สรุปผลการสำรวจ ภาวะการทำงานของประชากร (เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556)

ข่าวทั่วไป Tuesday July 9, 2013 11:47 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ภาวะการทำงานของประชากร เดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2556

ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนพฤษภาคม 2556 พบว่า จำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.96 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมที่จะทำงาน 39.49 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 38.85 ล้านคน ผู้ว่างงาน 3.03 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 3.45 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 15.47 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น

สำหรับจำนวนผู้มีงานทำ 38.85 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 14.88 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 23.97 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2555 พบว่า จำนวนผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 4.9 แสนคน และนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 9.0 หมื่นคน โดยเพิ่มขึ้นในสาขาการก่อสร้าง 2.0 แสนคน สาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 1.6 แสนคน สาขาการการผลิต 2.0 หมื่นคน ส่วนสาขาที่ลดลงคือ สาขากิจกรรมด้านการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ 1.6 แสนคน กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดซักแห้ง เป็นต้น 1.2 แสนคน สาขาการศึกษา 8.0 หมื่นคน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 3.0 หมื่นคน สาขาการขายส่งและ การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ 2.0 หมื่นคน และส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ

หากพิจารณาถึงจำนวนผู้ที่ทำงานแต่ยังทำงานได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นผู้ทำงานแต่ยังมีเวลาและพร้อมที่จะทำงานได้อีก หรือเรียกคนทำงานในกลุ่มนี้ว่า ผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ที่ทำงานต่ำกว่าระดับ 2.33 แสนคน หรือร้อยละ 0.6 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด ซึ่งกลุ่มนี้แม้ว่าจะมีงานทำแล้วก็ตาม แต่ยังมีเวลาว่างที่มากพอและพร้อมที่จะทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง

สำหรับจำนวนผู้ว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2556 มีทั้งสิ้น 3.03 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.8 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 5.6 หมื่นคน (จาก 3.59 แสนคน เป็น 3.03 แสนคน) และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2556 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 4.4 หมื่นคน (จาก 3.47 แสนคน เป็น 3.03 แสนคน)

จำนวนผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.71 แสนคน เป็นเพศชาย 9.0 หมื่นคน และเป็นเพศหญิง 8.1 หมื่นคน ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 1.32 แสนคน ซึ่งลดลง 7.0 หมื่นคน จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 (จาก 2.02 แสนคน เป็น 1.32 แสนคน) โดยเป็นผู้ว่างงานจาก ภาคการบริการและการค้า 6.1 หมื่นคน ภาคการผลิต 4.8 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 2.3 หมื่นคน ตามลำดับ

ส่วนการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชน หรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 3.6 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่ม วัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 กลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 3.6 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2556 กลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 4.1 เป็นร้อยละ 3.6

สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานใน เดือนพฤษภาคม 2556 พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษา ในระดับอุดมศึกษามากที่สุด 1.23 แสนคน (ร้อยละ 1.7) รองลงมาเป็นมัธยมศึกษาตอนปลาย 5.8 หมื่นคน (ร้อยละ 1.0) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5.7 หมื่นคน (ร้อยละ 0.9 ) ระดับประถมศึกษา 4.3 หมื่นคน (ร้อยละ 0.5) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.2 หมื่นคน (ร้อยละ 0.2) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานลดลงในระดับอุดมศึกษา 2.9 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.7 หมื่นคนระดับประถมศึกษา 5.0 พันคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 4.0 พันคน ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 9.0 พันคน

เมื่อพิจารณาอัตราการว่างงาน เป็นรายภาค พบว่า ภาคกลางและภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 0.9 รองลงมาเป็นกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.7 เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับเดือนพฤษภาคม 2555 จะเห็นได้ว่าอัตราการว่างงานทั่วประเทศลดลง และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า กรุงเทพมหานครและภาคเหนือมีอัตราการว่างงานลดลง มากที่สุด รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่วนภาคกลางมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น

