเงินงบประมาณทั้งหมดที่จัดสรรในขณะนี้มีมูลค่าถึง 2.02 ล้านล้านยูโร

34 ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรปได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations Rate อัตราดอกเบี้ย Marginal Lending Facility และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ของแต่ละประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารกลางที่ร้อยละ 4.25 ร้อยละ 4.50 และร้อยละ 3.75 ตามล่าดับ หลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องกันในการประชุม 9 ครั้งก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีการน่าเงินต้นในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) มาลงทุนซ่าอีกครั้งจนถึงสิ้นปี 2567 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากร้อยละ 4.3 ในเดือนก่อนหน้า ต่าสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายนโยบายการเงินที่ร้อยละ 2.0

35 จากข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ปีงบประมาณ 2567 มีการของบประจ่าจากทุกหน่วยงานรวม 114.4 ล้านล้านเยน ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณ 2566 ที่ 106.0 ล้านล้านเยน และนับว่าเป็นวงเงินงบประมาณที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์

36 ในช่วงก่อนหน้า ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ก่าหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวไว้ที่ร้อยละ 0 และก่าหนดช่วงการเคลื่อนไหวที่ร้อยละ ? 0.5 กล่าวคือ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะด่าเนินทางการเงิน เมื่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาวสูงกว่าร้อยละ 0.5 และต่ากว่าร้อยละ -0.5 อย่างไรก็ดี หากอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 1.0 ธนาคารกลางจะท่าการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลทันทีจนกว่าอัตราดอกเบี้ยจะกลับมาที่ร้อยละ 1.0 ท่าให้ในช่วงสูงกว่าร้อยละ 1.0 ธนาคารไม่มีความยืดหยุ่นในการด่าเนินนโยบาย ท่าให้ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 - 31 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติ 8 ต่อ 1 เปลี่ยนเป็นการก่าหนดขอบบนของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ร้อยละ 1.0 แทนการก่าหนดช่วง เพื่อให้ธนาคารกลางมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในการด่าเนินนโยบายภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระยะยาวขาขึ้น

37 นอกจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ แล้ว กระทรวงพาณิชย์และศุลกากรของจีนเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ยังได้ออกมาตรการควบคุมการส่งออกแร่กราไฟท์ (Graphite) ซึ่งเป็นวัสดุส่าคัญในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์เบรกรถยนต์ จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 โดยก่าหนดให้ผู้ส่งออกกราไฟท์ต้องได้รับใบอนุญาตพิเศษ มาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้รัฐบาลสหรัฐที่ได้เพิ่มมาตรการควบคุมการส่งออก AI Chip ไปยังจีนเพื่อจ่ากัดการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศ

Economic Outlook

38 ราคาเนื้อหมูในเดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 40.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 28.6 ในเดือนก่อนหน้า มีสาเหตุมาจากการเข้ามาในตลาดของเกษตรกรรายย่อย ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งน่าไปสู่อุปทานล้นตลาด ทั้งนี้ การลดลงของราคาเนื้อหมูอาจสร้างแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลงตามการลดลงของอัตราเงินเฟ้อ ด้านอาหาร ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืดในระยะต่อไป

39 การออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติม 1 ล้านล้านหยวน ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 นี้ มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน โดยผ่าน การเพิ่มอัตราส่วนการขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit Ratio) จากระดับร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในเดือนมีนาคม 2566 เป็น ร้อยละ 3.8 ของ GDP รวมถึงได้ก่าหนดโควตาหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นส่าหรับปี 2567 ล่วงหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงด้านหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น

40 การประชุมทางการเงินส่วนกลางจีน (Central Financial Work Conference) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 -31 ตุลาคม 2566 มีจุดมุ่งหมายเพื่อก่าหนดทิศทาง การพัฒนาภาคการเงินของจีนในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเน้นย่าถึงการก่ากับดูแลแบบรวมศูนย์ส่าหรับภาคการเงิน และจัดการกับความเสี่ยงในระบบการเงิน อย่างเป็นระบบ เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านหนี้ในประเทศ และการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลกลางและท้องถิ่นให้เหมาะสม รวมถึงลดภาระ ในภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงินและการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจของจีน

41 ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 6.00 ในการประชุมเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 เช่นเดียวกันกับ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ที่มีมติเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 6.5 ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566

ภาคอุตสาหกรรมยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงสอดคล้องกับแรงกดดันด้านเงินฝืดโดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ (-0.2)38 นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังเผชิญกับปัญหาภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจซึ่งจะเป็นข้อจ่ากัดต่อการขยายตัวของการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มได้รับแรงสนับสนุนจากการด่าเนินนโยบายทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติม ส่าหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนและ ลดความเสี่ยงด้านหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น39 ควบคู่ไปกับการด่าเนินการด่าเนินมาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ40

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวในเกณฑ์ต่าในปีก่อนหน้า ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศท่ามกลางการลดลงของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว รวมถึง ภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของการค้าโลกและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยคาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ไต้หวันและสิงคโปร์ในปี 2567 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 ร้อยละ 2.9 และร้อยละ 2.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.1 ร้อยละ 0.8 และร้อยละ 1.0 ในปี 2566 ตามล่าดับ ขณะที่เศรษฐกิจฮ่องกงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2567 เทียบกับร้อยละ 3.2 ในปีก่อนหน้า

เศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นตามการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าตามแนวโน้มการฟื้นตัวของการค้าโลก ประกอบกับ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ยังอยู่ในระดับสูงส่งผลให้ธนาคารทั้งสองประเทศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนตุลาคม 256641 ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2567 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ร้อยละ 4.0 ร้อยละ 5.5 และร้อยละ 5.4 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 4.7 ร้อยละ 3.8 ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 4.6 ในปี 2566 ตามล่าดับ

เศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP เทียบกับการขาดดุลร้อยละ 3.2 ในปี 2565

แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ท่ามกลางปัญหาการขาดสภาพคล่องและภาระ

หนี้สินของผู้ประกอบการที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ผู้บริโภคยังคงไม่มีความ

มั่นใจในการซื้อโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่เนื่องจากมีความเสี่ยง ที่

ผู้ประกอบการจะไม่สามารถส่งมอบได้ตามก่าหนด ส่งผลให้ยอดขายที่อยู่อาศัย

และยอดสินเชื่อใหม่ รวมถึงมูลค่าผลผลิตรวมของการก่อสร้างปรับตัวลดลง

ต่อเนื่อง (2) การใช้จ่ายภายในประเทศชะลอตัวภายหลังจากการเร่งใช้จ่ายไป

ในช่วงก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่าอย่าง

ต่อเนื่อง ขณะที่การชะลอตัวลงของอุปสงค์ภายในประเทศและการปรับตัวลดลง

ของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือนตุลาคม 2566

ลดลงร้อยละ 0.2 และมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด และ (3) การฟื้นตัว

ของตลาดแรงงานยังมีข้อจากัด อัตราการว่างงานของแรงงานอายุ 16 - 24 ปี

(Young Unemployment Rate) เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ

21.3 ในเดือนมิถุนายน 2566 และส่านักงานสถิติแห่งชาติจีนประกาศหยุดการ

รายงานอัตราการว่างงานรายช่วงอายุเป็นการชั่วคราวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อ

เศรษฐกิจ ขณะที่ข้อมูลล่าสุดในเดือนตุลาคม 2566 ชี้ให้เห็นว่าจ่านวนประกาศ

รับสมัครงานอยู่ที่ 2.08 ล้านต่าแหน่ง ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 2.29 ล้าน

ต่าแหน่ง ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนแนวโน้มข้อจ่ากัดต่อการสร้างต่าแหน่งงาน

เพิ่มเติมเพื่อรองรับแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดในระยะต่อไป

-10.0

-5.0

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0

มี.ค. 61

ก.ค. 61

พ.ย. 61

มี.ค. 62

ก.ค. 62

พ.ย. 62

มี.ค. 63

ก.ค. 63

พ.ย. 63

มี.ค. 64

ก.ค. 64

พ.ย. 64

มี.ค. 65

ก.ค. 65

พ.ย. 65

มี.ค. 66

ก.ค. 66

%YoY Real GDP

Target 2566 = 5.0

4.9

-30

-20

-10

0

10

20

30

40

ม.ค. 53 ม.ค. 55 ม.ค. 57 ม.ค. 59 ม.ค. 61 ม.ค. 63 ม.ค. 65

การลงทุนในสินทรัพย์าวร %YoY

-5

0

5

10

15

20

25

30

2561 2562 2563 2564 2565 2566

%YoY การขยายตัวของสินเช่อใหม่

สินเช่อเพ่อที่อยู่อาศัยส่วนุคคล

สินเช่อเพ่อการอุปโภค ริโภค (Consumer loan)

0

50

100

150

200

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

Commodity Building Sold: ytd: Total

2560 2561 2562 2563

2564 2565 2566

แสนล้าน RMB

80

100

120

140

ม.ค. 63 ก.ค. 63 ม.ค. 64 ก.ค. 64 ม.ค. 65 ก.ค. 65 ม.ค. 66 ก.ค. 66

ดัชนีความเช่อมั่นผู้ ริโภคจีน

ปี 2562 = 100

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0

25.0

0

400,000

800,000

1,200,000

1,600,000

2,000,000

2,400,000

2,800,000

3,200,000

3,600,000

4,000,000

ก.พ.

