สรุปผลที่สำคัญ การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2554

ข่าวทั่วไป Thursday April 11, 2013 14:43 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทย จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยที่ในปัจจุบันประเทศไทยได้เป็นสังคมของผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว และจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรหรือการสำรวจแรงงาน พบว่า ในปี 2554 มีผู้สูงอายุที่ทำงาน 3.2 ล้านคน จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 8.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.6

ทั้งนี้ จากการสำรวจยังพบว่า การทำงานของผู้สูงอายุเหล่านี้ ส่วนใหญ่ทำงานในฐานะของแรงงานนอกระบบถึงร้อยละ 90.3 ซึ่งหมายถึงเป็นผู้ทำงานที่ไม่ได้รับสวัสดิการและความคุ้มครองจากการทำงาน และอีกส่วนหนึ่งเป็นแรงงานในระบบ

อาชีพของผู้สูงอายุที่ทำงาน

จากการทำงานของผู้สูงอายุที่เป็นทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ พบว่าผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆในด้านการขายร้อยละ 25.4 รองลงมาเป็น ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้าร้อยละ 16.7 พนักงานบริการและพนักงานขายในร้านค้าร้อยละ 16.4 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและประมงร้อยละ 11.8 และผู้บัญญัติกฎหมายข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการร้อยละ 10.6 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและประมงร้อยละ 67.0 รองลงมาเป็นพนักงานบริการและพนักงานขายในร้านค้าร้อยละ 19.9 และผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้า ร้อยละ 6.8 เป็นต้น

ภาคทางเศรษฐกิจที่สำคัญของผู้สูงอายุที่ทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ พบว่าส่วนใหญ่ทำงานในภาคการค้าและการบริการร้อยละ 51.9 รองลงมาเป็นภาคการผลิตร้อยละ 31.2 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 17.0 ตามลำดับ

ซึ่งแตกต่างกับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรมถึงร้อยละ 68.8 รองลงมาเป็น ภาคการค้าและการบริการร้อยละ 24.1 และภาคการผลิตร้อยละ 7.2 ตามลำดับ

ระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้สูงอายุที่ทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบพบว่า ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาร้อยละ 64.5 รองลงมาเป็นสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาร้อยละ 13.2 และไม่มีการศึกษาร้อยละ 7.7 ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษามากถึงร้อยละ 83.0 รองลงมาเป็น ไม่มีการศึกษาร้อยละ 7.3 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 3.1 ตามลำดับ

ค่าจ้างหรือเงินเดือนของผู้สูงอายุที่ทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงค่าจ้าง/เงินเดือนของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ พบว่าโดยภาพรวมมีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 12,609 บาท ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาคการค้าและบริการได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดประมาณ 18,417 บาท รองลงมาภาคการผลิต 7,381 บาท และภาคเกษตรกรรม 4,427 บาท ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 3,833 บาทเท่านั้น โดยในภาคการผลิตได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดประมาณ 4,754 บาท รองลงมาเป็น ภาคการค้าและการบริการประมาณ 3,898 บาท ขณะที่ผู้สูงอายุที่อยู่ในแรงงานนอกระบบ ภาคเกษตรกรรมได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนน้อยที่สุดประมาณ 3,464 บาท

การได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานของผู้สูงอายุที่ทำงาน

จากผลการสำรวจ มีผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานประมาณ 34,521 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.0 ของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบทั้งหมด สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานมีประมาณ 4.3 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.6 ของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ และนอกระบบ ได้รับบาดเจ็บจากของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง มากที่สุด (ร้อยละ 65.1 และ 68.7) รองลงมาเป็นการพลัดตกหกล้ม (ร้อยละ 15.3 และ 17.9) การชน/กระแทก (ร้อยละ 9.9 และ 7.2) ได้รับอุบัติเหตุจากยานพาหนะ (ร้อยละ 3.7 และ 1.1) ถูกไฟ/น้ำร้อนลวก (ร้อยละ 2.5 และ 3.0) ที่เหลือเป็นอื่นๆ

วิธีการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุที่ทำงาน

ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานนั้น ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยจึงไม่ได้รับการรักษาพยาบาล (ร้อยละ 71.8 และ 71.1) และซื้อยาจากร้านขายยาและนำไปรักษาที่บ้าน (ร้อยละ 19.8 และ 24.0) สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในแรงงานในระบบและนอกระบบที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุและจำเป็นต้องไปรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลนั้นเป็นผู้ที่ต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลไม่เกิน 3 วัน (ร้อยละ 2.0 และ 3.3) ผู้ที่ต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลเกิน 3 วัน (ร้อยละ 6.4 และ 1.4) สำ หรับผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุและต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลเพราะสูญเสียอวัยวะบางส่วน จะเป็นแรงงานผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเท่านั้นร้อยละ 0.2

สรุปผลการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย

ปัจจุบันในสังคมไทยมีจำนวนผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 8.3 ล้านคน ซึ่งมีผู้สูงอายุที่ยังคงทำงาน 3.2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.6 ทั้งนี้ในจำนวนผู้สูงอายุที่ทำงานเหล่านี้สามารถแยกเป็นผู้ที่ทำงานเป็นแรงงานในระบบ 3.1 แสนคน (ร้อยละ 9.7) และเป็นแรงงานนอกระบบ 2.9 ล้านคน (ร้อยละ 90.3)

เมื่อเปรียบเทียบผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบ แต่ละภูมิภาคทั่วประเทศแล้ว พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบมีสัดส่วนมากกว่าแรงงานในระบบทุกภาค โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบมากที่สุดร้อยละ 96.3 รองลงมาเป็นภาคเหนือร้อยละ 93.7 ภาคใต้ร้อยละ 89.4 ภาคกลางร้อยละ 86.1 และกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบน้อยที่สุดร้อยละ 56.1

สถานภาพการทำงานของผู้สูงอายุที่ทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพการทำงานของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ พบว่าส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างเอกชนร้อยละ 76.2 รองลงมาเป็นลูกจ้างรัฐบาลร้อยละ 14.7 และประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างร้อยละ 4.1 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างร้อยละ 66.7 รองลงมาเป็นการช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้างร้อยละ 25.1 และลูกจ้างเอกชนร้อยละ 4.2 เป็นต้น

สถานภาพสมรสของผู้สูงอายุที่ทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพสมรสของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ พบว่าส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสเป็น สมรสร้อยละ 66.9 รองลงมาเป็นหม้ายร้อยละ 20.4 โสดร้อยละ 7.5 หย่าร้อยละ 3.1 และแยกกันอยู่ร้อยละ 1.8 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่สมรสร้อยละ 78.1 รองลงมาเป็นหม้ายร้อยละ 16.4 โสดร้อยละ 3.5 แยกกันอยู่ร้อยละ 1.3 และหย่าร้อยละ 0.8

และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบที่มีสถานภาพสมรสเป็นสมรส เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 76.1 และร้อยละ 23.9) ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรสเป็น หม้าย โสด หย่า และแยกกันอยู่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบที่สมรส เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 64.2 และร้อยละ 35.8) ส่วนผู้สูงอายุที่มีสถานภาพ สมรส หม้าย โสด หย่า และแยกกันอยู่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุที่เป็นเพศชายทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ ที่มีสถานภาพสมรสแล้ว จะเป็นผู้ทำงานค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องเลี้ยงดูครอบครัวส่วนเพศหญิงทั้งที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบที่มีสถานภาพสมรสเป็น โสด หย่า และหม้าย จะเป็นผู้ทำงานค่อนข้างมาก เนื่องจากเพศหญิงเหล่านี้จำเป็นต้องทำงานหาเลี้ยงตนเอง ซึ่งจะแตกต่างจากเพศหญิงที่สมรสแล้วที่มีเพศชายเลี้ยงดูเป็นหลัก

อาชีพของผู้สูงอายุที่ทำงาน

ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆในด้านการขายร้อยละ 25.4 รองลงมาเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้าร้อยละ 16.7 พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้าร้อยละ 16.4 ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมงร้อยละ 11.8 และผู้บัญญัติกฎหมายข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการร้อยละ 10.6 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมงมากถึงร้อยละ 67.0 รองลงมาเป็น พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้าร้อยละ 19.9 และผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้าร้อยละ 6.8 เป็นต้น

และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ พบว่าเพศชาย ประกอบอาชีพพนักงานบริการและพนักงานในร้านค้ามากที่สุดร้อยละ 19.2 รองลงมาเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้าร้อยละ 18.9 อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆในด้านการขาย และผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการเท่ากันร้อยละ 14.9 ส่วนเพศหญิงประกอบอาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆในด้านการขายร้อยละ 42.0 ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้าร้อยละ 13.3 และผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมงร้อยละ 13.1 สำหรับ ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ พบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง (ร้อยละ 71.2 และ 61.5 ตามลำดับ) รองลงมาเป็นพนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า (ร้อยละ 14.6 และ 26.8 ตามลำดับ) และผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้า (ร้อยละ 7.2 และ 6.3 ตามลำดับ)