สรุปผลการสำรวจ

ภาวะการทำงานของประชากร เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556

1. บทนำ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรหรือสำรวจแรงงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี 2506 โดยในช่วงแรก สำรวจเพียงปีละ 2 รอบ รอบแรกเป็นการสำรวจนอกฤดูเกษตร รอบที่ 2 เป็นฤดูเกษตร ต่อมาในปี 2527 - 2540 สำรวจปีละ 3 รอบ โดยเพิ่มสำรวจช่วงเดือนพฤษภาคมเพื่อดูแรงงานที่จบการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน และในปี 2541 ได้เพิ่มการสำรวจขึ้นอีก 1 รอบ เดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตร ทำให้การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรครบทั้ง 4 ไตรมาสของปี

และในปี 2544 สำนักงานสถิติแห่งชาติปรับปรุงการสำรวจเป็นรายเดือน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถติดตามภาวะการมีงานทำของประชากรได้อย่างใกล้ชิดและเสนอผลการสำรวจเป็นรายเดือนทุกเดือนในระดับประเทศและภาค

2. สรุปผลที่สำคัญ

2.1 โครงสร้างกำลังแรงงาน

ผลการสำรวจในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 พบว่า มีจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 54.96 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 39.49 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 71.9 (ชายร้อยละ 80.7 และหญิงร้อยละ 63.5) และเป็นผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน 15.47 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 28.1 (ชายร้อยละ 19.3 และหญิงร้อยละ 36.5)

สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. ผู้มีงานทำ จำนวน 38.85 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 98.4 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน (ชายร้อยละ 98.6 หญิงร้อยละ 98.1)

2. ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ไม่มีงานทำแต่พร้อมที่จะทำงานมีจำนวน 3.03 แสนคน หรือคิดเป็นอัตรา การว่างงานร้อยละ 0.8 (ชายร้อยละ 0.8 และหญิงร้อยละ 0.7)

3. ผู้ที่รอฤดูกาล หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ทำงานและไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากจะรอทำงานในฤดูกาลต่อไป มีจำนวน 3.45 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 (ชายร้อยละ 0.6 และหญิงร้อยละ 1.2)

ตารางที่ 1 จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามสถานภาพแรงงาน

หน่วย : ล้านคน

                                       2555                              2556
สถานภาพแรงงาน           เม.ย.      พ.ค.      มิ.ย.     เม.ย.               พ.ค.
                                                                 รวม      ชาย      หญิง
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป    54.41     54.45     54.50     54.92     54.96    26.69    28.27
1.  ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน    38.91     39.01     39.89     38.79     39.49    21.54    17.95
1.1 ผู้มีงานทำ            38.14     38.27     39.53     38.02     38.85    21.23    17.62
1.2 ผู้ว่างงาน             0.38      0.36      0.27      0.35      0.30     0.18     0.12
1.3 ผู้ที่รอฤดูกาล           0.39      0.38      0.09      0.42      0.34     0.13     0.21
2.  ผู้อยู่นอกกำลังแรงงาน   15.50     15.44     14.61     16.13     15.47     5.15    10.32
อัตราการว่างงาน*           1.0       0.9       0.7       0.9       0.8      0.8      0.7
หมายเหตุ  :  * อัตราการว่างงาน   =    ผู้ว่างงาน X 100

ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน

2.2 ภาวะการมีงานทำของประชากร

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงานของประชากรเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 พบว่า จากจำนวนผู้มีงานทำ 38.85 ล้านคน (ชาย 21.23 ล้านคน และหญิง 17.62 ล้านคน) เป็นผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม 14.88 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.3 ของผู้มีงานทำ (ชาย 8.57 ล้านคน และหญิง 6.31 ล้านคน) และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 23.97 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 61.7 ของผู้มีงานทำ (ชาย 12.66 ล้านคน และหญิง 11.31 ล้านคน)

เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2555 พบว่า ในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 4.9 แสนคน (จาก 14.39 ล้านคน เป็น 14.88 ล้านคน) และนอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 9.0 หมื่นคน (จาก 23.88 ล้านคน เป็น 23.97 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นในสาขาการก่อสร้างมากที่สุด 2.0 แสนคน รองลงมาเป็นสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 1.6 แสนคน และสาขาการผลิต 2.0 หมื่นคน ส่วนสาขาที่ลดลงคือ สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ 1.6 แสนคน สาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีด และซักแห้ง เป็นต้น 1.2 แสนคน สาขาการศึกษา 8.0 หมื่นคน สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 3.0 หมื่นคน สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 2.0 หมื่นคน สำหรับสาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ และ สาขากิจกรรมด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์จำนวนผู้ทำงานไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ

ตารางที่ 2 จำนวนผู้มีงานทำ จำแนกตามสาขาอุตสาหกรรม

หน่วย : ล้านคน

                                                  2555                            2556
อุตสาหกรรม                            เม.ย.     พ.ค.     มิ.ย.   เม.ย.               พ.ค.
                                                                          รวม      ชาย     หญิง
   ยอดรวม                           38.14    38.27    39.53    38.02    38.85    21.23   17.62
1. ภาคเกษตรกรรม                     13.57    14.39    16.35    12.75    14.88     8.57    6.31
1) เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง    13.57    14.39    16.35    12.75    14.88     8.57    6.31
2. นอกภาคเกษตรกรรม                  24.57    23.88    23.18    25.27    23.97    12.66   11.31
1) การผลิต                            6.13     5.73     5.51     5.85     5.75     2.80    2.95
2) การก่อสร้าง                         2.80     2.53     2.36     3.07     2.73     2.27    0.46
3) การขายส่ง และการขายปลีก             6.04     5.95     5.83     6.50     5.93     2.90    3.03
การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์
4) การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า           0.85     0.92     0.91     0.96     0.89     0.76    0.13
5) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร            2.34     2.29     2.15     2.42     2.45     0.88    1.57
6) กิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย     0.48     0.44     0.36     0.50     0.44     0.18    0.26
7) กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์                 0.12     0.12     0.17     0.13     0.12     0.06    0.06
8) การบริหารราชการ การป้องกันประเทศ     1.76     1.79     1.77     1.66     1.63     1.04    0.59
และการประกันสังคมภาคบังคับ
9) การศึกษา                           1.19     1.14     1.08     1.20     1.06     0.38    0.68
10) กิจกรรมด้านสุขภาพ และ               0.59     0.69     0.67     0.65     0.69     0.18    0.51
งานสังคมสงเคราะห์
11) กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ               0.72     0.71     0.72     0.64     0.59     0.26    0.33
12) อื่นๆ*                             1.55     1.57     1.65     1.69     1.69     0.95    0.74
หมายเหตุ :  * หมายถึง รวมการทำเหมืองแร่ และเหมืองหิน ไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ การจัดหาน้ำ การจัดการ

และการบำบัดน้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์

และเทคนิค กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ

กิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือนส่วนบุคคล กิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศ และไม่ทราบ

เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงานของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่วโมงทำงาน มีจำนวน 32.08 ล้านคน หรือร้อยละ 82.6 ของผู้มีงานทำทั้งหมด (ชายร้อยละ 83.3 และหญิงร้อยละ 81.7) และผู้ที่ทำงาน 1 - 34 ชั่วโมงมีจำนวน 6.07 ล้านคน หรือร้อยละ 15.6 (ชายร้อยละ 14.8 และหญิงร้อยละ 16.6) สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์สำรวจ (ระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์) แต่เป็นผู้มีงานประจำซึ่งถือว่าในสัปดาห์สำรวจไม่มีชั่วโมงทำงาน (0 ชั่วโมง) มีจำนวน 7.0 แสนคน หรือร้อยละ 1.8 (ชายร้อยละ 1.9 และหญิงร้อยละ 1.7) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า ผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไป เพิ่มขึ้น 1.11 ล้านคน และผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจ (0 ชั่วโมง) เพิ่มขึ้น 1.2 แสนคน ส่วนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 1 - 34 ชั่วโมง ลดลง 6.5 แสนคน

ตารางที่ 3 จำนวนผู้มีงานทำ จำแนกตามชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์

หน่วย : ล้านคน

                                   2555                               2556
ชั่วโมงทำงาน          เม.ย.      พ.ค.      มิ.ย.     เม.ย.                พ.ค.
                                                             รวม       ชาย       หญิง
  ยอดรวม           38.14     38.27     39.53     38.02     38.85     21.23     17.62
0   ชั่วโมง           0.90      0.58      0.28      0.87      0.70      0.40      0.30
1 - 34 ชั่วโมง        5.47      6.72      6.15      5.92      6.07      3.15      2.92
35 ชั่วโมงขึ้นไป       31.77     30.97     33.10     31.23     32.08     17.68     14.40
หมายเหตุ :  1. ชั่วโมงทำงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงทำงานจริงทั้งหมดในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์ บุคคลที่มีอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ

จะรวมจำนวนชั่วโมงทำงานทุกอาชีพ

2. 0 ชั่วโมง หมายถึง ผู้ที่ปกติมีงานประจำแต่ในสัปดาห์การสำรวจไม่ได้ทำงาน อาจเนื่องมาจากหยุดพักผ่อน ลาป่วย เป็นต้น

2.3 ภาวะการว่างงานของประชากร

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 มีผู้ว่างงาน 3.03 แสนคน (ชาย 1.80 แสนคน และหญิง 1.23 แสนคน) คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 (ชายร้อยละ 0.8 และหญิงร้อยละ 0.7) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ที่ผ่านมาจะเห็นว่าจำนวนผู้ว่างงานลดลง 5.6 หมื่นคน เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า ภาคเหนือมีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 2.7 หมื่นคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลง 2.1 หมื่นคน กรุงเทพมหานครลดลง 1.4 หมื่นคน และภาคใต้ลดลง 2.0 พันคน ส่วนภาคกลางมีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 8.0 พันคน

ถ้าพิจารณาอัตราการว่างงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นรายภาคพบว่า ภาคกลางและภาคใต้ มีอัตราการว่างงานสูงสุดเท่ากันร้อยละ 0.9 รองลงมาคือกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานเท่ากันร้อยละ 0.7

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานของแต่ละภาคกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการว่างงานทั่วประเทศลดลงจากร้อยละ 0.9 เป็นร้อยละ 0.8 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า กรุงเทพมหานคร และภาคเหนือลดลงเท่ากันจากร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 0.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลงจากร้อยละ 0.9 เป็นร้อยละ 0.7 และภาคใต้ลดลงจากร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 0.9 ส่วนภาคกลางอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ 0.9

ตารางที่ 4 จำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามภาค

                                        2555                              2556
ภาค                      เม.ย.      พ.ค.      มิ.ย.     เม.ย.               พ.ค.
                                                                  รวม      ชาย       หญิง

จำนวนผู้ว่างงาน (หน่วย : แสนคน)

         ยอดรวม          3.77      3.59      2.67      3.47      3.03     1.80      1.23
กรุงเทพมหานคร             0.24      0.40      0.17      0.30      0.26     0.14      0.12 กลาง                     0.86      0.77      0.77      0.92      0.85     0.43      0.42 เหนือ                     0.45      0.75      0.73      0.45      0.48     0.28      0.20
ตะวันออกเฉียงเหนือ          1.56      1.14      0.64      1.09      0.93     0.65      0.28 ใต้                       0.66      0.53      0.36      0.71      0.51     0.30      0.21

อัตราการว่างงาน (ร้อยละ)

         ยอดรวม           1.0       0.9       0.7       0.9       0.8      0.8       0.7
กรุงเทพมหานคร              0.6       1.0       0.4       0.8       0.7      0.7       0.6 กลาง                      0.9       0.8       0.8       1.0       0.9      0.8       0.9 เหนือ                      0.6       1.0       1.0       0.6       0.7      0.7       0.6
ตะวันออกเฉียงเหนือ           1.2       0.9       0.5       0.9       0.7      0.9       0.5 ใต้                        1.2       1.0       0.7       1.3       0.9      1.0       0.8
หมายเหตุ  :  อัตราการว่างงาน   =    ผู้ว่างงาน x 100

ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะผู้ว่างงานตามประสบการณ์การทำงานพบว่า เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงาน มาก่อน 1.71 แสนคน หรือร้อยละ 56.4 ของผู้ว่างงานทั้งหมด และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.32 แสนคน หรือร้อยละ 43.6 โดยเป็นผู้ว่างงานจากนอกภาคเกษตรกรรม 1.09 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการบริการและการค้า 6.1 หมื่นคน และภาคการผลิต 4.8 หมื่นคน สำหรับผู้ว่างงานในภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 2.3 หมื่นคน

ตารางที่ 5 จำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและสาขาอุตสาหกรรมที่เคยทำ