65

เม.ย.

65

มิ.ย.

65

ส.ค.

65

ต.ค.

65

ธ.ค.

65

ก.พ.

66

เม.ย.

66

มิ.ย.

66

ส.ค.

66

ต.ค.

66

จานวนประกาศรั สมัครงาน

จานวนประกาศรั สมัครงาน

จานวนประกาศรั สมัครงานในสาขาการผลิต

อัตราการว่างงานในเขตเม องระหว่างอายุ 16 24 ปี (แกนขวา)

ครั้ง ร้อยละ

ระงับการประกาศ

อัตราการว่างงาน

ระหว่างอายุ 16 24 ปี

ที่มา: CEIC

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมีสัญญาณของการชะลอตัวลง สะท้อนจากเศรษฐกิจในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 4.9

ชะลอจากร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อน และข้อมูลล่าสุดในเดือนตุลาคม 2566 ชี้ให้เห็นว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ( Caixin PMI)

ภาคอุตสาหกรรมลดลงไปอยู่ที่ 49.5 ต่าสุดในรอบ 3 เดือน เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจจีน

ในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ต่ากว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ร้อยละ 5.0 และยังคาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องในปี 2567 โดยมี

ข้อจ่ากัดการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศของจีนที่ส่

สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสยังคงมีความไม่แน่นอนสูงและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป โดยกลไกการส่งผ่าน

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่ส่าคัญประกอบด้วย

1. ผลกระท โดยตรงจากเศรษฐกิจอิสราเอลและประเทศที่เกี่ยวเน่อง (1) ผลกระท ด้านการค้าระหว่างประเทศ ด้านการส่งออก จากข้อมูลในปี 2565 พบว่า

การส่งออกของไทยไปยงั พนื้ ทบี่ รเ วณทมี่ คี วามขดั แยง้ 6 ประเทศ ไดแ ก่ อสิ ราเอล ปาเลสไตน อยี ปิ ต จอรแ ดน เลบานอน และซเ รยี มมี ลู คา 2,313 ล้านดอลลาร สรอ.

คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด ส่วนการน่าเข้าของไทย มีมูลค่า 797 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 0.3 ของมูลค่าการน่าเข้าของไทย

ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากความขัดแย้งลุกลามสู่ภูมิภาคตะวันออกกลาง ผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น โดยการส่งออก

สินค้าของไทยประเทศส่าคัญในตะวันออกกลาง1 คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของการส่งออกของไทยทั้งหมด ในส่วนของการน่าเข้า คิดเป็นร้อยละ 10.7 ของการน่าเข้าของ

ไทยทั้งหมด โดยมีสินค้าน่าเข้าที่ส่าคัญ ได้แก่ น่ามันดิบและน่ามันส่าเร็จรูปรวมถึงก๊าซธรรมชาติ (2) ผลกระท ด้านการลงทุนโดยตรงจากตะวันออกกลางมายังไทย

อาจจะได้รับผลกระทบไม่มาก เนื่องจากสัดส่วนมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิจากภูมิภาคตะวันออกกลางมีสัดส่วนที่ต่า และ (3) ผลกระท

ด้านการท่องเที่ยว สัดส่วนของนักท่องเที่ยวจากอิสราเอลรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.3 ของจ่านวนนักท่องเที่ยว

ทั้งหมด สะท้อนว่าการลดลงของนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางจะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยส่าคัญ อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวกลุ่มตะวันออกกลางมีค่าใช้จ่าย

สูงกวา คา เฉลยี่ นกั ทอ่ งเทยี่ วทงั้ หมดจงึ อาจส่งผลตอ่ รายรบั จากนกั ทอ่ งเทยี่ วตา งชาตขิ องไทย

2. ผลกระท จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน จะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทยผ่านช่องทางการเพิ่มขึ้นของราคาน่ามัน ราคา LPG และราคาสินค้า

โภคภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังระดับราคาสินค้าภายในประเทศและต้นทุนการผลิตในระยะถัดไป (1) ราคาน้ามัน หากความขัดแย้งมีการลุกลามหรือ

ยืดเยื้อ อาจจะท่าให้ราคาน่ามันดิบปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาน่ามันในประเทศไทยโดยเฉพาะราคาน่ามันดีเซลยังคงถูกตรึงราคาไว้จากการ

สนับสนุนของกองทุนน่ามัน ขณะที่ความสามารถในการพยุงราคาน่ามันในประเทศก็มีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสาขาการผลิตที่พึ่งพิงพลังงานใน

สัดส่วนสูง เช่น สาขาการขนส่งฯ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาการไฟฟ้า ก๊าซฯ เป็นต้น และ (2) ราคา LPG หากสถานการณ์ขยายขอบเขตออกไป ราคา

LPG อาจจะมีแนวโน้มกลับมาสูงขึ้นในระยะถัดไป ซึ่งฐานะของกองทุนน่ามันที่น่ามาอุดหนุนราคา LPG ยังคงขาดทุนอยู่อย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลให้การผยุง

ราคา LPG มีข้อจ่ากัดในการด่าเนินการมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคา LPG จะส่งผลต่อภาคการขนส่งและภาคครัวเรือนเป็นส่าคัญ

3. ผลกระท จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (1) ราคาปุ๋ย ประเทศไทยมีการน่าเข้าปุ๋ย (รวมปุ๋ยที่มีแร่โพแทสเซียม) จากอิสราเอลในปี 2565 ทั้งสิ้น

64.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.1 ของการน่าเข้าปุ๋ยทั้งหมด ซึ่งหากสงครามกระจายวงกว้าง ราคาปุ๋ยในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะ

ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรในประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังน่าเข้าปุ๋ยจากกาตาร์เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 7.0 ของการน่าเข้าปุ๋ยทั้งหมด และ

(2) ราคาเหล็กและทองแดง สถานการณ์ยังไม่ส่งผลกระทบต่อทั้งราคาเหล็กและทองแดงมากนัก

4. ผลกระท จากความผันผวนของตลาดการเงินโลก สถานการณ์ความไม่สงบจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้นักลงทุนต่อเศรษฐกิจและการเงินโลกและ

น่าไปสู่การปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุน โดยมีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดหลักทรัพย์ส่าคัญทั่วโลก ส่งผลให้ดัชนีตลาด

หลักทรัพย์หลัก ๆ ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีเงินลงทุนระหว่างประเทศเคลื่อนย้ายออกจากประเทศก่าลัง

พัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยนักลงทุนจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ามากขึ้น ส่งผลให้ระดับราคาทองค่าเพิ่มสูงขึ้นและค่าเงินดอลลาร์ สรอ.

มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ในระยะสั้น ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคจะเผชิญกับความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนจากการปรับเปลี่ยนสัดส่วน

การลงทุนของนักลงทุน และการไหลออกของเงินลงทุนระหว่างประเทศดังกล่าว

5. ผลกระท จากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความขัดแย้งส่งผลต่อการขนส่งพลังงานผ่านช่องแคบฮอร์มุซ (Strait of

Hormuz) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างอิหร่านและโอมานซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่ออ่าวเปอร์เซียกับมหาสมุทรอินเดียอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีความส่าคัญยิ่ง โดยเฉพาะต่อ

การขนส่งน่ามันดิบและก๊าซธรรมชาติจากประเทศในอ่าวเปอร์เซีย

กลไกการส่งผ่านผลกระท ความขัดแย้งในตะวันออกกลางต่อเศรษฐกิจไทย

1 ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน โอมาน อิรัก บาร์เรน คูเวต และกาตาร์

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566

ในการแถลงข่าววันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ส่านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นขอบล่างของช่วงการประมาณการร้อยละ 2.5 - 3.0 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 โดยมีการปรับองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในช่วงสามไตรมาสแรกของปี และการปรับเปลี่ยนสมมติฐานการประมาณการ ที่ส่าคัญ ๆ ดังนี้

1) การปรั ลดประมาณการการขยายตัวของการส่งออกสินค้า โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าในปี 2566 จะลดลงร้อยละ 3.1 ปรับลดลงจากร้อยละ 1.8 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและสอดคล้องกับข้อมูลจริงในไตรมาสที่ 3 ซึ่งลดลงมากกว่าที่ประมาณการไว้