อุตสาหกรรมของผู้สูงอายุที่ทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงอุตสาหกรรมของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ พบว่าส่วนใหญ่ทำงานในสาขาการผลิตจำนวน 59,441 คน หรือร้อยละ 18.9 รองลงมาเป็นสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง 53,268 คน หรือร้อยละ 17.0 และสาขาการ ขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมแซม ยานยนต์และรถจักรยานยนต์ 37,267 คน หรือร้อยละ 11.9 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่ทำงานในสาขา เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงมากถึง 2.01 ล้านคน หรือร้อยละ 68.8 รองลงมาเป็นการขายปลีก การซ่อมแซม ยานยนต์และรถจักรยานยนต์ 4.45 แสนคน หรือร้อยละ 15.2 และการผลิต 1.69 แสนคน หรือร้อยละ 5.8

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายและเพศหญิงในแต่ละสาขาอุตสาหกรรมพบว่า ผู้สูงอายุชายที่เป็นแรงงานในระบบ ส่วนใหญ่ทำงานในสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง และการผลิตเท่ากัน (ร้อยละ 15.7) รองลงมาเป็นสาขาการก่อสร้าง และการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ สำหรับเพศหญิง ส่วนใหญ่ทำงานในอุตสาหกรรมสาขาการผลิต (ร้อยละ 24.0) รองลงมาเป็นสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง และสาขาการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมแซม ยานยนต์และรถจักรยานยนต์ สำหรับผู้สูงอายุที่เป็น แรงงานนอกระบบทั้งเพศชายและหญิง ส่วนใหญ่ทำงานในสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง รองลงมาเป็นสาขาการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ และสาขาการผลิต

ระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้สูงอายุที่ทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบพบว่า ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาร้อยละ 64.5 รองลงมาเป็นสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาร้อยละ 13.2 และไม่มีการศึกษาร้อยละ 7.7 ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษามากถึงร้อยละ 83.0 รองลงมาเป็น ไม่มีการศึกษาร้อยละ 7.3 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 3.1 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาระหว่างเพศชายและเพศหญิงของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบ พบว่า ผู้สูงอายุชายที่เป็นแรงงานในระบบ ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาร้อยละ 64.2 รองลงมาเป็นระดับอุดมศึกษาร้อยละ 12.8และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 8.3 ส่วนเพศหญิง สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาร้อยละ 65.1 รองลงมาเป็นระดับอุดมศึกษาร้อยละ 13.9 และไม่มีการศึกษาร้อยละ 13.3 สำ หรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเพศชาย

ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาร้อยละ 82.2 รองลงมาเป็นไม่มีการศึกษาร้อยละ 5.5 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 4.4 ส่วนเพศหญิง สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาร้อยละ 84.1 รองลงมาเป็นไม่มีการศึกษาร้อยละ 9.5 และระดับประถมศึกษาร้อยละ 2.5 เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบ ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา และไม่มีการศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาค่อนข้างต่ำ

ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ของผู้สูงอายุที่ทำงาน

สำหรับชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบนั้นส่วนใหญ่ทำงาน 30-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ร้อยละ 60.1 ทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ร้อยละ 28.8 ทำงาน 10-29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ร้อยละ 8.9 และมีผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบทำงานต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพียงร้อยละ 2.3 เท่านั้นสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่ทำงานมากกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ถึงร้อยละ 78.7 ในจำนวนนี้ทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ถึงร้อยละ 32.3 มีผู้ที่ทำงาน 10-29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ร้อยละ 18.0 และมีผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพียงร้อยละ 3.2

เมื่อพิจารณาระหว่างเพศชายและหญิงของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบ พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบเพศชาย ส่วนใหญ่ทำงาน 30-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ร้อยละ 63.5 รองลงมาเป็นทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ร้อยละ 27.7 และทำงาน 10-29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ร้อยละ 6.4 ส่วนเพศหญิง ทำงาน 30-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ร้อยละ 54.5 รองลงมาเป็นทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ร้อยละ 30.4 และทำงาน 10-29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ร้อยละ 12.7

สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนใหญ่ทำงาน 30-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 46.6 และ 46.1) รองลงมาเป็นทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 33.3 และ 31.1) และทำงาน 10-29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 17.0 และ 19.4) ตามลำดับ