หน่วย : แสนคน

                                        2555                               2556
อุตสาหกรรมที่เคยทำ          เม.ย.      พ.ค.      มิ.ย.     เม.ย.                พ.ค.
                                                                  รวม       ชาย       หญิง
          ยอดรวม         3.77      3.59      2.67      3.47      3.03      1.80      1.23
ไม่เคยทำงานมาก่อน          1.68      1.57      1.21      1.44      1.71      0.90      0.81
เคยทำงานมาก่อน            2.09      2.02      1.46      2.03      1.32      0.90      0.42
1. ภาคเกษตรกรรม          0.63      0.38      0.11      0.58      0.23      0.16      0.07
2. ภาคการผลิต             0.70      0.83      0.50      0.70      0.48      0.42      0.06
3. ภาคการบริการและการค้า   0.76      0.81      0.85      0.75      0.61      0.32      0.29

เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานจำนวน 3.03 แสนคน พบว่า ระดับการศึกษาที่มีผู้ว่างงานมากที่สุดคือ ระดับอุดมศึกษา 1.23 แสนคน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5.7 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 4.3 หมื่นคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.2 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ว่างงานระดับอุดมศึกษาลดลงมากที่สุด 2.9 หมื่นคน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.7 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 5.0 พันคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 4.0 พันคน ส่วนผู้ว่างงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น 9.0 พันคน

จากการพิจารณาอัตราการว่างงานตามระดับการศึกษาที่สำเร็จพบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดร้อยละ 1.7 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 1.0 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 0.9 ระดับประถมศึกษาร้อยละ 0.5 และผู้ว่างงานที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาร้อยละ 0.2 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 1.3 เป็นร้อยละ 0.9 ระดับอุดมศึกษาลดลงจากร้อยละ 2.1 เป็นร้อยละ 1.7 และระดับประถมศึกษาลดลงจาก ร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.5 ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9 เป็นร้อยละ 1.0 สำหรับผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาอัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ตารางที่ 6 จำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ

                                          2555                              2556
ระดับการศึกษาที่สำเร็จ         เม.ย.      พ.ค.      มิ.ย.     เม.ย.                พ.ค.
                                                                   รวม       ชาย       หญิง

จำนวนผู้ว่างงาน (หน่วย : แสนคน)

          ยอดรวม          3.77      3.59      2.67      3.47      3.03      1.80      1.23
1. ไม่มีและต่ำกว่าประถมศึกษา   0.35      0.26      0.23      0.29      0.22      0.07      0.15
2. ประถมศึกษา              0.41      0.48      0.25      0.74      0.43      0.35      0.08
3. มัธยมศึกษาตอนต้น          0.83      0.84      0.65      0.68      0.57      0.39      0.18
4. มัธยมศึกษาตอนปลาย        0.71      0.49      0.45      0.60      0.58      0.41      0.17
5. อุดมศึกษา                1.47      1.52      1.09      1.16      1.23      0.58      0.65

อัตราการว่างงาน (ร้อยละ)

          ยอดรวม           1.0       0.9       0.7       0.9       0.8       0.8       0.7
1. ไม่มีและต่ำกว่าประถมศึกษา    0.3       0.2       0.2       0.3       0.2       0.1       0.3
2. ประถมศึกษา               0.5       0.6       0.3       0.8       0.5       0.7       0.2
3. มัธยมศึกษาตอนต้น           1.3       1.3       1.0       1.1       0.9       1.0       0.7
4. มัธยมศึกษาตอนปลาย         1.2       0.9       0.8       1.0       1.0       1.2       0.7
5. อุดมศึกษา                 2.1       2.1       1.5       1.6       1.7       1.7       1.7

ภาคผนวก

1. วิธีการสำรวจ

การสำรวจในแต่ละเดือนได้ดำเนินการสำรวจทั่วประเทศในทุกจังหวัด ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบ Stratified Two Stage Sampling โดยตัวอย่างขั้นที่ 1 คือเขตแจงนับตัวอย่าง(1/)