2) การปรั ลดประมาณการการลงทุนภาครัฐ โดยคาดว่าการลงทุนภาครัฐในปี 2566 จะลดลงร้อยละ 0.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เนื่องจาก (1) การโอนเปลี่ยนแปลงวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนประจ่าปี 2566 ส่งผลให้วงเงินรายจ่ายลงทุนอยู่ที่ 4.78 แสนล้านบาท ต่ากว่า 4.91 แสนล้านบาทในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา และ (2) กรอบวงเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 2567 ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 วงเงิน 208,985 ล้านบาท ต่ากว่าสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมาส่งผลให้ เม็ดเงินที่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 (ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567) ต่ากว่าที่ประมาณการไว้

3) การปรั ลดประมาณการการอุปโภคภาครัฐาล โดยคาดว่าการอุปโภคภาครัฐบาลจะลดลงร้อยละ 4.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.1 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งอยู่ในระดับต่ากว่าสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา

4) การปรั เพิ่มประมาณการการขยายตัวของการอุปโภค ริโภคภาคเอกชน โดยคาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 7.0 เทียบกับร้อยละ 5.0 ในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในไตรมาสที่ 3 ซึ่งการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 8.1 และยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน การปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นผู้บริโภค และการลดลงของแรงกดดันเงินเฟ้อ 6. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567

เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนส่าคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก การขยายตัว ในเกณฑ์ดีของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงและข้อจ่ากัดที่ส่าคัญซึ่งอาจท่าให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ากว่าที่คาดการณ์ ได้แก่ ข้อจ่ากัดของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง ความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งต่อผลผลิตภาคเกษตร และการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าท่ามกลางความเสี่ยงจากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์และความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังอยู่ ในเกณฑ์สูง

1) การกลั มาขยายตัวของการส่งออก จากข้อมูลล่าสุดในเดือนกันยายน 2566 พบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเริ่มกลับมาขยายตัวร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 12 เดือน โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้ารวม 23,195 ล้านดอลลาร์ สรอ. นับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน และเมื่อพิจารณาดัชนีปริมาณส่งออกในเดือนกันยายนพบว่าเริ่มหดตัวช้าลง โดยกลุ่มสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ประกอบด้วย ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์นั่ง รถกระบะ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ข้าว และผลไม้ ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณารายตลาดส่าคัญพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น เริ่มกลับมาขยายตัว จึงคาดว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มที่จะเริ่มกลับมาขยายตัวได้อย่างช้า ๆ สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และปริมาณการค้าโลกในปี 2567 ที่คาดว่า จะฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อด้านค่าสั่งซื้อล่วงหน้าภาคอุตสาหกรรมในหลายประเทศ และสัญญาณขาขึ้นของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มปรากฎชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานการขยายตัว ที่อยู่ในระดับต่าในปีก่อน

2) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการลงทุนภาคเอกชน ตามปัจจัยสนับสนุนที่ส่าคัญ ได้แก่ (1) การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนนับตั้งแต่ในปี 2564 ต่อเนื่องมาถึงในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 โดยมีมูลค่าโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมรวมทั้งสิ้นในปี 2564 2565 และช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 4.72 แสนล้านบาท 5.93 แสนล้านบาท และ 5.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 22.3 ร้อยละ 25.6 และร้อยละ 21.9 ตามล่าดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ตามล่าดับ (2) การด่าเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ส่าคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี อาทิ มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ และมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือมาตรการ EV 3.5 (พ.ศ. 2567 - 2570) (3) การขยายตัวของพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม สะท้อนจากข้อมูลยอดขายหรือเช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในปีงบประมาณ 2566 พบว่ามีจ่านวน 5,693 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 182.0 จากปีก่อนหน้า โดยเป็นพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จ่านวน 4,753 ไร่ และนอกพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 939 ไร่ และ (4) ความคืบหน้าของโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) โดยวงเงินโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในปีงบประมาณ 2566 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 98,799 ล้านบาท42 เทียบกับ 46,450 ล้านบาทที่ได้รับความเห็นชอบในปีงบประมาณ 2565 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.7

3) การขยายตัวอย่างต่อเน่องของการอุปโภค ริโภคภายในประเทศ โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่ส่าคัญ ได้แก่ (1) แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะทรงตัวในระดับต่าภายใต้กรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้การด่าเนินนโยบายการเงินมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายลงมากขึ้นภายหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 เป็นต้นมา (2) การปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงาน ดังจะเห็นได้จากการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ หมวดขนส่ง และหมวดที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่าใกล้เคียงกับในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และ (3) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 60.2 นับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 44 เดือน

4) การปรั ตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยว ตามการเร่งตัวขึ้นของจ่านวนนักท่องเที่ยวต่างชาตินับตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ต่อเนื่องมาในปี 2566 และคาดว่าภาคการท่องเที่ยวในปี 2567 จะกลับเข้าสู่ระดับปกติมากขึ้น สะท้อนจากข้อมูลจ่านวนนักท่องเที่ยวจากประเทศต้นทาง ส่วนใหญ่ที่มีจ่านวนใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-1943 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราของนักท่องเที่ยวจีนและคาซัคสถาน โดยพ่านักในประเทศไทยได้ไม่เกิน 30 วัน ซึ่งมีผลตั้งแต่ 25 กันยายน 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราส่าหรับชาวรัสเซีย โดยพ่านักในประเทศไทยได้ไม่เกิน 30 วัน มีผลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 เมษายน 2567 และมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราส่าหรับชาวอินเดียและไต้หวัน โดยพ่านักในประเทศไทยได้ไม่เกิน 30 วัน มีผลตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน 2566 จนถึง 10 พฤษภาคม 2567 ที่คาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากขึ้น และ (2) มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มเติมของภาครัฐ อาทิ โครงการ Unseen New Series ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่เน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง หรือโครงการ Amazing Thailand NFTs เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัลที่จะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศให้ยังคงปรับตัว ดีขึ้นต่อเนื่อง

42 โครงการส่าคัญ ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ตอนบางขุนเทียน -บางบัวทอง และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต - บางปะอิน

43 นักท่องเที่ยวสะสมในช่วง 9 เดือนแรกในปี 2566 จากประเทศมาเลเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย และรัสเซีย อยู่ที่ 3.30 ล้านคน 1.19 ล้านคน 1.16 ล้านคน และ 0.99 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 111.5 ร้อยละ 85.2 ร้อยละ 79.0 และร้อยละ 102.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามล่าดับ

ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีจานวนนักท่องเที่ยวรายเด อน จาแนกตามสัญชาติ0.1280.1520.2080.2880.5080.7691.1351.1881.2591.4671.7212.2412.1452.1142.2192.1822.0142.2412.4912.4682.1310.00.51.01.52.02.53.0ม.ค. 65พ.ค. 65ก.ย. 65ม.ค. 66พ.ค. 66ก.ย. 66มาเลเซียจีนอินเดียเกาหลีใต้รัสเซียสิงคโปร์เวียดนามลาวสหรัฐฯสหราชอาณาจักรญี่ปุ่นเยอรมนีออสเตรเลียอินโดนีเซีย รั่งเศสอ่น ๆล้าน

การส่งเสริมการลงทุน: แรงขั เคล่อนสาคัญของการลงทุนภาคเอกชนในปี 2567

ภายหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นต้นมา พบว่า การขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 มูลค่าค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ที่ 4.7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 5.9 แสนล้านบาท ในปี 2565

ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่ารวม 5.2 แสนล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ

21.9 โดยค่าขอรับการส่งเสริมตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมีสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 70 ของมูลค่าลงทุนรวม และอุตสาหกรรมเป้าหมายสูงสุด

5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ (มูลค่ารวมตั้งแต่ปี 2564 - 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 4.1 แสนล้านบาท

สัดส่วนร้อยละ 25.8) (2) การเกษตร และแปรรูปอาหาร (มูลค่า 1.8 แสนล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 11.2) (3) ยานยนต์และชิ้นส่วน (มูลค่า 1.7

แสนล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 10.6) (4) ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 7.9) และ (5) การแพทย์ (มูลค่า 0.9

แสนล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 5.6) ตามล่าดับ และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มีบริษัทต่างชาติที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนแล้ว

ที่ส่าคัญในแต่ละอุตสาหกรรม ดังนี้ (1) อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟา อาทิ บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล จ่ากัด บริษัท โฟตอน ซีพี มอเตอร์

จ่ากัด และบริษัท GAC AION New Energy Automobile Company Limited (2) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ บริษัท มูราตะ

อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จ่ากัด และ บริษัท โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) จ่ากัด (3) ไฟฟาจากชีวมวล อาทิ บริษัท ซีแอนด์จี

เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) บริษัท นิวสกาย เอ็นเนอร์จี (แบงค็อก) จ่ากัด และ (4) อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อาทิ

