สศช. โดยสำนักเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (สพศ.) ศึกษาพบปัญหาการใช้ข้อมูลสารสนเทศและการวางแผน แนะเสนอกระบวนการที่ผู้ประกอบการควรนำมาใช้ จัดตั้งหน่วยงานในการเชื่อมโยงภาครัฐ ภาคอุสาหกรรม และภาคการศึกษา ตรวจสอบติดตามความสามารถในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้มีการพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์อย่างจริงจัง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเป็นแกนกลางในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนแม่บทยุทธศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งรวมถึงการจัดการโซ่อุปทาน (Supply chain Management) เพื่อผลักดันให้การพัฒนาอุตสาหกรรมมีศักยภาพในการแข่งขันที่ยั่งยืน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มกำไรในเชิงธุรกิจ ลดความสูญเสีย และนำไปสู่การปรับปรุงองค์กรเพื่อพัฒนาไปสู่นวัตกรรมใหม่ ได้ศึกษาวิจัย “แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย” เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในแง่การส่งออกและการจ้างงาน แต่ยังมีปัญหาโครงสร้างโดยรวมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ได้ทันท่วงที
ผลการวิจัยแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของโลจิสติกส์ดังกล่าว พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการบริษัทของไทยมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศร่วมกันน้อยลง โดยเฉพาะในเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลความต้องการสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการวางแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบ เนื่องจากผู้ประกอบการชาวไทยไม่ได้เป็นผู้หาวัตถุดิบหลักในระบบห่วงโซ่อุปทาน จึงไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการแบ่งปันข้อมูลเท่ากับคู่ค้าขนาดใหญ่
นอกจากนี้ การวางแผนร่วมกันในเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการในประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากยังมีเทคโนโลยีไม่เพียงพอ ขาดศูนย์วิจัยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
ด้วยเหตุนี้ ภาคเอกชนจึงควรมี 1) กระบวนการวางแผนโซ่อุปทานมาใช้เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการด้านอุปสงค์กับด้านอุปทาน ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง 2) จัดลำดับ รวบรวมความต้องการและทรัพยากรในโซ่อุปทาน โดยการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแบบทันทีทันใดอย่างถูกต้องแท้จริง (Real Time) 3) จัดความสมดุลระหว่างทรัพยากรกับความต้องการ 4) สร้างและสื่อสารแผนงานให้ทราบถึงความต้องการตลอดทั้งโซ่อุปทาน 5) วางแผนการจัดหา และการเชื่อมโยงที่สม่ำเสมอเพื่อทราบถึงปัญหาและสามารถตอบสนองได้ทันท่วงทีและทั่วถึง 6) สร้างแผนการจัดหา 7) ระบุ ประเมิน และรวบรวมความต้องการข้อกำหนด 8) การวางแผนส่งคืน 9) จัดตารางการรับสินค้า 10) อนุมัติการจ่ายเงินแก่ผู้จัดหาวัตถุดิบ โดยชำระเงินเมื่อได้รับสินค้า และจัดทำใบสำคัญด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 11) ประเมินประสิทธิภาพของผู้จัดหาวัตถุดิบ 12) การดำรงรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหา
สำหรับภาครัฐในฐานะผู้ออกระเบียบ ควรปรับปรุงกฎหมาย กำหนดนโยบายชักนำกิจการ SMEs ในการสร้างประสิทธิภาพในระบบการจัดการโซ่อุปทาน ในฐานะผู้ส่งเสริม ควรกระตุ้นให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญและเรียนรู้ถึงเรื่องการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เป็นต้น และในฐานะผู้สนับสนุน ควรจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายที่สำคัญในโซ่อุปทาน
นอกจากนี้ ควรจัดตั้งหน่วยงานในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนความรู้ใหม่ ๆ ด้านการวิจัย และพัฒนาในการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ โดยให้หน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่ตรวจสอบและติดตามความสามารถในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์อย่างจริงจังต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเป็นแกนกลางในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนแม่บทยุทธศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งรวมถึงการจัดการโซ่อุปทาน (Supply chain Management) เพื่อผลักดันให้การพัฒนาอุตสาหกรรมมีศักยภาพในการแข่งขันที่ยั่งยืน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มกำไรในเชิงธุรกิจ ลดความสูญเสีย และนำไปสู่การปรับปรุงองค์กรเพื่อพัฒนาไปสู่นวัตกรรมใหม่ ได้ศึกษาวิจัย “แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย” เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในแง่การส่งออกและการจ้างงาน แต่ยังมีปัญหาโครงสร้างโดยรวมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ได้ทันท่วงที
ผลการวิจัยแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของโลจิสติกส์ดังกล่าว พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการบริษัทของไทยมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศร่วมกันน้อยลง โดยเฉพาะในเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลความต้องการสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการวางแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบ เนื่องจากผู้ประกอบการชาวไทยไม่ได้เป็นผู้หาวัตถุดิบหลักในระบบห่วงโซ่อุปทาน จึงไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการแบ่งปันข้อมูลเท่ากับคู่ค้าขนาดใหญ่
นอกจากนี้ การวางแผนร่วมกันในเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการในประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากยังมีเทคโนโลยีไม่เพียงพอ ขาดศูนย์วิจัยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
ด้วยเหตุนี้ ภาคเอกชนจึงควรมี 1) กระบวนการวางแผนโซ่อุปทานมาใช้เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการด้านอุปสงค์กับด้านอุปทาน ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง 2) จัดลำดับ รวบรวมความต้องการและทรัพยากรในโซ่อุปทาน โดยการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแบบทันทีทันใดอย่างถูกต้องแท้จริง (Real Time) 3) จัดความสมดุลระหว่างทรัพยากรกับความต้องการ 4) สร้างและสื่อสารแผนงานให้ทราบถึงความต้องการตลอดทั้งโซ่อุปทาน 5) วางแผนการจัดหา และการเชื่อมโยงที่สม่ำเสมอเพื่อทราบถึงปัญหาและสามารถตอบสนองได้ทันท่วงทีและทั่วถึง 6) สร้างแผนการจัดหา 7) ระบุ ประเมิน และรวบรวมความต้องการข้อกำหนด 8) การวางแผนส่งคืน 9) จัดตารางการรับสินค้า 10) อนุมัติการจ่ายเงินแก่ผู้จัดหาวัตถุดิบ โดยชำระเงินเมื่อได้รับสินค้า และจัดทำใบสำคัญด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 11) ประเมินประสิทธิภาพของผู้จัดหาวัตถุดิบ 12) การดำรงรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหา
สำหรับภาครัฐในฐานะผู้ออกระเบียบ ควรปรับปรุงกฎหมาย กำหนดนโยบายชักนำกิจการ SMEs ในการสร้างประสิทธิภาพในระบบการจัดการโซ่อุปทาน ในฐานะผู้ส่งเสริม ควรกระตุ้นให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญและเรียนรู้ถึงเรื่องการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เป็นต้น และในฐานะผู้สนับสนุน ควรจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายที่สำคัญในโซ่อุปทาน
นอกจากนี้ ควรจัดตั้งหน่วยงานในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนความรู้ใหม่ ๆ ด้านการวิจัย และพัฒนาในการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ โดยให้หน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่ตรวจสอบและติดตามความสามารถในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์อย่างจริงจังต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-