(ในเขตเทศบาล) หรือหมู่บ้าน (นอกเขตเทศบาล) ซึ่งมีจำนวนตัวอย่างประมาณ 1,990 เขตแจงนับตัวอย่าง และตัวอย่างขั้นที่ 2 คือครัวเรือนการสำรวจในแต่ละเดือนมีจำนวนครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างทั้งสิ้นประมาณ 27,960 ครัวเรือนตัวอย่าง คิดเป็นจำนวนประชากรที่ตกเป็นตัวอย่างทั้งสิ้นประมาณ 97,860 คน ซึ่งขนาดตัวอย่างดังกล่าวนำเสนอข้อมูลในระดับ ภาค และ ยอดรวมทั้งประเทศ สำหรับแนวคิดและคำนิยามที่ใช้ในการสำรวจใช้ตามสภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทย และตามข้อเสนอแนะ ของ ILO และ UN ซึ่งเป็นมาตรฐานทางสถิติที่ประเทศต่าง ๆ นำไปใช้ในการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเพื่อให้ได้ข้อมูลการทำงานการว่างงาน และการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชากร ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ในระหว่างประเทศ

สำหรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง โดยพนักงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทั้งนี้ ในกรุงเทพมหานครใช้พนักงานทำการสัมภาษณ์ จำนวน 44 คน ในจังหวัดอื่น ๆ จำนวน 830 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ทุกคน จะมีคู่มือการปฏิบัติงานการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานในแนวทางเดียวกัน

ส่วนการประมวลผลข้อมูลนั้น ดำเนินการในส่วนกลางตามหลักสถิติศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้จาก ครัวเรือนตัวอย่างมาคำนวณ โดยใช้สูตรในการประมาณค่าที่เหมาะสมกับวิธีการเลือกตัวอย่าง หรือนำมาถ่วงน้ำหนัก (Weight) เพื่อให้ได้ค่าประมาณของประชากรทั้งหมดที่ใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริง ทั้งในระดับภาค และยอดรวมทั่วประเทศ

2. คำนิยามสำคัญที่ใช้ในการสำรวจ

  • ผู้มีงานทำ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในระหว่าง 7 วันก่อนสัมภาษณ์ มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

1.ได้ทำงานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยได้รับค่าจ้าง

2.ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจหรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน หรือของสมาชิกในครัวเรือน เช่น ช่วยธุรกิจในครัวเรือน หรือเป็นลูกของเจ้าของบริษัท ซึ่งได้ผลประโยชน์จากบริษัทอยู่แล้ว

3.ไม่ได้ทำงาน หรือทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่เป็นผู้ที่ปกติมีงานประจำ กล่าวคือ มีงานอยู่แต่ช่วงนี้ไม่ได้ทำ เป็นผู้ที่มีลักษณะอย่างใด อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

3.1 ยังได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่น ๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจในระหว่าง ที่ไม่ได้ทำงาน เช่น อยู่ระหว่างลาพักผ่อนตามสิทธิ์ เป็นต้น

3.2 ไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่น ๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจในระหว่าง ที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังมีงานหรือธุรกิจที่จะกลับไปทำ เช่น การลาป่วย/ลากิจของลูกจ้างรายวัน เป็นต้น

  • ผู้ทำงานตั้งแต่ 7 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน หมายถึง ผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์
  • ผู้ทำงานน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน หมายถึง ผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่ไม่ได้ทำงาน ในสัปดาห์การสำรวจ (0 ชั่วโมง) แต่ปกติมีงานประจำทำ ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจ อยู่ระหว่างการลาป่วย/ลาพักผ่อน เป็นต้น
  • ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

1. ไม่ได้ทำงานหรือไม่มีงานประจำ และได้หางานหรือสมัครงาน หรือรอการบรรจุ ในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์

2. ไม่ได้ทำงานหรือไม่มีงานประจำ และไม่ได้หางานทำในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์ แต่พร้อมที่จะทำงานในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์

  • กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์ เป็นผู้ไม่เข้าข่าย คำนิยามของผู้มีงานทำ หรือว่างงาน แต่เป็นผู้รอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำงาน ถึงแม้มีงานที่เหมาะสมและอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ ซึ่งโดยปกติจะทำงานที่ไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในไร่นาเกษตร หรือธุรกิจซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาล โดยมีหัวหน้าครัวเรือน หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ในครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ
(1/) เขตแจงนับตัวอย่าง: พื้นที่ในเขตเทศบาลทุกจังหวัด จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า เขตแจงนับ (Enumeration area : EA)

ใช้แผนที่สถิติที่ จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ คือ 1 เขตแจงนับ ประกอบด้วยครัวเรือน ประมาณ

100 - 150 ครัวเรือน

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