บริษัท น่าตาลนิวกว้างสุ้นหลี จ่ากัด เป็นต้น ซึ่งหากมีการเร่งรัดโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเหล่านี้ให้สามารถเกิดการ ลงทุนจริง

ได้โดยเร็ว จะช่วยสนับสนุนการลงทุนภายในประเทศในปี 2567 ได้

ส่าหรับแนวทางการด่าเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐที่ส่าคัญ นอกจากกรอบมาตรการภายใต้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน 5 ปี

(2566-2570) ของส่านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2566 แล้ว ในช่วงปลายปี 2566 ส่านักงานคณะกรรมการ

สง่ เสรมิ การลงทนุ ไดม้ กี รออกมาตรการการสง่ เสรมิ การลงทนุ เพมิ่ เตมิ อีก 2 มาตรการ ไดแ ก่ (1) มาตรการยกระดั อตุ สาหกรรมยานยนต์ (วนั ที่ 9

พฤศจิกายน 2566 ) ประกอบด้วย (i) การจัดตั้งส่านักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศ (ii) ก่าหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับ

อุตสาหกรรมยานยนต์ และ (iii) การประสานความร่วมมือ ปรับปรุงหลักเกณฑ์ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเพื่ออ่านวยความสะดวกและลด

อุปสรรคในการลงทุน (Ease of Investment) (2) มาตรการสนั สนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟา ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2567 - 2570) หรือ มาตรการ EV 3.5

(วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566) โดยจะมีการลดอากรน่าเข้าไม่เกินร้อยละ 40 ส่าหรับการน่าเข้ารถยนต์ไฟฟ้าส่าเร็จรูป ( CBU) ในช่วง 2 ปีแรก

(พ.ศ. 2567 - 2568) กรณีเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 ส่าหรับรถยนต์

ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท โดยได้ตั้งเงื่อนไขกระตุ้นการลงทุนในประเทศ ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนผลิตเพื่อชดเชยการน่าเข้าภายในปี 2569

ในอัตราส่วน 1 : 2 (น่าเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) และจะเพิ่มอัตราส่วนเป็น 1 : 3 ภายในปี 2570 ซึ่งคาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุน

ทั้งต่างชาติและภายในประเทศพิจารณาขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และจะเป็นแรงขับเคลื่อน

ส่าคัญให้การลงทุนภาคเอกชนในปี 2567 ขยายตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่อง

การส่งเสริมการลงทุน: แรงขั เคล่อนสาคัญของการลงทุนภาคเอกชนในปี 2567

25.9

11.2

10.6

7.9

5.6

2.6 4.0

2.4

0.3

0.1

29.3

แผนภาพสัดส่วนมูลค่าการขอรั การส่งเสริมการลงทุนลงทุนของอุตสาหกรรมเปาหมายเ ลี่ย

ปี 2564 ? 9 เด อนแรกของปี 2566

เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร และแปรรูปอาหาร ยานยนต์และชิ้นส่วน

ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ การแพทย์ ดิจิทัล

เทคโนโลยีชีวภาพ ท่องเที่ยว ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์

อากาศยาน นอกอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ที่มา: ส่านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ค่านวณโดย สศช.

ตารางมูลค่าโครงการขอรั การส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ ปี 2562 - 9 เด อนแรกของ

ทิศทางการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทย

ในชว่ งสามไตรมาสแรกของปี 2566 มีจ่านวนนกั ทอ่ งเทยี่ วตา งชาตทิ เ ดนิ ทางเขา มายังประเทศไทยเพมิ่ ขนึ้ ตอ่ เนอื่ งโดยมีจ่านวนทงั้ สนิ้ 20.0 ลา นคน เพมิ่ ขนึ้

ร้อยละ 255.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.9 ของช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในปี 2562

และหากพิจารณาเป็นรายสัญชาติพบว่า นักท่องเที่ยวหลายสัญชาติเริ่มกลับเข้าสู่ระดับปกติหรือสูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดแล้ว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ (ร้อยละ 91.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562) อาทิ มาเลเซีย (ร้อยละ 111.5) เวียดนาม (ร้อยละ 99.6) สิงคโปร์ (ร้อยละ 96.4)

เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป (ร้อยละ 82.3) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัสเซีย (ร้อยละ 102.2) อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของนัก ท่องเที่ยว

บางสญั ชาตยิ งคงลา ชา โดยเฉพาะอย่างยงิ่ นกั ทอ่ งเทยี่ วจากจีน (รอ้ ยละ 29.3) และญปี่ นุ่ (รอ้ ยละ 42.5)

ขณะเดยี วกนั เมอื่ พจิ รณาการฟนื้ ตวั ของนกั ทอ่ งเทยี่ วตา งชาตขิ องไทยพบว่ายังมีความลา ชา กว่าประเทศอนื่ ๆ ในภูมิภาค โดยเมอื่ น่าขอ้ มูลของจ่านวน

นกั ทอ่ งเทยี่ วในเดอื นกนั ยายน 2566 เทยี บกบั เดอื นมกราคม 2562 ซงึ่ เปน็ ชว่ งกอ่ นการแพรร่ บาดของโควิด-19 พบว่านกั ทอ่ งเทยี่ วตา งชาตทิ เ ดนิ ทางเขา มายัง

ประเทศไทยคิดเปน็ รอ้ ยละ 57.3 ของชว่ งกอ่ นการแพรร่ บาด นบั เปน็ ระดบั ทตี่ กว่าเมอื่ เทยี บกบั เกาหลใ ตซ้ งึ่ มีสดั สว่ นรอ้ ยละ 100.5 สะทอ้ นใหเ หน็ ว่ามีจ่านวน

นักท่องเที่ยวเดินทางไปเกาหลีใต้มากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดแล้ว ขณะที่อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และสิงคโปร์ มีสัดส่วนในเกณฑ์สูงร้อยละ 89.1 ร้อยละ

81.2 ร้อยละ 70.2 และร้อยละ 63.8 ของช่วงก่อนการแพร่ระบาด ตามล่าดับ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวที่ล่าช้าของนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมายัง

ประเทศไทย โดยเมอื่ เปรยี บเทยี บจ่านวนนกั ทอ่ งเทยี่ วจีนของไทยในเดอื นกนั ยายน 2566 เทยี บกบั เดอื นมกราคม 2562 พบว่ามีสดั สว่ นเพยี งรอ้ ยละ 26.6 ของ

ชว่ งกอ่ นการแพรร่ บาด ซงึ่ ถอื เปน็ อตั ราการฟนื้ ตวั ทลี่ ชา กว่าเมอื่ เทยี บกบั จ่านวนนกั ทอ่ งเทยี่ วจีนทเ ดนิ ทางไปยังประเทศอนื่ ๆ อาทิ เกาหลใ ต้ (รอ้ ยละ 67.2)

อินโดนีเซีย (ร้อยละ 50.0) เวียดนาม (ร้อยละ 46.2) สิงคโปร์ (ร้อยละ 42.3) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 43.1) สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในการเดินทางท่องเที่ยวไปยัง

จุดหมายปลายทางประเทศอื่นในภูมิภาคของนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น ในขณะที่ยังชะลอการเดินทางมาประเทศไทย และข้อมูลล่าสุดในเดือนตุลาคม 2566

ภายหลงั การด่าเนนิ มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราใหแ กน่ กั ทอ่ งเทยี่ วจีน ชใ หเ หน็ ว่ามีจ่านวนนกั ทอ่ งเทยี่ วจีนทเ ดนิ ทางเขา ประเทศไทยอยทู่ 2.3 แสนคน คิดเป็น

เฉลยี่ ประมาณ 7,400 คนตอ่ วัน ต่ากว่า 13,000 คน และ 35,000 คนตอ่ วันในเดอื นกรกฎาคม 2566 และในเดอื นมกราคม 2562 ตามล่าดบั

ดงั นนั้ เพอื่ ใหก้ รฟนื้ ตวั ของภาคการทอ่ งเทยี่ วของไทยเปน็ ไปอย่างตอ่ เนอื่ งจึงจ่าเปน็ ตอ้ งใหค้ วามส่าคัญตอ่ การด่าเนนิ มาตรการเพอื่ สรา งความเชอื่ มนั่ และ

ดงึ ดดู นกั ทอ่ งเทยี่ วจีนใหเ ดนิ ทางกลบั มาทอ่ งเทยี่ วในประเทศไทยมากขนึ้ ควบคไ ปกบั การกระจายตลาดนักท่องเที่ยวให้มีความสมดุลมากขึ้นโดยการส่งเสริม

ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวจีน

Economic Outlook

1) การลดลงของแรงขั เคล่อนทางการคลัง โดยเป็นผลจากปัจจัยข้อจ่ากัดที่ส่าคัญ ได้แก่ (1) ความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2567 ในกรณีฐานคาดว่างบประมาณรายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ 2567 จะสามารถเริ่มเบิกจ่ายได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 หรือล่าช้าออกไปจากกรณีปกติ 7 เดือน เงื่อนไขดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะท่าให้การเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ในช่วงไตรมาสที่สามและไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2567 ซึ่งส่งผลให้คาดว่าการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายโดยเฉพาะงบลงทุนภาครัฐในปี 2567 ต่ากว่าปีงบประมาณก่อนหน้า ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่าในปีงบประมาณ 2567 จะมีเม็ดเงินจากการเบิกจ่ายงบลงทุน 5.72 แสนล้านบาท เทียบกับ 6.08 แสนล้านบาทในปีงบประมาณ 2566 และ (2) แนวโน้มการลดลงของพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ภายหลังจาก การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งภาครัฐจ่าเป็นต้องด่าเนินมาตรการเพื่อลดผลกระทบ ช่วยเหลือเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.2 ของ GDP ณ สิ้นปี 2562 เป็นร้อยละ 63.8 ต่อ GDP ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ขณะที่ รายได้ของรัฐบาลมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องโดยสัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อ GDP44 ในปีงบประมาณ 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 14.6 ของ GDP เทียบกับร้อยละ 15.2 ในปีงบประมาณ 2562 เงื่อนไขดังกล่าวส่งผลให้พื้นที่ทางการคลังในการด่าเนินนโยบายเพื่อรองรับ ความเสี่ยงในอนาคตลดลง

2) ภาระหนี้สินครัวเร อนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดั สูง ซึ่งอาจเป็นข้อจ่ากัดต่อการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ โดยสัดส่วนสินเชื่อ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นพิเศษ (Special Mention Loans: SMLs) ต่อสินเชื่อรวมของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในไตรมาสที่สองของปี 2566 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 12.1 เทียบกับร้อยละ 7.6 และร้อยละ 11.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.2 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อน การแพร่ระบาด ตามล่าดับ เช่นเดียวกับสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่สองของปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 90.7 เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า และยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 82.6 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ ภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนรายได้น้อย ธุรกิจ SMEs และลูกหนี้ภาคเกษตรกรรมถือเป็นข้อจ่ากัดที่อาจส่งผลต่อต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม

3) ผลกระท จากป ญหาภัยแล้งต่อผลผลิตภาคเกษตร จากรายงานของ World Meteorological Organization (WMO) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ประมาณการว่าสภาวะเอลนีโญ (El Ni?o) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 จะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน 256745 ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณน่าฝนมีแนวโน้มต่ากว่าค่าเฉลี่ยปกติ โดยข้อมูลปริมาณน่าฝนสะสมในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 1,161 มิลลิเมตร ต่ากว่าปริมาณน่าฝนเฉลี่ย 30 ปี (2536 - 2565) ที่เฉลี่ย 1,361 มิลลิเมตร ส่งผลให้ปริมาณน่าใช้การได้จริงในเขื่อนหลักลุ่มแม่น่าเจ้าพระยา46 ณ เดือนตุลาคม 2566 อยู่ที่ 6,419 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.8 ของความจุกักเก็บทั้งหมด ต่ากว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีในช่วงเวลาเดียวกันที่ 7,831 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 31.5 ของความจุกักเก็บทั้งหมด ซึ่งสะท้อนน่าต้นทุนที่มีแนวโน้มลดลงโดยเฉพาะหากปริมาณน่าฝนในระยะต่อไปต่ากว่าค่าเฉลี่ยจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะ การเพาะปลูกข้าวนาปรังในฤดูกาลเพาะปลูก 2567 และนาปีในฤดูกาลเพาะปลูก 2567 2568

4) ความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก โดยมีเงื่อนไขความเสี่ยงที่ต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ประกอบกับความยืดเยื้อของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งอาจยกระดับความรุนแรงจนส่งผลให้การแบ่งแยกเชิงภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจ (Geo-economic fragmentation) มากขึ้นและส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมทั้งความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนมากขึ้น (2) แนวโน้มการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจจีนจากปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์และการชะลอตัวลงของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศจนมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืด (3) ความผันผวนของระดับราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และสงครามในอิสราเอล ซึ่งอาจ สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นกว่าที่คาดและส่งผลต่อการด่าเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางให้กลับมาเข้มงวดอีกครั้ง และ (4) การลดลงของพื้นที่ทางการคลังในหลายประเทศที่เผชิญกับภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง

44 แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567 - 2570) ฉบับทบทวน

45 ผลกระทบที่เกิดขึ้น อาทิ อุณหภูมิผิวน่าทะเลเฉลี่ยในเดือนตุลาคม 2566 อยู่ที่ 20.8 องศาเซลเซียส สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ส่าหรับประเทศไทย อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในช่วงเดือนตุลาคม 2566 อยู่ที่ 27.9 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ 0.8 องศาเซลเซียส

46 ประกอบด้วยเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนแควน้อยบ่ารุงแดน และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยมีความจุรวมกัน 24,871 ล้านลูกบาศก์เมตร

ข้อจากัดและป จจัยเสี่ยง

แนวโน้มสภาวะเอลนีโญ1 (El Ni?o) และผลกระท ต่อปริมาณน้าภายในประเทศ

จากการคาดการณ์ปรากฏการณ์ ENSO2 พบว่ามีแนวโน้มจะคงสภาวะเอลนีโญรุนแรง (Strong El Ni?o) ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคม

2567 ก่อนที่จะมีก่าลังอ่อนลงจนเข้าสู่สภาวะเอลนีโญระดับอ่อน (Weak El Ni?o) และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่สภาวะปกติ (Neutral) ในเดือน

มิถุนายน 2567 ส่าหรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2567 อุณหภูมิทั่ว

ประเทศจะมีค่าสูงกว่าค่าปกติ เฉลี่ยอยู่ที่ 26.2 - 29.9 องศาเซลเซียส ค่ากลางอยู่ที่ 27.6 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 24.7 - 28.4 องศาเซลเซียส

และค่ากลาง 26.1 องศาเซลเซียส) ประกอบกับคลื่นความร้อนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยธรรมชาติ อาทิ

การเกิดไฟป่าตลอดจนปัญหาฝุ่น PM 2.5 และหมอกควัน และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลเกษตร ส่วนปริมาณน่าฝนทั่วประเทศจะมีค่า

ต่ากว่าค่าปกติ โดยจะมีปริมาณน่าฝนเฉลี่ยอยู่ที่ 11.3 - 95.7 มิลลิเมตร และมีค่ากลางอยู่ที่ 43.3 มิลลิเมตร (ค่าปกติ 20.6 - 92.8 มิลลิเมตร

และค่ากลาง 51.1 มิลลิเมตร) ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการปรับตัวลดลงของปริมาณน่าในแหล่งน่าธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขต

ชลประทานที่มีมากถึงร้อยละ 75.0 ของพื้นที่การเกษตรทั้งประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปัญหาการปรับตัวลดลง

ของปริมาณน่าในอ่างเก็บน่าและเขื่อนทั่วประเทศ ส่งผลให้ปริมาณน่าใช้การได้จริง (Useable Water Supply) ไม่เพียงพอกับปริมาณความ

ต้องการใช้น่าจริง (Useable Water Demand) ท่าให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะประสบภัยแล้งชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากร

น่าจึงมีความส่าคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะต่อการผลิตภาคเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนการใช้น่าถึงกว่าร้อยละ 80 ของการใช้น่ารวมของประเทศ

ในขณะที่ภาคบริการ และภาคการผลิตอุตสาหกรรม มีสัดส่วนร้อยละ 12.0 และร้อยละ 8.0 ตามล่าดับ

ข้อมูลอุปทานน่าภายในประเทศ (Useable Water Supply) ชี้ให้เห็นว่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ปริมาณน่าในอ่างเก็บน่าและเขื่อนทั่วประเทศอยู่ที่ 56,220 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ 79.26 ของปริมาตรความจุน่าในอ่างเก็บกัก) ซึ่งต่ากว่าปี 2561 (ที่เป็นช่วงก่อนเกิดภัยแล้งในปี 2562) โดยมีปริมาณน่าอยู่ที่ 57,743 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ 81.41 ของปริมาตรความจุน่าในอ่างเก็บกัก) และปริมาณน่าใช้การได้จริงทั่วประเทศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 46.08 ของความจุน่าใช้การได้จริง ซึ่งต่ากว่าร้อยละ 48.22 ของความจุน่าใช้การได้จริง ในปี 2561

