บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาลครบ 2 ปี พ.ศ. 2556

ข่าวทั่วไป Wednesday November 6, 2013 09:50 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายของรัฐบาล พ.ศ. 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบาย/โครงการของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อรัฐบาลจะได้นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและปรับปรุงการบริหารงานของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป ซึ่งในการสำรวจโครงการนี้ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกจังหวัด ทั่วประเทศ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 35,240 คน แบ่งเป็นประชาชนในเขตเทศบาล 18,520 คน และนอกเขตเทศบาล 16,720 คน ซึ่งสรุปผลการสำรวจที่สำคัญได้ดังนี้

1. การติดตามการปฏิบัติงานของรัฐบาล

ผลจากการสำรวจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 68.4 ระบุว่าติดตามเป็นบางครั้งบางคราว โดยมีผู้ติดตามเป็นประจำ ร้อยละ 13.0 และผู้ที่ไม่ได้ติดตาม ร้อยละ 18.6

2. การทราบและความพึงพอใจต่อนโยบายของรัฐบาล

ตาราง 1 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามการทราบนโยบายของรัฐบาล 5 อันดับแรก เป็นรายภาค

  การทราบนโยบาย            ทั่ว                          ภาค
    ของรัฐบาล             ประเทศ    กทม.      กลาง     เหนือ    ต.อ.น.       ใต้

(ยกเว้น กทม.)

- โครงการ 30 บาท          97.3     96.9      95.7     97.2     98.8      96.7
รักษาทุกโรค
- การขึ้นเบี้ยยังชีพให้กับ        95.2     91.0      92.9     97.1     97.3      94.9
ผู้สูงอายุแบบมากขึ้น
ตามอายุ (ขั้นบันได)
- การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ          94.9     96.2      93.9     94.3     95.9      93.8
300 บาท
- การแก้ไขและป้องกัน         93.5     95.0      91.1     94.4     94.7      92.7
ปัญหายาเสพติด
- การขึ้นเงินเดือน            89.6     95.2      88.5     87.4     89.5      90.5
ปริญญาตรี 15,000  บาท

นโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนทราบ 5 อันดับแรก คือ โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค (ร้อยละ 97.3) การขึ้นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุแบบมากขึ้นตามอายุ (ขั้นบันได)(ร้อยละ 95. 2) การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท (ร้อยละ 94.9) การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 93.5) และการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท (ร้อยละ 89.6)

ตาราง 2 ร้อยละของประชาชนที่ทราบนโยบายของรัฐบาล จำแนกตามความพึงพอใจ1/นโยบายของรัฐบาล 5 อันดับแรก เป็นรายภาค

ภาค ความพึงพอใจนโยบาย        ทั่ว                           ภาค
      ของรัฐบาล           ประเทศ       กทม.    กลาง      เหนือ    ต.อ.น.     ใต้

(ยกเว้น กทม.)

- การขึ้นเบี้ยยังชีพ             89.3      85.5     86.4      90.5     93.0     86.1
ให้กับผู้สูงอายุแบบ
มากขึ้นตามอายุ
(ขั้นบันได)
- โครงการ 30 บาท           86.5      80.8     84.1      88.1     91.3     80.3
รักษาทุกโรค
- การขึ้นเงินเดือน             83.2      79.4     80.2      83.8     86.9     82.0
ปริญญาตรี 15,000 บาท
- การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ           83.1      80.1     80.4      82.6     88.0     78.3
300 บาท
- การพักหนี้เกษตรกร           80.4      67.1     74.5      83.8     87.9     73.1

หมายเหตุ : 1/ พึงพอใจค่อนข้างพอใจถึงพอใจมาก

ส่วนประชาชนที่ทราบนโยบายของรัฐบาลระบุว่านโยบายของรัฐบาลที่พึงพอใจ 5 อันดับแรก คือ การขึ้นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุแบบมากขึ้นตามอายุ (ขั้นบันได) (ร้อยละ 89.3) โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค (ร้อยละ 86.5) การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท (ร้อยละ 83.2) การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท (ร้อยละ 83.1) และการพักหนี้เกษตรกร (ร้อยละ 80.4)

3. ความสามารถของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา ด้านสังคมและเศรษฐกิจ

จากการสอบถามประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล พบว่า สามารถแก้ไขปัญหาได้ใกล้เคียงกัน โดยเห็นว่าแก้ไขได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.3 และ 54.4 มีเพียงร้อยละ 9.0 และ 8.7 แก้ไขปัญหาได้ในระดับมาก และแก้ไขปัญหาได้ในระดับน้อย ร้อยละ 25.9 และ 27.2 ส่วนแก้ไขไม่ได้เลย มีเพียงร้อยละ 7.8 และ 9.7 ตามลำดับ

4. การทราบรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน"

ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนทราบรายการ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2555 ร้อยละ 48.8 เป็นร้อยละ 53.7 ในปีพ.ศ. 2556 ซึ่งทราบจากข่าวทางทีวีมากที่สุด (ร้อยละ 55.5)

5. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

ประชาชนร้อยละ 15.7 ที่ให้ข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานของรัฐบาล ได้แก่รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และสินค้าราคาแพง/ควบคุมราคาสินค้า (ร้อยละ 25.1) การบริหารงานต้องจริงจัง/โปร่งใส/ไม่โกงกิน และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก (ร้อยละ 22.0) และควรทำตัวเป็นกลาง สร้างความปรองดอง/ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงไม่แบ่งข้าง แบ่งสี และแบ่งฝ่าย (ร้อยละ 5.0) เป็นต้น

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