ค่าจ้างหรือเงินเดือนของผู้สูงอายุที่ทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงค่าจ้าง/เงินเดือนของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ พบว่าโดยภาพรวมมีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 12,609 บาท ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาคการค้า และบริการได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดประมาณ 18,417 บาท รองลงมาเป็นภาคการผลิต 7,381 บาท และภาคเกษตรกรรม 4,427 บาท ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ โดยภาพรวมมีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 3,833 บาท โดยผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบภาคการผลิตได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดประมาณ 4,754 บาท รองลงมาเป็น ภาคการค้าและบริการ 3,898 บาท ขณะที่ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบภาคเกษตรกรรมได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนน้อยที่สุดประมาณ 3,464 บาท

และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบเพศชายได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่าเพศหญิงคือ (15,117 บาท และ 8,754 บาท) และผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเช่นเดียวกัน คือเพศชายได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่าเพศหญิง (4,305 บาท และ 3,248 บาท)

การได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานของผู้สูงอายุที่ทำงาน

มีผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานประมาณ 34,521 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.0 ของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบทั้งหมด สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานประมาณ 4.3 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.6 ของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบ ได้รับบาดเจ็บจากของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง มากที่สุด (ร้อยละ 65.1 และ 68.7) รองลงมาเป็นการพลัดตกหกล้ม (ร้อยละ 15.3 และ 17.9) การชน/กระแทก (ร้อยละ 9.9 และ 7.2) ได้รับอุบัติเหตุจากยานพาหนะ (ร้อยละ 3.7 และ 1.1) ถูกไฟ/น้ำร้อนลวก (ร้อยละ 2.5 และ 3.0) ที่เหลือเป็นอื่นๆ

เมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง มากที่สุด (ร้อยละ 62.4 และ 69.1) รองลงมาเป็น การพลัดตกหกล้ม (ร้อยละ 15.9 และ 14.5) และ การชน/กระแทกโดยวัสดุ (ร้อยละ 9.3 และ 10.8) ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง (ร้อยละ 70.0 และ 67.0) รองลงมาเป็นการพลัดตกหกล้ม (ร้อยละ 15.2 และ 21.8) และการชน/กระแทกโดยวัสดุ (ร้อยละ 9.0 และ 4.6) เป็นต้น

วิธีการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุที่ทำงาน

ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบ ที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานนั้น ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยจึงไม่ได้รับการรักษาพยาบาล (ร้อยละ 71.8 และ 71.1) และไปซื้อยาจากร้านขายยาและนำไปรักษาที่บ้าน (ร้อยละ 19.8 และ 24.0) สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุและจำเป็นต้องไปรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลนั้นเป็นผู้ที่ต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลไม่เกิน 3 วัน (ร้อยละ 2.0 และ 3.3) ผู้ที่ต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลเกิน 3 วัน (ร้อยละ 6.4 และ 1.4) สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลเพราะสูญเสียอวัยวะบางส่วนร้อยละ 0.2

เมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานนั้น ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยจึงไม่ได้รับการรักษาพยาบาล รองลงมาเป็นซื้อยามารักษาเอง และต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลเกิน 3 วัน

สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานนั้น ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยจึงไม่ได้รับการรักษาพยาบาล รองลงมาเป็นซื้อยามารักษาเอง และต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลไม่เกิน 3 วัน

การใช้สวัสดิการในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้สูงอายุที่ทำงานผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ ที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุและจำเป็นต้องไปรักษาพยาบาลต่อในสถานพยาบาลนั้น การใช้สวัสดิการในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลมากที่สุดคือ การใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 72.0 รองลงมาเป็นการใช้ประกันสังคมร้อยละ 16.5 นายจ้างจ่ายให้ร้อยละ 10.6 และการใช้ประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยร้อยละ 0.9 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ใช้สวัสดิการในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลคือ การใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 58.6 รองลงมาเป็นการใช้ประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยร้อยละ 9.4 การใช้สวัสดิการข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.0 ในขณะที่มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองร้อยละ 20.6 ที่เหลือเป็นอื่นๆ เช่น บิดา มารดา ญาติเพื่อนจ่ายให้ และนายจ้างจ่ายให้ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาถึงการใช้สวัสดิการในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบตามเพศ พบว่า เพศชายส่วนใหญ่ใช้สวัสดิการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 70.0 รองลงมาใช้ประกันสังคมร้อยละ 17.6 ส่วนเพศหญิงใช้สวัสดิการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งหมดร้อยละ 100.0 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเพศชาย ส่วนใหญ่ใช้สวัสดิการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 67.6 รองลงมาใช้ประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชนร้อยละ 10.4 ใช้สวัสดิการข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ/รัฐวิสาหกิจร้อยละ 0.9 และไม่ได้ใช้สวัสดิการคือจ่ายค่า รักษาพยาบาลเองร้อยละ 16.1 และบิดา มารดา ญาติ เพื่อนจ่ายให้ร้อยละ 3.2 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเพศหญิง ส่วนใหญ่ใช้สวัสดิการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 46.0 รองลงมาใช้สวัสดิการข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ/รัฐวิสาหกิจร้อยละ 15.4 ใช้ประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชนร้อยละ 8.0 และไม่ได้ใช้สวัสดิการคือจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองร้อยละ 26.7 และบิดา มารดา ญาติ เพื่อนจ่ายให้ร้อยละ 3.9