เมื่อพิจารณารายภูมิภาคพบว่า มีพื้นที่ที่มีปริมาณน่าใช้การได้จริงต่ากว่าปี 2561 จ่านวน 4 ภาค ประกอบด้วย ภาคตะวันออก มีปริมาณน่าใช้การได้จริง 1,075 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ 70.96 ของความจุน่าใช้การได้จริง) ซึ่งต่ากว่าร้อยละ 89.44 ของความจุน่าใช้การได้จริง ในปี 2561 ภาคใต้ มีปริมาณน่าใช้การได้จริง 4,162 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ 50.79 ของความจุน่าใช้การได้จริง) ซึ่งต่ากว่าร้อยละ 61.59 ของความจุน่าใช้การได้จริง ในปี 2561 ภาคตะวันตก มีปริมาณน่าใช้การได้จริง 9,215 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ 34.64 ของความจุน่าใช้การได้จริง) ซึ่งต่ากว่าร้อยละ 41.26 ของความจุน่าใช้การ ในปี 2561 และภาคเหนือ มีปริมาณน่าใช้การได้จริง 10,746 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ 43.29 ของความจุน่าใช้การได้จริง) ซึ่งต่ากว่าร้อยละ 51.31 ของความจุน่าใช้การได้จริง ในปี 2561 อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่ที่มีปริมาณน่าใช้การได้จริงสูงกว่า ปี 2561 เนื่องจากฝนตกชุกและมีน่าท่วมในหลายจังหวัดในช่วงที่ผ่านมา ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน่าใช้การได้จริง 6,340 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ 75.76 ของความจุน่าใช้การได้จริง) ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 38.59 ของความจุน่าใช้การได้จริง ในปี 2561 และภาคกลาง มีปริมาณน่าใช้การได้จริง 1,146 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็นร้อยละ 80.76 ของความจุน่าใช้การได้จริง) ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 60.11 ของความจุน่าใช้การได้จริง ในปี 2561 ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเฝ้าติดตามสถานการณ์และข้อมูลปริมาณน่าอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถด่าเนินการบริหารจัดสรรทรัพยากรน่าอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อ ความต้องการในพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง รวมทั้งการมีระบบเตือนภัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ต่อภัยแล้ง

1) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 และร้อยละ 3.2 เทีย กั ร้อยละ 2.8 และร้อยละ 2.1 ในปี 2566 ตามลาดั โดยเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลงตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจส่าคัญ น่าโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่คาดว่าจะชะลอตัวลงตามอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากฐานการขยายตัว ที่อยู่ในเกณฑ์ต่าในปีก่อน ส่าหรับเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องท่ามกลางปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ กลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากฐานการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่าในปีก่อนหน้า เช่นเดียวกับเศรษฐกิจอาเซียนที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า สอดคล้องกับแนวโน้มปริมาณการค้าโลกที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ฟื้นตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในปี 2566 ซึ่งถือเป็นอัตราขยายตัวต่าสุดในรอบ 14 ปี หากไม่นับปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19

2) ค่าเงินาทเ ลี่ยในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 34.0 - 35.0 ทต่อดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นจากเ ลี่ย 34.9 ทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2566 ดังจะเห็นได้จากค่าเงินบาทที่เริ่มมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดย ล่าสุด ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 อยู่ที่ 35.6 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเฉลี่ย 36.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม 2566 และคาดว่าค่าเงินบาทจะทยอยแข็งค่าขึ้น อย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2567 สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวดีขึ้นของการส่งออกและรายรับจากการท่องเที่ยว ประกอบกับแนวโน้ม การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. อันเนื่องมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและมีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี 2567

3) ราคาน้ามันดิ ดูไ เ ลี่ยในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 80.0 - 90.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อาร์เรล เพิ่มขึ้นจากเ ลี่ย 82.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อาร์เรลในปี 2566 โดยมีปัจจัยที่จะท่าให้ราคาน่ามันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ (1) ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ยังมีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้น (2) ข้อจ่ากัดด้านการผลิตจากการปรับลดก่าลังการผลิตของ กลุ่มประเทศ OPEC+ อย่างต่อเนื่อง47 (3) ปริมาณน่ามันดิบคงคลังสุทธิของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่าสะท้อนจากจ่านวนแท่นขุดเจาะที่ลดลง และ (4) แนวโน้มการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่อาจท่าให้ราคาน่ามันไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการน่าเข้าน่ามันดิบจากเวเนซูเอล่าของสหรัฐฯ และข้อตกลงการน่าเข้าน่ามันดิบของจีนจากซาอุดิอาระเบีย

4) ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในปี 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 - 1.0 และร้อยละ 0.5 - 1.5 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.1 และร้อยละ 1.2 ในปี 2566 สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน่ามันดิบ และแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

5) รายรั จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.30 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1.03 ล้านล้านบาทในปี 2566 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาทั้งสิ้น 35 ล้านคน เทียบกับ 28 ล้านคนในปี 2566 สอดคล้องกับนักท่องเที่ยวในหลายประเทศที่มีแนวโน้มเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดมากขึ้น อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และรัสเซีย รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่นักท่องเที่ยวในหลายประเทศ

47 ในการประชุมระดับรัฐมนตรีของผู้ผลิตน่ามันรายใหญ่ทั้งในและนอกกลุ่มโอเปค (OPEC and non-OPEC Ministerial Meeting: ONOMM) ครั้งที่ 50 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 มีมติยืนยันการด่าเนินการตามผลการประชุมครั้งที่ 35 ที่ได้ก่าหนดเพดานการผลิตน่ามันดิบของกลุ่มไว้ที่ 40.46 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2567 ในขณะที่ ซาอุดิอาระเบียยังคงขยายระยะเวลาการลดก่าลังการผลิตน่ามันเพิ่มเติม 1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เช่นเดียวกับ รัสเซียที่ด่าเนินการปรับลดการส่งออกลง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปี 2566

Economic Outlook

6) การเกจ่ายง ประมาณ ประกอบด้วย (1) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 90.4 ของงบประมาณทั้งหมด เทียบกับร้อยละ 97.0 ในปีงบประมาณ 2566 แบ่งเป็น อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าร้อยละ 97.0 เทียบกับร้อยละ 101.6 ในปีงบประมาณก่อนหน้า ขณะที่รายจ่ายลงทุนคาดว่าจะมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 65.0 เทียบกับร้อยละ 77.7 ในปีงบประมาณก่อนหน้า ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่าความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าปี 2567 มีความล่าช้า 7 เดือน และจะสามารถเบิกจ่ายได้นับตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นไป (2) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปี ในปีงบประมาณ 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 82.5 ของงบประมาณทั้งหมด เทียบกับร้อยละ 91.3 ในปีงบประมาณ 2566 โดยแบ่งเป็น อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าร้อยละ 95.0 และรายจ่ายลงทุนร้อยละ 80.0 และ (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2567 (15 เดือน นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2567) คาดว่าจะคิดเป็นวงเงินลงทุนประมาณ 4.05 แสนล้านบาท เทียบกับ 4.41 แสนล้านบาทในปีก่อนหน้า

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2567

ในการแ ลงข่าววันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 สานักงานสภาพั นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยมีค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2566 สาหรั อัตราเงินเฟ อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 - 2.7 เทีย กั ร้อยละ 1.4 ในปี 2566 และญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP เทีย กั ร้อยละ 1.0 ของ GDP ในปี 2566

องค์ประกอ ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

1) การใช้จ่ายเพ่อการอุปโภค ริโภค ประกอบด้วย (1) การใช้จ่ายเพ่อการอุปโภค ริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เป็นการขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.0 ในปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนส่าคัญจากตลาดแรงงาน ที่ยังคงแข็งแกร่ง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้น และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่า และ (2) การใช้จ่ายเพ่อการอุปโภคภาครัฐาล คาดว่าจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.2 จากการลดลงร้อยละ 4.2 ในปี 2566 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายประจ่าภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจ่าปี 2567 วงเงิน 2,762,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 จากกรอบวงเงิน 2,569,219 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2566

2) การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในปี 2566 โดย (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในปี 2566 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของมูลค่าโครงการที่ขอการขอรับการส่งเสริมการลงทุนและออกบัตรส่งเสริมการลงทุน และ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่า จะลดลงร้อยละ 1.8 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.8 ในปี 2566 ตามความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจ่าปี 2567 ที่จะส่งผลให้ การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนมีความล่าช้า

3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.0 ในปี 2566 โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.1 ในปี 2566 และราคาส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 - 1.0 เทียบกับ ร้อยละ 1.1 ในปี 2566 เมื่อรวมกับการส่งออกบริการคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2567 จะขยายตัวร้อยละ 6.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.9 ในปี 2566

4) มูลค่าการนาเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.7 ในปี 2566 โดยคาดว่าปริมาณ การน่าเข้าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.9 ในปี 2566 สอดคล้องกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่ราคาน่าเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 - 1.5 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในปีก่อนหน้า เมื่อรวมกับการน่าเข้าบริการ คาดว่าปริมาณ การน่าเข้าสินค้าและบริการในปี 2567 จะขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.2 ในปี 2566

5) ดุลการค้า คาดว่าจะเกินดุล 1.35 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 1.54 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2566 เมื่อรวมกับดุลบริการ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 จะเกินดุล 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นการเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP เทียบกับการเกินดุล 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 1.0 ของ GDP ในปี 2566

6) เสียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 - 2.7 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 2.2) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในปี 2566 สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน่ามันและแนวโน้มการขยายตัวต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเท

7. ประเด็นการ ริหารนโยายเศรษฐกิจมหภาค

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2566 และในปี 2567 ควรให้ความส่าคัญกับ

1) การดาเนินนโยายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมสอดคล้องกั เง่อนไขทางเศรษฐกิจที่กาลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวท่ามกลางความเสี่ยงจากความผันผวนในระ เศรษฐกิจที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและแรงกดดันทางด้านเสียรภาพเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยควรให้ความส่าคัญต่อการเพิ่มพื้นที่ในการด่าเนินนโยบาย (Policy space) ให้มีความเพียงพอเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป และพิจารณาทยอยปรับนโยบายให้เข้าสู่ระดับปกติ (Normalisation) มากขึ้น โดย (1) ด้านนโยายการเงิน ควรพิจารณาด่าเนินนโยบายการเงิน ในระดับที่เหมาะสมเพื่อมุ่งรักษาเสถียรภาพราคาควบคู่ไปกับการดูแลการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของการด่าเนินนโยบายการเงิน ขณะเดียวกัน ควรมุ่งปรับโครงสร้างหนี้และแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน และ (2) ด้านนโยายการคลัง ควรมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal consolidation) โดยการจัดล่าดับความส่าคัญและความจ่าเป็นในการใช้จ่ายภาครัฐควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้เพื่อลดขนาดการขาดดุลการคลัง และเตรียมพื้นที่ทางการคลังไว้รองรับการด่าเนินนโยบายที่จ่าเป็นท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

2) การเตรียมมาตรการเพ่อรองรั ผลกระท และใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเกิดจากการขยายตัวของความตึงเครียดทาง ภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจหลัก และความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความส่าคัญต่อมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางในปัจจุบันที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ที่ส่าคัญทั้งด้านแรงงาน ความผันผวนของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และต้นทุนภาคเกษตร โดยควรให้ความส่าคัญต่อมาตรการต่าง ๆ ที่ส่าคัญ ได้แก่ (1) มาตรการด้านแรงงาน ควรดูแลแรงงานที่เดินทางกลับจากอิสราเอลและแรงงานในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบในอนาคต รวมทั้งการด่าเนินมาตรการเพื่อน่าศักยภาพของแรงงานที่กลับมาให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการเพื่อส่งเสริมให้แรงงานท่างานในประเทศมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของไทย และ (2) มาตรการด้านพลังงาน ควรเร่งสร้างก่าลังการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจส่งผลกระทบต่อการน่าเข้าในระยะต่อไป พร้อมทั้งบริหารจัดการแหล่งพลังงานส่ารองให้เพียงพอในกรณีที่หากสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกัน ควรบริหารจัดการให้ราคาน่ามันเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดและสอดคล้องกับราคาน่ามันในตลาดโลก เพื่อให้ประชาชนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาพลังงานและไม่สร้างภาระต่อกองทุนน่ามันในระยะต่อไป ขณะเดียวกัน ควรมุ่งเน้นการรณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) และการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทนให้มากขึ้นต่อเนื่อง

3) การขั เคล่อนภาคการส่งออกสินค้าให้กลั มาขยายตัวได้อย่างต่อเน่อง เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่เพื่อขยายก่าลังการผลิต โดยให้ความส่าคัญกับ (1) การเร่งรัดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้ม การขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ อาทิ ตลาดเอเชียใต้ อาเซียน และการค้าชายแดน (2) การขับเคลื่อน การส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น อาทิ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสินค้าที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนจากความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งสินค้าที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งในตลาดสหรัฐฯ และจีน อาทิ สินค้าในกลุ่มอาหารและเกษตรแปรรูป เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ และอุปกรณ์กึ่งตัวน่า เป็นต้น (3) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่ก่าลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าส่าคัญใหม่ ๆ (4) การอ่านวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก (5) การป้องกันและแก้ไขปัญหากีดกันทางการค้าโดยเฉพาะมาตรการ ที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีของประเทศคู่ค้าส่าคัญ ๆ ได้แก่ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) รวมทั้งร่างกฎหมาย Clean Competition Act และ Foreign Pollution Fee Act ของสหรัฐฯ เป็นต้น (6) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (7) การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามความต้องการและข้อก่าหนดของประเทศผู้น่าเข้า โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคในตลาดผู้น่าเข้า และการติดฉลากผลิตภัณฑ์ รวมถึงการยืดอายุผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงที่อาศัยงานวิจัยมากขึ้น เพื่อน่าไปสู่การผลิตสินค้ามูลค่าสูงที่สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาได้ และ (8) การเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางในประเทศให้มี ความพร้อมในการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายกลางและรายเล็ก

4) การสร้างความเช่อมั่นและสนั สนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความส่าคัญกับ (1) การขับเคลื่อนการส่งออก ให้สามารถกลับมาขยายตัวเพื่อเพิ่มระดับการใช้ก่าลังการผลิต (2) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2564 - 2566 ควบคู่ไปกับการเร่งรัดอนุมัติโครงการที่ได้เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงก่อนหน้า (3) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานสามารถเริ่มประกอบกิจการให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการเพิ่มก่าลังการผลิต การจ้างงาน และการลงทุนใหม่ (4) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจที่ส่าคัญ โดยเฉพาะขั้นตอนกระบวนการ และข้อบังคับ กฎหมาย รวมทั้งปัญหาEconomic Outlook

การขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต ควบคู่ไปกับการพัฒนาก่าลังแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (5) การด่าเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกผ่านการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์และการอ่านวยความสะดวกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (2566-2570) เพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น (6) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค และ (7) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่ส่าคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่ก่าหนดไว้

5) การสนั สนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและ ริการเกี่ยวเน่อง โดยให้ความส่าคัญกับ (1) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและ การสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ Long-term resident visa (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีก่าลังซื้อสูงโดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการเข้ามาพ่านักระยะยาว (2) การประเมินผลจากมาตรการการยกเว้นการตรวจลงตรานักท่องเที่ยว เพื่อพิจารณาขยายมาตรการให้กับนักท่องเที่ยวสัญชาติอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ (3) การกระจายตลาดนักท่องเที่ยวให้มีความสมดุลมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวจีน (4) การส่งเสริมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวให้มากขึ้นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ (5) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศโดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองที่มีศักยภาพแต่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ และ (6) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง และยกระดับศักยภาพและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน

6) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยให้ความส่าคัญกับ (1) การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน่าให้มีเพียงพอต่อการผลิต และการเตือนภัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อภัยแล้ง (2) การด่าเนินมาตรการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านการส่งเสริมรูปแบบและพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลจากความเสี่ยงของสภาพอากาศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (3) การเพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจ่าหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้ายมากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชและใช้วิธีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าสูง (4) การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มและผลิตภาพในการผลิต การกระจายความเสี่ยงในการผลิตอย่างเหมาะสม และสนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน และ (5) การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ และวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ เพื่อลดต้นทุนและลดการน่าเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งการเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนและจัดหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนเพิ่มเติม

7) การรักษาแรงขั เคล่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยให้ความส่าคัญกับ (1) การเร่งรัดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ่าปี 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้ (2) การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ 2567 ไม่ให้ล่าช้าไปกว่าแผนที่ก่าหนดไว้ (3) การเตรียมความพร้อมของโครงการให้มีความพร้อมส่าหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายได้โดยเร็วหลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ่าปี 2567 มีผลใช้บังคับ และ (4) การติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อให้งบประมาณประจ่าปี 2567 สามารถเบิกจ่ายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90.4 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด โดยแบ่งเป็น อัตราเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ่าร้อยละ 97.0 และงบประมาณรายจ่ายลงทุนร้อยละ 65.0 ตามล่าดับ