ปัญหาของผู้สูงอายุที่ทำงาน

1. ปัญหาจากการทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงปัญหาจากการทำงาน พบว่าผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบส่วนใหญ่มีปัญหาจากการได้รับค่าตอบแทนน้อยร้อยละ 59.4 รองลงมาเป็นงานที่ทำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.5 การทำงานหนักร้อยละ 14.0 และไม่มีสวัสดิการร้อยละ 4.2 เป็นต้น สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่มีปัญหาจากการได้รับค่าตอบแทนน้อยเช่นเดียวกันร้อยละ 48.5 รองลงมาเป็นการทำงานหนักร้อยละ 24.1 งานที่ทำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่องร้อยละ 13.8 ไม่มีสวัสดิการร้อยละ 6.0 ไม่มีวันหยุดร้อยละ 4.9 และทำงานไม่ตรงเวลาปกติร้อยละ 1.7

ปัญหาจากการทำงานของสูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ พิจารณาตามเพศพบว่า เพศชาย ส่วนใหญ่มีปัญหาการได้รับค่าตอบแทนน้อยร้อยละ 51.2 รองลงมาเป็นการทำงานหนักร้อยละ 21.9 งานที่ทำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่องร้อยละ 12.6 และทำงานไม่ตรงเวลาปกติร้อยละ 5.3 ส่วนเพศหญิงมีปัญหาการได้รับค่าตอบแทนน้อยร้อยละ 69.8 งานที่ทำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่องร้อยละ 16.9 และไม่มีสวัสดิการร้อยละ 7.4 เป็นต้น สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเพศชายส่วนใหญ่มีปัญหาการได้รับค่าตอบแทนน้อยร้อยละ 46.6 รองลงมาเป็นการทำงาน หนักร้อยละ 27.5 งานที่ทำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.1 และไม่มีสวัสดิการร้อยละ 6.0 ที่เหลือเป็นอื่นๆ เช่น ชั่วโมงทำงานมากเกินไป ไม่มีวันหยุดทำงานไม่ตรงเวลาปกติ เป็นต้น ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเพศหญิง มีปัญหาการได้รับค่าตอบแทนน้อยร้อยละ 51.1 การทำงานหนักร้อยละ 19.2 งานที่ทำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่องร้อยละ 13.5 ไม่มีวันหยุดร้อยละ 6.7 ไม่มีสวัสดิการร้อยละ 6.0 ที่เหลือเป็น ชั่วโมงทำงานมากเกินไป ทำงานไม่ตรงเวลาปกติ และลาพักผ่อนไม่ได้

จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบ ส่วนใหญ่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันคือการได้รับค่าตอบแทนน้อย

2. ปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ ส่วนใหญ่มีปัญหาเครื่องจักร เครื่องมือที่เป็นอันตรายร้อยละ 42.7 รองลงมาเป็นการได้รับสารเคมีเป็นพิษร้อยละ 35.3 การได้รับอันตรายต่อระบบหูระบบตาร้อยละ 12.0 และการทำงานในที่สูง/ใต้น้ำ/ใต้ดินร้อยละ 4.1 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่มีปัญหาการได้รับสารเคมีเป็นพิษมากที่สุดร้อยละ 66.1 รองลงมาเป็น เครื่องจักร เครื่องมือที่เป็นอันตรายร้อยละ 18.9 การได้รับอันตรายต่อระบบหู ระบบตาร้อยละ 9.3 และการทำงานในที่สูง/ใต้น้ำ/ใต้ดินร้อยละ 3.3 เป็นต้น

ปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน จำแนกตามเพศ พบว่า ผู้สูงอายุชายที่เป็นแรงงานในระบบ ส่วนใหญ่มีปัญหาเครื่องจักร เครื่องมือที่เป็นอันตรายร้อยละ 43.5 รองลงมาเป็นการได้รับสารเคมีเป็นพิษร้อยละ 35.8 การได้รับอันตรายต่อระบบหู ระบบตาร้อยละ 11.6 และการทำงานในที่สูง/ใต้น้ำ/ ใต้ดินร้อยละ 5.3 ที่เหลือเป็นอื่นๆ ส่วนเพศหญิงมีปัญหาเช่นเดียวกับเพศชายคือ เครื่องจักร เครื่องมือที่เป็นอันตรายร้อยละ 39.8 รองลงมาเป็นการได้รับสารเคมีเป็นพิษร้อยละ 33.5 และการได้รับอันตรายต่อระบบหู ระบบตาร้อยละ 13.1 เป็นต้น สำหรับผู้สูงอายุชายที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่มีปัญหาการได้รับสารเคมีเป็นพิษร้อยละ 65.2 รองลงมาเป็นเครื่องจักร เครื่องมือที่เป็นอันตรายร้อยละ 20.8 การได้รับอันตรายต่อระบบหูระบบตาร้อยละ 7.7 และการทำงานในที่สูง/ใต้น้ำ/ใต้ดินร้อยละ 3.5 ส่วนเพศหญิงมีปัญหาการได้รับสารเคมีเป็นพิษร้อยละ 67.6 รองลงมาเป็นเครื่องจักร เครื่องมือที่เป็นอันตรายร้อยละ 15.3 การได้รับอันตรายต่อระบบหู ระบบตาร้อยละ 12.2 และการทำงานในที่สูง/ใต้น้ำ/ใต้ดินร้อยละ 2.9 เป็นต้น

3. ปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เมื่อพิจารณาถึงปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ ส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องอิริยาบถในการทำงาน คือ ไม่ค่อยได้เปลี่ยนลักษณะท่า/อิริยาบถในการทำงานมากที่สุดร้อยละ 52.9 รองลงมาเป็นการทำงานมีฝุ่นควัน กลิ่นร้อยละ 27.3 สถานที่ทำงานสกปรกร้อยละ 8.3 และแสงสว่างไม่เพียงพอร้อยละ 6.6 เป็นต้น สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องอิริยาบถในการทำงาน คือ ไม่ค่อยได้เปลี่ยนลักษณะท่า/อิริยาบถในการทำงานมากที่สุดเช่นเดียวกันคือร้อยละ 57.4 รองลงมาเป็นแสงสว่างไม่เพียงพอร้อยละ 13.1การทำงานมีฝุ่น ควัน กลิ่นร้อยละ 12.4 และสถานที่ทำงานสกปรกร้อยละ 10.1 เป็นต้น

ปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำแนกตามเพศ พบว่า ผู้สูงอายุชายที่เป็นแรงงานในระบบ ส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องการทำงานมีฝุ่นละออง ควัน กลิ่นและอิริยาบถในการทำงานคือไม่ค่อยได้เปลี่ยนลักษณะท่า/อิริยาบถในการทำงานใกล้เคียงกันคือร้อยละ 38.9 และร้อยละ 35.9 รองลงมาเป็นสถานที่ทำงานสกปรกร้อยละ 9.4 และแสงสว่างไม่เพียงพอร้อยละ 8.9 ส่วนเพศหญิง มีปัญหาอิริยาบถในการทำงานมาก ถึงร้อยละ 77.7 รองลงมาเป็นที่ทำงานมีฝุ่นละออง ควัน กลิ่นร้อยละ 10.3 และสถานที่ทำงานสกปรกร้อยละ 6.6 สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเพศชายส่วนใหญ่มีปัญหาอิริยาบถในการทำงานร้อยละ 55.3 รองลงมาเป็นฝุ่นละออง ควันกลิ่นร้อยละ 13.7 แสงสว่างไม่เพียงพอร้อยละ 13.0 และสถานที่ทำงานสกปรกร้อยละ 10.8 ส่วนเพศหญิง มีปัญหาในเรื่องอิริยาบถในการทำงานร้อยละ 60.5 ฝุ่นละออง ควัน กลิ่นร้อยละ 10.4 แสงสว่างไม่เพียงพอร้อยละ 13.3 และสถานที่ทำงานสกปรกร้อยละ 9.1 เป็นต้น

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