สานการณ์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิของโลก

จากข้อมูลขององค์กรการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) นับตั้งแต่ปี 2533 พบว่า มูลค่าการลงทุนไหลเข้าสุทธิจากต่างประเทศของทั่วโลก (Global Net FDI: Inflow) เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุด ในปี 2558 มีมูลค่าโดยรวม 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ก่อนที่จะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีมูลค่า 1.0 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งถือเป็นจุดต่าสุดในรอบ 15 ปีนับจากปี 2548 เป็นต้นมา ต่อมาในปี 2564 มูลค่าการลงทุนโดยตรงเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงมาสู่ระดับ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2565 สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาหลายประเทศ มีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ลดลง ในขณะเดียวกัน หากพิจารณาถึงภาพรวมของมูลค่าการลงทุนไหลออกสุทธิ ไปต่างประเทศของทั่วโลก (Global Net FDI: Outflow) พบว่า มูลค่าการลงทุนสุทธิไปต่างประเทศของทั่วโลก ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2550 โดยมูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. และลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตการณ์ Subprime Crisis แต่หลังจากนั้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องก่อนที่จะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 7.9 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงวิกฤตโควิด-19 และต่อมาในปี 2564 เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 6 ปี แม้ว่าในปี 2565 จะมีมูลค่าลดลงมาบ้างมาอยู่ที่ระดับ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อพิจารณาทิศทางนั้นพบว่า มูลค่าการลงทุนสุทธิไปต่างประเทศของทั่วโลกได้ผ่านจุดต่าสุดไปแล้วเมื่อพิจารณาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิของประเทศเศรษฐกิจส่าคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ พบว่า ส่วนใหญ่ยังคงมีทิศทางเงินทุนไหลเข้าออกสุทธิมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลาย ในขณะที่จีนมีแนวโน้มของเงินทุนไหลออกสุทธิลดลง เนื่องจากผลกระทบของสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ ส่วนเกาหลีใต้มีเงินทุนไหลเข้าออกสุทธิเร่งขึ้นอย่างมีนัยส่าคัญ ส่วนภาพรวม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียทั้งเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) และเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า กลุ่มประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ ส่วนใหญ่มีทิศทางการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ยกเว้นฮ่องกงที่เริ่มเห็นแนวโน้มการลดลงของเงินทุนจากต่างประเทศ ส่าหรับกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่ามีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเวียดนามมีการเร่งขึ้นของ การไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากในปี 2563 มีเงินลงทุน 15,800 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 8,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 1,289 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2553 และ 2543 ตามล่าดับ ในขณะที่ไทยมีทิศทางของการไหลเข้าของเงินลงทุนสุทธิค่อนข้างผันผวนและมีแนวโน้มชะลอลง และจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าในปี 2564 และ 2565 มีมูลค่ารวม 14,641 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 10,034 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามล่าดับ เพิ่มขึ้นจากในช่วงโควิด-19 แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับในช่วงก่อนโควิด-19 ในปี 2561 และ 2556 ที่มีมูลค่ารวม 13,752 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 15,946 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามล่าดับ

0500,0001,000,0001,500,0002,000,0002,500,000333435363738394041424344454647484950515253545556575859606162636465แผนภาพที่ 2: มูลค่าการลงทุนโดยตรงไหลออกสุทธิไปต่างประเทศ 0500,0001,000,0001,500,0002,000,0002,500,000333435363738394041424344454647484950515253545556575859606162636465แผนภาพที่ 1: มูลค่าการลงทุนโดยตรงไหลเข้าสุทธิจากต่างประเทศI---ASIAN Financial Crisis---II-Subprime Crisis-II---TW---II-COVID-19-II---ASIAN Financial Crisis---II-Subprime Crisis-II--TW--II-COVID-19-IMillion USDMillion USDที่มา

โรงงานแจ้งเริ่มประกอ กิจการ: เคร่องสะท้อนการลงทุนและการจ้างงานใหม่ของผู้ประกอ การอุตสาหกรรม

ข้อมูลที่ส่าคัญอีกชุดหนึ่งที่สามารถน่ามาเป็นเครื่องชี้ในการสะท้อนภาพของการลงทุนและการผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้ คือ

ข้อมูลโรงงานแจ้งเริ่มประกอบกิจการ ซึ่งจัดเก็บโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่โรงงานอุตสาหกรรม

จะแจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าได้เริ่มประกอบกิจการโรงงานแล้วภายหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ซงึ่ จะสะทอ้ นถงึ เม็ดเงินลงทนุ และการจ้างงานทจี่ เขา สรู่ บบเศรษฐกจิ ทแ ทจ้ รงิ ได้

จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ในช่วงปี 2559 เป็นต้นมา แนวโน้มของจ่านวนโรงงานแจ้งเริ่มประกอบกิจการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2559

มีจ่านวนโรงงานที่แจ้งเริ่มประกอบกิจการภายหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอยู่ที่ 3,213 โรง และลดลงมาอยู่ที่ 1,661 โรง ในปี 2565

และ 980 โรงในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (ลดลงร้อยละ 24.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ส่งผลให้เงินลงทุนใหม่ที่แท้จริงรวมถึงการจ้าง

งานใหม่จริงของโรงงานที่แจ้งเริ่มประกอบกิจการลดลงจากปี 2559 จนถึงปี 2565 โดยเงินลงทุนใหม่ที่แท้จริงลดลงจาก 3.2 แสนล้านบาทในปี 2559

เหลือเพียง 1.5 แสนล้านบาทในปี 2565 และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 9.2 หมื่นล้านบาท (ลดลงร้อยละ 29.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน)

ส่วนจ่านวนแรงงานลดลงจาก 1.03 แสนคนในปี 2559 เหลือเพียง 4.7 หมื่นคนในปี 2565 และเหลือเพียง 2.9 หมื่นคนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566

(ลดลงร้อยละ 26.4) ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าทั้งเม็ดเงินลงทุนและการจ้างงานมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ เมอ่ พจิ รณา งึ การกระจายตวั ของเม็ดเงินลงทนุ ใหม่และการจา งงานใหม่ของโรงงานอตุ สาหกรรมในประเทศ พ วา ยงั คงกระจกุ ตวั

อยู่ในไม่กี่จังหวัด โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 จังหวัดที่อยู่ในพ้นที่ EEC มีเม็ดเงินลงทุนใหม่และการจ้างงานใหม่อยู่ที่ 31.2 หมื่นล้านบาท (คิดเป็น

สัดส่วนร้อยละ 34.1 ของเม็ดเงินลงทุนจากโรงงานที่แจ้งเริ่มประกอบกิจการทั้งหมด) และ 9,392 คน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.1 ของการจ้างงานใหม่

ที่แจ้งจากโรงงาน) ตามมล่าดับ โดยจังหวัดที่มีเม็ดเงินลงทุนและการจ้างงานใหม่มากที่สุด คือ เชิงเทรา โดยมีเม็ดเงินลงทุนใหม่อยู่ที่ 2.0 หมื่นล้านบาท

(คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.1) และการจ้างงานใหม่อยู่ที่ 4,214 คน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.5) ส่วนจังหวัดอื่น ๆ นอกพื้นที่ EEC มีเม็ดเงินลงทุนใหม่

6.0 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.9) และการจ้างงานใหม่ 19,682 คน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.9) โดยจังหวัดที่มีโรงงานนอกพื้นที่ EEC

แจ้งเริ่มประกอบกิจการอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรปราการ และ อยุธยา ตามล่าดับ

ขณะเดยี วกนั เมอื่ พจิ รณาถงึ ระยะเวลาเฉลยี่ ของโรงงานในการด่าเนนิ การภายหลงั จากไดร้ บั อนญุ ตประกอบกจิ การแลว้ พบว่า ในชว่ ง 9 เดอ นแรก

ของปี 2566 โรงงานใช้เวลาเ ลี่ยในการเริ่มดาเนินการหลังจากได้รั อนุญาตประกอ กิจการอยู่ที่ 309 วัน เร็วขึ้นกว่าในปี 2565 ซึ่งอยู่ ที่ 349 วัน

และเมื่อพิจารณาถึงขนาดของโรงงานโดยวัดจากเม็ดเงินลงทุน พบว่า โรงงานในกลุ่มขนาดเล็ก (เม็ดเงินลงทุนอยู่ที่ 0 - 30 ล้านบาท) มีระยะเวลา

ในการดาเนินการของโรงงานเร็วขึ้น ขณะที่โรงงานในกลุ่มขนาดกลางและขนาดใหญ่ (30 ล้านบาท - มากกว่า 10,000 ล้านบาท) มีระยะเวลา

ในการดาเนินการของโรงงานช้าลง (ยกเว้นโรงงานที่มีขนาดเม็ดเงินลงทุนที่ 50 ล้านบาท - 100 ล้านบาท และขนาดเม็ดเงินลงทุนที่ 1,000 ล้านบาท - 5,000

ล้านบาท ที่มีระยะเวลาในการด่าเนินการของโรงงานเร็วขึ้นภายหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว)

ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้เม็ดเงินลงทุนใหม่และการจ้างงานใหม่เข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็วมากขึ้น จึงควรพิจารณามาตรการเร่งรัดให้โรงงานที่ได้รับ

ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วเริ่มประกอบกิจการจริงให้ได้โดยเร็ว โดยเฉพาะโรงงานที่มีขนาดของเม็ดเงินขนาดกลางและขนาดใหญ่

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